รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 27-31 มีนาคม 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 3, 2017 15:27 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.พ. 60 มีมูลค่า 18,469.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาหดตัวอีกครังที่ร้อยละ -2.8
  • มูลค่าการนำเข้าในเดือน ก.พ. 60 มีมูลค่า 16,859.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวในระดับสูงและเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 20.4
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.พ. 60 ปีงปม. 60 พบว่าดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -16.2 พันล้านบาท
  • การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ก.พ. 60 ปีงปม. 60 เบิกจ่ายได้ทังสิน 157.9 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -1.7
  • รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.พ. 60 ได้จำนวน 153.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.พ. 60 หดตัวร้อยละ -1.5
  • วันที่ 29 มี.ค. 60 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบียนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50
  • GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 4 ปี 59 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP เวียดนาม ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรป เดือน มี.ค. 60 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 56.2 จุด
  • ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม NBS ของจีน เดือน มี.ค. 60 เพิ่มขึ้นมา อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด
Economic Indicators: This Week

มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.พ. 60 มีมูลค่า 18,469.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาหดตัวอีกครังที่ร้อยละ -2.8 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 จากสินค้าอุตสาหกรรมที่กลับมาหดตัวอีกครั้งที่ร้อยละ -5.9 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 ตามการหดตัวของการส่งออกรถยนต์เป็นสำคัญ นอกจากนี้ สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรหดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -3.4 ตามการหดตัวของสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และน้ำตาล ขณะที่สินค้าเกษตรกรรมยังคงขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 22.4 ตามการขยายตัวในระดับสูงของยางพารา เป็นสำคัญ ทั้งนี้ราคาสินค้าส่งออกขยายตัวร้อยละ 4.2 ส่วนปริมาณการส่งออกสินค้าหดตัวที่ร้อยละ -6.7 ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 60 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.5

มูลค่าการนำเข้าในเดือน ก.พ. 60 มีมูลค่า 16,859.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวในระดับสูงและเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 20.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากการขยายตัวดีในเกือบทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะหมวดสินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน และสินค้าวัตถุดิบที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 51.8 23.3 และ 20.9 ขณะที่สินค้ายานยนต์กลับมาหดตัวอีกครั้งที่ร้อยละ -7.3 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 ทั้งนี้ ราคาสินค้านำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.69 และปริมาณการนำเข้าสินค้าขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 10.5 ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 60 ขยายตัวที่ ร้อยละ 12.4 ซึ่งจากการที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าต่ำกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน ก.พ. 60 เกินดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.พ. 60 ปีงปม.60 พบว่าดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -16.2 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล -8.6 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -24.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ ดุลเงินงบประมาณในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 60 ขาดดุลจำนวน -529.3 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล -37.9 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -567.2 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 108.5 พันล้านบาท

Economic Indicators: This Week

การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ก.พ. 60 ปีงปม. 60 เบิกจ่ายได้ทังสิน 157.9 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -1.7 ต่อปีโดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 142.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 113.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 29.0 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -2.8 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 5.1 พันล้านบาท และรายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม 4.2 พันล้านบาท ทั้งนี้ รายจ่ายปีงบประมาณปัจจุบันในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 60 สามารถเบิกจ่ายได้ 1,248.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 45.7 ของวงเงินงบประมาณ (2,733.0 ล้านล้านบาท)

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.พ. 60 ได้จำนวน 153.7 พันล้านบาท เพิ่มขึนร้อยละ 3.1 ต่อปี และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 0.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.2 ของประมาณการเอกสารงบปม. จากการจัดเก็บภาษีฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 ต่อปี จากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ต่อปี และภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ภาษีฐานการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ต่อปี ทำให้ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) จัดเก็บได้ 876.3 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -1.9 ต่อปี และสูงกว่าประมาณการ 14.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.6 ของประมาณการเอกสารงบปม.

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน ก.พ. 60 มีมูลค่า 58,642 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล โดยมูลค่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายภายในประเทศกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ที่ร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนที่หดตัว ร้อยละ -4.9 ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 7.2

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.พ. 60 ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -8.4 ต่อปี แต่ขยายตัวได้ร้อยละ 7.2 ต่อเดือนหลังปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 60 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวร้อยละ 9.5 ต่อปี

Economic Indicators: This Week

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.พ. 60 หดตัวร้อยละ -1.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออกพบว่า หดตัวร้อยละ -1.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมที่หดตัวอยู่ในหมวดยานยนต์ จากการผลิตเพื่อการส่งออกลดลง และหมวดปิโตรเลียมที่มีการปิดเพื่อซ่อมบำรุงรักษาโรงงานชั่วคราว ในขณะที่การผลิตในหมวดวิทยุ โทรทัศน์ และหมวดอาหารมีการขยายตัวดี ตามความต้องการที่มีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 2 เดือนแรก ขยายตัว ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.พ. 60 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าขยายตัวขึ้นร้อยละ 3.6 ต่อเดือนทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 60 ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศหดตัวที่ร้อยละ -2.0

วันที่ 29 มี.ค. 60 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบียนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราเดิมต่อเนื่อง 2 ปีติดต่อกัน โดย กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นและดีกว่าที่ประเมินไว้เดิม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังมีแนวโน้มทยอยปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงอีกมากโดยเฉพาะจากด้านต่างประเทศ กนง. จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้เพื่อให้ภาวะการเงินโดยรวมอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจได้

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend

GDP ไตรมาส 4 ปี 59 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขที่ประกาศก่อนหน้านี หรือหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าแล้วขยายตัวร้อยละ 0.5 (ขจัดผลทางฤดูกาล) เท่ากับตัวเลขเดิม ส่งผลให้ GDP ทั้งปี 59 ขยายตัวร้อยละ 1.6 เท่าตัวเลขที่ประกาศก่อนหน้านี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 125.6 จุด สูงขึ้นมากจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 116.1 จุด และเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 16 ปี จากการปรับขึ้นของดัชนีย่อยทั้งหมวดสถานการณ์ปัจจุบันที่แตะระดับสูงถึง 143.1 จุด สูงสุดในรอบกว่า 15 ปี และหมวดคาดการณ์เศรษฐกิจที่อยู่ระดับ 113.8 จุด สูงสุดในรอบ 16.5 ปี

Eurozone: improving economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 60 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 56.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ระดับ 55.4 จุด และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 71 เดือน เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกและการจ้างงานปรับตัวเพิ่มขึ้น ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน มี.ค. 60 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 56.5 จุด เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ระดับ 55.5 จุด และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 71 เดือนเช่นกัน เนื่องจากผลผลิตที่ขยายตัวเร่งขึ้น คำสั่งซื้อสินค้าใหม่และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น

United Kingdom: mixed signal

นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ลงนามในประกาศเริ่มกระบวนการออกจาก สหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการโดยประกาศใช้มาตรา 50 ของสนธิสัญญาลิสบอน เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 60 ซึ่งตามกรอบสหราชอาณาจักรจะต้องออกจากสมาชิกภาพภายใน 2 ปี

Japan: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 1.0 ในเดือนก่อนหน้า จากยอดขายหลายหมวดสินค้าที่กลับมาหดตัว เช่น สินค้าทั่วไป อาหารและเครื่องดื่ม อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 0.4 ในเดือนก่อน โดยแม้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.0 ของธนาคารกลางญี่ปุ่นมาก ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.7 ในเดือนก่อน

China: improving economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม NBS เดือน มี.ค. 60 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.8 จุด จาก 51.6 จุดในเดือนก่อน สะท้อนการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม ดัชนี PMI ภาคบริการ NBS เดือน มี.ค. 60 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 55.1 จุด สูงที่สุดในรอบ 3 ปี สะท้อนภาคบริการที่แข็งแกร่ง

Hong Kong: mixed signal

การส่งออก เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวร้อยละ 18.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน กลับมาขยายตัวในอัตราสูงจากการส่งออกไปตลาดหลักที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะจีนที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 35.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านการนำเข้า เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวร้อยละ 25.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าทุกหมวดที่ขยายตัวสูง ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.พ. 60 ขาดดุล 5.6 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกงยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 60 หดตัวร้อยละ -5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ -1.0 ในเดือนก่อน จากยอดค้าสินค้าทุกหมวดที่ชะลอลงถึงหดตัว

Vietnam: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 5.0 เนื่องจากดัชนีราคาในหมวดอาหารและหมวดค่ารักษาพยาบาลขยายตัวชะลอลง มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 8.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 29.6 เนื่องจากการส่งออกสินค้าหมวดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และหมวดคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 13.4 และ 40.4 กอปรกับการส่งออกสินค้าหมวดโทรศัพท์หดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -24.3 มูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 21.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 48.5 เนื่องจากดัชนีสินค้าหมวดเครื่องจักรและชิ้นส่วนอะไหล่ และดัชนีหมวดผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 24.2 และ 9.6 ทำให้ดุลการค้า เกินดุล 17.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 เนื่องจากผลผลิตหมวดอุตสาหกรรม หมวดอิเล็กทรอนิกส์และแก็ส และหมวดน้ำประปาขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 8.9 11.3 และ 8.5 ตามลำดับ ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 13.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 เนื่องจากดัชนีเกือบทุกหมวดขยายตัวเร่งขึ้น GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ -0.8 (หากขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 เนื่องจากภาคการเกษตร ภาคการผลิต และภาคการบริการและอื่นๆขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนทีร้อยละ 1.9 9.3 และ 6.4 ตามลำดับ ประกอบกับภาคเหมืองแร่หดตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ -9.1

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านปรับตัวอยู่ในช่วงขาขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 30 มี.ค. 60 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,579.88 จุด จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติที่ทยอยนำเงินเข้าลงทุนในตลาดในภูมิภาคต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยระหว่างวันที่ 27 - 30 มี.ค. 60 นักลงทุนต่างชาติเข้าซือหลักทรัพย์สุทธิมากถึง 14,166.86 ล้านบาท โดยเฉพาะในวันที่ 30 มี.ค. 60 ซึ่งมีเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดหลักทรัพย์ไทยสูงถึง 10,662.23 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางและระยะยาวปรับลดลงโดยเฉลี่ย 3-4 bps เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นค่อนข้างทรงตัว สอดคล้องกับทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติกลับเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ไทยและตลาดอื่นๆ ในภูมิภาค หลังก่อนหน้านี้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนกลับสู่สินทรัพย์ปลอดภัยโดยเฉพาะในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ช่วงก่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ของ Fed โดยในระหว่างวันที่ 27 - 30 มี.ค. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าสู่ตลาดพันธบัตรสุทธิ 10,992.00 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย ณ วันที่ 30 มี.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 34.49 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.46 จากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับทิศทางของค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเยน ริงกิต วอนเกาหลี และดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่ยูโรอ่อนค่าลงจากประเด็น Brexit และหยวนค่อนข้างทรงตัว ทั้งนี้ เงินบาทที่แข็งค่าในอัตราที่มากกว่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.41 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ