รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 18, 2012 12:10 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2555

Summary:

1. ดัขนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย.55 อยู่ในระดับ 104 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5

2. ประธานธนาคารโลกเตือน กรีซออกจากยูโรโซน ส่งผลเทียบเท่าเลห์แมนบราเธอร์สล้มละลาย

3. ญี่ปุ่นเผย GDP ไตรมาส 1 ปี 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

Highlight:
1. ดัขนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 55 อยู่ในระดับ 104 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5
  • สถาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยตัวเลขดัขนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 55 อยู่ในระดับ 104 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 โดยปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 102.1 เป็นผลจากยอดคาสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ยอดการผลิต และผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น อันมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวเร่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทาให้การใช้จ่ายด้านการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ตามที่ ส.อ.ท. เปิดเผยข้อมูลดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 55 ที่ปรับเพิ่มขึ้นนี้ ชี้ให้เห็นถึงความแกร่งแข็งของการบริโภคภาคเอกชนในประเทศที่เพิ่มมากขึ้น สะท้อนจากเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจด้านการบริโภค เดือน เม.ย. 55 ที่ส่งสัญญาณการขยายตัวอย่างชัดเจน อาทิ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 มาอยู่ที่ระดับ 67.5 ยอดขายรถยนต์ขยายตัวร้อยละ 23.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และยอดขายรถจักรยานยนต์ที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 นอกจากนี้ แนวโน้มราคาน้ามันที่ปรับตัวลดลงในช่วงระยะนี้จะเป็นผลให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการลดลง และทาให้ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจในการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการจาเป็นต้องคานึงถึงความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อันจะส่งผลกระทบให้อุปสงค์จากต่างประเทศชะลอตัวลงด้วย
2. ประธานธนาคารโลกเตือน กรีซออกจากยูโรโซน ส่งผลเทียบเท่าเลห์แมนบราเธอร์สล้มละลาย
  • ประธานธนาคารโลก กล่าวแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสมาคมเศรษฐกิจแห่งวอชิงตัน ดีซี ว่า หากกรีซออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มยูโรโซน ก็อาจส่งผลกระทบวงกว้างที่รุนแรงต่อไปยังสเปนและอิตาลี และอาจเทียบเท่ากับการล้มละลายของเลห์แมน บราเธอร์สในปี 51 พร้อมกับกล่าวว่า กรีซกาลังเผชิญกับสถานการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งไม่ใช่ประเด็นทางเศรษฐกิจโดยตรงเพียงอย่างเดียว ในขณะที่รัฐบาลสเปนและอิตาลีกาลังเผชิญกับ"สถานการณ์ที่ยุ่งยาก" ในด้านการปฏิรูปการคลัง และการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต
  • สศค. วิเคราะห์ว่า หากกรีซจาเป็นต้องออกจากกลุ่มยูโรโซนจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินยูโร จากความตื่นตระหนกของนักลงทุน ที่เข้าซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งมีความเสี่ยงน้อยกว่า ซึ่งจะทาให้หนี้ในสกุลเงินต่างประเทศของประเทศในกลุ่มยูโรโซนเพิ่มขึ้นมาก อันส่งผลต่อฐานะทางการเงินของทั้งภาครัฐบาลและเอกชนที่มีหนี้สินต่างประเทศ ในขณะที่ค่าเงินสกุลใหม่ของกรีซก็น่าจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเช่นกัน กรีซในฐานะที่เป็นผู้นาเข้าสุทธิ (Net importer) จะประสบปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น และในภาครวม เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในภาคการเงินน่าจะมีความผันผวนสูง เมื่อปี 51 ดังนั้น หากกรีซเลือกออกจากกลุ่มยูโรโซน จะเป็นผลเสียกับทุกฝ่ายได้ อย่างไรก็ตาม หากสเปนและอิตาลีสามารถปฏิรูปภาคการคลังและดาเนินมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อลดระดับหนี้สาธารณะลงได้ จากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 68.5 และ 120.1 ต่อ GDP จนถึงระดับที่กาหนดตามข้อตกลงว่าด้วยเสถียรภาพและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Stability and Growth Pact) ของสหภาพยุโรป ที่กาหนดให้หนี้รัฐบาลกลางของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปอยู่ที่ระดับไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP ตามลาดับ และจะเป็นการสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนต่อเสถียรภาพของสกุลเงินยูโรต่อไปได้
3. ญี่ปุ่นเผย GDP ไตรมาส 1 ปี 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ญี่ปุ่นเผย GDP ไตรมาส 1 ปี 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.0 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยรัฐบาลญี่ปุ่นคาดว่าในปี 55 นี้ เศรษฐกิจจะขยายตัวถึงร้อยละ 4.1
  • สศค.วิเคราะห์ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปีนี้ มีปัจจัยหลายประการสนับสนุน อาทิ 1) ปัญหาห่วงโซ่อุปทานจากอุทกภัยในไทยเมื่อปลายปีที่ผ่านมาเริ่มคลี่คลาย และภาคการผลิตเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาเร่งทาการผลิตได้อีกครั้งหนึ่ง สะท้อนจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวในเดือน มี.ค. 55 ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2) อุปสงค์ภายในประเทศยังคงขยายตัวได้ดี บ่งชี้จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคไตรมาส 1 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับยอดค้าปลีก ที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 55 ซึ่งภาคการบริโภคภาคเอกชนเป็นหัวใจของเศรษฐกิจญี่ปุ่นด้านอุปสงค์ โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของ GDP การบริโภคภาคเอกชนที่แข็งแกร่งจะเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น 3) การใช้จ่ายของภาครัฐในไตรมาส 1 ปี 55 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลจากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อต้นปี 54 ที่ผ่านมาสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจญี่ปุ่นในหลายภาคส่วน อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซนที่ยังหาทางออกไม่ได้นั้นยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงแก่เศรษฐกิจญี่ปุ่น เนื่องจากยุโรปเป็นคู่ค้าสาคัญอันดับ 3 ของญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.5 ของการส่งออกรวม (สัดส่วนปี 54)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ