รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 21 - 25 พฤศจิกายน 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 20, 2016 11:34 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ต.ค. 59 ขยายตัว ร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค. 59 หดตัวร้อยละ -1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • GDP ของสิงคโปร์ ไตรมาสที่ 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล)
  • ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. 59 โดยรวม ทรงตัว โดยยอดขายบ้านมือสองอยู่ที่ 446,000 หลัง หรือขยายตัว ร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทังนี ดัชนีราคากลางบ้าน เดือน ก.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหภาพยุโรป เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ -6.1 จุด (ตัวเลขเบืองต้น)
  • มูลค่าส่งออกของญี่ปุ่น เดือน ต.ค. 59 หดตัวร้อยละ -10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนมูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -16.5 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 4.96 ล้านล้านเยน
  • อัตราการว่างงานของไต้หวัน เดือน ต.ค. 59 ทรงตัวที่ ร้อยละ 3.9 ของกำลังแรงงานรวม
  • อัตราเงินเฟ้อของฮ่องกง เดือน ต.ค. 59 ลดลงมาอยู่ที่ ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: This Week

เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก พบว่าขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ทำให้ใน 3 ไตรมาสแรก เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.3 สำหรับไตรมาสที่ 3 ในด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง การส่งออกบริการขยายตัวเร่งขึ้น และการส่งออกสินค้าขยายตัว ขณะที่การบริโภคภาครัฐหดตัวหลังจากมีการเร่งเบิกจ่ายไปในช่วงก่อนหน้านี้ สำหรับด้านการผลิต สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวเร่งขึ้น สาขาการค้าส่งค้าปลีก สาขาคมนาคมขนส่ง สาขาอุตสาหกรรม และสาขาก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่อง

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยเป็นผลจากการขยายตัวของหมวดพืชผลสำคัญเป็นสำคัญ โดยเฉพาะข้าวโพด กลุ่มไม้ผล ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ขณะที่หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงขยายตัวได้ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ในช่วง 10 เดือนแรก ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ -2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค. 59 หดตัวร้อยละ -1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.0 และเป็นการหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน จากราคาในหมวดพืชผลสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าวเปลือก โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ที่ราคาหดตัวเนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว รวมถึงราคามันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขณะที่ราคายาง และปาล์มน้ำมันขยายตัวดี ทั้งนี้ในช่วง 10 เดือนแรก ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

ตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ เดือน ต.ค. 59 โดยรวมทรงตัว โดยยอดขายบ้านมือสองอยู่ที่ 446,000 หลัง หรือขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากยอดขายบ้านเดี่ยว ราคากลางบ้านมือสองอยู่ที่ 232,200 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อน ทั้งจากราคาบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียม ยอดขายบ้านใหม่อยู่ที่ 563,000 หลังต่อปี หรือหดตัวร้อยละ -1.9 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคตะวันตก ดัชนีราคากลางบ้าน เดือน ก.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 4 ปี 9 เดือน จากราคาบ้านทุกภูมิภาคที่ปรับเพิ่มขึ้น ด้านยอดคำสั่งซือสินค้าคงทน เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวจากเครื่องมือด้านการขนส่ง

Eurozone: improving economic trend

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ -6.1 จุด (ตัวเลขเบืองต้น) ปรับตัวสูงขึ้นจากดัชนีฯ เดือน ต.ค. 59 ที่อยู่ที่ระดับ -8.0 จุดสอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซือภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 59 ที่อยู่ที่ระดับ 53.7 จุด (ตัวเลขเบืองต้น) ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 34 เดือน เนื่องจากยอดการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นและดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซือภาคบริการเดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 54.1 จุด (ตัวเลขเบืองต้น) สูงสุดในรอบ 11 เดือนส่งผลให้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซือรวม เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 54.1 จุด (ตัวเลขเบืองต้น) ซึ่งสูงสุดในรอบ 11 เดือน สะท้อนภาวะเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ที่ปรับตัวดีขึ้น

Japan: mixed signal

มูลค่าส่งออก เดือน ต.ค. 59 หดตัวร้อยละ -10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และหดตัวต่อเนื่องเดือนที่ 13 จากการส่งออกไปยังฮ่องกง อินเดีย และไทยที่หดตัว ขณะที่มูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -16.5 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 4.96 ล้านล้านเยน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซือ ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 (ตัวเลขเบืองต้น) อยู่ที่ระดับ 51.1 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน แต่ยังอยู่เหนือระดับ 50 จุด บ่งชี้การขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีย่อยเกือบทุกหมวดปรับตัวสูงขึ้น มีเพียงดัชนีหมวดยอดขายที่รอรับรู้รายได้ที่ปรับตัวลดลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากราคาอาหารและเสื้อผ้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ หากไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงานแล้ว อัตราเงินเฟ้อพืนฐานอยู่ที่ร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

Taiwan: mixed signal

อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 59 ทรงตัวที่ร้อยละ 3.9 ของกำลังแรงงานรวม ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน กลับมาขยายตัวได้ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 59 หดตัวร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

Hong Kong: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 59 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากร้อยละ 2.9 ในเดือนก่อน เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภคที่ลดลง มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 59 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปจีนที่ชะลอลง มูลค่าการนำเข้า เดือน ต.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน ต.ค. 59 ขาดดุล 37.2 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง

Malaysia: mixed signal

เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 59 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบียนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.5

Singapore: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและภาครัฐ ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -0.2 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซือภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 59 อยู่ที่ระดับ 50.0 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีย่อยหมวดการผลิตและการจ้างงานที่ลดลง

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึนจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 24 พ.ย. 59 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,490.11 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 42,054 ล้านบาท จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนทั่วไปในประเทศ โดยมีปัจจัยบวกจาก GDP ไทยไตรมาสที่ 3 ปี 59 ที่ขยายตัวใกล้เคียงกับที่คาด และการคาดการณ์ว่าการประชุมผู้นำกลุ่ม OPEc ในวันที่ 30 พ.ย. 59 จะสามารถตกลงจำกัดปริมาณการผลิตน้ำมันได้ ปัจจัยดังกล่าวเป็นผลบวกต่อราคาหลักทรัพย์กลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงกังวลต่อการประกาศแผนนโยบาย 100 วันแรกหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของนายโดนัล ทรัมป์ ซึ่งประกาศชัดเจนว่าจะขอถอนตัวออกจาก TPP ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีฯ ยังไม่สามารถผ่านแนวต้านด้านจิตวิทยาที่ 1,500 จุดได้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 21 - 24 พ.ย. 59 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 5,752.86 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึน 1-11 bps จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะในพันธบัตรระยะยาวต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ตามการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ที่จะมีการประชุมวันที่ 13-14 ธ.ค. 59 นี้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 21 - 24 พ.ย. 59 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากพันธบัตรสุทธิ 2,579.51 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 24 พ.ย. 59 เงินบาทปิดที่ 35.71 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.80 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลภูมิภาคทั้งหมด จากดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงน้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นีแข็งค่าขึนร้อยละ 0.55 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ