รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 21 ต.ค. 65

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 25, 2022 13:58 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ก.ย. 65 ปรับตัว

เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 91.8 จากระดับ 90.5 ในเดือนก่อนหน้า

? ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ก.ย. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่

ระดับ 44.6 จากระดับ 43.7 ในเดือนก่อน

? ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ก.ย. 65 ขยายตัว

ที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

? ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 65 หดตัวที่ร้อยละ

-8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

? ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 65 ขยายตัวที่

ร้อยละ 31.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

ภาคการเงิน

? ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 65 คิดเป็น

1.86 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดารงตามกฎหมาย

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ก.ย. 65ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 91.8จากระดับ 90.5ในเดือนก่อนหน้า

ดัชนี TISITISIเดือน ก.ย. 665 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยขยายตัวเกือบทุกองค์ประกอบของดัชนี

ยอดคาสั่งซื้อยอดขายปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ยกเว้นต้นทุนประกอบการ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิดที่คลี่คลาย การเปิดประเทศและมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ มาตรการช่วยเหลือการบริโภคของรัฐบาล รวมถึงรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี อุปสงค์จากต่างประเทศชะลอลงจากปัญหาเงินเฟ้อในหลายประเทศ ราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง ปัญหา การขาดแคลนวัตถุดิบจากนโยบาย zero covidcovidของจีน และสถานการณ์น้าท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลต่อ การคมนาคมและการขนส่งสินค้า เป็นปัจจัยลบที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม สาหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า เดือน ก.ย. 6565อยู่ที่ระดับ 101.8 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และสูงเกินระดับ 100.0 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. ปี 62 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะด้านการบริโภค ขณะที่การปรับขึ้นอัตราจ้างขั้นต่า ราคาน้ามันที่ยังผันผวน และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวจะเป็นปัจจัยกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในระยะถัดไป

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ก.ย. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 44.64.6จากระดับ 43.73.7ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 44สูงสุดในรอบ 8 เดือน

โดยเป็นผลมาจากผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่สถานการณ์โควิดในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นและมีการผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ ให้ธุรกิจเริ่มเปิดดาเนินการได้เป็นปกติ ตลอดจนการผ่อนคลายให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้สะดวกมากขึ้น ประกอบกับราคาน้ามันเบนซินปรับตัวลดลงอย่างมากจากช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการที่ราคาน้ามันขายปลีกในประเทศยัง ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ตลอดจนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่อาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 65 มีจานวน 233,074074คัน หดตัวที่ร้อยละ

8.68.6เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ 14.2

โดยยอดขายรถยนต์นั่งชะลอลงจากปีก่อน จากปัญหาน้าท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของผู้บริโภค ขณะที่ยอดขายรถยนต์นั่งชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากในเดือน ส.ค. 6565มีการจัดงาน Big motor sale 2022 ส่งผลให้มีการเร่งใช้จ่ายไปในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สถานการณ์ราคาน้ามันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวลดลง รายได้ของเกษตรกรที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนยอดขายรถยนต์ในเดือนนี้

ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 65 มีจานวน 51 076 คัน ขยายตัวที่ ร้อยละ 31.431.4เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามปริมาณจาหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่ขยายตัวร้อยละ 40.640.6เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และปริมาณการจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล

ยอดจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์เดือน ก.ย. 65 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์เดือน ก.ย.64 มียอดจาหน่ายที่ต่าโดยมีปัจจัยมาจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทั้งนี้ที่ยอดจาหน่ายในเดือน ก.ย. 65 ที่เพิ่มขึ้นมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจรวมทั้งการปรับตัวลดลงของราคาพลังงาน อย่างไรก็ดีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ก.ย. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทาง

ฤดูกาล

Cement Sales

0.3

-2.5

-15.0

-10.0

-5.0

0.0

5.0

10.0

15.0

20.0

Mar-19

Jun-19

Sep-19

Dec-19

Mar-20

Jun-20

Sep-20

Dec-20

Mar-21

Jun-21

Sep-21

Dec-21

Mar-22

Jun-22

Sep-22

%YoY %MoM_Sa

ในเดือน ก.ย. 65 ยอดจาหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับ

เดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล เนื่องมาจาก ต้นทุนมีการปรับตัวสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบและราคาพลังงาน

รวมทั้งการเข้าสู่ฤดูฝนและปัญหาอุทกภัยส่งผลให้การก่อสร้างและความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ลดลง

เครื่องชี้ภาคการเงิน

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 65 คิดเป็น 1.86 เท่าของสินทรัพย์

สภาพคล่องที่ดารงตามกฎหมาย

โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ 5.3 ล้านล้านบาท

เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จาก

เกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ

1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR)

ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐอเมริกา ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ก.ย. 65 หดตัวร้อยละ -8.1 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) หลังจากขยายตัวในเดือน ส.ค. 65 ที่ร้อยละ 13.7 โดยมียอดสร้างบ้านใหม่หดตัวลงในทุกประเภท ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮมส์ และคอนโดมิเนียม

ยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน ก.ย. 65 กลับมาขยายตัวร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) หลังจากหดตัวในเดือน ส.ค. 65 ที่ร้อยละ -8.5 โดยมียอดใบอนุญาตก่อสร้างทาวน์โฮมส์ใหม่ และคอนโดมิเนียมใหม่เพิ่มขึ้น

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 65ขยายตัวที่ร้อยละ 5.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 65

จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานใหม่รายสัปดาห์ 9 15 ต.ค. 65) อยู่ที่ 2.14 แสนราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่ 2.26 แสนราย และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.30 แสนราย ซึ่งสนับสนุนแนวโน้มการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ขณะที่ จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week moving average)

ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.12แสนราย จาก 2.11แสนรายในสัปดาห์ก่อนหน้า

ญี่ปุ่น การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตฯ กลับมาเป็นบวกในรอบ 6 เดือน

ดุลการค้า เดือน ก.ย. 65 ขาดดุล -2.09 ล้านล้านเยน นับเป็นการขาดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน ปัจจัยสาคัญจากต้นทุนการนาเข้าที่สูง อันเป็นผลมาจากราคาน้ามันดิบ ถ่านหิน และก๊าซ LNG ที่เพิ่มสูงขึ้น

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 8ปี จากราคาอาหารและพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางการอ่อนค่าของเงินเยน

ยูโรโซน

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 9.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ร้อยละ 10.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นอัตราที่สูงสุดนับตั้งแต่ปี 34 เนื่องจากค่าเงินยูโรแตะระดับต่าสุดในรอบ 20ปี และวิกฤตด้านพลังงานของยูโรโซน ทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อยังอยู่เหนือเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรปที่กาหนดไว้ร้อยละ 2.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ฮ่องกง

อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.1ของกาลังแรงงานรวม เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

สิงคโปร์ มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 20.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 21.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 21.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 30.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ดุลการค้า เดือน ก.ย. 65 เกินดุลที่ 6.67 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 4.86พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และเป็นการเกินดุลสูงที่สุดในรอบ 7เดือน

อินโดนีเซีย

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 20.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 29.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 22.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 32.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ดุลการค้า เดือน ก.ย. 65 เกินดุลที่ 4.99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 5.71พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

มาเลเซีย

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 30.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 48.1จากช่วงเดียวกันปีก่อน

มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 33.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 67.3จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ดุลการค้า เดือน ก.ย. 65 เกินดุลที่ 3.17 หมื่นล้านริงกิตมาเลเซีย เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.70 หมื่นล้านริงกิตมาเลเซีย

ออสเตรเลีย อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 65 คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.5ของกาลังแรงงานรวม

สหราชอาณาจักร

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 10.1 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ ร้อยละ 10.1(ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับจากปี 2525) โดยมีปัจจัยสาคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและพลังงาน

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัช นี SET ป รับ ตัว เ พิ่ ม ขึ้น จ ก สัป ด ห์ก่อ น ส อ ด ค ล้อ ง กับ

ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น

TWSE (ไต้หวัน) Nikkei 225 (ญี่ปุ่น) และ Shanghai (จีน) เป็นต้น

เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 65 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,585.8 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย

เฉลี่ยระหว่างวันที่ 17 ? 20 ต.ค. 65 อยู่ที่ 61,533.71 ล้านบาทต่อวัน

โดยนักล งทุนสถ บันใน ปร เท ศ นักลง ทุนบัญชีบริษัทห ลักทรัพ ย์

และนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็น

ผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ร หว่างวันที่ 17 ? 20 ต.ค. 65 นักลงทุนต่างชาติ

ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 530.66 ล้านบาท

อัต ร ผ ล ต อ บ แ ท น พัน ธ บัต ร รัฐ บ ล อ ยุ 1 เ ดือ น ถึง 20 ปี

ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 ? 15 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูล

พันธบัตรรัฐบาลอายุ 21 ปี ซึ่งนักลงทุนสนใจ 1.3 เท่าของวงเงินประมูล

ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 17 - 20 ต.ค. 65 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ

ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -15,435.52 ล้านบาท และหากนับ

จากต้นปีจนถึงวันที่ 20 ต.ค. 65 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ

ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -54,919.24 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 20 ต.ค. 65 เงินบาท

ปิด ที่ 38.31 บ ท ต่อ ด อ ล ล ร์ส ห รัฐ อ่อ น ค่า ล ง ร้อ ย ล -0.44

จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ

เงินสกุลเยน ริงกิต วอน ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ และหยวน ที่ปรับตัว

อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่เงินสกุลยูโร

เปโซ และดอลลาร์สิงคโปร์ ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาร์ก่อนหน้า

เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าน้อยกว่าเงินสกุลอื่น ๆ

ใ น ภูมิภ ค ส่ง ผ ล ใ ห้ดัช นีค่า เ งิน บ ท (NEER) อ ยู่ที่ร้อ ย ล 0.02

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ