รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 8, 2011 11:35 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554

Summary:

1. โรงงานน้ำตาลประกาศจ้างงานกว่าหมื่นอัตรา

2. รัฐไฟเขียว 147 ล้านลุยแผนฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรม

3. สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นจากการเข้าซื้อทองคำ

Highlight:
1. โรงงานน้ำตาลประกาศจ้างงานกว่าหมื่นอัตรา
  • รองประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทไทยชูการ์ มิลเลอร์ จากัด เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง รวมถึงภาคการผลิตและบริการจำนวนมากที่ต้องหยุดดำเนินงาน ทำให้มีแรงงานจำนวนมากที่ต้องว่างงานและขาดรายได้ โดยอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งประกอบไปด้วยโรงงานน้ำตาลทรายทั้งหมด 47 โรงงาน สามารถรับแรงงานในช่วงเปิดหีบอ้อยได้มากกว่า 10,000 ตำแหน่ง โดยการหีบอ้อยและผลิตน้ำตาลทรายจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 จนถึงประมาณเดือนเมษายน 2555
  • สศค. วิเคราะห์ว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดในหลายพื้นที่ของไทยได้สร้างความเสียหายต่อภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมเนื่องจากน้ำได้เข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งทาให้การผลิตต้องหยุกชะงัก ส่งผลให้แรงงานไม่มีงานทำ ขาดรายได้ และเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง โดยเบื้องต้น สศค.ได้ประเมินความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยด้านแรงงาน โดยคาดการณ์ว่าจะมีผู้ที่เสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างจานวนประมาณ 1 แสนคน ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.7 เป็นร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม อย่างไรก็ดี จากการที่อุตสาหกรรมน้ำตาลจะเปิดรับแรงงานในช่วงเปิดหีบอ้อยก็จะเป็นการช่วยให้อัตราการว่างงานลดลงได้ ทั้งนี้ อัตราการว่างงานล่าสุด ณ เดือน ส.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 หรือคิดเป็นจำนวนคนว่างงานทั้งสิ้น 2.7 แสนคน
2. รัฐไฟเขียว 147 ล้านลุยแผนฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรม
  • รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยฯ ว่าที่ประชุมได้พิจารณาอนุมัติแผนฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมจานวน 4 โครงการ วงเงิน 147 ล้านบาท ประกอบไปด้วย 1.โครงการความช่วยเหลือการระบายน้ำจากนิคมอุตสาหกรรม วงเงิน 15.84 ล้านบาท 2.โครงการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ดิน สารปนเปื้อน ของสารพิษอุตสาหกรรม ที่ใช้ในสถานประกอบการทั้งในนิคมฯและนอกนิคมฯวงเงิน 25ล้านบาท 3.โครงการบริหารจัดการความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม และกากอุตสาหกรรม ในสถานประกอบการที่ประสบอุทกภัย วงเงิน 22 ล้านบาท และ 4.โครงตั้งศูนย์พักพิงอุตสาหกรรม วงเงิน 50 ล้านบาท ซึ่งจะนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมครม.ต่อไป
  • สศค. วิเคราะห์ว่า มาตรการเยียวยาและฟื้นฟู สำหรับประชาชน และภาคเอกชนจะมีส่วนช่วยให้การฟื้นฟูหลังจากประสบภาวะอุทกภัยเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วม คาดว่าจะสามารถกู้คืนได้ภายในสิ้นเดือน พ.ย. และเข้าทาการซ่อมแซมจนพร้อมดำเนินการผลิตได้อีกครั้งในสิ้นเดือน ธ.ค. ซึ่งจะทาให้การจ้างงานกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อีกครั้งตั้งแต่ต้นปี 2555 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สศค.คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบมากในช่วงไตรมาสที่ 4/2555 แต่จะสามารถฟื้นตัวเร่งขึ้นได้อีกครั้งในไตรมาสที่ 1/2555 โดย ณ วันที่ 1 พ.ย.2554 สศค.ได้ประเมินความเสียหายจากภาวะอุทกภัยครั้งนี้ไว้ที่ 190,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ GDP ลดลงร้อยละ -1.8 จากคาดการณ์เดิม ณ เดือน มิ.ย.54 ที่ร้อยละ 4.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.7
3. สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นจากการเข้าซื้อทองคา
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนวันที่ 7 พ.ย. 54 โดย สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 35 ดอลลาร์ หรือ 2% ปิดที่ 1,791.1 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากกระแสความวิตกกังวลที่ว่าวิกฤตหนี้ยุโรปอาจลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในยูโรโซน ยังคงเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำ นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่าเยอรมนีปฏิเสธแผนการนำทองคำในทุนสำรองมาใช้ในการเพิ่มทุนให้กับกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF)
  • สศค. วิเคราะห์ว่า แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของราคาทองคำดังกล่าว ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากนักลงทุนต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากปัจจัยภาวะเงินเฟ้อในยุโรปที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 สู่ระดับร้อยละ 1.25 สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับวิกฤตหนี้ในยุโรปมากขึ้น แทนการยึดแนวทางการรักษาเสถียรภาพทางราคาเป็นหลักท่ามกลางแนวโน้มเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวในระดับร้อยละ 3.0 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ตลอดจนเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มอยู่ในภาวะซบเซาของยุโรป ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของ สศค. ณ ก.ย 54 ที่คาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนทั้งปี 54 เฉลี่ยจะอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี ชะลอลงจากช่วง 2 ไตรมาสแรกที่เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ