รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 30 ธ.ค. 64

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 4, 2022 14:05 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย
ExecutiveSummary
          เศรษฐกิจไทยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)เดือน พ.ย. 64ขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่อปีปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน         พ.ย. 64หดตัวร้อยละ -4.8ต่อปีการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน พ.ย. ปีงบประมาณ 65หดตัวร้อยละ    -29.3ต่อปีรายได้สุทธิที่รัฐบาลจัดเก็บได้ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน พ.ย. ปีงบประมาณ 65ขยายตัวร้อยละ 2.8ต่อปีฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ย. ปีงบประมาณ 65ขาดดุลจำนวน -69,239ล้านบาทหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 58.76 ของ GDP ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน พ.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 15.7 ต่อปีภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน พ.ย. 64ขยายตัวร้อยละ 4.1ต่อปี

เศรษฐกิจต่างประเทศGDP เวียดนาม ไตรมาสที่ 4ปี 64ขยายตัวที่ร้อยละ 5.2จากช่วงเดียวกันปีก่อน เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.8 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลของฤดูกาล

การขยายตัวของดัชนี MPIในเดือน พ.ย. 64 เป็นผลมาจากการขยายตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันปาล์ม และอุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค ที่ขยายตัวร้อยละ 11.9 21.2 20.0 55.9 และ 24.5 ต่อปี ตามลำดับ* ขณะที่อุตสาหกรรมที่หดตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตสายไฟและเคเบิลอื่น ๆ ที่หดตัวร้อยละ -12.8 -31.2 -41.7 -1.0 และ -18.3 ต่อปี ตามลำดับ* (*เรียงตามสัดส่วน)

Indicators 2020 2021 (%yoy)ทั้งปีQ2 Q3 Oct Nov YTD MPI -9.3 20.6 -0.2 3.0 4.8 5.8 %mom_sa, %qoq_sa -5.0 1.2 -7.1 1.8 2.6 -ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน พ.ย. 64 หดตัวร้อยละ -4.8 ต่อปี และหดตัวร้อยละ -8.2เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลปริมาณการจำหน่ายเหล็กในประเทศกลับมาหดตัว หลังจากขยายตัวในเดือนก่อน โดยมีปัจจัยสำคัญมาจาก การหดตัวของปริมาณจำหน่ายเหล็กที่ใช้ในภาคการก่อสร้าง โดยเฉพาะเหล็กเส้นข้ออ้อย และเหล็กลวด ที่หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่ร้อยละ -8.4 และ -22.4 ต่อปี ตามลำดับ จากในเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -3.0 และ -10.8 สะท้อนให้เห็นถึงภาคการก่อสร้างที่ยังคงไม่ฟืนตัว อย่างไรก็ดี เหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังคงขยายตัวได้หลังความต้องการสินค้าที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่องทั้งการบริโภคในประเทศและการส่งออก ทั้งนี้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจกระทบกับความต้องการเหล็กให้ลดลงในระยะถัดไป เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน พ.ย. ปีงบประมาณ 65เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 257,167 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -29.3 ต่อปี ทำให้ 2เดือนแรกเบิกจ่ายได้ 767,401 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 3.9 คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 23.0

2021 2022

          รายการโดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 228,577 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -32.0        ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ [%YoY]23.3 ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจำ 209,036 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -30.4  ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 26.0 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 19,542         ล้านบาท หดตัวร้อยละ -45.1 ต่อปี คิดเป็น
          รายจ่ายปีก่อนอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 12.2             (2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้ 28,589 ล้าน[%YoY]บาท ขยายตัวที่ร้อยละ 3.3ต่อปี คิดเป็นรายจ่ายรวมอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 19.1ต่อปี

[%YoY]รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน พ.ย. ปีงบประมาณ 65ได้ 166,353 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี ทำให้ 2เดือนแรกจัดเก็บได้ 361,955ล้านบาทขยายตัวร้อยละ8.5 ต่อปี

โดยรายได้ขยายตัวจากภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 19.3 ต่อปี เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก การนำเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี เนื่องจากภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่สูงกว่าปีก่อน และภาษีเงินได้นิติบุคคล ขยายตัวร้อยละ 5.8ต่อปีเนื่องจากภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายภาคเอกชนที่สูงกว่าปีก่อนเป็นสำคัญ เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ย. ปีงบประมาณ 65พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน ญ69,239ล้านบาททั้งนี้เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณแล้วพบว่าขาดดุล 25,255 ล้านบาท ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -43,984 ล้านบาท โดยในเดือนนี้ รัฐบาลมีการกู้เงิน 167,915ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสุดหลังกู้เกินดุล 123,931ล้านบาท ทั้งนี้จำนวนเงินคงคลังปลายงวดอยู่ที่ 429,904ล้านบาทหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ต.ค. 64 มีจำนวนทั้งสิ้น9,461,003ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 58.76 ของ GDPและเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 123,460ล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDPยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของ GDPและหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือคิดเป็นร้อยละ 85.74ของยอดหนี้สาธารณะและเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.2ของยอดหนี้สาธารณะ เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

          ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.7 ต่อปีและเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 โดยเป็นขยายตัวต่อเนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าเป็นหลัก เนื่องจากทิศทางการนำเข้าของประเทศที่ขยายตัวได้ดี ประกอบกับการลงทุนและกำลังซื้อที่เริ่มฟืนตัว และการกลับมาเดินทางท่องเที่ยวและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนมากขึ้น ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศ กลับมาขยายตัว เนื่องจากกำลังซื้อเริ่มฟืนตัวจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของภาครัฐและ     ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล การจัดเก็บภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน พ.ย. 64 กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือน              โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดจนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟืนตัวมากขึ้น การเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการผ่อนคลายมาตรการ LTVอย่างไรก็ดี ความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านรายได้ของประชาชนให้ลดลง และจะกระทบกับการบริโภคอสังหาริมทรัพย์ได้ในระยะถัดไป
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ดัชนีราคากลางบ้าน เดือน ต.ค. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลฐทางฤดูกาลแล้ว) โดยเป็นผลมาจากดัชนีราคากลางบ้านที่เพิ่มสูงขึ้นในแถบ West Northeast สและ East South Centralทั้งนี้ หากเทียบกับเดือน ต.ค. 63 ดัชนีราคาบ้านขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 17.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -4.1จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการผลิตยานยนต์เป็นสำคัญยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนญก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.9จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญอัตราว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.7ของกำลังแรงงานรวมมูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 25.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 21.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกเครื่องมือเครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง และเครื่องใช้สำนักงานและเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็นสำคัญกฮมูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 20.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.7จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดุลการค้า เดือน พ.ย. 64 ขาดดุลที่ระดับ -11.6 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ระดับ -30.5พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 32.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 25.5จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยมูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 38.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นาจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 27.9จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมดุลการค้า เดือน พ.ย. 64 เกินดุลที่ 18.9 พันล้านริงกิตมาเลเซีย ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 26.3 พันล้านริงกิตมาเลเซีย

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

GDPไตรมาสที่ 4 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -6.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ทั้งปี 64 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.6ต่อปีมูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 26.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 24.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดุลการค้า เดือน ธ.ค. 64 เกินดุลที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่าเกินดุลที่ 1.3พันล้านดอลลาร์สหรัฐเผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 8.2จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการผลผลิตไฟฟ้าและแก๊สเป็นสำคัญยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -12.2จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายที่พักและบริการอาหารเป็นสำคัญอัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.1จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาบ้านและวัสดุก่อสร้างเป็นสำคัญผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงลจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 103.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 107.6 จุด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 3เดือน เนื่องจากภาคครัวเรือนมีความกังวลต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น และคาดว่าจะมีการใช่จ่ายในอนาคตที่ลดลง รวมถึงมีมุมมองต่อมาตรฐานการครองชีพในอนาคตที่แย่ลงด้วย

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei225(ญี่ปุ่น) HSI(ฮ่องกง) และ CSI300(เซี่ยงไฮ้) เป็นต้น เมื่อวันที่ 29ธ.ค. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,653.33 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 27-29ธ.ค. 64 อยู่ที่ 65,735.48ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่27-29 ธ.ค.64 ต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 12,023ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง -1ถึง-3bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 27-29ธ.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ           ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -1,598.84 ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 29ธ.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ  141,191.48ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 29ธ.ค. 64 เงินบาทปิดที่ 33.55บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.64จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลยูโร วอน ริงกิตและดอลลาร์สิงคโปร์ ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ เงินสกุลเยน และหยวน ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่ามากกว่าสกุลเงินหลัก อื่น ๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.52จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ