ภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ธันวาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 14, 2011 16:46 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

ภาพรวมเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรในไตรมาส 3 (ข้อมูลประกาศยืนยันสุดท้าย) ขยายตัวจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 0.7 และขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ดีกว่าคาดการณ์

ปัจจัยหลักที่ช่วยให้เศรษฐกิจ U.K. ขยายตัวดีกว่าคาด มาจากการผลิตภาคบริการ (ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 76 ของการผลิตทั้งหมด) ขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริการค้าส่งค้าปลีกฯ ที่เพิ่มขึ้นจากการที่ผู้ประกอบการเริ่มเร่งสะสมสินค้าล่วงหน้าก่อนอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ในต้นปีหน้า เครื่องชี้

เศรษฐกิจในไตรมาส 4 บ่งชี้ว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดี แต่ภาคบริการหดตัวลงจากปญหาสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อภาคบริการคมนาคมขนส่ง

เสถียรภาพเศรษฐกิจ

เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงเปราะบาง จากอัตราเงินเฟอจาก Consumer Price Index ในเดือน ธ.ค. ยังคงทรงตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 3.3 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าเปาหมายเงินเฟอของธนาคารกลางอังกฤษที่กาหนดไว้ที่ร้อยละ 2 อย่างต่อเนื่อง

ในขณะที่อัตราการว่างงานในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนตุลาคม เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 7.9 จากร้อยละ 7.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุมาจากการลดการจ้างงานของภาครัฐ ซึ่งเป็นผลจากนโยบายปรับลดรายจ่ายและลดการขาดดุลของรัฐบาล

ดุลการค้าและดุลบริการของ U.K. ในเดือน ต.ค. ขาดดุลเพิ่มขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของการขาดดุลการค้าของสินค้าที่ ปอนด์8.5 พันล้านปอนด์ จากเดือนก่อนที่ขาดดุลเพียง ปอนด์8.4 พันล้านปอนด์

ภาคการเงินและภาคการคลัง

ธนาคารกลางอังกฤษยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.5 และคงมาตรการ QE ที่ 200 พันล้านปอนด์

ค่าเงินปอนด์ในช่วงเดือนที่ผ่านมาอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก ทั้งค่าเงินยูโร ค่าเงินดอลลาร์ และค่าเงินเยน

รัฐบาลขาดดุลการคลังสูงขึ้นในเดือนพ.ย.ทาให้หนี้สาธารณะต่อGDP สูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 65.2

ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 3

เศรษฐกิจ U.K.ไตรมาส 3 (ข้อมูลสุดท้าย) ขยายตัวดีขึ้นกว่าที่ตลาดคาดการณ์

ข้อมูลประกาศยืนยันข้อมูลสุดท้ายของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหราชอาณาจักรประจาไตรมาสที่ 3 ของปี 2010 ขยายจากไตรมาสก่อน (Quarter on Quarter) ร้อยละ 0.7 และขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year on Year) ร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ดีกว่าตลาดคาดการณ์

ปัจจัยหลักที่ช่วยให้เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในไตรมาส 3 ขยายตัวได้ต่อเนื่องจากในไตรมาส 2 มาจาก การขยายตัวที่ดีต่อเนื่องของการผลิตภาคบริการ (ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 76 ของ GDP) โดยเฉพาะบริการในด้านค้าส่งค้าปลีก โรงแรม และภัตตาคาร (Distribution Hotels and Restaurants) และการคมนาคมขนส่ง (Transport Storage and Communications) ที่ขยายตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีกเร่งสะสมสินค้าล่วงหน้าก่อนที่ภาษีมูลค่าเพิ่มจะปรับสูงขึ้นจากร้อยละ 17.5 เป็นร้อยละ 20 ในต้นปีหน้า

เครื่องชี้เศรษฐกิจไตรมาส 4

เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี แต่เครื่องชี้ภาคบริการขยายตัวชะลอลงจากสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อภาคคมนาคมขนส่ง

ดัชนีเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมของอาณาจักร (UK CIPS/Markit Report on Manufacturing) ประจำเดือนธันวาคมอยู่ที่ระดับ 58.3 ปรับตัวดีขึ้นจากเดิมที่ระดับ 57.5 ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ยอดสินค้าอุตสาหกรรมยังปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ระดับ 58.7 มาอยู่ ที่ระดับ 59.1ซึ่งเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมน่าจะได้อานิสงค์จากการที่ยอดคาสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมที่อยู่ในระดับ 57.9 ในเดือนพฤศจิกายน มาอยู่ที่ระดับ 59.9 ในเดือนธันวาคม

ดัชนีเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจภาคการบริการของสหราชอาณาจักร (UK CIPS/Markit Report on Service) ประจำเดือนธันวาคมอยู่ที่ระดับ 49.7 ลดลงจากเดิมที่ระดับ 53.0 ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่ำกว่า 50.0 ครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากสภาพอากาศในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมที่มีหิมะตกหนักจนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการบริการด้านคมนาคมและขนส่ง

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

CPI เดือนธ.ค.สูงขึ้นที่ระดับ 3.3% สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางที่ 2%

อัตราเงินเฟ้อที่คำนวณจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.3 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.2 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ที่ไม่รวมราคาอาหารและราคาสินค้าพลังงาน ในเดือนธันวาคมยังอยู่ในระดับคงที่เท่ากับเดือนที่ผ่านมาที่ร้อยละ 2.7 ต่อปี

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคมปรับตัวสูงขึ้นคือ การปรับราคาเพิ่มขึ้นของสินค้าประเภทอาหารในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยราคาอาหารปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ซึ่งมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 นอกจากนั้น ในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ยังมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นของสินค้าประเภทเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าที่ปรับเพิ่มร้อยละ 2.0 ในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีกอ่นหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยะล 0.6 ซึ่งการปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นดังกล่าวส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการเริ่มปรับราคาสินค้าสูงขึ้นล่วงหน้า ก่อนที่จะมีการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนมกราคม 2554

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคมที่สูงถึงร้อยละ 3.3 ต่อปี เป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่ากรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางอังกฤษที่ตั้งไว้อยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ตลาดการเงินจึงคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอังกฤษอาจจะเริ่มทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นในปี 2554 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ปรับตัวลดลงภายในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

อัตราการมีงานทาลดลงในเดือนธ.ค.ส่งผลให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 7.9%

ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนตุลาคม (สิงหาคม-ตุลาคม) อัตราการมีงานทำ (Employment Rate) อยู่ที่ร้อยละ 70.6 ของผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด (working age employmnet rate) ลดลงร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงครั้งรแกนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 โดยมีจำนวนผู้มีงานทำที่อายุระหว่าง 16-64 ปี (Employment Level) ทั้งสิ้น 29.13 ล้านคน ลดลง 33,000 คน ซึ่งมาจากการลดลงของอัตราการจ้างงานในภาคหน่วยงานราชการ (Pubic Sector) ตามนโยบายการปรับลดรายจ่ายภาครัฐของรัฐบาล แต่อัตราการจ้างงานในภาคเอกชน (Private Sector) ยังอยู่ในระดับที่คงเดิม

สำหรับอัตราการว่างงานในรอบ 3 เดือน สิ้นสุด ณ เดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 7.9 สูงขึ้นจากร้อยละ 7.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีจานวนผู้ว่างงานในเดือนตุลาคมทั้งสิ้น 2.5 ล้านคน เพิ่มขึ้น 35,000 คน จากไตรมาสก่อนหน้า

ดังนั้นจากอัตราการจ้างงานที่ลดลงและอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น ทาให้ตลาดคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในช่วงที่ผ่านมา อาจไม่ยั่งยืน และภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรอาจชะลอการขยายตัวในปีหน้า

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ

ดุลการค้าและการบริการในเดือนต.ค.ขาดดุลเพิ่มขึ้นเกิดจากการขาดดุลการค้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น

ดุลการค้าของสินค้าและการบริการในเดือนตุลาคมขาดดุลที่ 3.9 พันล้านปอนด์ ซึ่งเป็นการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลเพียง 3.8 พันล้านปอนด์ โดยสาเหตุที่ทาให้การขาดดุลการค้าและการบริการเพิ่มสูงขึ้น เกิดจากการที่ดุลการค้าสินค้า (Trade on Goods) ขาดดุลเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคมมาอยู่ที่จานวน 8.5 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากที่ขาดดุลเพียง 8.4 พันล้านปอนด์ในเดือนกันยายนก่อนหน้า ทั้งนี้เนื่องจากในเดือนนี้มูลค่าการนาเข้ามีการเพิ่มสูงขึ้นกว่ามูลค่าการส่งออก ซึ่งเป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นเพียง 0.9 พันล้านปอนด์ ในขณะที่การนาเข้าเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.1 พันล้านปอนด์ อย่างไรก็ดี การขาดดุลบริการ (Trade on Service) ในเดือนตุลาคมยังอยู่ในระดับที่เท่ากับเดือนกันยายนที่ผ่านมาที่จานวนทั้งสิ้น 4.6 พันล้านปอนด์

การที่ดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม น่าจะเป็นผลมาจากการที่สภาพเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในช่วงเดือนตุลาคมที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง ประกอบกับประชาชนเร่งจับจ่ายใช้สอยในช่วงสิ้นปี ก่อนที่ภาษีมูลค่าเพิ่มจะปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้มีการนาเข้าสินค้าสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้น ปัญหาค่าเงินยูโรที่อ่อนลงค่อนข้างมากในช่วงเดือนตุลาคม เนื่องจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป ได้ส่งผลให้การส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของสหราชอาณาจักร ปรับตัวลดลง

นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย

Bank of England คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับร้อยละ 0.5 พร้อมกับคงมาตรการ QE จานวน 200 พันล้านปอนด์ไว้ตามเดิม

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2553 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ มีมติให้คงนโยบายอัตราดอกเบี้ย Bank rate ไว้ตามเดิมในอัตราร้อยละ 0.50 เป็นเดือนที่ 23 ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่าที่สุดนับจากก่อตั้ง Bank of England ในปี 1694 พร้อมกับคงนโยบายรับซื้อตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน (Quantitative Easing: QE) จานวน 200 พันล้านปอนด์ตามมาตรการ Quantitative Easing ไว้ตามเดิม ทั้งนี้ คณะกรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของสหราชอาณาจักรน่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย

อย่างไรก็ดี แม้ว่าธนาคารกลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิม เช่นเดียวกับธนาคารกลางของสหรัฐที่เช่นเดิม แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ประกาศใช้นโยบายรับซื้อตราสารหนี้ระยะยาวเพิ่มเติม (Quantitative Easing II : QEII) เป็นจานวนถึง 600 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแตกต่างจากธนาคารกลางอังกฤษที่ประกาศคงนโยบาย QE ไว้เท่าเดิม เนื่องจากอังกฤษประสบปัญหาที่แตกต่างจากสหรัฐค่อนข้างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะ อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษล่าสุดในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี ซึ่งเกินกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารอังกฤษที่กาหนดไว้ที่ร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งต่างจากสหรัฐที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่าที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี

อัตราแลกเปลี่ยน

อัตราแลกเปลี่ยน: ปอนด์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ในช่วงเดือนธันวาคม 2553 ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร โดยสาเหตุหลักที่ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร มาจากการคลายความกังวลในปัญหาวิกฤติค่าเงินยูโร หลังจากประเทศไอร์แลนด์ยินยอมที่จะรับการช่วยเหลือทางด้านการเงินจากธนาคารยุโรป ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินยูโรกลับมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินปอนด์ที่เริ่มอ่อนค่าลง อย่างไรก็ดี ค่าเงินปอนด์ในช่วงต้นเดือนมกราคมเริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.195 ยูโร/ปอนด์ เนื่องจากตลาดการเงินเริ่มกังวลถึงสถานการณ์วิกฤติการเงินที่จะแผ่วงกว้างจากวิกฤติไอร์แลนด์และลุกลามนาไปสู่วิกฤติในประเทศโปรตุเกสและสเปน เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อ

ในช่วงเดือนธันวาคม 2553 ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร โดยสาเหตุหลักที่ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร มาจากการคลายความกังวลในปัญหาวิกฤติค่าเงินยูโร หลังจากประเทศไอร์แลนด์ยินยอมที่จะรับการช่วยเหลือทางด้านการเงินจากธนาคารยุโรป ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินยูโรกลับมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินปอนด์ที่เริ่มอ่อนค่าลง อย่างไรก็ดี ค่าเงินปอนด์ในช่วงต้นเดือนมกราคมเริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.195 ยูโร/ปอนด์ เนื่องจากตลาดการเงินเริ่มกังวลถึงสถานการณ์วิกฤติการเงินที่จะแผ่วงกว้างจากวิกฤติไอร์แลนด์และลุกลามนาไปสู่วิกฤติในประเทศโปรตุเกสและสเปน

เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สรอ. อย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยค่าเงินปอนด์ ณ วันที่ 7 มกราคม 2554 อยู่ที่ระดับ 1.55 $/ปอนด์ ซึ่งเป็นการอ่อนค่าลงจากต้นเดือนธันวาคมที่อยู่ที่ประมาณ 1.57 $/ปอนด์ สาหรับสาเหตุหลักที่ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สรอ. มาจากการที่รัฐบาลสหรัฐประกาศขยายนโยบายการลดภาษีให้แก่ประชาชนและธุรกิจออกไปเพิ่มเติมอีก 2 ปี ในวงเงินประมาณ 858 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐและเพิ่มงานแก่ประชาชน จึงทาให้ตลาดคาดการณ์ว่าสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐจะขยายตัวดีขึ้น ดังนั้น นักลงทุนจึงย้ายเงินลงทุนกลับไปลงทุนในสหรัฐเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น

นโยบายการคลังและฐานะการคลัง

รัฐบาลขาดดุลในเดือนพ.ย.เพิ่มขึ้น ทาให้ยอดหนี้ Debt/GDP สูงขี้นอยู่ที่ 65.2%

ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นเดือนที่ 8 ของปีงบประมาณ 2010/11 รัฐบาลมียอดขาดดุลงบประมาณสุทธิ 23.3 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขาดดุลเพียง 17.9 พันล้านปอนด์ ซึ่งประกอบด้วยดุลงบรายจ่ายประจำ (Current budget) ที่ขาดดุลจำนวน 19.9 พันล้าน และยอดลงทุนสุทธิ (Net Investment) จานวน 3.4 พันล้านปอนด์ การขาดดุลที่เพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2553 ได้ส่งผลให้ยอดการกู้เงินสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ (Cumulative public sector net borrowing) อยู่ที่ 104.4 พันล้านปอนด์ ซึ่งต่ากว่ายอดกู้เงินสะสมในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนที่อยู่ที่ 105.1 พันล้านปอนด์ อย่างไรก็ดี ความท้าทายที่สาคัญของรัฐบาลคือจะต้องพยายามลดการขาดดุลงบประมาณรายเดือนให้ได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของการขาดดุลงบประมาณในปี 2010/11 ให้ได้ที่ 149 พันล้านปอนด์ (หรือร้อยละ 10.1 ของ GDP)

สำหรับยอดหนี้สาธารณะ (ที่ไม่รวมมาตรการช่วยเหลือภาคการเงิน) ณ เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 863.1 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 58 ของ GDP ถ้ารวมมาตรการการช่วยเหลือภาคการเงินจะอยู่ที่ระดับ 971.0 พันล้านปอนด์ เทียบเท่ากับร้อยละ 65.2 ของ GDP ซึ่งสูงขึ้นจากปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 59.5 ของ GDP (843.6 พันล้านปอนด์)

ประเด็นเศรษฐกิจที่สาคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
  • กระทรวงการคลังของสหราชอาณาจักร โดย Office of Budget Responsibility ได้คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในปี 2011 และ 2012 ว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.1 และ ร้อยละ 2.6 ตามลาดับ โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวที่ดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกของสินค้าและบริการ แม้ว่าการใช้จ่าภาครัฐจะปรับตัวลดลงตามนโยบายการลดรายจ่ายและลดการขาดดุลของรัฐบาล ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่สาคัญของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ได้แก่ ปัญหาการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูง ปัญหาเงินเฟ้อ และปัญหาหนี้สาธารณะที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยมีรายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจ ดังนี้

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ