รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 30 มกราคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 30, 2012 13:42 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 30 มกราคม 2555

Summary:

1. ค่ายรถลุยโรงงานใหม่ ดันกำลังผลิตพุ่ง 2 ล้านคัน

2. พาณิชย์ ห้ามสินค้าปรับราคา อ้างกระทบคนทั้งประเทศงัดธงฟ้าดัมพ์ข้าวถุงขู่ขึ้น

3. ฟิทช์ประกาศลดเครดิตอิตาลี-สเปนลง 2 ขั้น หวั่นไม่สามารถรับมือวิกฤตหนี้

Highlight:
1. ค่ายรถลุยโรงงานใหม่ ดันกำลังผลิตพุ่ง 2 ล้านคัน
  • สถาบันยานยนต์คาดว่า สถานการณ์การผลิตรถยนต์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติไตรมาส 2 ปี 55 และมี 3 ค่ายรถยนต์ที่มีการเปิดโรงงานใหม่ ขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบด้วยค่าย FORD (รถยนต์ทั่วไป) Suzuki (อีโคคาร์) และ Mitsubishi (อีโคคาร์) และยังมีปัจจัยบวกจากมาตรการภาษีรถคันแรกซึ่งรับผลบวกเต็มปี เป็นตัวกระตุ้นยอดขายรถยนต์ในประเทศ โดยคาดการผลิตรถยนต์ของประเทศจะปรับเพิ่มขึ้นจากปี 54 ที่ 1.46 ล้านคันเป็น 2 ล้านคัน ในปี 55
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นได้ก่อให้เกิดความเสียหายในหลายภาคการผลิต ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ โดยส่งผลให้การผลิตต้องชะงักลง รวมถึงการผลิตในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ได้รับผลกระทบและก่อให้เกิดห่วงโซ่อุปทานการผลิตตึงตัว อย่างไรก็ดี สศค. คาดว่า ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 55 เศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวเร่งขึ้น และคาดว่าภาคอุตสาหกรรมยานยนต์จะกลับมาผลิตได้ในระดับปกติ โดยจะได้แรงสนับสนุนจากนโยบายรัฐในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังน้ำลด อาทิ โครงการสินเชื่อพิเศษเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ มาตรการลดภาษีเพื่อลดต้นทุนในการนำเข้าเครื่องจักรใหม่ รวมถึงอีกหลายนโยบายที่ช่วยส่งเสริมบรรยากาศการลงทุน และก่อให้เกิดกำลังซื้อในประเทศเพิ่มขึ้นทั้งโครงการรับจำนำข้าว การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ และการลงทุนเพื่อฟื้นฟูภายหลังน้ำลด เป็นต้นทั้งนี้ สศค. คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะจะกลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 5.0 ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5-5.5 (ประมาณการ ณ เดือน ธ.ค. 55)
2. พาณิชย์ ห้ามสินค้าปรับราคา อ้างกระทบคนทั้งประเทศงัดธงฟ้าดัมพ์ข้าวถุงขู่ขึ้น
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าตั้งใจจะผลักดันนโยบายของรัฐบาลให้ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะการดูแลปากท้องของประชาชน ซึ่งในส่วนของการปรับขึ้น ราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพของประชาชนนัน้ ยืนยันว่าจะยังไม่อนุมัติให้ผู้ประกอบการปรับขึ้นราคาแน่นอน เพราะจะกระทบกับคนทัง้ประเทศ ขณะเดียวกัน จะหาทางให้ผู้ประกอบการไม่เดือดร้อนจากภาวะต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังกล่าวว่า ไม่มีความกังวลเรื่องราคาข้าวถุงที่จะปรับตัวสูงขึ้นจากโครงการรับจำนำข้าว เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์จะผลิตข้าวสารบรรจุถุงธงฟ้าออกขาย เพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยจะหาช่องทางขายให้หลากหลายมากขึ้นเพื่อให้ประชาชนหาซื้อ ได้ง่ายขึ้น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ในปี 2555 ค่าครองชีพมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น จากการปรับราคาของสินค้าชนิดต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบาย การปรับราคาก๊าซ NGV การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันและการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันอีกครั้ง การปรับลดหน่วยไฟฟ้าฟรีจาก 90

หน่วย เหลือเพียง 50 หน่วย นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ และนโยบายการรับจำนำข้าว โดยคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าพลังงานมากที่สุด และรองลงมาคือราคาสินค้าประเภทอาหารและ เครื่องดื่ม ด้วยเหตุนี้ กระทรวงพาณิชย์จึงมีมาตรการรองรับการปรับราคาของสินค้าดังกล่าว โดยการควบคุมราคาและทยอยปรับราคาสินค้า เพื่อให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด ทั้งนี้ สศค.คาดว่าอัตราเงินเฟ้ อทั่วไปในปี 2555 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.0-4.0)

3. ฟิทช์ประกาศลดเครดิตอิตาลี-สเปนลง 2 ขั้น หวั่นไม่สามารถรับมือวิกฤตหนี้
  • ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี สเปน และอีก 3 ประเทศในยูโรโซน ทั้งนี้ ฟิทช์ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีลง 2 ขั้น มาอยู่ที่ระดับ A- จากระดับ A+ พร้อมกับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนลง 2 ขั้น มาอยู่ที่ระดับ A จากระดับ AA- นอกจากนี้ฟิทช์ยังได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของเบลเยี่ยม สโลเวเนีย และไซปรัส พร้อมกับให้แนวโน้มความน่าเชื่อถือของทั้ง 5 ประเทศ

เป็น "เชิงลบ"

  • สศค. วิเคราะห์ว่า การที่ FITCH ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี สเปน เบลเยี่ยม สโลเวเนีย และไซปรัสเช่นเดียวกับ S&P นั้น สะท้อนเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มยุโรปเหล่านี้ยังคงอ่อนแอและยืดเยื้อต่อไป อีกทั้งอาจไม่สามารถรับมือกับวิกฤตหนี้สาธารณะได้ ซึ่งจะสร้างความผันผวนในตลาดการเงินโลกและกระทบมาสู่เศรษฐกิจโลกผ่านช่องทางอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะอิตาลีนั้นถือเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ในยุโรป และเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของการส่งออกไทย โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.9 ของมูลค่าการส่งออกไทยทั้งหมดหรือร้อยละ 0.02

ของ GDP สินค้าส่งออกไทยสำคัญไปยังอิตาลีได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ยางพาราเครื่องปรับอากาศ ปลาหมึกสด และยานยนต์ อย่างไรก็ดี ผลกระทบในตลาดการเงินอาจจะบรรเทาลงเล็กน้อยเนื่องจากล่าสุดรัฐบาลอิตาลีประสบความสำเร็จในการประมูลตั๋วเงินคลัง อีกทั้งต้นทุนการกู้ยืมก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ