รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 30, 2011 13:38 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554

Summary:

1. ครม.ไฟเขียวเว้นภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปให้ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาอุทกภัย

2. กสิกรไทยคาดปี 55 รายใหญ่ต้องการเงิน 1.2 ล้านล้านบาท

3. OECD เตือนโลกรับมือวิกฤติหนี้ยุโรปที่ขยายวงกว้าง

Highlight:
1. ครม.ไฟเขียวเว้นภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปให้ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาอุทกภัย
  • กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (29 พ.ย.54) เห็นชอบให้ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรรถยนต์สำเร็จรูป ชิ้นส่วนรถยนต์ ให้แก่ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาอุทกภัย มีระยะเวลาตั้งแต่ 25 ต.ค.54-30 มิ.ย.55 โดยการนำเข้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีนัน้ จะต้องนำเข้ามาทดแทนการผลิตในประเทศที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ในจำนวนเดียวกับที่ผลิตได้ในประเทศ โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมจะพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง แต่สำหรับการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป ขณะนีมี้บริษัทฮอนด้า ออโตโมบิล เพียงรายเดียวที่เข้าข่ายถูกน้ำท่วมเสียหาย และไม่สามารถประกอบรถยนต์ได้ ส่วนผู้ประกอบการรายอื่นที่โรงงานผลิตไม่ถูกน้ำท่วมเสียหาย แต่โรงงานชิน้ ส่วนเสียหาย จะได้รับการยกเว้นภาษีเฉพาะชิน้ ส่วนรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจนไม่สามารถผลิตได้เช่นกัน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์อุทกภัยโดยเฉพาะที่อุตสาหกรรมโรจนะทำให้โรงงานผลิตรถยนต์ และชิ้นส่วนได้รับผลกระทบเป็ นอย่างมากและมีการคาดการณ์ว่าอาจจะไม่สามารถผลิตรถได้เป็นระยะเวลานานถึง 6 เดือน จากข้อมูลล่าสุดในเดือน ต.ค. 54 ชี้ให้เห็นว่าภาวะอุทกภัยมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน สะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ในเดือน ต.ค.54 หดตัวร้อยละ -35.8 เมื่อเทียบกับช่ วงเดียวกันของปี ก่อน โดยเป็ นการหดตัวในทุกดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ขณะที่ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวลงร้อยละ -38.8 เช่นเดียวกับปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์หดตัวที่ร้อยละ -4.6 ทั้งนี้ การลดอากรนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนรถยนต์จะช่วยทำให้ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ซึ่งถูกกระทบและต้องขาดหายไปอันเนื่องจากปัญหาอุทกภัย กลับมาอยู่ในสภาพปกติโดยรวดเร็วขึน้
2. กสิกรไทยคาดปี 55 รายใหญ่ต้องการเงิน 1.2 ล้านล้านบาท
  • รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปี 55 กลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่จะมีความต้องการเงินทุนสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นความต้องการเงินทุนเพื่อขยายธุรกิจต่อเนื่องจากปี 53 ประมาณ 400 พันล้านบาท โครงการลงทุนขยายธุรกิจใหม่ 250 พันล้านบาท การลงทุนขยายธุรกิจระหว่างประเทศ400 พันล้านบาท และการลงทุนเพื่อการฟื นฟูธุรกิจ 150 พันล้านบาท โดยสินเชื่อส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก 7 กลุ่ม ได้แก่ สาธารณูปโภค วัสดุก่อสร้าง ปิโตรเคมี ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ การค้า และอสังหาริมทรัพย์
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ความต้องการเงินทุนที่เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงความต้องการสินเชื่อในระดับสูงตามการขยายตัวของการลงทุน การบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการฟื้นฟูกิจกาจที่เสียหายจากปัญหาวิกฤตอุทกภัย โดยล่าสุด สินเชื่อในดือน ก.ย. 54 ขยายตัวต่อเนื่องเป็ นเดือนที่ 17 ที่ร้อยละ 17.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน โดยเป็ นการขยายตัวของทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อผู้บริโภค และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว (mom_SA) สินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อผู้บริโภคขยายตัวร้อยละ 0.9 และ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ของไทยสามารถรองรับความต้องการเงินทุนในอนาคตได้เป็ นอย่างดี สะท้อนจากอัตราการขยายตัวของเงินฝากในช่วง 9 เดือนแรกของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 9.8 เมื่อ

เทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน และสภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน ก.ย.54 อยู่ที่ 2.05 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังมีความมั่นคงและฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งสะท้อนจากสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net NPLs) ในเดือน ก.ย.54 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของยอดคงค้างสินเชื่อรวม และการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital Adequacy Ratio : CAR) อยู่ที่ร้อยละ 15.7 ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ร้อยละ 8.5

3. OECD เตือนโลกรับมือวิกฤติหนี้ยุโรปที่ขยายวงกว้าง
  • OECD เตือนผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกให้เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึน้ โดยเฉพาะผลจากการลุกลามของวิกฤติหนี้ในยุโรปไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว พร้อมระบุว่าการที่กลุ่มสหภาพยุโรปไม่สามารถจำกัดการลุกลามของวิกฤติหนี้ดยเริ่มขยายวงกว้างจากกรีซไปสู่ประเทศที่ใหญ่กว่า เช่น อิตาลีอาจสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ขึน้ มาและก่อให้เกิดผลเสียหายที่รุนแรง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปจำเป็ นต้องมีความคืบหน้าและรวดเร็ว ที่ผ่านมาทีประชุมผู้นำยูโร (26 ต.ค. 54) ได้ข้อสรุปมาตรการแก้ไขหลัก 3 ด้าน ได้แก่ (1) การเพิ่มวงเงินตัดหนี้สูญ(Hair Cut) ของกรีซเป็นร้อยละ 50 ผ่านโครงการเข้าร่วมของเอกชนโดยสมัครใจ (2) ให้ธนาคารต่างๆ ในยุโรปเพิ่มทุนให้เพียงพอต่อการปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซและเพียงพอที่จะรับความเสี่ยงจากการลุกลามของวิกฤตหนี้ (3) เพิ่มขนาดกองทุน EFSF ให้สามารถช่วยเหลือทางการเงินได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามมาตรการที่ประกาศนั้นยังขาดความชัดเจนในบางประเด็น แม้มาตรการดังกล่าวจะช่วยรองรับปัญหาการขาดสภาพคล่อง แต่ปัญหาพื้นฐานที่สำคัญยังไม่ได้รับการแก้ไข เนื่องจากหลายประเทศที่กำลังประสบปัญหาวิกฤตหนี้ในปัจจุบันไม่สามารถใช้นโยบายการคลังมากระตุ้นเศรษฐกิจได้อีก เนื่องจากหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่สูงมาก ขณะที่การดำเนินนโยบายการเงินมีข้อจำกัด ทั้งนี้ หากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศหลักในยูโรโซน (Core) เป็ นวงกว้าง ซึ่งอาจส่งผลเชิงลบต่อไทยผ่านช่องทางการค้ากับยุโรปและความผันผวนทางการเงินที่รุนแรงขึน้

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ