รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 16 - 20 กันยายน 2562

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 25, 2019 15:50 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ส.ค. 62 หดตัวร้อยละ -12.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ส.ค. 62 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 92.8 จากระดับ 93.5 ในเดือนก่อนหน้า
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ส.ค. 62 หดตัวที่ ร้อยละ -3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน ส.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการนำเข้าในเดือน ส.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -14.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน ส.ค. 62 หดตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงอยู่ที่ร้อยละ -5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ส.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -9.2 ต่อปี
  • การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 2562 หดตัวร้อยละ -6.1 ต่อปี
  • รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนส.ค. ปีงบประมาณ 2562 หดตัวร้อยละ -15.2 ต่อปี
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน ส.ค. 62 เกินดุลจำนวน 11.3 พันล้านบาท
Economic Indicators: This Week

ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ส.ค. 62 หดตัวร้อยละ -12.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ตามความต้องการใช้งานปูนซีเมนต์ที่ยังคงชะลอตัว และหดตัวร้อยละ -8.6 ต่อเดือน เมื่อปรับผลทางฤดูกาล ทำให้ 8 เดือนแรกของปี 62 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศหดตัวร้อยละ -4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือนส.ค.62 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 92.8 จากระดับ 93.5 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อกำลังซื้อภายในประเทศที่ชะลอตัว โดยมีปัจจัยจากการระมัดระวังการใช้จ่ายบริโภคและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ รวมถึงความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่ยืดเยื้อ ยังคงมีความกังวลต่อเนื่องของผู้ประกอบการส่งออก อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่ที่ระดับ 102.9 จากระดับ 102.3 ในเดือนก.ค. เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จากกิจกรรมส่งเสริมการขายและการเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่มากขึ้น รวมถึงผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีผลต่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศ

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ส.ค. 62 มีจำนวน 33,036 คัน หดตัวที่ร้อยละ -3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -0.8 โดยเป็นผลจากการเข้มงวดที่มากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์ของสถาบันการเงิน ส่งผลให้ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 62 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 62 มีจำนวน 47,802 คัน หดตัวต่อเนื่องร้อยละ -9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัว ร้อยละ -5.2 เมื่อปรับผลทางฤดูกาล ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน หดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสำคัญจากการชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงการที่ธนาคารพาณิชย์ คุมเข้มในการปล่อยสินเชื่อรถมากขึ้น ทำให้ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 62 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

Economic Indicators: This Week

มูลค่าการส่งออกในเดือน ส.ค. 62 มีมูลค่า 21,915 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกกลุ่มสินค้าส่งออกหลักที่หดตัวต่อเนื่อง อาทิ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์นั่ง ส่วนประกอบยานยนต์ และน้ำมันสำเร็จรูป เป็นต้นขณะที่ การส่งออกสินค้าทองคำในเดือนดังกล่าวยังคงขยายตัวได้ในระดับสูงทั้งนี้ สินค้าส่งออกอื่น ๆ ที่ยังคงขยายตัวดี ได้แก่ ผัก ผลไม้สดแช่แข็ง และแปรรูป ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป น้ำตาลทราย รถจักรยานยนค์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ด้านมิติตลาดคู่ค้า พบว่า ตลาดส่งออกที่ยังขยายตัว ได้แก่ สหรัฐฯ ทวีปออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และสวิตเซอร์แลนด์ ขณะที่ตลาดส่งออกสำคัญอื่น ๆ หดตัว ทั้งนี้ การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรก ปี 62 ยังคงหดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

มูลค่าการนำเข้าในเดือน ส.ค. 62 มีมูลค่า 19,862 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวระดับสูงที่ร้อยละ -14.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัจจัยด้านการนำเข้าสินค้าทองคำที่หดตัวเป็นหลัก ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าช่วง 8 เดือนแรกปี 62 ยังคงหดตัวเฉลี่ยร้อยละ -3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับดุลการค้าในเดือน ส.ค. 62 ยังคงเกินดุลมูลค่า 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยช่วง 8 เดือนแรกของปี 62 ดุลการค้าของไทยเกินดุล 6.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน ส.ค. 62 มีมูลค่า 65,379 ล้านบาท คิดเป็นการหดตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงอยู่ที่ร้อยละ -5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -1.1 โดยเป็นผลจาก การชะลอลงของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้า หดตัวที่ร้อยละ -17.1 จากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยฐานสูงในปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศยังขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ส.ค.62 หดตัวต่อเนื่องร้อยละ -9.2 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อเดือนหลังปรับผลทางฤดูกาล โดยเป็นการหดตัวจากหมวดภาษีธุรกิจเฉพาะที่กรมที่ดินจัดเก็บให้ ร้อยละ -7.0 ต่อปีเป็นสำคัญ จากการบังคับใช้มาตรการ LTV เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา และการเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน ทำให้ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 62 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวร้อยละ -6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

Economic Indicators: This Week

การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ส.ค. ปีงปม. 62 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 168.1 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -6.1 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสม 11 เดือนแรก ที่ร้อยละ 82.5 โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้158.2 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -5.3 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสม 11 เดือนแรกที่ร้อยละ 84.3 ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจำ 125.2 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -6.6 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสม 11 เดือนแรกที่ร้อยละ 93.2 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 33.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.0 ต่อปี คิดเป็น อัตราเบิกจ่ายสะสม 11 เดือนแรกที่ร้อยละ 51.8 (2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้ 9.9 พันล้านบาท หดตัว ร้อยละ -17.4 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสม 11 เดือนแรกที่ร้อยละ 65.8 ทั้งนี้รายจ่ายที่สำคัญ ได้แก่ และเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 7.3 พันล้านบาท และงบลงทุนของกรมทางหลวง 6.1 พันล้านบาท

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.)ในเดือน ส.ค. ปีงปม. 62 ได้จำนวน 211.8 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -15.2 ต่อปี โดยมาจาก(1) รายได้จาก 3 กรมภาษีหดตัวร้อยละ -7.6 ต่อปี จากภาษีเงินได้นิติบุคคลหดตัวร้อยละ -13.4 ต่อปี และภาษีน้ำมัน หดตัวที่ร้อยละ -13.1 ต่อปี เป็นสำคัญ และ (2) รายได้จากหน่วยงานอื่นหดตัวร้อยละ -50.5 ต่อปี จากรายได้รับจากกรมธนารักษ์หดตัวลงร้อยละ -90.4 ต่อปี

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ส.ค. 62 พบว่า ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 11.3 พันล้านบาท ทั้งนี้และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล -9.6 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุล 1.7 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 512.3 พันล้านบาท

Global Economic Indicators: This Week

US: worsening economic trend

ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ก.ค. 62 หดตัวร้อยละ -12.8 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) สวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.9 จากยอดขายบ้านใหม่ในภาคใต้ ภาคตะวันตก และมิดเวสท์ (Midwest) ที่หดตัวด้านยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากยอดค้าปลีกในหลายหมวดที่ชะลอลง เช่น หมวดร้านขายสินค้าสุขภาพ หมวดบริการอาหารและเครื่องดื่ม และยอดค้าปลีกที่ไม่รวมหมวดยานยนต์ เป็นต้น ด้านผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการผลิตสินค้าในหลายหมวดที่หดตัว เช่น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค หมวดสินค้าคงทน หมวดสินค้าไม่คงทน และหมวดเชื้อเพลิง เป็นต้น และเมื่อวันที่ 17-18 ก.ย. 62 คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) มีมติ 7-3 ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps มาอยู่ที่ร้อยละ 1.75-2.00 ต่อปี

Japan: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 62 หดตัวตัวร้อยละ -8.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกทุกหมวดสินค้าที่หดตัว โดยเฉพาะสินค้าหมวดเครื่องจักรกล และสินค้าอุตสากรรมที่หดตัวเป็นสำคัญ ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 62 หดตัวตัวร้อยละ -12.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการนำเข้าทุกหมวดสินค้าที่หดตัว โดยเฉพาะสินค้าหมวดสินแร่และเชื้อเพลิงที่ .หดตัวเป็นสำคัญ ส่งผลให้ขาดดุลการค้าในเดือน ส.ค. 62 ที่ 1.4 แสนล้านเยน ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีเกือบทุกหมวดที่ชะลอลง และเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 62 ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี

Eurozone: improving economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.9 และมูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนสวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.2 ส่งผลให้ เกินดุลการค้าในเดือน ก.ค. 62 ที่ 2.5 หมื่นล้านยูโร ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า

India: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าหมวดอาหารและแร่ที่เร่งขึ้น ขณะที่สินค้าหมวดเชื้อเพลิงและพลังงานชะลอลง

UK: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากยอดค้าปลีกในหลายหมวดที่ชะลอลง เช่น ร้านค้าที่ไม่มีหน้าร้าน เชื้อเพลิงยานยนต์ และร้านค้าที่ไม่รวมอาหาร เป็นต้น และเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 62 ธนาคารกลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.75 ต่อปี

Australia: worsening economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยจำนวนคนที่หางานเต็มเวลาหดตัว

Taiwan: mixed signal

เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 62 ธนาคารกลางไต้หวันประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 1.375

China: worsening economic trend

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 โดยผลผลิตของภาคการผลิต เหมืองแร่ และสาธารณูปโภคขยายตัวชะลอลง ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยยอดขายรถยนต์หดตัวเพิ่มขึ้น

Hong Kong: mixed signal

อัตราการว่างงานเดือน ส.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า

Indonesia: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออกเดือน ส.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -10 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่หดตัวที่ร้อยละ -5.1 โดยมูลค่าส่งออกสินค้าเกือบทุกหมวดปรับตัวลดลงและหดตัว ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือนเดียวกันหดตัวที่ร้อยละ -15.6 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากหมวดสินค้าทุกประเภทที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 62 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปี นับเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ก.ค. 62

Singapore: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 62 ตัวหดตัวที่ร้อยละ -10.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกทุกประเภทหดตัว ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 4.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ในสัปดาห์นี้โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ เช่น HSI (ฮ่องกง) STI (สิงคโปร์) และ KLCI (มาเลเซีย) เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 19 ก.ย. 62 ปิดที่ระดับ 1,640.66 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 16-19 ก.ย. 62 ที่ 64,238 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ สำหรับในสัปดาห์หน้า ยังคงต้องติดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 25 ก.ย. 62 ว่าจะเป็นไปตามที่ตลาดคาดหรือไม่ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 16-19 ก.ย. 62 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -776 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกช่วงอายุปรับลดลง 1-13 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 16-19 ก.ย. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -14,044 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 19 ก.ย. 62 เงินบาทปิดที่ 30.57 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.25 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ เช่น เงินเยน ริงกิต และดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่เงินยูโร วอนและหยวน แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.24

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ