รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 10 กันยายน 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 10, 2014 13:17 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 10 กันยายน 2557

Summary:

1. กระทรวงพาณิชย์ปรับเป้าส่งออกอาจหลุดร้อยละ 3.5

2. ปี 58 ตั้งเป้าผลิตรถยนต์ 2.3 ล้านคัน เน้นส่งออก

3. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่นแย่ลงในเดือน ส.ค. 57 herek 69024

1. กระทรวงพาณิชย์ปรับเป้าส่งออกอาจหลุดร้อยละ 3.5
  • กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในปี 2557 ยอมรับว่าอาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ร้อยละ 3.5 ซึ่งยังมีหลายปัจจัยทั้งในและต่างประเทศที่กระทบกับภาคการส่งออก โดยทางกระทรวงพาณิชย์ จะมีการประชุมร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือทูตพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันการส่งออก รวมทั้งทบทวนเป้าหมายการส่งออก ในปีนี้ใหม่อีกครั้ง สศค. วิเคราะห์ว่า การส่งออกล่าสุดกลับมาหดตัวอีกครั้ง โดยการส่งออกในเดือนก.ค. 57 มีมูลค่า 18.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวที่ร้อยละ -0.9 ต่อปี อย่างไรก็ดี เมื่อนำมูลค่าส่งออกหักสินค้าในหมวดทองคำ พบว่า ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ทั้งนี้ การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกปี 57 (ม.ค. - ก.ค. 57) หดตัวร้อยละ -0.4 ต่อปี โดยสินค้าส่งออกที่ยังคงหดตัวในช่วง 7 เดือน ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตร แร่และเชื้อเพลิงที่หดตัวร้อยละ -6.0 และ -12.6 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญที่ยังคงหดตัว ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ และกลุ่มอาเซียน 9 หดตัวร้อยละ -4.0 -0.8 -2.0 -6.4 และ -2.9 ต่อปี ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าในช่วงที่เหลือของปีการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ สศค. คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในปี 57 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.5 ถึง 2.5)2. ส.อ.ท.ตั้งเป้าผลิตรถยนต์ ปี 58 อยู่ที่ 2.3 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 4-5 % จากปี 57 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์ในปี 58 จะมีปริมาณ 2.3 ล้านคัน เพิ่มขึ้นประมาณ 4-5 % เมื่อเทียบกับปี 57 ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 1.25 ล้านคัน เนื่องจากมีความต้องการจากตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง ส่วนปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ มีปริมาณ1.05 ล้านคันเพราะกำลังซื้อในประเทศ ยังไม่ปรับตัวดีขึ้น แม้ภาครัฐจะกระตุ้นเศรษฐกิจมาก่อนหน้านี้
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยล่าสุดในเดือนก.ค.57 เริ่มมีสัญญาณปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ในส่วนของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน โดยมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ตามการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนยังคงหดตัว สะท้อนจาก ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 7 เดือนแรกปี57 มีแนวโน้มชะลอลงเนื่องจากฐานสูงในปีก่อนหน้า โดยอยู่ที่ 448,902 คัน คิดเป็นร้อยละ 40.7 ของยอดการผลิตทั้งหมด หรือลดลง 51.0 ต่อปี ส่วนการผลิตเพื่อการส่งออก 7 เดือนผลิตได้ 654,542 คัน คิดเป็น ร้อยละ 59.3 ของการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.5 % อย่างไรก็ดี กำลังซื้อภาคประชาชนในประเทศในช่วงครึ่งปีหลัง ได้ปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 57 จะยังเป็นไปตามเป้าหมายเดิมของ ส.อ.ท. ที่ 2.2 ล้านคัน
3. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่นแย่ลงในเดือน ส.ค. 57
  • สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่นแย่ลงกว่าที่คาดไว้ในเดือน ส.ค. 57 มาอยู่ที่ 41.2 จาก 41.5 ในเดือน ก.ค. 57 โดยนักเศรษศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นจะอยู่ที่ 42.3 ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณถึงผลกระทบเชิงลบจากการขึ้นภาษีการบริโภคเมื่อวันที่ 1 เม.ย. นั้น
  • สศค. วิเคราห์ว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคกำลังปรับตัวลดลง สะท้อนมาจาก 3 ดัชนีหลัก ได้แก่ ดัชนีประเมินการเพิ่มขึ้นของรายได้ผู้บริโภคลดลง 0.6 จุด มาอยู่ที่ 38.5 ดัชนีภาวะการจ้างงานลดลง 0.9 จุด มาอยู่ที่ 47.8 และ ดัชนีความพร้อมของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าคงทนใหม่ในอนาคตอันใกล้ลดลงจาก 39.5 มาอยู่ที่ 39.6 ในเดือน ก.ค. 57 ในขณะที่ดัชนีความเป็นอยู่ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.6 จุด สู่ระดับ 39.1 สะท้อนได้จากผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 57 นอกจากนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค. 57 เพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.4 จุด จากระดับ 50.8 จุดในเดือนก่อน ผลจากยอดการส่งออกและอุปสงค์ในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 1.3 ในปี 2557 (คาดการณ์ ณ เดือน ก.ค. 2557)

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ