รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 6 มีนาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 6, 2012 11:18 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 6 มีนาคม 2555

Summary:

1. ราคาอาหารมีแนวโน้มแพงขึ้น

2. กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติเตรียมเสนอรูปแบบประกันภัยพิบัติ เข้าครม.วันนี้

3. 12 สถาบันการเงินรายใหญ่ ร่วมลงนามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เพื่ออุ้มกรีซ

Highlight:
1. ราคาอาหารมีแนวโน้มแพงขึ้น
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ให้สัมภาษณ์กับ Money Channal โดยระบุว่า ราคาอาหารมีแนวโน้มแพงขึ้นในอนาคต ตามราคาน้ามันที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงจานวนประชากรของโลกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 7,000 ล้านคน เป็น 9,000 ล้านคนภายใน 40 ปี ขณะที่พื้นที่การเพาะปลูกอาหารมีแนวโน้มลดลง เพราะต้องแบ่งไปปลูกพืชพลังงาน
  • สศค.วิเคราะห์ว่า ราคาอาหารที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านภูมิอากาศทีแปรปรวนเป็นสาคัญที่อาจส่งผลให้ราคาอาหารมีความผันผวน จากการที่ราคาอาหารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังกล่าวอาจจะเป็นโอกาศดีสาหรับผู้ส่งออกอาหารของไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศหลักประเทศหนึ่งที่ส่งออกอาหารไปยังทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตาม ราคาอาหารที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเนื่องต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทาให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาอาหาร โดยล่าสุดอัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ.55 อยู่ที่ ร้อยละ 3.4 ทั้งนี้ สศค. คาดว่าในปี 55 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 (คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค. 54) โดย สศค.จะมีการปรับประมาณการอีกครั้งในเดือนมี.ค.55
2. กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติเตรียมเสนอรูปแบบประกันภัยพิบัติ เข้าครม.วันนี้
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับรูปแบบการประกันภัยพิบัติ โดยจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันนี้ โดยกาหนดคาจากัดความของภัยพิบัติกองทุนไว้ 3 ภัย ได้แก่ น้าท่วม แผ่นดินไหว และลมพายุ ในส่วนของการชดเชยความเสียหายจะจากัดความคุ้มครองร้อยละ 30 ของทุนประกัน โดยภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม จะคิดเบี้ยประกันร้อยละ 1 ของทุนประกัน ไม่เกิน 50 ล้านบาท ส่วนกรณีทุนประกันมากกว่า 50 ล้านบาท ที่ถือเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่จะต้องจ่ายเบี้ยประกัน ร้อยละ 1.25 ของทุนประกัน ขณะที่กรณีของประชาชนภาคครัวเรือนจะกาหนดเบี้ยประกันร้อยละ 0.50 ของทุนประกันไม่เกิน 1 แสนบาท
  • สศค.วิเคราะห์ว่าหลังเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี 2554 เบี้ยประกันอุทกภัยของบริษัทประกันไทยในไทยปรับตัวขึ้นไปสูงกว่าเดิมมาก บางแห่งสูงขึ้นกว่า 20-30 เท่า จากเดิมที่เรียกเก็บที่ร้อยละ 0.02 ทาให้ผู้ประกอบการไม่สามารถทาประกันภัยพิบัติได้ จึงไม่มีความมั่นใจที่จะซ่อมแซมโรงงานเพื่อกลับมาประกอบธุรกิจอีกครั้ง กองทุนส่งเสริมการประกันภัยจึงทาหน้าที่สาคัญเพื่อรับประกันภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งหากสามารถเปิดรับทาประกันได้เร็วก็จะเป็นการช่วยฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้กลับมาได้ และจะสนับสนุนให้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ทั้งนี้สศค.คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนในปี 2555 จะขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
3. 12 สถาบันการเงินรายใหญ่ ร่วมลงนามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เพื่ออุ้มกรีซ
  • สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) ซึ่งเป็นตัวแทนการเจรจาของกลุ่มสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ของกรีซ เปิดเผยว่า สถาบันการเงินรายใหญ่ 12 แห่ง ได้ลงนามในคามั่นสัญญาว่าจะมีส่วนร่วมในแผนการบรรเทาภาระหนี้สินของกรีซ ทั้งนี้ กรีซกาลังพยายามโน้มน้าวธนาคารพาณิชย์และกองทุนเพื่อการลงทุนรายอื่นๆให้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการปรับโครงสร้างหนี้ ผ่านการสว็อปพันธบัตร หรือการปรับลดมูลค่าหน้าพันธบัตรของรัฐบาลกรีซลง 53.5% ซึ่งเป็นโครงการที่จะช่วยให้กรีซสามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชาระหนี้
  • สศค.วิเคราะห์ว่า เนื่องจากกรีซมีกาหนดต้องชาระหนี้ 1.45 หมื่นล้านยูโร สาหรับการไถ่ถอนพันธบัตรในวันที่ 20 มี.ค.55 จึงเป็นสิ่งจาเป็นที่ยูโรโซนต้องพิจารณามาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าว ทั้งนี้ การปรับลดมูลค่าหน้าตั๋ว (SWAP) ของพันธบัตรรัฐบาลกรีซ ก็เป็นอีกแนวทางการช่วยเหลือหนึ่ง (นอกเหลือการอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางยุโรปและการช่วยเหลือทางการเงินผ่านกองทุน EFSF ที่ผ่านมา) อย่างไรก็ดี การ SWAP ดังกล่าวสะท้อนว่าศักยภาพในการชาระหนี้ของกรีซอ่อนแอลงมากและส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในระยะยาว โดยล่าสุด Moody’s ได้ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรสกุลเงินในประเทศและต่างประเทศของกรีซ ลงจากระดับ Ca สู่ระดับ C (ซึ่งเป็นระดับต่าสุด) จึงเป็นสิ่งจาเป็นที่ต้องเร่งกาหนดแนวทางการสร้างเสถียรภาพแก่เศรษฐกิจอียูอย่างเป็นรูปธรรม ควบคู่กับการแก้ปัญหาภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ต่อไป

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ