รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 29 มิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 29, 2012 11:09 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 29 มิถุนายน 2555

Summary:

1. กระทรวงคมนาคมเปิดเผย การท่องเที่ยวไทยยังไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป

2. Moody’s ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือธนาคารบราซิล 11 แห่ง

3. ไซปรัสได้รับอนุมัติความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรปวงเงิน 10 พันล้านยูโร

Highlight:
1. คมนาคมเปิดเผย การท่องเที่ยวของไทยยังไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป
  • นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ปัจจุบันในส่วนของกระทรวงคมนาคมยังไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป ซึ่งการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในส่วนของยอดจานวนผู้โดยสารของการบินไทยในทวีปยุโรป กลับพบว่ามีจานวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นซึ่งสวนทางกับปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สศค.วิเคราะห์ว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 55 ขยายตัวร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวจากกลุ่มประเทศรัสเซีย เยอรมนี และฝรั่งเศสที่ ขยายตัวร้อยละ 9.6, 10.4 และ 17.8 ตามลาดับ โดยเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40.0 ของนักท่องเที่ยวจากยุโรป อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากวิกฤติยูโรโซนต่อนักท่องเที่ยวจากยุโรปอาจจะแสดงผลกระทบในอนาคต เนื่องจาก อัตราว่างงานในยูโรโซนที่สูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนเมษายนที่ร้อยละ 11.0 และเงินสกุลยูโรที่มีแน้วโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการ ไหลออกของเงินทุน ปัจจัยเหล่านี้อาจจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจท่องเที่ยวของไทยได้ในอนาคต ดังนั้น จึงจาเป็นต้องจับตามองสถาณการณ์ ในยูโรโซนในระยะต่อไป โดยเฉพาะการประชุมผู้นายูโรโซนเรื่องการช่วยประเทศที่ประสบปัญหา ในวันที่ 28-29 พ.ค. 55
2. Moody’s ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือธนาคารบราซิล 11 แห่ง
  • สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody’s ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือสถาบันทางการเงินของบราซิลรวม 11 แห่งลง 1-3 ระดับ โดยมีสาเหตุมาจากหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินของบราซิลอยู่ในระดับสูง อีกทั้งผลประกอบการของภาคธนาคารบราซิลไม่สู้ดีนัก จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ต่า นอกจากนี้ สถาบันการเงินบราซิลยังถือครองพันธบัตรรัฐบาลบราซิลในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับขนาดทุนของธนาคาร การกระจุกตัวของการลงทุนดังกล่าวของธนาคารพาณิชย์ในบราซิลส่งผลให้ภาคธนาคารไม่สามารถกระจายความเสี่ยงไปสู่การลงทุนอื่นๆได้ในช่วงที่เศรษฐกิจของบราซิลเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สาเหตุส่วนหนึ่งที่เศรษฐกิจบราซิลชะลอตัว เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจบราซิลชะลอตัว ด้วยสัดส่วนการส่งออกของบราซิลไปยังสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 17.7 (สัดส่วนปี 54) ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับลดลงมากในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา ทาให้บราซิลซึ่งเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ของโลกสูญเสียรายได้จากการส่งออก ทาให้เศรษฐกิจชะลอตัวและทาให้ปริมาณหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม พันธบัตรรัฐบาลบราซิลอยู่ที่ระดับ BBB (จัดอันดับโดย S&P) และระดับ Baa2 (Moody’s) ซึ่งนับเป็นระดับที่ยังคงน่าลงทุนอยู่ อีกทั้งความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจบราซิลและเศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับต่า การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือในภาคธนาคารของบราซิลในครั้งนี้จึงไม่น่าส่งผลกระทบต่อไทยนัก
3. ไซปรัสได้รับอนุมัติความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรปวงเงิน 10 พันล้านยูโร
  • ไซปรัสได้รับอนุมัติความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรปวงเงิน 10 พันล้านยูโร โดยสาเหตุที่ไซปรัสต้องขอเข้ารับความช่วยเหลือครั้งนี้เนื่องมาจากธนาคารพาณิชย์ของไซปรัสนั้นได้รับผลกระทบรุนแรงจากความเสียหายในการถือพันบัตรรัฐบาลกรีซ รวมไปถึงให้เงินกู้แก่ภาคธุรกิจและแก่ผู้บริโภคกรีซอย่างไรก็ตามการช่วยเหลือครั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อาจเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือด้วย ซึ่งอาจทาให้ไซปรัสต้องเผชิญกับมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลังและการปฎิรูประบบสถาบันการเงิน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ไซปรัสนับเป็นประเทศที่5 ในสหภาพยุโรปที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรป เนื่องจากระดับความเชื่อมโยงทางการเงินของประเทศในกลุ่มยูโรโซนอยู่ในระดับสูง มีผลให้ประเทศสมาชิกได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤติการทางการเงินของกรีซ สหภาพยุโรปจึงควรระวังมิให้วิกฤตลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อจากัดความเสียหาย อย่างไรก็ตาม ด้วยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไซปรัสแล้ว ไซปรัสขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเกินกว่าร้อยละ -10 ของ GDP ตั้งแต่ปี 50 ทั้งนี้ หลังจากได้รับเงินช่วยเหลือแล้ว ไซปรัสควรมีแผนปฏิรูปภาคการเงิน กล่าวคือควรปรับโครงสร้างสถาบันการเงินให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ อนึ่ง ถึงแม้ว่าไซปรัสจะไม่ได้เป็นประเทศคู่ค้าหลักของไทย แต่หากวิกฤตลุกลามไปยังประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่มีความเชื่อมโยงกับไทยสูง ก็อาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสาคัญทั้งในภาคเศรษฐกิจจริงและภาคการเงิน จึงเป็นประเด็นที่ควรระมัดระวังและเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิด

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ