รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 13 - 17 เมษายน 2563

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 20, 2020 14:42 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน มี.ค. 63 หดตัวร้อยละ -5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • GDP ของจีน ไตรมาสที่ 1 ปี 63 หดตัวร้อยละ -6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: This Week

ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศใน เดือน มี.ค. 63 หดตัวร้อยละ -5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หากปรับผลทางฤดูกาล พบว่าหดตัวร้อยละ -5.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ผลจากความต้องการในการที่หดตัวลง จากการระบาดของโควิด-19 รวมถึงการหยุดชะงักโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชน ถึงแม้รัฐบาลจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และภาคอสังหาริมทรัพย์แล้วก็ตาม แต่คาดการณ์ว่า หากปัจจัยกระทบด้านโรคระบาดหมดไป จะมีการปรับตัวสูงขึ้นจากผลของการกระจุกตัวของความต้องการที่อยู่ในช่วงชะลอตัวที่ผ่านมา ทำให้ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 63 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวร้อยละ -4.3 ต่อปี

Global Economic Indicators: This Week

US: worsening economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีครึ่ง โดยสินค้าเกือบทุกหมวดชะลอตัวลง ยกเว้นหมวดสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพ และการค้าปลีกแบบไม่มี หน้าร้าน และ ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการหดตัวต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี 4 เดือน โดยผลผลิตสินค้าในทุกหมวดชะลอตัวลง ยกเว้นหมวดพลังงาน ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือนมี.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -22.3 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)หดตัวต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี จากยอดสร้างบ้านทุกประเภทที่หดตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทคอนโดมิเนียม สอดคล้องกับยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ในเดือนเดียวกันที่หดตัวที่ร้อยละ -6.8 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านเดี่ยวที่หดตัวลงอย่างมาก

China: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 63 หดตัวร้อยละ -6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหดตัวชะลอลงจาก 2 เดือนก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -0.4 หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกินดุลการค้า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 63 หดตัวร้อยละ -6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการหดตัวครั้งแรกตั้งแต่ปี 35 และหดตัวร้อยละ -9.8 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผล.ทางฤดูกาลแล้ว) ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 63 หดตัวร้อยละ -15.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือน ม.ค. 63

Eurozone: worsening economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 63 หดตัวที่ร้อยละ -1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.7 จากหมวดสินค้าทุนและพลังงานเป็นสำคัญ

Japan: worsening economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 63 ลดลงที่ร้อยละ -4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า และเป็นการปรับลดติดต่อกัน 5 เดือน

South Korea: improving economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 63 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงานรวมปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า และเป็นค่าต่ำสุดในรอบ 6 เดือน

India: worsening economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ขณะที่ราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่เดือน มี.ค. 63 ส่งออกลดลงที่ร้อยละ -34.57 ต่ำสุดในรอบ 40 เดือนนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 59 นำเข้าลดลงร้อยละ -28.72 ต่อปีส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลที่มูลค่า 9.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Malaysia: mixed signal

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าประเภท ปิโตรเลียม เคมี ยาง และพลาสติกที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญขณะที่อัตราว่างงาน เดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงาน จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2

Philippines: worsening economic trend

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ไตรมาสที่ 1 ปี 63 อยู่ที่ระดับ 1.26 จุด ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 1.3 จุด ขณะที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี เพื่อพยุงเศรษฐกิจจากผลกระทบ COVID-19

Indonesia: worsening economic trend

ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำมันและแก๊สที่ลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.75 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันและแก็สที่ลดลงเป็นสำคัญ ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 743 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Singapore: improving economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมูลค่าการส่งออกน้ำมันที่ลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมทีเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 3.18 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

Austraria: worsening economic trend

อัตราว่างงาน เดือน มี.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ร้อยละ 5.1 ขณะที่คนหางานเต็มเวลาเพิ่มขึ้น แต่คนหางานพาร์ทไทม์ลดลง

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน โดยเมื่อวันที่ 16 เม.ย. 63 ปิดที่ระดับ 1,200.15จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 13 - 16 เม.ย. 63 ที่ 63,735.20ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13 - 16 เม.ย. 63 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -95,445.28ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุ ปรับตัวลดลง 2-21 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 13 - 16 เม.ย. 63 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -3,446.42 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 16 เม.ย. 63 เงินบาทปิดที่ 32.71 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.23 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ในขณะที่เงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เยน ยูโร และหยวน แข็งค่าเช่นกัน ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับตัวอ่อนลงร้อยละ -0.08 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ