เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนเมษายน 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 30, 2016 15:49 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ
"เศรษฐกิจภูมิภาคฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป นำโดย กทม.และปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีรายได้จากการท่องเที่ยวและการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวดีเป็นปัจจัยหนุนสำคัญ ส่วนการบริโภคสินค้าและบริการของภูมิภาคปรับตัวดีขึ้น แม้จะมีการหดตัวของการบริโภคสินค้าคงทน ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังหดตัวในหลายภูมิภาค อย่างไรก็ดี เสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี"
1. ภาคเหนือ

ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายขยายตัวในอัตราชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 12.4 ต่อปี ในขณะที่การบริโภคสินค้าคงทนยังคงหดตัวจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่หดร้อยละ -5.1 และ -0.4 ต่อปี ตามลำดับ โดยยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวในอัตราที่น้อยลง เป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในระดับต่ำที่ 63.0 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้ง ในขณะที่การลงทุนยังหดตัวต่อเนื่องตามสถานการณ์การลงทุนในภาพรวม สะท้อนได้จากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่และยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวร้อยละ -12.2 และ -6.5 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัวสูงที่ร้อยละ 87.7 ต่อปี การลงทุนสำคัญ ได้แก่ โรงงานเครื่องตกแต่งภายในบ้าน จังหวัดแพร่ และโรงงานซ่อมยานยนต์ ในจังหวัดเชียงใหม่ ในด้านรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 14.1 ต่อปี

ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 2.8 ล้านคนครั้ง ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นร้อยละ 10.2 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวเร่งขึ้นเป็นร้อยละ 10.4 ต่อปี นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศชะลอลงที่ร้อยละ 9.5 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 11,816 ล้านบาท ขยายตัวชะลอลง ร้อยละ 9.6 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยชะลอตัวร้อยละ 1.4 ต่อปี รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวเร่งสูงถึงร้อยละ 24.1 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตขยายตัวแต่ราคาหดตัวในอัตราที่น้อยลง ส่งผลให้รายได้เกษตรหดตัวในอัตราที่น้อยลงด้วย ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังมีสัญญาณชะลอตัว โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 77.1 ปัจจัยลบ ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย ต้นทุน และผลประกอบการ

ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 62,912 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงาน

ตารางที่ 1 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคเหนือ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

หน่วย: %yoy                                               ปี 2558                                       ปี 2559
                                        ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1     ก.พ.     มี.ค.    เม.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                   11.5      6.7      8.1     13.4     18.2       24.7     29.5     19.2     17.5     22.8
บนฐานการใช้จ่ายภาใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                 -13.9      -18    -22.1    -15.1       11       15.8     12.6     16.4     -5.1     11.8
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่              -2.7     10.5     -8.5    -14.3      2.8       -2.8    -13.9     -2.6     -0.4    -13.9
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)              65.8     69.2     66.2     63.3     64.5       64.5     60.8     59.8     59.1     60.4
รายได้เกษตรกร                           -5.1       11    -19.6    -22.6     -5.3      -17.7    -17.6    -23.1     -1.7    -15.7
เครื่องชี้การลงทุนภาเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                   -6.1    -12.2    -17.1     -3.9       18       -1.4     -6.5     11.3    -12.2     -3.7
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                 -25.3    -36.2    -28.7      -18    -12.4       -4.8     -4.1     -3.9     -6.5     -5.3
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม            37.1    -54.2    167.9      260      -38        130      3.1    -14.4     87.7    122.9
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)        81.6     82.7     78.5     78.8     86.5       81.6     82.9     77.4     77.1     80.5
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนนักท่องเที่ยว                         11.2       25     23.2       23    -10.3        2.5     -2.1      7.1     10.2      4.2
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                       9     32.2     25.1     23.2    -15.9          6     -1.8     11.5      9.6      6.8
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                         -1.2     -0.6     -1.7     -1.5       -1       -0.4     -0.4     -0.4      0.7     -0.1
อัตราการว่างงาน                           0.7      0.8      0.7      0.8      0.7        0.9        1        1        -      0.9
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ
          คำนวณและรวบรวม: สศค.

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายขยายตัวในอัตราชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี ในขณะที่การบริโภคสินค้าคงทนยังคงหดตัวจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่หดร้อยละ -1.8 และ -1.7 ต่อปี ตามลำดับ โดยยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวในอัตราที่น้อยลง เป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในระดับต่ำที่ 63.2 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้ง ในขณะที่การลงทุนยังหดตัวต่อเนื่องตามสถานการณ์การลงทุนในภาพรวม สะท้อนได้จากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ -16.1 -6.9 และ -60.4 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังขยายตัวได้ร้อยละ 6.8 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวหดตัวทั้งจำนวนและรายได้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 3.0 ล้านคนครั้ง หดตัวร้อยละ -10.2 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยหดตัวร้อยละ -2.8 ต่อปี นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศหดตัวร้อยละ -48.1 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 5,153 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -8.4 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยหดตัวร้อยละ -0.4 ต่อปี รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศหดตัวสูงถึงร้อยละ -42.7 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตและราคาหดตัวในอัตราที่น้อยลง ส่งผลให้รายได้เกษตรหดตัวในอัตราที่น้อยลงด้วย ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังมีสัญญาณชะลอตัว โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 75.3 ปัจจัยลบ ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย ผลผลิต และผลประกอบการ
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 85,128 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงาน

ตารางที่ 2 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ         ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หน่วย: %yoy                                               ปี 2558                                       ปี 2559
                                        ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1     ก.พ.     มี.ค.    เม.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                    5.8      9.5      5.3        6      2.4        5.8     -1.8      6.3      3.7      5.2
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                 -13.6    -24.1    -20.4    -14.9     18.3       21.6     31.3     10.1     -1.8     16.7
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่               0.8     11.5     -0.4      -10      3.1      -10.6    -15.2    -15.9     -1.7     -8.9
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)              66.8     70.6     67.2       64     65.2         65     64.9       64     63.2     64.5
รายได้เกษตรกร                           -9.4      2.9    -24.3    -26.6       -8      -16.8    -14.5    -25.4    -10.3      -16
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                  -12.4    -14.9    -20.8    -15.5      8.1       -8.8     -9.9     -3.4    -16.1    -10.4
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                 -16.2    -23.1    -19.8     -7.9    -12.4       -5.6    -15.9      8.3     -6.9     -5.9
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม           -44.4     67.6    -51.5    -27.2    -67.2      -60.5    -63.6    -43.3    -60.4    -60.5
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)        81.4     84.8     81.5     77.6     81.8       79.9     79.9     77.2     75.3     78.8
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนนักท่องเที่ยว                           -4     -6.8     -3.1     -4.5     -1.9       -6.2       -9     -7.8    -10.2     -7.3
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                    -0.1     -6.9      0.4        0      5.7       -4.1       -7     -3.8     -8.5     -5.2
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                         -0.6     -0.6     -0.9     -0.8     -0.2        0.3      0.5      0.2      0.3      0.3
อัตราการว่างงาน                           0.6      0.6      0.7      0.6      0.5        0.7      0.8      0.8        -      0.7
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ
          คำนวณและรวบรวม: สศค.

3. ภาคกลาง
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายขยายตัวในอัตราชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี ส่วนการบริโภคสินค้าคงทนชะลอลง โดยดูจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ ร้อยละ 1.2 และ 16.3 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในระดับต่ำที่ 59.1 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและภัยแล้ง ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มดีขึ้น โดยดูจากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 15.3 ต่อปี การลงทุนขนาดใหญ่หลายโรงงานอยู่ในจังหวัดสระบุรี เช่น โรงงานผลิตเซลแสงอาทิตย์ ส่วนยอดจดทะเบียนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวร้อยละ -33.8 ต่อปี ในขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวหดตัวทั้งจำนวนและรายได้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 1.2 ล้านคนครั้ง หดตัวร้อยละ -34.9 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยหดตัวร้อยละ -17.4 ต่อปี นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศหดตัวร้อยละ -67.2 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 2,102 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -47.5 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยหดตัวร้อยละ -31.1 ต่อปี รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศหดตัวสูงถึงร้อยละ -65.5 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตและราคาหดตัวในอัตราที่น้อยลง ส่งผลให้รายได้เกษตรหดตัวในอัตราที่น้อยลงด้วยในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังมีสัญญาณชะลอตัว โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 89.7 ปัจจัยลบ ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย ผลผลิต และผลประกอบการ ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยอัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 22,173 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงาน สูงกว่าอัตราการว่างงานของประเทศ

ตารางที่ 3 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคกลาง          ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หน่วย: %yoy                                               ปี 2558                                       ปี 2559
                                        ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1     ก.พ.     มี.ค.    เม.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                   12.1     13.3       13      8.7       13        4.1     7.5     14.7        1       3.3
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                 -10.8    -17.3    -22.8    -11.8     29.3       16.2     24.5     14.9      1.2     13.3
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่              -6.1      9.3    -12.2    -13.9     -6.9       -6.8     -9.2      -20     16.3       -3
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)              62.4     66.2     62.8     59.5       61       60.8     60.8     59.8     59.1     60.4
รายได้เกษตรกร                           -9.5     -3.1    -17.7    -18.8     -4.7       -7.3     -1.8    -16.1     -9.3     -7.7
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                  -19.8    -26.2    -24.8    -10.2    -10.7        1.7     11.1    -12.4        3        2
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                   -17    -15.4     -3.5    -18.2    -30.3      -12.3    -24.6        3    -33.8      -19
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม            42.1     90.5    -14.9    -41.5      235        6.4    955.3    -73.1     15.3      7.7
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)          88     92.4     87.2     84.3       88       89.7     87.9     93.1     89.7     89.7
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนนักท่องเที่ยว                        -18.7       -9    -28.5    -10.2    -27.4      -12.2    -10.9     -9.9    -34.9    -18.6
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                     -19    -10.1      -34     -6.3    -17.3       -6.2     -4.9     -8.7    -47.5    -20.5
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                         -0.2     -0.1     -0.5     -0.4      0.3          0      0.1      0.1      0.3      0.1
อัตราการว่างงาน                           1.1      1.1      1.2        1      1.2        1.2      1.2      1.5        -      1.2
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ
          คำนวณและรวบรวม: สศค.

4. ภาคตะวันออก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวสูง โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายเร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 14.9 ต่อปี เช่นเดียวกันกับยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี ตามการปรับตัวดีขึ้นของราคาสินค้าเกษตรสำคัญ แต่ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -1.2 ต่อปี สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในระดับต่ำที่ 63.0 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถนการณ์เศรษฐกิจโลกและภัยแล้ง ในขณะที่การลงทุนยังหดตัวต่อเนื่องตามสถานการณ์การลงทุนในภาพรวม สะท้อนได้จากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม ที่หดตัวร้อยละ -19.7 -29.5 และ -53.0 ต่อปี ตามลำดับ ในด้านการลงทุนภาครัฐในภูมิภาคขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 24.4 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 3.6 ล้านคนครั้ง ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 33.3 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 20.2 ต่อปี นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 69.5 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 24,085 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 69.9 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 34.9 ต่อปี รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 105.6 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตหดตัวลงแต่ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวดี ส่งผลให้รายได้เกษตรขยายตัวดี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังมีสัญญาณชะลอตัว โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 91.5 ปัจจัยลบ ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย ผลผลิต และผลประกอบการ
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 34,651 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงาน

ตารางที่ 4 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันออก         ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หน่วย: %yoy                                               ปี 2558                                       ปี 2559
                                        ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1     ก.พ.     มี.ค.    เม.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                   18.3     18.2     31.1       10     14.6        7.9     13.6     -1.9     14.3      9.4
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                 -15.2    -15.8    -23.1    -15.2     -1.9       20.2     28.1     12.1     -1.2     15.9
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่               1.3     27.5       -1    -13.7     -5.7       -9.9    -19.5    -14.7      2.6     -7.8
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)              66.5     70.3     66.7     63.6     65.3       65.1     65.2     63.8       63     64.6
รายได้เกษตรกร                           -3.8    -21.1    -14.3     21.2     -2.8        3.6     15.6    -17.3       13      7.1
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                  -11.5    -16.6    -26.7     -6.9     -0.1          0      3.9     -8.7    -19.7       -4
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                  -9.1     -7.2     -8.7     -3.3    -17.5       -8.5    -16.1     -5.9    -29.5    -14.4
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม             3.8      155     74.7    -55.6      -57        1.1    -80.3      543      -53    -40.2
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)        90.9       98       90     86.6     89.2       89.2     86.4     94.2     91.5     89.8
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนนักท่องเที่ยว                         21.6     23.3     20.1     33.6     12.1       29.9     25.3     39.3     33.3     30.7
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                      25     29.2     31.4     25.9     17.2         59     50.9     75.1     69.9     61.6
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                         -1.4     -1.3     -1.6     -1.6     -1.3       -0.7     -0.8     -0.7     -0.2     -0.6
อัตราการว่างงาน                           0.8      0.8      0.8        1      0.8          1      1.1        1        -        1
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ
          คำนวณและรวบรวม: สศค.

5. ภาคตะวันตก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวได้สูง โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายขยายตัวถึงร้อยละ 45.2 ต่อปี ส่วนการบริโภคสินค้าคงทนหดตัวลง โดยดูจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่หดตัวร้อยละ -1.6 และ -12.7 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในระดับต่ำที่ 59.1 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้ง ในขณะที่การลงทุนยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน โดยดูจากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่และยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดร้อยละ -11.8 และ -25.5 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 457.2 ต่อปี เนื่องจากมีการตั้งโรงงานผลิตเซลแสงอาทิตย์ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคหดตัวที่ร้อยละ -12.5 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวหดตัวทั้งจำนวนและรายได้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 2.1 ล้านคนครั้ง หดตัวร้อยละ -15.4 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยหดตัวร้อยละ -15.7 ต่อปี นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศหดตัวร้อยละ -12.7 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 5,996 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -8.6 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยหดตัวร้อยละ -12.4 ต่อปี รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 10.6 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตและราคายังคงหดตัวนต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรหดตัวต่อเนื่องด้วย ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังมีสัญญาณชะลอตัว โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 89.7 ปัจจัยลบ ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย ผลผลิต และผลประกอบการ
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 15,284 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.6 ของกำลังแรงงาน

ตารางที่ 5 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันตก        ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หน่วย: %yoy                                            ปี 2558                                          ปี 2559
                                     ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4          Q1        ก.พ.     มี.ค.    เม.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                 0.3      2.2      1.4       -7      4.7         6.2         3.2        9       45     15.5
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่              -16.1    -15.8    -30.1    -20.2     20.5        16.2        23.3     13.3     -1.6     12.7
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่             -2      7.1      3.9      -17     -0.8         1.1        -5.1     -6.3    -12.7     -1.9
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)           62.4     66.2     62.8     59.5       61        60.8        60.8     59.8     59.1     60.4
รายได้เกษตรกร                         4.5     14.8     -1.3     -6.6     -9.3       -15.9       -12.7    -27.6    -22.4    -16.5
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                -5.6    -14.1    -19.8     -7.8     38.8        -4.1        -0.6     10.9    -11.8     -5.7
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่              -15.1    -19.2    -18.8     -5.8    -15.7       -19.8       -15.8    -25.1    -25.5    -21.2
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม        103.8      -81    -47.4    216.1    929.4    1,402.70    2,201.40      587    457.2    869.2
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)       88     92.4     87.2     84.3       88        89.7        87.9     93.1     89.7     89.7
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนนักท่องเที่ยว                       2.4     16.3      9.4     -2.6     -7.7       -15.4       -13.7    -15.2    -15.4    -15.4
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                  4.1      5.8     16.7      8.5     -8.3       -12.4         -10      -11     -8.6    -11.5
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                      -1.6       -1       -2     -1.9     -1.3        -0.3        -0.2     -0.1      0.6     -0.1
อัตราการว่างงาน                        0.5      0.4      0.4      0.6      0.6         0.6         0.6      0.6        -      0.6
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ
          คำนวณและรวบรวม: สศค.

6. ภาคใต้
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวดี โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายเร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 13.4 ต่อปี ส่วนยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวได้ร้อยละ 8.5 และ 5.4 ต่อปี ตามลำดับ ตามการปรับตัวดีขึ้นของราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในระดับต่ำที่ 65.0 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถนการณ์เศรษฐกิจโลกและภัยแล้ง ในขณะที่การลงทุนเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น สะท้อนได้จากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่และยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 14.1 และ 7.0 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมหดตัว ร้อยละ -76.5 ต่อปี ในด้านรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 19.8 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวทั้งจำนวนและรายได้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 3.5 ล้านคนครั้ง ขยายตัวร้อยละ 4.1 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปี นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 39,169 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.1 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยหดตัวร้อยละ -3.5 ต่อปี รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 6.4 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตหดตัวแต่ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวสูง ส่งผลให้รายได้เกษตรขยายตัวด้วย ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังมีสัญญาณชะลอตัว โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 84.2 ปัจจัยลบ ได้แก่ ยอดขาย ผลผลิต ต้นทุน และผลประกอบการ
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยอัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 70,716 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.4 ของกำลังแรงงาน สูงกว่าอัตราการว่างงานของประเทศ

ตารางที่ 6 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคใต้         ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หน่วย: %yoy                                                ปี 2558                                       ปี 2559
                                        ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1     ก.พ.     มี.ค.    เม.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                    6.9      4.7      6.8      8.9      7.5        7.4      8.6     12.8     10.3      7.4
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                 -21.8    -27.2    -29.8    -16.6     -4.2       14.5     11.3       14      8.5     13.4
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่               0.5      0.8      0.1     -6.3      8.7       -5.3    -12.3    -19.8      5.4     -3.4
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)              69.2     73.3       70     66.4     67.2       66.8     66.9     65.8       65     66.4
รายได้เกษตรกร                          -18.8    -26.3    -15.4    -17.7    -15.5      -11.1    -12.3    -10.4      6.9     -7.8
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                  -12.5    -26.7    -17.2     -0.9     20.6        9.3     16.2      1.3     14.1     10.2
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                 -14.2     -9.7    -20.1    -17.6     -6.8        7.6    -10.4     26.5        7      7.5
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม            41.6       65     73.2    -48.4    124.5       27.9     49.7     25.2    -76.5    -34.1
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)        88.3     84.7     85.6     83.3     81.5       84.1     83.7     84.4     84.2     84.2
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนนักท่องเที่ยว                         15.7     25.9     24.5     11.6      2.7       -0.6      4.1     -1.6      4.1      0.5
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                    26.3     42.1     34.6     22.4      8.6       -5.2     -2.2     -3.8      4.1     -3.4
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                         -1.2     -0.7     -1.4     -1.4     -1.4         -1     -1.1     -0.9     -0.3     -0.8
อัตราการว่างงาน                           1.2      1.1      1.1      1.2      1.3        1.2      1.2      1.4        -      1.2
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ
          คำนวณและรวบรวม: สศค.
          ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

7. กทม. และปริมณฑล

ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายเร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 4.1 ต่อปี เช่นเดียวกันกับยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 11.0 ต่อปี ตามการปรับตัวดีขึ้นของราคาสินค้าเกษตรสำคัญ แต่ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 9.4 ต่อปี สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในระดับต่ำที่ 59.9 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถนการณ์เศรษฐกิจโลก ในขณะที่การลงทุนยังหดตัวต่อเนื่องตามสถานการณ์การลงทุนในภาพรวม สะท้อนได้จากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ -5.4 -16.8 และ -30.0 ต่อปี ตามลำดับ ในด้านรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.1 ต่อปี

ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 3.6 ล้านคนครั้ง ขยายตัวร้อยละ 8.4 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยหดตัวร้อยละ -4.9 ต่อปี นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 23.3 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนอยู่ที่ 40,257 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.3 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยหดตัวร้อยละ -4.9 ต่อปี รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 23.6 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตและราคาหดตัวในอัตราที่น้อยลง ส่งผลให้รายได้เกษตรหดตัวในอัตราที่น้อยลงด้วย ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังมีสัญญาณชะลอตัว โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 89.7 ปัจจัยลบ ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย ผลผลิต และผลประกอบการ

ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 91,548 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงาน

ตารางที่ 7 เครื่องชี้เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

หน่วย: %yoy                                                    ปี 2558                                        ปี 2559
                                             ทั้งปี       Q1       Q2       Q3       Q4         Q1     ก.พ.     มี.ค.    เม.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                         6.8      9.1      7.9      3.6      6.7       -1.9      3.3     -9.6      3.8     -0.5
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                      -10.2      -13    -24.1    -11.6     21.5       14.6     15.8     23.5      9.4     13.6
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่                    0.6     10.1     -3.9     -7.5      4.8        8.4     -1.5        3       11      8.9
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)                   62.6     66.3     62.5     59.5       62       61.6     62.3       61     59.9     62.1
รายได้เกษตรกร                                  -3      2.5       -7     -5.4     -4.4       -7.8      0.3    -21.5     -7.8     -7.8
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                        -6.3    -13.7    -17.6     -0.5     15.6        3.3      7.1      8.5     -5.4      1.5
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                       -8.7     -5.7    -13.1     -8.5     -7.3      -15.4    -10.8      -11    -16.8    -15.7
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม                  6.4      4.2    -50.8     39.7    124.5      -43.4    -46.1    -40.3      -30    -39.3
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)               88     92.4     87.2     84.3       88       89.7     87.9     93.1     89.7     89.7
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนนักท่องเที่ยว                              25.6    -12.6     21.4       29       68       27.5     12.6     11.6      8.4     22.8
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                           46      6.3     30.5       38     76.4       34.2    17.79    13.14     16.3     29.8
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                                -1     -1.1     -1.2       -1     -0.9       -0.3     -0.2     -0.3      0.2     -0.2
อัตราการว่างงาน                                  1        1        1        1        1        0.9      1.1        1        -      0.9
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ
          คำนวณและรวบรวม: สศค.

          ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ