เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมีนาคม และไตรมาสแรก ปี 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 29, 2015 15:07 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

“เศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 มีสัญญาณดีขึ้นจากการใช้จ่ายภายในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้ายังคงหดตัวสำหรับเศรษฐกิจไทยในด้านอุปทานได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการขยายตัวในภาคการท่องเที่ยว แม้ว่าภาคเกษตรกรรมยังคงส่งสัญญาณหดตัว ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี”

1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2558 มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นสะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ในเดือนมีนาคม 2558 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 20.1 เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อปี ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้า ณ ราคาคงที่ ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -8.9 ต่อปี เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลง ซึ่งส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในภาพรวมในเดือนมีนาคม 2558 ขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อเดือน ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อไตรมาส สอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม 2558 ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยขยายตัว ร้อยละ 18.1 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 8.4 ต่อเดือน โดยเป็นการขยายตัวของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และเขตภูมิภาค ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวที่ร้อยละ 10.9 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัว ร้อยละ 9.7 ต่อไตรมาส ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนมีนาคม 2558 ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -13.4 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวร้อยละ -12.5 ต่อปี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ระดับ 67.1 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศ ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันจะลดลง แต่กำลังซื้อของประชาชนไม่เพิ่มขึ้นจากราคาสินเกษตรที่ตกต่ำทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 68.4 นอกจากนี้ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนมีนาคม 2558 พบว่า ขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 10.0 ต่อปี

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน               2557                    2557                                  2558
                                                Q1       Q2       Q3      Q4       Q1      ม.ค.     ก.พ.     มี.ค.    YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)           0.4     -0.2      0.3      2.3    -0.9      1.0     -2.0     -2.1      7.3     1.0
   %qoq_SA / %mom_SA                          -1.8     -1.2      0.6     1.3      0.6      2.1     -2.8      5.9       -
ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy)       1.5     -3.8      0.4      0.2     8.1     10.0     -0.2     32.5      5.2    10.0
   %qoq_SA / %mom_SA                          -3.0      3.2      0.4     6.9     -0.5     -8.7     12.7     -8.8       -
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)        -41.4    -55.3    -37.7    -38.3   -27.9    -12.5    -11.4    -12.5    -13.4   -12.5
   %qoq_SA / %mom_SA                         -23.5      0.0     -6.2     0.1     -6.4     -7.4     -2.9     -3.5       -
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)    -14.3    -20.8    -18.2     -8.1    -7.8     10.9     14.5      0.7     18.1    10.9
   %qoq_SA / %mom_SA                          -8.7     -1.7      6.2    -3.2      9.7      0.8      2.3      8.4       -
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                   65.0     59.9     61.2     69.3    69.6     68.4     69.7     68.4     67.1    68.4

2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ยังคงทรงตัว โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดก่อสร้างสะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในเดือนมีนาคม 2558 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก(m-o-m SA) พบว่า สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 2.3 ต่อเดือน อย่างไรก็ตามในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์หดร้อยละ -2.5 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก(q-o-q SA) พบว่า สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 0.6 ต่อไตรมาส สะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนในหมวดการก่อสร้างยังคงทรงตัว สำหรับภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนมีนาคม 2558 ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี ในขณที่การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนมีนาคม 2558 ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ ร้อยละ -10.6 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดร้อยละ -11.3 ต่อปี สำหรับปริมาณนำเข้าสินค้าทุนในเดือนมีนาคม 2558 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -6.9 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า หดตัวได้ร้อยละ -0.4 ต่อไตรมาส

เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน                  2557                  2557                                  2558
                                                 Q1       Q2       Q3      Q4       Q1     ม.ค.     ก.พ.     มี.ค.    YTD
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy)    -2.2    -5.6     -5.9     -2.1     3.9      4.5    12.1      2.4      0.7     4.5
   %qoq_SA / %mom_SA                           -8.1     -3.7      9.8     6.4     -6.7    -5.0     -9.1     -4.3       -
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)              -3.2    -2.4     -3.0     -2.9    -4.8     -2.5    -5.8     -2.4      0.6    -2.5
   %qoq_SA / %mom_SA                           -2.1      0.5     -2.1    -1.2      0.6     0.6      2.3      2.3       -
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)       -26.8   -36.6    -30.6    -20.4   -15.8    -11.3   -13.7     -9.6    -10.6   -11.3
   %qoq_SA / %mom_SA                          -13.8     -2.8      0.3    -0.9     -7.0    -9.5     -0.7     -7.1       -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy)                -8.4   -14.1    -12.6      0.0    -3.1      0.9     3.4      5.9     -6.9     0.9
%qoq_SA / %mom_SA                              -6.4      1.8      6.9    -5.4     -0.4    -0.7      2.9    -13.4       -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักเครื่องบิน              -5.7   -11.4     -4.4     -4.0     1.1      0.1    -4.5     10.2     -4.2     0.1
 เรือและรถไฟ (%yoy)
%qoq_SA / %mom_SA                              -0.4      1.8      0.0    -0.4     -0.8    -6.5      6.3     -9.7       -

3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยด้านการคลังในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2558 (ไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2558) สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย ผ่านการขาดดุลงบประมาณ โดยดุลงบประมาณในเดือนมีนาคม 2558 ขาดดุลจำนวน -81.0 พันล้านบาท ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 (ไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2558) ขาดดุล -144.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ ในการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนมีนาคม 2558 ได้จำนวน 251.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 52.0 ต่อปี โดยรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 228.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 60.8 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 190.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 47.8 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 38.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 186.7 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 (ไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2558) รายจ่ายรวมสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 617.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.7 ต่อปี โดยรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2558 (ไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2558) สามารถเบิกจ่ายได้ 557.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย ร้อยละ 21.7 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 (2,575.0 พันล้านบาท) สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาล พบว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนมีนาคม 2558 ได้จำนวน 157.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 19.2 ต่อปี โดยมีรายการสำคัญ คือ (1) ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ต่อปี เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการบริโภคภายในประเทศได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการบริโภคในประเทศที่ยังคงเติบโตได้ดี ประกอบกับการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของภาคเอกชนที่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของระบบคมนาคมในส่วนของใยแก้วนำแสง ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการนำเข้าหดตัวร้อยละ -9.5 ต่อปี สะท้อนการนำเข้าที่ยังคงชะลอตัว และ (2) การจัดเก็บภาษีฐานรายได้ขยายตัวร้อยละ 13.0 ต่อปี โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 และ 5.7 ต่อปี ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 (ไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2558) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 466.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.7 ต่อปี

เครื่องชี้ภาคการคลัง              FY2557                FY2557                                   FY2558
(พันล้านบาท)                              Q1/     Q2/      Q3/     Q4/      Q1/     Q2/     ม.ค.    ก.พ.    มี.ค.      YTD
                                       FY57    FY57     FY57    FY57     FY58    FY58
รายได้สุทธิของรัฐบาล            2,073.9   503.5   437.2    608.5   525.5    507.4   466.5   159.2    149.9   157.4    974.0
(หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)
   (%y-o-y)                    -4.1    -1.0    -6.9     -5.2    -3.0      0.8     6.7     2.0      0.6    19.2      3.5
รายจ่ายรัฐบาลรวม              2,460.0   831.1   553.0    514.7   561.2    844.1   617.6   215.7    150.4   251.4  1,461.7
   (%y-o-y)                     2.4     5.7    -5.6      6.8     2.2      1.6    11.7     1.2    -13.7    52.0      5.6
ดุลเงินงบประมาณ                -390.0  -334.7  -115.9    105.5   -44.9   -347.1  -144.7   -57.5     -6.2   -81.0   -491.8

4. การส่งออกสินค้าในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยในเดือนมีนาคม 2558 การส่งออกสินค้าของไทยในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 18.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -4.5 ต่อปี และถือเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันโดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้ามาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกและตลาดคู่ค้าหลักของไทยในปัจจุบันที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้กำลังซื้อในตลาดโลกชะลอลง ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าที่หดตัวลงในเดือนมีนาคม มาจากการส่งออกสินค้าในหมวดสินค้าเชื้อเพลิง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้า ที่หดตัวร้อยละ -32.0 -3.3 และ -1.2 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกหลักที่หดตัวในเดือนมีนาคม ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และฮ่องกง ที่หดตัวร้อยละ -8.3 -8.4 -2.1 และ -32.5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ตลาดส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศ CLMV ที่ขยายตัวร้อยละ 5.6 19.8 และ 17.4 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ยังมีสินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยานยนต์ อุตสาหกรรมเกษตร ที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 และ 3.9 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 การส่งออกสินค้าของไทยในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 53.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -4.7 ต่อปี โดยสินค้าที่หดตัวได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เกษตรกรรม และแร่และเชื้อเพลิง หดตัวร้อยละ -0.5 -14.1 และ -29.6 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกหลักที่หดตัวในไตรมาสที่ 1 ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ที่หดตัวร้อยละ -14.4 -9.2 และ -3.9 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ยังมีสินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ 1 ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 และ 2.2 ต่อปี เป็นสำคัญ สำหรับตลาดส่งออกหลักที่ขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ 1 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศ CLMV ที่ขยายตัวร้อยละ 5.6 และ 0.6 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 17.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -5.9 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 การนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 51.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ –6.4 ต่อปีทั้งนี้ มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐที่มีมูลค่าสูงกว่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนมีนาคม 2558 เกินดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุลที่ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศคู่ค้าหลัก                             2557                  2557                               2558
(สัดส่วนการส่งออกปี 56>>ปี 57)                        Q1       Q2       Q3      Q4      Q1     ม.ค.    ก.พ.     มี.ค.     YTD
ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy)                      -0.4   -1.4      0.0     -1.8     1.6    -4.7    -3.5    -6.1     -4.4     -4.7
%qoq_SA / %mom_SA                               -1.0     -0.8     -0.4     3.8    -6.2    -5.5    -2.1     -2.4        -
 1.จีน (11.9%>>>11.0%)                    -7.9   -4.5     -4.2     -6.3   -15.3   -14.4   -19.7   -15.1     -8.3     -4.5
 2.สหรัฐฯ (10.0%>>>10.5%)                  4.1    0.6      4.9      3.4     7.2     5.6     6.0     5.1      5.6      0.6
 3.ญี่ปุ่น (9.7%>>>9.6%)                     -1.9    0.7     -6.4     -1.0    -0.6    -9.2    -7.5   -11.7     -8.4      0.7
 4.สหภาพยุโรป (8.8%>>>9.2%)                4.7    4.8     10.9      2.0     1.7    -3.9    -5.0    -4.7     -2.1      4.8
 5.มาเลเซีย (5.7%>>>5.6%)                 -1.9   -0.1     -1.4     -5.0    -1.0   -14.6   -12.5   -19.3    -12.2     -0.1
 6.ฮ่องกง (5.8%>>>5.5%)                   -4.4   -1.8      1.7    -13.5    -1.8   -11.5     8.3    -1.2    -32.5     -1.8
 PS.อาเซียน-9 (26.0%>>>26.1%)              0.2   -5.4     -0.1      1.1     5.2    -2.4    -0.7    -8.3      1.6     -5.4
 PS.อาเซียน-5 (17.6%>>>17.0%)             -3.9  -11.0     -4.1     -4.2     4.3    -9.4    -4.8   -16.4     -7.1    -11.0
 PS.อินโดจีน-4 (8.3%>>>9.1%)                9.0    7.0      8.8     13.6     6.8    10.6     6.8     7.0     17.4      7.0

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานพบว่า ภาคการท่องเที่ยวต่างชาติที่สามารถขยายตัวในระดับสูง เป็นแรงสนับสนุนสำคัญในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย (เบื้องต้น) ในเดือนมีนาคม 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.55 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 25.5 ต่อปี ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวร้อยละ 23.5 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อไตรมาส โดยนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีมาจากจีน และมาเลเซีย เป็นหลัก ซึ่งขยายตัวร้อยละ 83.3 และ 53.8 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ข้อมูลเบื้องต้น 18 วันแรกในเดือนเมษายน 2558 พบว่า มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.43 ล้านคน ขยายตัวต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 21.6 ต่อปี สะท้อนการเติบโตที่แข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือนมีนาคม 2558 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -12.3 ต่อปี ตามการหดตัวของผลผลิต ข้าวเปลือก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะผลผลิตข้าวเปลือกที่หดตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี จากสถานการณ์ภัยแล้งและปริมาณน้ำเขื่อนอยู่ในระดับต่ำจนต้องระงับการส่งน้ำชลประทานเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ในขณะที่ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม หดตัวร้อยละ -5.8 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวได้ร้อยละ 1.2 ต่อไตรมาส สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2558 จะมีการประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการโดยกระทรวงอุตสาหกรรมในวันที่ 30 เมษายน 2558 ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ระดับ 87.7 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า และถือเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และต่ำสุดในรอบ 5 เดือนจากความกังวลต่อสภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัญหาขีดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากขาดการปรับปรุงเทคโนโลยีในการผลิต และคำสั่งซื้อภายในประเทศที่อ่อนแอโดยเฉพาะกำลังซื้อในภาคเกษตรจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน               2557                   2557                                      2558
                                               Q1      Q2       Q3      Q4      Q1      ม.ค.      ก.พ.      มี.ค.      YTD
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%yoy)         0.6      1.1     6.5      2.7    -4.3    -5.8      0.3      -0.5     -12.3      -5.8
   %qoq_SA / %mom_SA                          3.3    -6.7      0.3    -1.0     1.2      4.5      -2.1      -5.2         -
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น)          -4.6     -7.0    -4.8     -3.9    -2.4     n.a.    -0.8       3.6       n.a.      1.4
   %qoq_SA / %mom_SA                         -3.3    -2.5     -3.6     2.7       -     -1.7       3.2         -         -
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)              -6.7     -9.0   -15.9    -10.1     6.7    23.5*    16.3      29.6*     25.5*     23.5
   %qoq_SA / %mom_SA                        -10.3    -2.7      7.8    13.4     4.3      0.0       3.0      -2.5       4.2
*ข้อมูลเบื้องต้น

          6. ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมีนาคม 2558 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -0.6 ต่อปี จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นหลัก รวมถึงการลดลงของราคาไข่และผลิตภัณฑ์นม และราคาเนื้อสัตว์ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ -0.5 และ 1.5 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.78 แสนคน ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2558 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ล่าสุด ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ระดับร้อยละ 46.8 ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2558 ที่ยังอยู่ในระดับสูงที่ 156.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.9 เท่า

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ           2557                    2557                                     2558
                                           Q1       Q2        Q3        Q4       Q1      ม.ค.     ก.พ.     มี.ค.     YTD
ภายในประเทศ
เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)                1.9      2.0      2.5       2.0       1.1     -0.5     -0.4     -0.5     -0.6     -0.5
เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)               1.6      1.2      1.7       1.8       1.7      1.5      1.6      1.5      1.3      1.5
อัตราการว่างงาน (yoy%)             0.8      0.9      1.0       0.8       0.6      0.9      1.1      0.8      1.0      0.9
หนี้สาธารณะ/GDP                   45.8     46.5     47.1      47.2      46.3     46.8*    46.5     46.8      n.a.    46.8
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)          14.2      5.5     -0.6      -0.5       9.8      6.0*     2.5      3.5      n.a.     6.0
ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)        157.1    167.9    168.9     161.6     157.1    156.3    155.4    156.9    156.3    156.3
ฐานะสุทธิ Forward  (พันล้าน $)      23.1     23.2     23.7      24.7      23.1     19.6     22.8     20.8     19.6     19.6

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ