รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 11 - 15 มกราคม 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 18, 2021 14:43 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
 Economic Indicators: This Week ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน     ธ.ค. 63 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 14 เดือน นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 62 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลพบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 เนื่องจากกิจกรรมส่งเสริมการขายและการเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ในงาน Motor Expo 2020 ประกอบกับกำลังซื้อเริ่มกลับมาฟื้นตัวจากรายได้เกษตรที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่       ในปี 63 หดตัวร้อยละ -10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน     ของปีก่อน ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 0.3 หลังปรับผลทางฤดูกาลเป็นการกลับมาขยายตัวอีกครั้งในรอบ          3 เดือน หลังจากที่ภาคการก่อสร้างได้รับผลกระทบจาก     เหตุการณ์น้ำท่วม โดยเฉพาะในบริเวณภาคกลางและ       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้การก่อสร้างในพื้นที่ดังกล่าวชะลอลง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติและเริ่มกลับมาดำเนินการก่อสร้างต่อได้ รวมทั้ง    การเร่งเบิกจ่ายงบโครงการก่อสร้างของภาครัฐ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ จะช่วยให้ความต้องการใช้งานปูนซีเมนต์ขยายตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม      ผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในช่วงเดือน ธ.ค. 63 จะกระทบความเชื่อมั่นรวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้บริษัทผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ต่างชะลอการลงทุนโครงการใหม่ ทำให้อุปสงค์การใช้งานวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ รวมถึงปูนซีเมนต์ของภาคเอกชนยังฟื้นตัวได้อย่างจำกัด จนกว่าสถานการณ์     การแพร่ระบาดจะคลี่คลายลง
Global Economic Indicators: This Week
          US อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่ขยายตัว        ที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์เล็กน้อยที่ร้อยละ 1.3 โดยมีสาเหตุหลักจากดัชนีราคาเชื้อเพลิง      ในหมวดพลังงาน และดัชนีราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นChina อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการกลับมาขยายตัวหลังจากเดือน พ.ย. 63      หดตัวที่ร้อยละ -0.5 เป็นผลจากราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นหลัก จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นและอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นก่อนวันปีใหม่           การส่งออก เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือน พ.ย. 63 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 21.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เหนือกว่าที่ตลาดคาดที่ร้อยละ 15 และเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 จากปัจจัยการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ การนำเข้า เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่ขยายตัวที่ร้อละ 5.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากอุปสงค์ภายในประเทศและราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมียอดการนำเข้าถ่านหิน และแก๊สธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ธ.ค. 63 เกินดุลอยู่ที่ 78.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่เกินดุลอยู่ที่ 75.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 72.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯEU ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือน ต.ค. 63         ที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -3.5 จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสินค้าทุน และผลผลิตสินค้าขั้นกลาง Japan ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน พ.ย. 63 อยู่ที่ 1,878.4 พันล้านเยน ลดลงจากเดือน ต.ค. 63 อยู่ที่ 2,144.7 พันล้านเยน แต่ยังอยู่เหนือ       ที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 1,551 พันล้านเยน ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือน ธ.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวน้อยลงจากเดือน พ.ย. 63 ที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -2.3 ซึ่งเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน South Korea อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของแรงงานทังหมด

.เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 53 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบียนโยบาย เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 สอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้Indonesia ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 96.5 จุด

          \ เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 92 จุด เนื่องจากความคาดหวังต่อประสิทธิภาพของวัคซีนเชื้อไวรัสโควิด-19 ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 63 หดตัวที่ร้อยละ -16.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 63 ที่หดตัวที่ร้อยละ -14.9 เป็นการหดเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน และเป็นการหดตัวต่ำสุดตั้งแต่เดือน มิ.ย. 63 เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยาวนาน ส่งผลให้ยอดขายสินค้าสำหรับติดต่อสื่อสาร อาหาร และของใช้ในบ้านลดลง การส่งออก เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.4 คิดเป็นมูลค่า 16.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากยอดส่งออกของสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ การนำเข้า เดือน ธ.ค. 63 หดตัว   ที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่หดตัวที่ร้อยละ -17.4 เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ธ.ค. 63 เกินดุลอยู่ที่ 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากเดือน พ.ย. 63 ที่เกินดุลอยู่ที่ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ Malaysia อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน ต.ค. 63 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 63 หดตัวที่ร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือน ต.ค. 63 ที่หดตัวที่ร้อยละ -0.5 และเป็นการหดตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 63 จากผลผลิตของเหมืองแร่ และผลผลิตของไฟฟ้าที่ลดลง ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 63 หดตัวที่ร้อยละ -2.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 63 ที่หดตัวที่ร้อยละ -1.5 โดยเป็นการหดตัวลดลงต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ก.ค. 63 เนื่องจากยอดขายของเชื้อเพลิงที่ใช้ในรถยนต์       สินค้าเฉพาะทาง และสินค้าทางวัฒนธรรมที่ลดลง Philippines ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 63 หดตัวที่ร้อยละ -13.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 63        ที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -12.3 และเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน เนื่องจากข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส    โควิด-19 India ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 63 หดตัวที่ร้อยละ -1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการกลับมาหดตัวหลังจาก         ที่เดือน ต.ค. 63 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.2 เนื่องจากการหดตัวในหมวดการผลิตภาคอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ อัตราเงินเฟ้อ เดือน       ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือน พ.ย. 63 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 โดยเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำสุดในรอบ 15 เดือน UK ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 63 หดตัวที่ร้อยละ -4.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือน ต.ค. 63 ที่   หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -5.8 อย่างไรก็ตาม หดตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้อยู่ที่ร้อยละ -4.2

Weekly Financial Indicators
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึนจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) TWSE (ไต้หวัน) JCI (อินโดนีเซีย) และ DJIA (สหรัฐอเมริกา)    เป็นต้น โดยดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงช่วงกลางสัปดาห์ และปรับตัวลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 64 ปิดที่ระดับ 1,535.98 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 11 - 14 ม.ค. 64 ที่ 96,967.97 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ     นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์  เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทังนี ระหว่างวันที่ 11 - 14 ม.ค. 64 นักลงทุนต่างชาติ ซือ หลักทรัพย์สุทธิ 1,249.06 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึนในช่วง 1 ถึง 11 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 และ 30 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.61 และ1.92 เท่าของวงเงินประมูล ทังนีระหว่างวันที่ 11 - 14 ม.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -4,962.75 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 14 ม.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -7,515.00 ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 14 ม.ค. 64 เงินบาทปิดที่ 30.02 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.27 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวนที่อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงน้อยกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึนร้อยละ 0.20 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ