รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 21 - 25 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 28, 2011 15:54 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปี 54 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การส่งออกสินค้าในเดือน ต.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนาเข้าสินค้ารวมขยายตัวร้อยละ 21.5
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ต.ค.54 หดตัวร้อยละ -38.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ และปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์หดตัวร้อยละ -41.8 และ -4.6 ตามลำดับ
  • สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch ปรับลดความน่าเชื่อถือของพันธบัตรอิตาลีลง 1 ระดับสู่ระดับไม่น่าลงทุนที่ BB+จากระดับ BBB
  • GDP มาเลเซีย ไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 0.9 (หลังขจัดผลทางฤดูกาล)
  • GDP สิงคโปร์ ในไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อน (หลังขจัดผลทางฤดูกาล)
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Nov : Headline Inflation (%YoY)        4.4                 4.2
  • โดยเป็นผลมาจากภาวะอุทกภัย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งผลิตทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม รวมทั้งทาให้การขนส่งต้องหยุดชะงัก เกิดการขาดแคลนในสินค้าหลายรายการ โดยเฉพาะ ไข่ไก่ น้าดื่ม และผักสด ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า(%mom) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.4
 Indicators                         Forecast            Previous
Oct : MPI (%YoY)                     -30.0                -0.4
  • โดยได้รับปัจจัยลบจากปัญหาอุทกภัยที่กระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมสาคัญ 7 แห่งใน จ.อยุธยา และปทุมธานี โดยเฉพาะในหมวดการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน และอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังได้ส่งผลกระทบต่อไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (linkage industries) ที่อยู่ในพื้นที่อื่นๆ ตลอดจนผลกระทบต่อภาคการขนส่ง (logistic) ทั้งในหมวดสินค้าสาเร็จรูป และปัจจัยการผลิตอื่นๆ ประกอบกับปัจจัยภายนอกประเทศโดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจที่ยังคงมีต่อเนื่องในยุโรปที่เป็นกลุ่มประเทศคู่ค้าสาคัญลาดับที่ 4 ของไทย
Economic Indicators: This Week
  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปี 54 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 54 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 และเมื่อพิจารณาผลของฤดูกาลออก (QoQ_SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 0.5 โดยมีปัจจัยบวกมาจากอุปสงค์ต่างประเทศที่ยังคงขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 15.2 ส่วนอุปสงค์ในประเทศ เช่น การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 2.4 และ 3.3 ตามลาดับ ในขณะที่ด้านการผลิต โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ร้อยละ 3.1 ภายหลังจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกปี 54 เศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ต.ค. 54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจานวน 167.0 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -19.5 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือน ต.ค. 54 มีการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจานวน 155.9 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -19.7 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจาจานวน 136.6 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -28.1 (2) รายจ่ายลงทุนจานวน 19.3 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 364.2 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สาคัญ ได้แก่ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจานวน 33.7 พันล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจานวน 18.9 พันล้านบาท งบชาระหนี้ของสานักงานบริหารหนี้สาธารณะจานวน 4.6 พันล้านบาท และรายจ่ายของสานักงานศาลยุติธรรมจานวน 3.2 พันล้านบาท ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณปีก่อนเบิกจ่ายได้จานวน 11.0 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -17.2 นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในเดือนต.ค. 54 มีจานวน 2.0 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่เดือนก.ย. 52 - ต.ค. 54 จานวน 297.2 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายสะสมร้อยละ 84.9 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจานวน 350.0 พันล้านบาท
  • จากการวิเคราะห์ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ต.ค.54 พบว่าดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -37.7
พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -153.3 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ขาดดุลจำนวน -191.0 พันล้านบาท โดยในเดือนนี้ไม่มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ เนื่องจากยังไม่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจาปี 2555 ทั้งนี้ ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ต.ค. 54 อยู่ที่ 330.3 พันล้านบาท
  • การส่งออกสินค้าในเดือน ต.ค. 54 อยู่ที่ 17,191.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อนหน้า ชะลอลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.1 จากผลกระทบของการถดถอยของเศรษฐกิจโลกและมหาอุทกภัยในประเทศ โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวที่ร้อยละ -7.2 เนื่องจากสินค้าหมวดหลักหดตัวอย่างรุนแรง ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ที่หดตัวร้อยละ -22.1 -14.5 -15.3 ตามลำดับ นอกจากนี้ สินค้าแร่และเชื้อเพลิง สินค้าเกษตรกรรม และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.4 33.9 34.8 ตามลาดับ ทั้งนี้ ราคาสินค้าส่งออกขยายตัวรัอยละ 3.6 และปริมาณหดตัวร้อยละ -3.2 ส่งผลให้การส่งออก 10 เดือนของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 22.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การนำเข้าสินค้ารวมในเดือน ต.ค. 54 อยู่ที่ 18,200.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 21.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 41.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวชะลอลงในทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบที่ขยายตัวที่ร้อยละ 31.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 69.2 และสินค้าเชื้อเพลิงที่ขยายตัวร้อยละ 23.9 ในขณะที่ยานยนต์ยังคงขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 18.1 ทั้งนี้ ราคานำเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 9.3 และปริมาณขยายตัวร้อยละ 11.1 จากการที่มูลค่าการส่งออกสินค้าต่ำกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้า ทำให้ดุลการค้าเดือน ต.ค. 54 ขาดดุล -1.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ต.ค.54 มีจานวน 1.94 หมื่นคัน หรือหดตัวร้อยละ -38.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 29.6 เนื่องจากในเดือนต.ค. 54 เกิดปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมหลัก คือยานยนต์ และชิ้นส่วนประกอบยานยนต์นั้น ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ตามปกติ และไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าได้ตามกาหนดระยะเวลา ทั้งนี้คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์นั่งในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 ปี 54 ที่คาดว่าจะหดตัวลง
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 54 มีจำนวน 1.98 หมื่นคัน หรือหดตัวที่ร้อยละ -41.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 25.7 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ -53.2 ตามการลดลงตัวของรถกะบะขนาด 1 ตันที่หดตัวร้อยละ -44.3 เป็นสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจากเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมหลัก คือยานยนต์ และชิ้นส่วนประกอบยานยนต์นั้น ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ตามปกติ และไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าได้ตามกำหนดระยะเวลา ทั้งนี้ คาดว่าจากสถานการณ์น้ำท่วมดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 54 หดตัวลง
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนต.ค. 54 หดตัวที่ร้อย ละ -4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 11.4 ตามการหดตัวของยอดขายรถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร (สัดส่วนประมาณร้อยละ 20.0 ของยอดขายรถจักรยานยนต์รวม) ที่ร้อยละ -23.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 ในขณะที่ยอดขายรถจักยานยนต์ในเขตภูมิภาคขยายตัวชะลอลงมากที่ร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 12.2 ส่วนหนึ่งเป็นมาจากปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลางและเขตกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้ยอดขายรถจักรยานยนต์ปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกปี 54 ยอดขายรถจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 12.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศเดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.3 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวร้อยละ -9.2 หดตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 โดยเป็นผลมาจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดของประเทศซึ่งส่งผลทำให้ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างต้องหยุดชะงัก ประกอบกับราคาวัสดุก่อสร้างมีการปรับตัวสูงขึ้น โดยดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน ต.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.8
Economic Indicators: Next Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย. 54 คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 โดยเป็นผลมาจากภาวะอุทกภัย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งผลิตทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม รวมทั้งทาให้การขนส่งต้องหยุดชะงัก เกิดการขาดแคลนในสินค้าหลายรายการ โดยเฉพาะ ไข่ไก่ น้าดื่ม และผักสด ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า(%mom) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.4
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ต.ค. 54 คาดว่าจะชะลอตัวที่ร้อยละ -30.0 จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับปัจจัยลบจากปัญหาอุทกภัยที่กระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมสาคัญ 7 แห่งใน จ.อยุธยา และปทุมธานี โดยเฉพาะในหมวดการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน และอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังได้ส่งผลกระทบต่อไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (linkage industries) ที่อยู่ในพื้นที่อื่นๆ ตลอดจนผลกระทบต่อภาคการขนส่ง (logistic) ทั้งในหมวดสินค้าสำเร็จรูป และปัจจัยการผลิตอื่นๆ ประกอบกับปัจจัยภายนอกประเทศโดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจที่ยังคงมีต่อเนื่องในยุโรปที่เป็นกลุ่มประเทศคู่ค้าสาคัญลำดับที่ 4 ของไทย

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: worsening economic trend
  • สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch ปรับลดความน่าเชื่อถือของพันธบัตรอิตาลีลง 1 ระดับสู่ระดับไม่น่าลงทุนที่ BB+จากระดับ BBB และ Negative Outlook จากความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ ที่จะเป็นข้อจากัดต่อการรัดเข็มขัดทางการคลังของรัฐบาล ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Flash Composite PMI) เดือน พ.ย. 54 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 46.5 โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการและภาคการผลิต ลดจากทั้งคู่มาอยู่ที่ระดับ 47.8 และระดับ 46.4 ตามลาดับ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody's เตือนว่าอาจปรับลดความน่าเชื่อถือของพันธบัตรฝรั่งเศสจากระดับ Aaa จากความกังวลต่อหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค. 54 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 มาอยู่ที่ระดับ -19.9 บ่งชี้สัญญาณชะลอตัวของการบริโภคภาคเอกชน
USA: mixed signal
  • คณะกรรมการร่วมเพื่อการลดผลขาดดุลงบประมาณไม่สามารถหาข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการลดผลขาดดุลงบประมาณได้ ผลจากการที่พรรครีพับลิกันไม่เต็มใจจะอนุมัติมาตรการปรับเพิ่มภาษีตามข้อเรียกร้อ งของพรรคเดโมแครต ขณะที่พรรคเดโมแครตได้ขัดขวางมาตรการปฏิรูปสวัสดิการครั้งใหญ่ที่พรรครีพับลิกันเป็นผู้เสนอ ส่งผลให้รัฐบาลต้องลดรายจ่ายภาครัฐลง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเริ่มในปี 2556 ทั้งนี้คาดว่ากึ่งหนึ่งของงบประมาณที่ลดลงจะเป็นรายจ่ายทางการทหาร GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) ลดลงจากที่เคยได้ประกาศไว้ก่อนหน้า เนื่องจากการลดลงของสินค้าคงคลังเป็นสาคัญ
Malaysia: Improving economic trend
  • GDP ไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 0.9 (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) จากไตรมาสก่อนหน้า จากมาตรการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ หลังจากธนาคารกลางลดเงื่อนไขการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 54 ทรงตัวที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า บ่งชี้ว่าการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
Taiwan:
  • คำสั่งซื้อสินค้าส่งออก เดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากคาสั่งซื้อไปยังจีนและสหรัฐฯ ที่ขยายตัวเร่งขึ้น สะท้อนภาคการส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี 54
Singapore: Improving economic trend
  • GDP ไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อน (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ทั้งนี้คาดว่าในปี 55 เศรษฐกิจสิงคโปร์ซึ่งเป็นเศรษฐกิจแบบเปิดพิเศษ จะชะลอตัวลงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 54 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการหดตัวของราคาสินค้าหมวดการคมนาคมและการศึกษาซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 ของราคาสินค้าทั้งหมดที่ร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa)
Hong Kong: mixed signal
  • มูลค่าส่งออก เดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 11.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.0 จากการส่งออกไปยังคู่ค้าสาคัญโดยเฉพาะกลุ่ม G-3 (สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น) และจีนที่ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่มูลค่านาเข้า เดือน ต.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 10.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านเสถียรภาพภายในประเทศ อัตราเงินเฟ้อเดือน ต.ค. 54 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาน้ามันที่มีเสถียรภาพมากขึ้น
Philippines: mixed signal
  • มูลค่านำเข้า เดือน ก.ย. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 11.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 28.1 ของมูลค่าการนาเข้ารวม หดตัวกว่าร้อยละ - 11.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
Japan: mixed signal
  • มูลค่าส่งออกเดือน ต.ค. 54 หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยมูลค่าส่งออกหดตัวร้อยละ -3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียหดตัวร้อยละ -6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่านาเข้าขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 17.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ต.ค. 54 หดตัวร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลงมากจากสัปดาห์ก่อนหน้า จากความกังวลเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป หลังจากตัวเลขทางเศรษฐกิจยุโรปออกมาแย่กว่าที่คาด ประกอบกับความล้มเหลวในการประชุมคณะกรรมการร่วมจากสองพรรคของสหรัฐฯ (Super-committee) เพื่อหาข้อตกลงในการปรับลดงบประมาณรายจ่ายลง ทาให้นักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติเกิดความตื่นตระหนกและเทขายหลักทรัพย์ในตลาดไทยเพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยกว่า อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 21 - 24 พ.ย. 54 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -4,233 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ทั้งในพันธบัตรระยะสั้นและกลาง ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ ยังคงเบาบาง โดยผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น (อายุไม่เกิน 2 ปี) และระยะกลาง (อายุ 3-6 ปี) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้าจากการเข้าซื้อของนักลงทุน ประกอบกับนักลงทุนคาดการณ์ว่า กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งสุดท้ายของปี 54 ในวันที่ 30 พ.ย. นี้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 21 - 24 พ.ย. 54 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -1,208 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 31.24 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 24 พ.ย. 54 อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ร้อยละ -1.26 จากความกังวลสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลหลักในภูมิภาค โดยเฉพาะค่าเงินวอนเกาหลีใต้ สะท้อนจากดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ที่อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.72
  • ราคาทองคำค่อนข้างทรงตัวทั้งสัปดาห์ โดยราคาทองคา ณ วันที่ 24 พ.ย. 54 ปิดที่ 1,694 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ใกล้เคียงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,680 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ