รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 6, 2011 12:26 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.9 เท่ากับเดือนก่อนหน้า
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ต.ค. 54 หดตัวร้อยละ -35.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเบื้องต้นขยายตัวร้อยละ 7.4
  • สินเชื่อเดือน ต.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 17.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินขยายตัวร้อยละ 11.3
  • วันที่ 30 พ.ย.54 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง จากเดิมที่อยู่ที่ร้อยละ 3.50 เหลือร้อยละ 3.25
  • GDP อินเดีย ในไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือขยายตัวร้อยละ 1.8 จากไตรมาสก่อน (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว)
  • GDP ฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.3 (หลังหักผลทางฤดูกาล)
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือน พ.ย.54 อยู่ที่ระดับ 49.0
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Nov : Motorcycle Sale (%YoY)           -8.0                -4.6
  • ส่วนหนึ่งคาดว่ายังได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ในเดือนต.ค.54 โดยเฉพาะภาคกลางที่เป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันประมาณร้อยละ 25.0 ของยอดขายรถจักรยานยนต์รวม ส่งผลให้ยอดขายรถจักรยานยนต์ปรับตัวลดลง
Economic Indicators: This Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบเท่ากับเดือน ต.ค. 54 ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเร่งตัวที่ร้อยละ 0.21 โดยมีปัจจัยหลักมาจากปัญหาอุทกภัย ทำให้แหล่งผลิตเสียหาย รวมถึงมีอุปสรรคในการขนส่ง ส่งผลให้ราคาสินค้าบางประเภทปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ผักสด ไข่ และเนื้อไก่ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.9 เทียบเท่ากับเดือนก่อนหน้า
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 โดยดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 12.9 จากเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ท่อเหล็กดำ เหล็กแผ่นเรียบดำ เหล็กรูปพรรณ ดัชนีในหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตขยายตัวร้อยละ 9.3 จากคอนกรีตบล็อกก่อผนัง-ก่อผนังมวลเบา และดัชนีในหมวดก่อสร้างอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 8.8 จากอิฐมอญ ทราย หินย่อย เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการวัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น เพื่อฟื้นฟูระบบสาธารณูปโภคและอาคารบ้านเรือน หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมในบางจังหวัดได้เริ่มคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้ แหล่งผลิตบางแห่งยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมส่งผลต่อต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบและสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ต.ค.54 หดตัวร้อยละ -35.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.4 โดยปัจจัยหลักที่ทาให้ดัชนีฯ หดตัวต่อเนื่องและรุนแรง เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมสาคัญ 7 แห่งใน จ.อยุธยาและปทุมธานี้ ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อิล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรกปี 54 ดัชนี MPI หดตัวที่ร้อยละ -4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเบื้องต้นในเดือน ต.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 12.4 (หรือหดตัวร้อยละ -8.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนโดยขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้าท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ อย่างไรก็ดี ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรยังขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยได้รับปัจจัยบวกจากการขยายตัวของผลผลิตสาคัญ ได้แก่ ยางพารา ที่สภาพภูมิอากาศเอื้ออานวยต่อการกรีดยางและไม่ได้รับผลกระทบจากน้าท่วม ส่วนมันสาปะหลังขยายตัวในอัตราเร่ง เนื่องจากปัญหาโรคระบาดคลี่คลายลง ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกปี 54 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเบื้องต้น ในเดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 10.1 ตามการขยายตัวในอัตราชะลอลงจากผลผลิตยางพาราและมันสาปะหลัง ที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 และหดตัวลงร้อยละ -27.9 ตามลาดับ จากอุปทานที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อุปสงค์ในตลาดโลกเริ่มชะลอลง ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณชะลอตัว จากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป และเศรษฐกิจจีนที่มีนโยบายการชะลอตัวเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกปี 54 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • สินเชื่อเดือน ต.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 17.0 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการขยายตัวชะลอลงทั้งสินเชื่อธุริกจและสินเชื่อภาคครัวเรือน โดยหากพิจารณาตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า ทั้งสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวชะลอลงเช่นกัน สะท้อนความต้องการสินเชื่อที่แผ่วลง จากภาวะน้าท่วม อย่างไรก็ตาม คาดว่าสินเชื่อจะกลับมาขยายตัวเร่งขึ้นในช่วงต้นปี 55 ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตและภาคครัวเรือนหลังภาวะน้าท่วม
  • เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.1 หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว โดยหากพิจารณาตามผู้ให้เงินฝาก พบว่าเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.0 (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาล) ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาล) สะท้อนการระดมเงินฝากอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับสินเชื่อที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
  • วันที่ 30 พ.ย. 54 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง จากเดิมที่อยู่ที่ร้อยละ 3.50 เหลือร้อยละ 3.25 เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงภาวะน้ำท่วม ผนวกกับเศรษฐกิจโลกมีความผันผวนมากขึ้นจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะเรื้อรังในสหภาพยุโรป และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังมีอยู่แต่ไม่น่าจะเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ต.ค. 54 เกินดุลเล็กน้อยที่ 39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 404 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าเกินดุลลดลงที่ 1,012 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการส่งออกที่ชะลอตัวลงมากจากปัจจัยด้านอุปทานที่ได้รับบผลกระทบจากอุทกภัย ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิขาดดุลลดลงที่ -973.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามค่าบริการจ่าย โดยเฉพาะค่าระวางสินค้าและค่าโดยสารเดินทางที่ลดลงตามการนาเข้าที่ชะลอลง
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ต.ค. 54 หดตัวร้อยละ -22.3 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน หดตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ17.0 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกหดตัวร้อยละ -30.7 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การหดตัวดังกล่าวสอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิต (Cap U) ในหมวดการผลิตโลหะขั้นมูลฐานในเดือน ต.ค.54 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 44.8 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 49.2 โดยปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในเดือน ต.ค.54 ที่หดตัวมาจากปริมาณการจำหน่ายเหล็กในหมวดภาคการก่อสร้าง ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย และลวดเหล็ก ที่หดตัวร้อยละ -39.0 -24.7 และ -27.7 ตามลำดับ ขณะที่เหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมสะท้อนจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีหดตัวร้อยละ -4.7 หดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 22.4 ทั้งนี้ ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศที่หดตัวลงเป็นผลมาจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการก่อสร้างที่ต้องเลื่อนออกไป
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ.ย. 54 หดตัวที่ร้อยละ -8.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ -4.6 ส่วนหนึ่งคาดว่ายังได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ในเดือนต.ค.54 โดยเฉพาะภาคกลางที่เป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันประมาณร้อยละ 25. 0 ของยอดขายรถจักรยานยนต์รวม ส่งผลให้ยอดขายรถจักรยานยนต์ปรับตัวลดลง

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: worsening economic trend
  • อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค.54 ปรับตัวสูงขึ้นสู่ร้อยละ 10.3 ของกำลังแรงงานรวม จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 10.2 บ่งชี้ถึงเศรษฐกิจสหภาพยุโรปที่กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย อัตราเงินเฟ้อ (Flash HICP) เดือน พ.ย.54 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า คงที่จากเดือนที่แล้ว และเป็นระดับสูงกว่าระดับเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรปที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 2.0 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย.54 อยู่ที่ระดับ 46.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 47.1 บ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัวต่อเนื่อง
USA: Improving economic trend
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ย. 54 ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนที่ระดับ 56.0 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 40.9 อย่างไรก็ตาม ผลสารวจนี้จัดทาก่อนหน้าการประชุม Super committee ในวันที่ 21 พ.ย. 54 ที่ล้มเหลว ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม(ISM Mfg PMI) เดือน พ.ย. 54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 52.7 สะท้อนการขยายตัวเร่งขึ้นของภาคการผลิต ยอดขายบ้านใหม่ในเดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) บ่งชี้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯกาลังปรับตัวเข้าสู่สภาพปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไป
China: worsening economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 49.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.4 โดยดัชนีฯ ที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.พ. 52 บ่งชี้ถึงการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมจีน
Japan: mixed signal
  • ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -1.2 บ่งชี้ว่าการบริโภคภาคเอกชนเริ่มกลับมาขยายตัวดีต้อนรับเทศกาลวันหยุดที่กาลังจะมาถึง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย.54 อยู่ที่ระดับ 49.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.6 โดยดัชนีฯ ที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 เป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือนบ่งชี้ถึงว่าภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นกลับไปหดตัวอีกครั้งหลังจากฟื้นตัวจากภัยสึนามิ อัตราว่างงานญี่ปุ่นเดือน ต.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ของกำลังแรงงานรวม ผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
Indonesia: Improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 54 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนอยู่ที่ร้อยละ 4.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง ขณะที่มูลค่าการส่งออก และมูลค่าการนำเข้า เดือน ต.ค. 54 ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 16.7 และ 29.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากอิทธิพลการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งเป็นผลให้อุปสงค์จากต่างประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียพึ่งพิงการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก คาดว่าธนาคารกลางอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
Philippines: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวในระดับต่าที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.3 (หลังหักผลทางฤดูกาล) จากไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากการชะลอตัวของภาคเกษตรกรรมและภาคการก่อสร้างจากเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นในประเทศ และภาคการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องจากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่ลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน พ.ย. 54 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 4.5
India: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวชะลอลงต่ำสุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือขยายตัวร้อยละ 1.8 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) โดยการบริโภคภาคเอกชนและภาคการส่งออกชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนหดตัวลง สะท้อนเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง จากอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่แผ่วลง
South Korea: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ย. 54 (เบื้องต้น) ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สะท้อนอุปสงค์จากนอกประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเดือน พ.ย. 54 ปรับตัวลดลงและอยู่ในระดับต่ากว่า 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ระดับ 47.1 ส่วนหนึ่งจากดัชนีคาสังซื้อสินค้าส่งออกที่บ่งชี้การหดตัว สะท้อนภาคการส่งออกที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงในระยะต่อไป มูลค่าการนาเข้าเดือน พ.ย. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 11.3 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สะท้อนระดับราคาที่เร่งขึ้น เพิ่มแรงกดดันต่อธนาคารกลางในการใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวมากขึ้นในระยะต่อไป
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า หลังจากนักลงทุนคลายความกังวลเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป ประกอบกับการประกาศของธนาคารกลางสหรัฐฯ ร่วมกับธนาคารกลางยุโรป อังกฤษ แคนาดา ญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเตรียมใช้มาตรการอัดฉีดสภาพคล่องในระบบการเงินโลก ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาซื้อหลักทรัพย์ไทยอีกครั้ง ทาให้ดัชนีฯ ปรับตัวขึ้นสูงเกิน 1,000 จุด โดยปิดที่ ระดับ 1,019 จุดในวันที่ 1 ธ.ค. 54 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 28 พ.ย. - 1 ธ.ค. 54 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 2,232 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยผลตอบแทนพันธบัตร ปรับตัวลดลงเล็กน้อยต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้าจากการเข้าซื้อของนักลงทุน ประกอบกับกนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ในการประชุมครั้งสุดท้ายของปี 54 เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 54 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 28 พ.ย. - 1 ธ.ค. 54 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 2,804 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ ก่อนหน้าเล็กน้อย โดยปิดที่ระดับ 30.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 1 ธ.ค. 54 แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ร้อยละ 1.31 จากการคลายความกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลหลักในภูมิภาค โดยเฉพาะค่าเงินวอนเกาหลีใต้ และค่าเงินสิงคโปร์ดอลลาร์ ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.90 จากการที่ค่าเงินคู่ค้าต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในอัตราที่ช้ากว่าค่าเงินบาทไทย
  • ราคาทองคำปรับตัวสุงขึ้นตลอดสัปดาห์ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 1 ธ.ค. 54 ปิดที่ 1,744 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,712 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ