รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 16 - 20 ธันวาคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 23, 2013 10:49 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย เดือน พ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 11.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร เดือน พ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตร

ที่เกษตรกรขายได้ กลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ร้อยละ 0.5

  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 56 อยู่ที่ระดับ 90.3
  • เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 56 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศลดวงเงินมาตรการ QE ลง 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน

เหลือ 75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน เริ่มต้น ม.ค. 57

  • ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ เดือน พ.ย. 56 ขยายตัวดีที่ร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีน เดือน ธ.ค. 56 โดย HSBC อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมสหภาพยุโรป เดือน ธ.ค. 56 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 52.1
  • มูลค่าการส่งออกญี่ปุ่น เดือน พ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 18.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนมูลค่าการนำเข้าขยายตัว

ร้อยละ 21.1

  • อัตราเงินเฟ้อมาเลเซีย เดือน พ.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราว่างงานฮ่องกง เดือน พ.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของญ กำลังแรงงานรวม

Indicator next week

Indicators              Forecast      Previous
Nov :  MPI (%YoY)         -5.0          -4.0

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานการคำนวณที่สูงผิดปกติในช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปัญหาการชุมนุนที่มีแนวโน้มว่าจะยืดยื้ออาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจให้ชะลอตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งกระทบต่อเนื่องถึงกำลังซื้อภายในประเทศ ประกอบกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทยที่ยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบาง ทำให้การส่งออกสินค้าลดลง และอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกให้ลดลงตามไปด้วย

Economic Indicators: This Week
  • นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน พ.ย. 56 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.4 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 11.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) โดยเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มภูมิภาค โดยหลักๆ มาจากนักท่องเที่ยวประเทศจีน มาเลเซีย รัสเซีย และเวียดนาม ที่ขยายตัวร้อยละ 20.6 10.5 12.5 และ 47.7 ต่อปี ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ม.ค.56 - พ.ย. 56 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย แล้วทั้งสิ้น 24.1 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 21.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือนพ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 ตามการขยายตัวของผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ โดยเฉพาะสุกรและไก่เนื้อ เนื่องจากมีความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและไม่มีสถานการณ์โรคระบาด ขณะที่ผลผลิตในหมวดพืชผลยังคงขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี จากผลผลิตข้าวนาปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอยู่ในช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว ประกอบกับสถาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก สอดคล้องกับผลผลิตยางพารา ยังคงขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ดี ผลผลิตในหมวดประมงยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะกุ้ง เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคระบาด EMS ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกปี 56 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือนพ.ย.56 กลับมาขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.2 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาผลผลิตในหมวดประมงที่ยังคงขยายตัวในอัตราเร่งต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลผลิตกุ้ง เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ขณะที่ราคายางพาราปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามการเพิ่มสต็อคของของประเทศจีนและญี่ปุ่นในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ขณะที่อุปสงค์ค่อนข้างทรงตัว สอดคล้องราคาข้าวเปลือกที่ปรับตัวลดลงเช่นกัน ตามอุปทานในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตหลักอย่างเวียดนามและอินเดีย ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกปี 56 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย. 56 อยู่ที่ระดับ 90.3 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 92.8 ซึ่งเป็นการปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 24 เดือน นับตั้งแต่เดือนพ.ย.54 เป็นผลมาจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีแนวโน้มจะยืดเยื้อ และส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ทำให้กำลังซื้อโดยรวมของประเทศอ่อนแอลง เห็นได้จากดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวมที่ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ยังประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ทำให้การขยายการลงทุนในกิจการต้องชะลอออกไปด้วย
Economic Indicators: Next Week
  • ผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ย. 56 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานการคำนวณที่สูงผิดปกติในช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปัญหาการชุมนุนที่มีแนวโน้มว่าจะยืดยื้ออาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจให้ชะลอตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งกระทบต่อเนื่องถึงกำลังซื้อภายในประเทศ ประกอบกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทยที่ยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบาง ทำให้การส่งออกสินค้าลดลง และอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกให้ลดลงตามไปด้วย

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend
  • ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 56 ขยายตัวดีที่ร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ผลส่วนหนึ่งจากยอดขายสินค้ายานยนต์ที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ลดความกังวลด้านเงินฝืด ยอดขายบ้านมือสอง เดือน พ.ย. 56 อยู่ที่ 3.71 แสนหลัง คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ -4.3 จากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ราคากลางบ้านอยู่ที่ 196,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อหลัง ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 56 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศลดวงเงินมาตรการ QE ลง 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน เหลือ 75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน เริ่มต้น ม.ค. 57 จากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งขึ้น
China: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 56 โดย HSBC (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด แม้ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.8 จุด และต่ำสุดในรอบ 3 เดือน แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50.0 จุด ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 โดยผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลง ราคาบ้าน เดือน พ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 9.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของราคาในอัตราสูงที่สุดในรอบ 35 เดือน และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 55 โดยราคาบ้าน 69 เมือง ใน 70 เมืองปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาบ้านในเมืองใหญ่ เช่น กวางโจว เซินเจิ้น เซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง ที่ขยายตัวเร่งขึ้นถึงร้อยละ 20.7 20.6 18.2 และ 16.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ สะท้อนเศรษฐกิจจีนที่ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี
Eurozone: improving economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน ธ.ค. 56 (ตัวเลขเบื้องต้น) เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 52.1 ซึ่งดัชนีฯ ดังกล่าวอยู่ในระดับสูงกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 สะท้อนภาคการผลิตที่ส่งสัญญาณขยายตัวต่อเนื่อง โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 31 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 52.7 ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 51.0 อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 56 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าในหมวดยาสูบที่ลดลงเป็นสำคัญ
Japan: improving economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 18.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อน ประกอบกับยอดส่งออกไปยังจีน ยุโรป และอาเซียนซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนมูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 21.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนเดียวกันขาดดุลมูลค่า -1.2 ล้านล้านเยน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 56 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์สำนักงานที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 56 ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเดือน ธ.ค. 56 ไว้ในระดับต่ำที่ช่วงร้อยละ 0-0.1 ต่อปี เพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นต่อไป
Malaysia: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 2.8 ทั้งนี้ เป็นผลจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 3.9 เป็นสำคัญ
Singapore: improving economic trend
  • ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 56 หดตัวร้อยละ -7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -3.3 ผลจากยอดขายสินค้าในหมวดอุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์หดตัวร้อยละ -15.4 อันเป็นผลจากฐานสูงในช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านการค้าต่างประเทศ มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.2 ผลจากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ฮ่องกง เกาหลีใต้ ที่หดตัวร้อยละ -26.6 -20.7 และ -33.2 ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.3 โดยสรุป มูลค่าการนำเข้าที่หดตัวสวนทางกับมูลค่าการส่งออก ทำให้ดุลการค้า เดือน พ.ย. 56 เกินดุล 3.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ด้านเสถียรภาพ อัตราว่างงาน ไตรมาสที่ 3 ปี 56 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 2.1 ของกำลังแรงงานรวม เนื่องจากจำนวนตำแหน่งงานในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.1
Hong Kong: mixed signal
  • อัตราว่างงาน เดือน พ.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงานรวม โดยทรงตัวที่ระดับนี้ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดือน ส.ค. - ต.ค. 56 ซึ่งมีจำนวนผู้ว่างงาน 130,100 ตำแหน่ง จำนวนผู้ว่างงานในช่วงเดือน ก.ย. - พ.ย. 56 ลดลง 2,900 ตำแหน่ง มาอยู่ที่ 127,200 ตำแหน่ง
South Korea: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 56 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากในเดือนก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการส่งออกไปประเทศในกลุ่มอาเซียนที่หดตัวลงเป็นสำคัญและมูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 56 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เปลี่ยนมาหดตัวหลังจากที่ขยายตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน การส่งออกที่ขยายตัวมากกว่าการนำเข้า จึงทำให้ดุลการค้า เดือน พ.ย. 56 (ตัวเลขปรับปรุง) เกินดุล 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับในเดือนก่อนหน้า
India: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 7.0 เป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหารที่ราคาเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ธนาคารกลางอินเดีย มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน พ.ย. 56 ที่ระดับร้อยละ7.75 หลังจากที่มีการการปรับเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 2 ครั้งติดต่อกัน โดยปรับเพิ่มขึ้น 25 bps จากร้อยละ 7.25 ในเดือน ส.ค. 56 มาเป็นร้อยละ 7.50 ในเดือน ก.ย. 56 และปรับเพิ่มขึ้น 25 bps อีกครั้ง มาเป็นร้อยละ 7.75 ในเดือน ต.ค. 56
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับลดลงในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 19 ธ.ค. 56 ปิดที่ 1,346.63 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพียง 26,686 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนรายย่อย ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ ผลส่วนหนึ่งจากที่ในการประชุม FOMC เมื่อวันที่ 17-18 ธ.ค. 56 ที่ผ่านมา FED ประกาศจะปรับลดขนาดมาตรการ QE ในเดือน ม.ค. 57 ที่จะถึงนี้ สร้างความเชื่อมั่นและลดความไม่แน่นอนแก่นักลงทุนได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 16 - 19 ธ.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -5,537.65 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างนิ่ง โดยผลคอบแทนพันธบัตรอายุ 1-7 ปี ปรับตัวลดลงเล็กน้อย 0-2 bps โดยนักลงทุนรอผลการประชุม FOMC ดังกล่าว ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 16 - 19 ธ.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 1,520.2 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
  • ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 19 ธ.ค. 56 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -1.22 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเป็นทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลหลักและเงินภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นเงินเยน ยูโร ริงกิตมาเลเซียวอนเกาหลี และดอลลาร์สิงคโปร์ ทั้งนี้ ค่าเงินสกุลอื่นๆ ที่อ่อนค่าในอัตราที่น้อยกว่า ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ -0.58 จากปดาห์ก่อนหน้า
  • ราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 19 ธ.ค. 56 ปิดที่ 1,189.60 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,240.08 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ