รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 2 ก.ย. 65

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 6, 2022 13:35 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ค. 65ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4ต่อปีปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.ค. 65 หดตัวที่ร้อยละ -10.0เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ส.ค. 65ขยายตัวที่ร้อยละ 67.0เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 60.75 ของ GDP

ภาคการเงิน

ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ค. 65ขาดดุลดุลที่ -4,067.58ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 65ขยายตัวที่ร้อยละ 4.4จากช่วงเดียวกันปีก่อน เช่นเดียวกับเงินฝากในสถาบันการเงิน ขยายตัวที่ร้อยละ 5.4จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เศรษฐกิจต่างประเทศGDP เกาหลีใต้ไตรมาสที่ 2 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.9จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนGDPอินเดียไตรมาส 2 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.5จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)เดือน ก.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 ต่อปี และขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลของฤดูกาลดัชนี MPIในเดือน ก.ค. 65 มีอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีต ขยายตัวร้อยละ 23.4 12.7 และ 23.2 ต่อปี ตามลำดับ* ขณะที่อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น หดตัวร้อยละ -29.4 -13.3 และ -7.6 ต่อปี ตามลำดับ* (*เรียงตามสัดส่วนใน MPI)

ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.ค. 65 หดตัวที่ร้อยละ -10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ -8.6เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลปริมาณการจำหน่ายเหล็กในประเทศเดือน ก.ค. 65 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการจำหน่ายเหล็กที่ใช้ในภาคการก่อสร้างที่หดตัว อาทิ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดเย็น เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ -33.99-30.62และ -28.59 ตามลำดับ เนื่องจาก ความกังวลจากสถานการณ์เงินเฟ้อที่ส่งผลทำให้ต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ส.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 67.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 8.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำในปีก่อนที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรงและเป็นวงกว้าง ส่งผลให้มี      ผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก และยังเป็นเดือนที่มีปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ต่ำที่สุดของปี 64 ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ ประกอบด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่คลี่คลาย การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกขึ้น ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวลดลง รายได้ของเกษตรกรที่ปรับตัว      ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ และกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของค่ายรถต่าง ๆหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ค. 65 มีจำนวนทั้งสิ้น10,246,199 ล้านบาท หรือคิดเป็น        ร้อยละ 60.75 ของ GDPและเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 41,894ล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDPยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของ GDPและหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือคิดเป็นร้อยละ 84.86ของยอดหนี้สาธารณะและเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.33ของยอดหนี้สาธารณะ

เครื่องชี้ภาคการเงินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ค. 65ขาดดุลดุลที่ -4,067.58ล้านดอลลาร์สหรัฐหลังขาดดุลในเดือนก่อนหน้าที่ -1,873.32ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเดือน ก.ค. 65 ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -3,666.86ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP)ขาดดุลที่ -400.72ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 7เดือนแรกของปี 65ขาดดุลรวม -14,903.32ล้านดอลลาร์สหรัฐสินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 65มียอดคงค้าง 20.3ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 4.4จากช่วงเดียวกันปีก่อน

หรือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.7จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจและสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.8และ 3.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับเงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 65มียอดคงค้าง 24.1ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 5.4จากช่วงเดียวกันปีก่อน

          หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 0.2จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์หดตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.04 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ เงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศดัชนีราคากลางบ้านเดือน มิ.ย. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากเดือน พ.ค. 65ที่ขยายตัวร้อยละ 1.3โดยเป็นผลจากราคากลางบ้านที่ปรับตัวลดลงในเกือบทุกเขต ยกเว้น NewEnglandและหากพิจารณาเทียบเป็นรายปี พบว่า ดัชนีราคากลางบ้านขยายตัวที่ร้อยละ 16.2 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบปีนับตั้งแต่เดือน       พ.ค. 64 ดัชนีฯ (PMI)ภาคอุตสาหกรรม (ISM)เดือน ส.ค. 65 คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ          52.8 จุด สูงกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ระดับ 52.0 จุด แต่ยังคงสะท้อนถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในระดับต่ำ ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 63 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (21-27 ส.ค. 65) อยู่ที่ 23.2 แสนราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.37 แสนราย และเป็นการลดลงต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 สอดคล้องกับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์  (fourweekmoving average)ซึ่งขจัดความผันผวนแล้ว ลดลงมาอยู่ที่ 2.42 แสนราย ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ก.ค. 65บ่งชี้ถึงสภาพตลาดแรงงานที่ตึงตัว ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯดัชนีฯ (PMI)ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด ต่ำสุดนับจากเดือน  ก.ย. 64 เป็นต้นมา จากยอดการผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่หดตัว อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และนับเป็นระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ เนื่องจากต้นทุนพลังงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องดัชนีฯ (PMI)ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 49.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 49.8จุด โดยเป็นการลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 65เป็นต้นมา จากยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลงเป็นสำคัญ เนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนแอลงอันเป็นผลจากสถานการณ์เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง อัตราว่างงาน เดือน ก.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 6.6 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.7 ของกำลังแรงงานรวมดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ -24.9 จุด เพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุดในเดือน ก.ค. 65ที่อยู่ที่ระดับ -27.0จุด เนื่องจากมุมมองที่มีต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในอนาคตที่ปรับตัวดีขึ้น

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม (NBS)เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 49.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 49.0 จุด นับเป็นการหดตัวของภาคการผลิตเดือนที่ 2ติดต่อกัน ท่ามกลางการล็อกดาวน์เป็นระยะหลังจากยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19กลับมาระบาดอีกครั้งในหลายเมืองดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม (NBS)เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 52.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.8จุดดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม (Caixin)เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 49.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.4 จุด เศรษฐกิจไตรมาส 2 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.0จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากการบริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น และการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาพลังงานและอาหารที่เริ่มปรับลดลงผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 65 หดตัวที่ร้อยละ -1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 47.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 49.8 จุด นับเป็นการหดตัวของกิจกรรมโรงงานเป็นเดือนที่2ติดต่อกัน ทั้งผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลงมูลค่าส่งออก เดือน ส.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่านำเข้า เดือน ส.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 28.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 21.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดุลการค้า เดือน ส.ค. 65 ขาดดุลที่ระดับ -9.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ระดับ -4.8พันล้านดอลลาร์สหรัฐเครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 56.2 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 56.4 จุด แต่ยังคงสูงที่สุด (เป็นอันดับ 2) นับจาก พ.ย. 64 เป็นต้นมา สะท้อนภาคการผลิตและค่ำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ยังคงขยายตัวดุลการค้า เดือน ส.ค. 65 ขาดดุล 28.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการนำเข้าที่ขยายตัวและการส่งออกที่หดตัวยอดค้าปลีก (เบื้องต้น) เดือน ก.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 12.0จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 53.8 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.7 จุดดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 47.3 ต่ำสุดนับจาก พ.ค. 63 เป็นต้นมา จากการผลิตในโรงงานที่หดตัวลง จากการบริโภคและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ลดลงเป็นสำคัญดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 63.08 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 63.05 จุดดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 42.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 44.6จุด นับเป็นเดือนที่ 3ติดต่อกันของการหดตัวในภาคธุรกิจ เนื่องจากทั้งผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่หดตัวลงนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 63เนื่องจากสภาวะอุปสงค์ที่อ่อนแอลง ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -4.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศอัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.1จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการขยายตัวของราคาขนส่งที่เริ่มชะลอลงยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 50.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 42.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน เร่งตัวโดยการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างแข็งแกร่งผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 15.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 64เนื่องจากการเปิดประเทศ ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และสูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 2-4 ดัชนีฯ (PMI)ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 51.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.3 จุด สะท้อนถึงการขยายตัวของกิจกรรมโรงงานอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12ติดต่อกัน เร่งตัวโดยการฟืนตัวของเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ดัชนีฯ (PMI)ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 51.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.8จุด สอดรับกับการฟืนตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจาการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร เนื่องจากการบริโภคที่แข็งแกร่งภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ปรับดีขึ้นดัชนีฯ (PMI)ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 50.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.6 จุด และนับเป็นการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 65 ขณะที่ ยอดคำสั่งซื้อส่งออกลดลงในอัตราที่เร่งตัวขึ้นท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนดัชนี SETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น HSI(ฮ่องกง)และ KLCI(มาเลเซีย) เป็นต้น เมื่อวันที่ 1ก.ย. 65ดัชนีปิดที่ระดับ 1,621.95จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 29ส.ค. 65 ถึง 1ก.ย. 65อยู่ที่ 79,765.02ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 29ส.ค. 65 ถึง 1ก.ย. 65นักลงทุนต่างชาติ ซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 1,874.28 ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1เดือน ถึง 20ปีส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1-19bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 29ส.ค. 65 ถึง 1ก.ย. 65กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -4,815.19ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 1ก.ย. 65กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -14,903.69ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 1ก.ย. 65เงินบาทปิดที่ 36.70บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -2.26 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่ เงินสกุลยูโร ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -2.26จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ