รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 13 มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 13, 2012 11:17 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 13 มิถุนายน 2555

Summary:

1. TMB Analytics คาด กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3

2. แบงก์ LH ชี้แนวโน้มสินเชื่อแรงทั้งปี 55

3. OECD ชี้เศรษฐกิจจีนและอินเดียเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว

Highlight:
1. TMB Analytics คาด กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) ประเมินกนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.0 ในการประชุมกลางสัปดาห์นี้ ขณะที่แนวโน้มทิศทางดอกเบี้ยนโยบายจะทรงหรือจะขึ้นในปีนี้ ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศเป็นสาคัญ เนื่องจากแรงขับของเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวจากน้ำท่วมค่อนข้างดีนั้น ยังไม่มากพอที่จะชนะแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความผันผวนจากต่างประเทศ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงทั้งจากภายในประเทศ จากเงินเฟ้อและการเมือง ประกอบกับความเสี่ยงภายนอกประเทศจากวิกฤตหนี้สาธารณะของกลุ่มยูโรโซน ทั้งนี้ ธปท. มีเป้าหมายสามารถดาเนินนโยบายทางการเงินผ่านการกาหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายใต้กรอบอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่างร้อยละ 0.5 - 3.0 โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 3 ถือว่าอยู่ในระดับเหมาะสมต่อการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศได้อย่างต่อเนื่องภายใต้ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริง (Real Policy Interest) ของไทยปัจจุบัน แม้ว่าจะมีค่าอยู่ใกล้ศูนย์ แต่ถือได้ว่าอยู่ในระดับเดียวกันกับหลายประเทศในเอเชีย เช่น จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ เป็นต้น ทั้งนี้ สศค. ประเมินอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 55 อยู่ที่ร้อยละ 3.25 (คาดการณ์ ณ เดือนมี.ค. 55)
2. แบงก์ LH ชี้แนวโน้มสินเชื่อแรงทั้งปี 55
  • กรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จากัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมสินเชื่อทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีการเติบโตที่ร้อยละ 16 โดยในช่วงไตรมาสแรกมีความต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการฟื้นฟูความเสียหายจากวิกฤตอุทกภัยที่ผ่านมา ขณะที่ความต้องการสินเชื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มสูงขึ้นจากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งธนาคารต่างชาติที่เคยปล่อยสินเชื่อให้เอกชนในประเทศไทย ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตทางเศรษฐกิจทาให้เอกชนต้องหันมากู้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศแทน และในช่วงไตรมาส 2 จะเป็นความต้องการจากกลุ่มธุรกิจขนาดกลางที่ต้องการลงทุนเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในอีก 3 ปีข้างหน้า และความต้องการทางสินเชื่อจากกลุ่มผู้ประกอบการที่มีต้นทุนสูงขึ้นจากนโยบายค่าแรงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ซึ่งจะผลักดันให้สินเชื่อยังโตได้
  • สศค.วิเคราะห์ว่า จากข้อมูลล่าสุดของธปท. สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์เริ่มมีการฟื้นตัวดีขึ้นในเดือนมีนาคม แม้ว่าจะชะลอตัวลงในช่วง 2 เดือนแรกของปี 55 โดยสินเชื่อขยายตัวร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สามารถแยกรายละเอียดได้ ดังนี้ (1) สินเชื่อธุรกิจโดยรวม ขยายตัวร้อยละ 13.2 (2) สินเชื่อ SME ขยายตัวร้อยละ 14.8 (3) สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัวร้อยละ 15.7 ทั้งนี้ สถาบันการเงินของไทยยังมีความมั่นคง สะท้อนได้จากอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ของสินเชื่อรวมอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 15.3 และสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Gross NPL Ratio) อยู่ในระดับต่าที่ร้อยละ 2.6
3. OECD ชี้เศรษฐกิจจีนและอินเดียเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว
  • องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจจีนและอินเดียเริ่มชะลอตัวลงสะท้อนจากดัชนี Composite Leading Indicators (CLI) ซึ่งเป็นมาตรวัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคต โดยล่าสุด ดัชนี CLI พ.ค.55 ของจีนลดลงสู่ระดับ 99.1 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 99.4 ขณะที่ดัชนี CLI ของอินเดีย ลดลงสู่ระดับ 98.0 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 98.2
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มเติบโตในอัตราชะลอลง โดยล่าสุด GDP ในไตรมาสที่ 1 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 จากอุปสงค์ในประเทศและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณชะลอตัวอย่างชัดเจนและส่งผลให้อุปสงค์สินค้าส่งออกของจีนลดลง สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน เม.ย. 55 ขยายตัวร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 โดยเฉพาะ อุปสงค์ภายนอกประเทศของยูโรโซนที่เป็นคู่ค้าสาคัญอันดับ 3 และมีสัดส่วนร้อยละ 13.9 ของการส่งออกรวม สาหรับเศรษฐกิจอินเดียก็มีแนวโน้มเติบโตในอัตราชะลอลงเช่นเดียวกัน โดยล่าสุด GDP ในไตรมาสที่ 1 ปี 55 ขยายตัวชะลอลงต่าสุดในรอบ 8 ปีที่ร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 1.9 จากไตรมาสก่อนหน้า จากการชะลอลงของการบริโภคภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 62.3 ของ GDP เป็นสาคัญ นอกจากนี้ เศรษฐกิจอินเดียยังต้องเผชิญความเสี่ยงด้านความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลอย่างต่อเนื่อง และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นที่ร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดียในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 8.0 และ 7.0 ตามลาดับ (คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค.55)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ