รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 17 มิถุนายน 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 17, 2016 13:19 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 17 มิถุนายน 2559

Summary:

1. หนี้สาธารณะคงค้างของไทย เดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 44.1 ของ GDP

2. หนี้สาธารณะสเปนทะลุร้อยละ 100 สูงสุดในรอบ 20 ปี

3. BOJ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

1. หนี้สาธารณะคงค้างของไทย เดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 44.1 ของ GDP
  • นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เม.ย. 59 อยู่ที่ 6.1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.1 ของ GDP โดยแบ่งเป็น 4 ส่วนตามประเภทผู้ก่อหนี้ คือ 1. หนี้ของรัฐบาล 4.5 ล้านล้านบาท 2. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1.0 ล้านล้านบาท 3. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 5.2 แสนล้านบาท และ 4. หนี้หน่วยงานของรัฐ 1.2 หมื่นล้านบาท
  • สศค. วิเคราะห์ว่า หนี้สาธารณะของไทย ณ สิ้นเดือน เม.ย. 59 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3.7 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยอยู่ที่ร้อยละ 44.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่อยู่ที่ร้อยละ 44.0 โดยหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากหนี้ของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น 4.3 หมื่นล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้ในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ระดับหนี้สาธารณะดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่มั่นคง เนื่องจากระดับหนี้อยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ก่าหนดไว้ที่ร้อยละ 60 ของ GDP และในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศ เนื่องจากหนี้สาธารณะเพียงร้อยละ
2. หนี้สาธารณะสเปนทะลุร้อยละ 100 สูงสุดในรอบ 20 ปี
  • ธนาคารกลางสเปนเผย หนี้สาธารณะคงค้างของสเปนในช่วงไตรมาส 1 ปี 59 อยู่ที่ 1.09 ล้านล้านยูโร หรือราว 43 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจสเปนแล้ว หนี้สาธารณะอยู่ที่ร้อยละ 100.5 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 99.2 ในช่วงสิ้นปี 58 และนับเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในรอบ 20 ปี
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ระดับหนี้สาธารณะของสเปนในปัจจุบันสูงกว่าระดับร้อยละ 60 ที่ก่าหนดไว้ในสนธิสัญญามาสทริชท์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้สมาชิกยูโรโซนรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ แม้ว่าเศรษฐกิจสเปนหลังเกิดวิกฤตการเงินปี 51 ได้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในปี 56 และมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจนกลายเป็นประเทศหนึ่งในสหภาพยุโรปและกลุ่มยูโรโซนที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับต้นๆ ก็ตาม โดยในไตรมาส 1 ปี 59 เศรษฐกิจสเปนขยายตัวร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซนในช่วงเวลาเดียวกันขยายตัวเพียงร้อยละ 1.7 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาระการคลังของสเปนอยู่ในระดับสูงจากการเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงิน ท่าให้ระดับหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับในปี 53 ที่อยู่ที่เพียงร้อยละ 60.1 ของ GDP
3. BOJ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
  • หลังจากการประชุมในช่วง 2 วันที่ผ่านมา ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่ง BOJ ระบุว่าจะยังคงเดินหน้านโยบายเพิ่มฐานปริมาณเงินในระบบของญี่ปุ่น (QQE) วงเงิน 80 ล้านล้านเยนต่อปี นอกจากนี้ BOJ ยังคงจะใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบที่ร้อยละ -0.1 สำหรับเงินสำรองส่วนเกินที่สถาบันการเงินฝากไว้กับ BOJ โดยภายหลังจากการประชุมดังกล่าว เงินเยนแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ 104.5 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงเปราะบาง สะท้อนจาก GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 59 ที่ขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการชะลอตัวลงของการส่งออก การลงทุนรวม และการใช้จ่ายภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ด้วยอัตราดอกเบี้ยนโยบายญี่ปุ่นในปัจจุบันที่อยู่ในระดับต่ามากที่ร้อยละ -0.1 ถึงร้อยละ 0.1 ต่อปี ท่าให้ BOJ มีความสามารถในการด่าเนินนโยบายทางการเงินเพิ่มเติม (Policy space) ไม่มากนัก นอกจากนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายประการ อาทิ การแข็งค่าของเงินเยน จากเงินทุนที่ไหลกลับเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งการแข็งค่าของเงินเยนส่งผลกระทบต่อการส่งออกทั้งในภาคสินค้าและบริการ สะท้อนให้เห็นจากการชะลอลงของจ่านวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังญี่ปุ่นในเดือน เม.ย. 59 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 18.0 จากที่เคยขยายตัวสูงเฉลี่ยถึงร้อยละ 47.1 ในปีก่อนหน้า นอกจากนี้ การจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศของญี่ปุ่นยังคงมีแนวโน้มทรงตัวหรือชะลอลง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อกลับมาติดลบอีกครั้งในเดือน เม.ย. 59 ที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับปีก่อน อีกทั้งยอดค้าปลีกใน

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ