สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ วันพฤหัสบดีที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔

ข่าวต่างประเทศ Friday July 9, 2021 13:42 —กระทรวงการต่างประเทศ

สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์

วันพฤหัสบดีที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น.

ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live กระทรวงการต่างประเทศ

๑. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน - รัสเซีย สมัยพิเศษ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๔

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซีย สมัยพิเศษ ในโอกาสครบรอบ ๒๕ ปีความสัมพันธ์คู่เจรจาอาเซียน-รัสเซียในปี ๒๕๖๔ ซึ่งหารือเกี่ยวกับความร่วมมืออาเซียน-รัสเซียตลอด ๒๕ ปีที่ผ่านมา และทิศทาง

ความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ และสาขาที่มีศักยภาพเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมให้ทั้งสองภูมิภาคเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญของความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคโควิด-๑๙ ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางการผลิตและกระจายวัคซีนของรัสเซียในภูมิภาค รวมถึงความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเชิญชวนให้รัสเซียร่วมมือในด้านพลังงานทางเลือกและพลังงานหมุนเวียนที่รัสเซียมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งสอดคล้องกับโมเดลศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจ

สีเขียว (Bio-Circular-Green - BCG Economy) ด้วย

๒. การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศในการออกหนังสือรับรองการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร (Certificate of Entry: COE) ภายใต้โครงการ Phuket Sandbox

ระหว่างวันที่ ๑ ? ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ มีผู้ลงทะเบียนขอ COE ภายใต้ Phuket Sandbox ผ่านสถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลกแล้ว ๑๒,๓๕๖ ราย

ณ วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ กระทรวงการต่างประเทศได้ออก COE ให้แล้ว ๕,๖๕๒ ราย ขณะที่มีผู้ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ ๕๙๔ ราย และรอยื่นเอกสารประกอบเพิ่มเติมอีก ๖,๑๑๐ ราย

ระหว่างวันที่ ๑ ? ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ มีผู้เดินทางเข้าภูเก็ตภายใต้โครงการ Phuket Sandbox ๒,๒๔๔ คน

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ปรับเพิ่มรายชื่อประเทศ/พื้นที่ต้นทางที่ได้รับอนุญาตให้เข้า Phuket Sandbox อีก ๒ ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่นและอุซเบกิสถาน รวมเป็น ๖๘ ประเทศ/พื้นที่

กระทรวงการต่างประเทศได้จัดทีมเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางไปประจำที่ท่าอากาศยานภูเก็ตเพิ่มเติมนอกเหนือจากทีมของสำนักหนังสือเดินทาง จ. ภูเก็ตเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ COE

English Version

Phuket Sandbox Scheme

1. Qualifications

Travelers must travel from 68 countries/territories as announced by the Tourism Authority of Thailand, no less than 21 days before the travel date. (Thai and foreign

nationals with residence in Thailand are exempted from the 21-day requirement.)

Travelers must be fully vaccinated against COVID-19, no less than 14 days before the travel date, with a vaccine registered with the Food and Drug Administration (FDA) of Thailand or approved by WHO or the Ministry of Public Health of Thailand.

Children under 18 years of age without COVID-19 vaccination are eligible only when traveling with fully-vaccinated parents or guardians.

2. Steps

2.1 Travelers must register for a Certificate of Entry (COE) at

coethailand.mfa.go.th and upload the required documents.

2.2 Once registration is approved, travelers must upload SHA+ Hotel booking (www.thailandsha.com) confirmation and flight reservation within 15 days.

2.3 Once COE is approved, travelers must download and print the COE together with other required documents.

3. Required documents to upload into the system include:

i. Valid Passport;

ii. Vaccination certificate (which must be in English or have an English translation from a competent authority);

iii. COVID-19 health insurance policy with a minimum coverage of USD 100,000;

iv. Air ticket confirmation;

v. Paid SHA+ Hotel Booking confirmation for 14 nights (or less if staying in Phuket less than 14 days)

vi. COVID-19 test payment in Thailand according to the duration of stay (issued either by the test facility or hotel)

vii. VISA (if needed)

4. Before arrival, travelers must take a COVID-19 RT-PCR test with test result no more than 72 hours prior to the departure time. The negative result must be presented to

the airline check-in counter.

5. After arrival, travelers must undergo an RT-PCR COVID-19 test, install a contract tracing application and turn on GPS at all times, and travel directly by reserved vehicle from your SHA+ hotel. Travelers also have to undergo additional COVID-19 tests on day 6-7 and day 12-13 as the proof of three tests must be provided before departure.

๓. แนวทางปฏิบัติของคนไทยในการเดินทางเข้าประเทศไทยภายหลังการยกเลิกสถานที่กักกันของรัฐ (SQ) สำหรับผู้เดินทางทางอากาศ

กรณีเดินทางเข้าประเทศไทยทางอากาศ ผู้มีสัญชาติไทยต้องเข้ารับการกักกันตัวในสถานที่กักกันทางเลือก (Alternative Quarantine - AQ) โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการกักกันตัวเอง แต่รัฐจะสนับสนุนค่าตรวจโควิด-๑๙

กรณีเดินทางเข้าประเทศไทยทางบก ผู้มีสัญชาติไทยยังสามารถเข้ารับการกักกันตัวใน SQ โดยรัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งค่าที่พักและค่าตรวจโควิด-๑๙

กรณีเดินทางเข้าประเทศไทยทางน้ำ ผู้มีสัญชาติไทยต้องเข้ารับการกักกันตัวใน AQ โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการกักกันตัวและค่าตรวจโควิด-๑๙

กระทรวงการต่างประเทศ ได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ AQ ให้เร่งจัดทำแพคเกจการกักกันตัวสำหรับคนไทยด้วยแล้ว นอกจากนี้ เพื่อช่วยเหลือคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศให้สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้ กระทรวงการต่างประเทศได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้แก่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลกในการให้ความช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายเพื่อเข้ารับการกักกันในสถานที่กักกันทางเลือก (AQ) โดยจะพิจารณาช่วยเหลือผู้ถูกประเทศต้นทางผลักดัน/ส่งตัวกลับ ผู้ที่เข้าข่ายเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และกรณีมนุษยธรรมอื่นๆ

๔. มาตรการการเดินทางเข้าประเทศต่าง ๆ สำหรับคนไทย และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ในต่างประเทศ

๔.๑ สหภาพยุโรป (EU)

ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ คณะมนตรีแห่ง EU ได้ปรับปรุงรายชื่อประเทศใน EU White List ที่แนะนำให้ประเทศ EU ผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางที่ไม่จำเป็น (non-essential travel) โดยเพิ่มใหม่อีก ๑๐ ประเทศ รวมเป็น ๒๔ ประเทศ และ ๑ ดินแดน ซึ่งไทยยังอยู่ในรายชื่อ EU White List เช่นเดิม รายละเอียดที่เว็บไซต์

https://reopen.europa.eu/en

๔.๒ เยอรมนี

ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ เยอรมนีอนุญาตให้ผู้เดินทางเข้าจากประเทศนอกสมาชิก EU ที่ได้รับวัคซีนตามกำหนดแล้วอย่างน้อย ๑๔ วัน สามารถเดินทางเข้าเยอรมนีเพื่อท่องเที่ยว โดยวัคซีนที่ได้รับการรับรอง คือ วัคซีนที่องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European

Medicines Agency-EMA) ให้การรับรองแล้ว ได้แก่ Pfizer, Moderna, AstraZeneca และ J&J

ปัจจุบัน ผู้เดินทางประเทศไทยสามารถเดินทางเข้าเยอรมันได้โดยไม่มีเงื่อนไข และไม่ต้องกักตัว แต่ต้องแสดงหลักฐานต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่

(๑) ผลการตรวจเชื้อ RT-PCR ที่ไม่เกิน ๗๒ ชม. หรือผลตรวจแบบ antigen test ไม่เกิน ๔๘ ชม.ก่อนเดินทาง หรือ

(๒) หลักฐานการได้รับวัคซีนครบกำหนดที่มีระยะเวลาอย่างน้อย ๑๔ วัน (เฉพาะวัคซีนที่ได้รับการรับรองข้างต้น) หรือ

(๓) หลักฐานการหายป่วยจากการติดเชื้อ (ผลการตรวจโควิด-๑๙ แบบ RT-PCR ที่มีอายุอย่างน้อย ๒๘ วัน แต่ไม่เกิน ๖ เดือน)

๔.๓ ออสเตรีย

ปัจจุบัน ออสเตรียกำหนดให้ผู้มีถิ่นพำนักในกลุ่มประเทศความเสี่ยงต่ำ (รวมทั้งไทย) ไม่ต้องกักตัว แต่จะต้องแสดงเอกสารแสดงการฉีดวัคซีนที่ได้รับการรับรองโดย EMA หรือ WHO โดยได้รับวัคซีนโดสแรกไม่น้อยกว่า ๒๒ วัน แต่ไม่เกิน ๓ เดือน หรือได้วัคซีนครบโดสแล้วไม่เกิน ๙ เดือน

กรณีได้รับวัคซีนชนิดอื่นนอกเหนือจากที่ EMA ให้การรับรอง สามารถแสดงเอกสารการตรวจพบภูมิคุ้มกันโควิด-๑๙ ในร่างกายเพื่อยกเว้นการกักตัว โดยเอกสารต้องมีอายุไม่เกิน ๙๐ วันก่อนวันเดินทางถึง

๔.๔ สหรัฐฯ

ต้องขอรับการตรวจลงตราและแสดงหลักฐานผลการตรวจโควิด-๑๙ เป็นลบ ซึ่งมีอายุไม่เกิน ๓ วันก่อนเริ่มต้นการเดินทางเข้าสหรัฐฯ หรือหลักฐานว่าเคยติดโควิดและหายจนไม่แพร่เชื้อแล้วและแพทย์ให้เดินทางได้

๔.๕ เกาหลีใต้

ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เกาหลีใต้ได้อนุญาตให้ชาวต่างชาติที่เข้าเงื่อนไขที่เกาหลีใต้กำหนดเดินทางเข้าได้โดยไม่ต้องกักตัว โดย (๑) จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-๑๙ ที่เกาหลีใต้ให้การรับรอง (Pfizer, Johnson & Johnson, Moderna, AstraZeneca, Covishield, Sinopharm, Sinovac) ครบตามกำหนดแล้ว (๒) จะต้องได้รับวัคซีนครบตามที่กำหนดไปแล้ว ๑๔ วันนับตั้งแต่วันสมัคร และ (๓) จะต้องมีจุดประสงค์ในการเดินทางเข้าเกาหลีใต้ตามที่กำหนดเท่านั้น ได้แก่ เพื่อธุรกิจ เพื่อการศึกษาและสาธารณประโยชน์ หรือจุดประสงค์ทางด้านมนุษยธรรม อาทิ การเข้าร่วมพิธีศพ

เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอยกเว้นการกักตัว ได้แก่ (๑) หนังสือเดินทาง (๒) หนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด-๑๙ เพื่อใช้สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ (เล่มเหลืองโควิด) ที่ออกโดยกรมควบคุมโรค (๓) ใบรับรองการฉีดวัคซีน (๔) แบบขอรับการยกเว้นการกักตัว และ (๕) หลักฐานการสำรองบัตรโดยสารเครื่องบิน

สำหรับประเทศที่มีการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่อาทิแอฟริกาใต้ บราซิล และอินเดีย จะไม่ได้รับการยกเว้นการกักตัว

มาตรการดังกล่าวอาจสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยติดตามได้ที่เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจำประเทศไทย

๔.๖ มาเลเซีย

รัฐบาลมาเลเซียได้ประกาศให้หลายพื้นที่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์และรัฐสลังงอร์อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมการสัญจรแบบเข้มงวด (Enhanced Movement Control Order-EMCO) ระหว่างวันที่ ๑ ? ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เนื่องจากมีอัตราผู้ติดเชื้อสูงมากและมีการแพร่

ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ อย่างไรก็ดี มาตรการล่าสุดนี้ยังมีความเข้มงวดน้อยกว่ามาตรการที่เคยบังคับใช้เมื่อปี ๒๕๖๓

ข้อควรรู้ก่อนการเดินทางไปต่างประเทศในช่วงสถานการณ์โควิด-๑๙

กรมการกงสุลได้จัดทำอินโฟกราฟิกข้อควรรู้สำหรับชาวไทยที่จะเดินทางไปต่างประเทศในช่วงสถานการณ์โควิด-๑๙ โดยต้องตรวจสอบมาตรการเดินทางเข้าประเทศปลายทางและประเภทการตรวจลงตราที่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศนั้น ๆ จากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ของประเทศปลายทาง หรือเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตไทยใน

ประเทศนั้น ๆ หากถูกปฏิเสธการเข้าเมืองจากประเทศปลายทาง ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการกักตัวด้วยตนเองเมื่อเดินทางกลับประเทศไทย

กรณีประสบปัญหาในการเดินทางกลับประเทศ สามารถขอรับความช่วยเหลือได้ที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศนั้น ๆ หรือติดต่อ Call Center กรมการกงสุล หมายเลข ๐๒-๕๗๒-๘๔๔๒ ได้ ๒๔ ชม.

๕. การประชุมหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือฝ่ายเอเชียขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (APCG) ภายใต้หัวข้อ ?การส่งเสริมบทบาทนำของสตรีในวิกฤตด้านสาธารณสุขของโลก--Empowering Women Leadership during Global Health Emergencies? เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๔

ไทยในฐานะหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือฝ่ายเอเชียขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE) ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับแอลเบเนีย โดยนางสาวมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุง

เวียนนา เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

พญ. อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (ศบค.) ได้แบ่งปันประสบการณ์การปฏิบัติหน้าที่ผู้รายงานสถานการณ์โควิด-๑๙ ประจำวันภายใต้

ศบค. โดยได้ย้ำถึงศักยภาพของสตรีในการจัดการปัญหาความแปลกแยกทางสังคม การตีตราและการเลือกประติบัติต่อแรงงานต่างด้าวและกลุ่มผู้ติดเชื้อ ผ่านการสื่อสารอย่างเป็นเหตุเป็นผลและเน้นสร้างความเข้าใจ

สัตวแพทย์หญิง เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศกรมควบคุมโรค ได้บรรยายเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของสตรีในฐานะผู้ปฏิบัติ โดยยกตัวอย่างอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งร้อยละ ๘๐ เป็นสตรี ซึ่งเป็นผู้ให้ความรู้ด้านสุขอนามัย สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโควิด-๑๙ และป้องกันการติดเชื้อในชุมชน

๖. ประชาสัมพันธ์

๖.๑ รายการ Spokesman Live!!! สัมภาษณ์นายวิทวัส ศรีวิหค เอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก หัวข้อ ?คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก

กับการทูตพหุภาคี? ในวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๓๐-๑๖.๐๐ น. ทาง Facebook ?กระทรวงการต่างประเทศ? และ ?Saranrom Radio?

๖.๒ รายการบันทึกสถานการณ์ และ MFA Update

รายการบันทึกสถานการณ์ทาง FM 92.5 (ภาษาไทย) สัมภาษณ์นายชัยรัตน์ ศิริวัฒน์ กงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ หัวข้อ ?Thailand Branding ในมหกรรม World Expo ที่เมืองดูไบ? เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ฟังย้อนหลังได้ทาง Facebook ?สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย?

รายการ ?MFA Update? FM 88.0 (ภาษาอังกฤษ) สัมภาษณ์นายจักรี ศรีชวนะ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น หัวข้อ "90th Year Celebration of Thai-Swiss Diplomatic Relations" ในวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๐๕ ฟังย้อนหลังได้ทาง Facebook

?FM 88 Radio Thailand English?

๖.๓ รายการ "คุยกับทูต" ซีซั่น ๒ สัมภาษณ์นายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทร เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ในวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ ทาง Facebook ?Saranrom Radio? และ The Cloud Podcast

๖.๔ การทรวงการต่างประเทศจัดการเสวนา และการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ ?Cult-จะเล่า: ปั้นหนังไทยให้โดนใจต่างชาติ? ภายใต้โครงการประกวดภาพยนตร์สั้น ?ประเทศไทยที่อยากให้โลกรู้จัก? เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ขอเชิญรับชมย้อนชมได้ที่ Facebook ?MFA Clip Contest? ทั้งนี้

โครงการประกวดภาพยนตร์สั้นฯ ยังคงเปิดรับผลงานจากนักท หนังรุ่นใหม่จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ติดตามรายละเอียดได้ที่ทวิตเตอร์@mfaclipcontest

  • * * * *

ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ