รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 23 - 27 มกราคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 2, 2012 12:12 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. กอนทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) เห็นว่าการที่รัฐบาลญี่ปุ่นและทำการปรับขึ้นอัตราภาษีบริโภคนั้นยังไม่เพียงพอ

2. กระทรวงการคลังเปิดเผยว่ายอดหนี้สาธารณะของประเทศญี่ปุ่นในช่วงสิ้นปี 2555 เพิ่มขึ้นสูงสุดในประวัติการณ์

3. ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 31 ปี

-----------------------------------

1. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) เห็นว่าการที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนที่จะปรับขึ้นอัตราภาษีบริโภคนั้นยังไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของญี่ปุ่น

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ได้เสนอความเห็นในรายงานการคลังฉบับล่าสุดว่าการที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนที่จะทาการปรับขึ้นอัตราภาษีบริโภคจากร้อยละ 5 ในปัจจุบัน เป็นร้อยละ 10 ในปี 2558 นั้น ยังไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นที่มีอยู่เป็นจานวนมากได้ ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะได้เสนอแผนการปรับโครงสร้างภาษีควบคู่ไปด้วยก็ตาม

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นาย Yoshihiko Noda ได้ประกาศเจตนาอารมย์ที่จะผลักดันกฎหมายเพื่อทาการปรับขึ้นอัตราภาษีบริโภคและปรับโครงสร้างภาษีเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะญี่ปุ่น โดยมีกระแสต่อต้านอย่างมากทั้งจากพรรคฝ่ายค้านและพรรค Democratic Party ของตัวเอง

2. กระทรวงการคลังเปิดเผยว่ายอดหนี้สาธารณะของประเทศญี่ปุ่นในช่วงสิ้นปีงบประมาณ 2555 เพิ่มขึ้นสูงสุดในประวัติการณ์

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่ายอดการออกพันธบัตรรัฐบาลและยอดการกู้ยืมเงินต่างๆของรัฐบาลที่นับเป็นหนี้สาธารณะของประเทศญี่ปุ่นในช่วงสิ้นปีงบประมาณ 2555 (วันที่ 31 มีนาคม2555) นั้นจะมีจำนวนเท่ากับ 1,085 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงที่สุดในประวัติการณ์ โดยในปีงบประมาณ 2555 นั้นรัฐบาลมีแผนจะออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมเป็นจานวนเท่ากับ 44.2440 ล้านล้านเยน นอกจากนี้รัฐบาลยังจะต้องออกพันธบัตรเพื่อระดมเงินทุนในการแทรกแซงค่าเงินเยนอีกเป็นจำนวนเท่ากับ 195 ล้านล้านเยนจึงส่งผลให้ยอดหนี้ของประเทศนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเดิมที่ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมียอดหนี้ประมาณ 985.3586 ล้านล้านเยนเมื่อช่วงสิ้นปีงบประมาณ 2554 ญี่ปุ่นได้ประสบปัญหาการขาดดุลงบประมาณโดยมียอดการออกพันธบัตรรัฐบาลมากกว่ายอดรายได้จากการเก็บภาษีนับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ซึ่งหากความเชื่อมั่นต่อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นในตลาดการเงินนั้นลดลงก็จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและจะส่งผลต่อสถานะการคลังของประเทศญี่ปุ่นในอนาคต

3. ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 31 ปี

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่าญี่ปุ่นมียอดการขาดดุลการค้าในปี 2554 เท่ากับ 2.4927 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 31 ปี ตั้งแต่ปี 2523 ที่มีการขาดดุลการค้าเท่ากับ 2.61 ล้านล้านเยนอันสืบเนื่องจากวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 (Oil Shock Crisis)

ยอดการส่งออกลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อยู่ที่ 65.5547 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี เนื่องจากโรงงานหยุดผลิตชั่วคราวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยการส่งออกยานยนต์ที่ลดลงร้อยละ 10 ส่งผลให้การส่งออกโดยรวมลดลงอย่างมาก ประกอบการแข็งค่าของเงินเยนเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น และวิกฤติความน่าเชื่อถือของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรส่งผลให้การส่งออกลดลงด้วย นอกจากนี้การส่งออกที่ไปยังเอเชียก็ลดลงร้อยละ 3 ขณะที่ยอดการนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อยู่ที่ 68.0474 ล้านล้านเยน อันเป็นการเพิ่มติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี โดยการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เป็นยอดการนำเข้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ยอดการนำเข้าน้ำมันดิบก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากราคาน้ำมันสูงขึ้น เนื่องจากการหยุดเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ได้ส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องนำเข้าเชื้อเพลิงเช่นน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นทำให้ยอดการนำเข้านั้นปรับตัวมีมูลค่าสูงขึ้น

                              ดุลการค้าประจำปี 2554                      หน่วย: พันล้านเยน
                      ยอดการส่งออก (ร้อยละ)     ยอดการนำเข้า (ร้อยละ)     ดุลการค้า (ร้อยละ)
สหรัฐฯ                     10,018.0 (-3.4)        5,921.7   (0.2)      4,096.4  (-8.2)
สหภาพยุโรป                  7,619.7  (0.1)        6,387.1   (9.7)      1,232.7 (-31.3)
เอเชีย (รวมจีน)             36,689.7 (-3.0)       30,361.5  (10.4)      6,328.1 (-38.7)
สาธารณรัฐประชาชนจีน         12,904.8 (-1.4)       14,636.1   (9.1)     -1,731.2   (-)
รวม                       65,554.7 (-2.7)       68,047.4  (12.0)     -2,492.7
ที่มา:  กระทรวงการคลังญี่ปุ่น


          สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

          ที่มา:  Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
          Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ