รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 21 เมย 66

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 24, 2023 14:38 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน มี.ค. 66 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 97.8 สูงสุด

ในรอบ 10 ปี

? ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน มี.ค. 66 หดตัวร้อยละ -0.3 ต่อปี

? ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน มี.ค. 66 หดตัวร้อยละ -0.9 ต่อปี

? ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มี.ค. 66 ขยายตัวร้อยละ 29.0 ต่อปี

? ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มี.ค. 66 หดตัวร้อยละ -0.2 ต่อปี

? ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 66 หดตัวร้อยละ -12.6 ต่อปี

? การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มี.ค. 66 หดตัวร้อยละ -10.0 ต่อปี

? รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน มี.ค. 66 ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี

? ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มี.ค. 66 ขาดดุล 87,081 ล้านบาท

? ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มี.ค. 66 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53.8

ภาคการเงิน

? ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.พ. 66 คิดเป็น 1.93 เท่าของสินทรัพย์

สภาพคล่องที่ดารงตามกฎหมาย

เศรษฐกิจต่างประเทศ

? GDP จีน ไตรมาสที่ 1 ปี 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

3

ดัชนี TISITISIเดือน มี.ค. 6666ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 1010ปี โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกองค์ประกอบของดัชนี ได้แก่ ยอดคาสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ขณะที่ต้นทุนประกอบการปรับตัวลงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ ตามการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว รวมถึงกาลังซื้อภูมิภาคที่ฟื้นตัวตามรายได้ในภาคเกษตร อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยลบจากปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ทั้งจากราคาวัตถุดิบและค่าไฟฟ้า รวมถึงอุปสงค์จากต่างประเทศยังคงอ่อนแอตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มถดถอย สาหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 106.3 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 จากเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศ

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน มี.ค. 66 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 97.8 สูงสุดในรอบ 100ปี

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มี.ค. 66 มีจานวน 29,713 คัน ลดลงที่ร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ -0.7

ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวลงเล็กน้อย จากแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่อาจส่งผลต่อความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อกาลังซื้อของผู้บริโภคในอนาคต อีกทั้งยังสอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีมูลเพิ่ม ณ ราคาที่แท้จริงที่ปรับลงเล็กน้อย จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาทิ รายได้ของภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น รายได้ของเกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาตรการช่วยเหลือด้านการลดค่าครองชีพ และการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่ยังคงดาเนินการ เป็นต้น

ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มี.ค.66 มีจานวน 50 230คัน หดตัวที่ร้อยละ -12.62.6เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และปริมาณจาหน่ายรถกระบะ 1 ตัน หดตัวร้อยละ -22.222.2เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

ยอดจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์เดือน มี.ค.66 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และยอดจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ลดลงจากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -3.6 เนื่องจากการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ทาให้ยอดการผลิตลดลง รวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะมีผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

5

ที่มา : 3 บริษัทเอกชน คานวณ โดย สศค.

ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน มี.ค. 66 หดตัวที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวขึ้นหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

Cement Sales

-0.3

1.7

-15.0

-10.0

-5.0

0.0

5.0

10.0

15.0

20.0

Sep-19

Dec-19

Mar-20

Jun-20

Sep-20

Dec-20

Mar-21

Jun-21

Sep-21

Dec-21

Mar-22

Jun-22

Sep-22

Dec-22

Mar-23

%YoY %MoM_Sa

ในเดือน มี.ค. 66 ยอดจาหน่ายปูนซีเมนต์ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6

เนื่องจากราคาต้นทุนของวัตถุดิบที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนจากราคาพลังงาน แต่ขณะเดียวกันปริมาณจาหน่าย

ปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน มาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศรว มทั้งดัขนีความเชื่อมั่นของ

อุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงทาให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน มี.ค. 66 หดตัวที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 2.1

โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศ ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวทั้งจากจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักท่องเที่ยวไทย และมาตรการช่วยเหลือด้านการลดค่าครองชีพและการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่ยังคงดาเนินการ อาทิ การตรึงค่าไฟฟ้ากลุ่มครัวเรือน โครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส5เป็นต้น ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนาเข้าหดตัวที่ร้อยละ -6.1ต่อปี จากปัจจัยฐานสูงในปีก่อนที่มีเร่งนาเข้าสินค้าเชื้อเพลิง ประกอบกับการนาเข้าของประเทศที่เริ่มมีทิศทางชะลอลง

ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มี.ค.66 ขยายตัวที่ร้อยละ 29.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ -3.5เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

การจัดเก็บภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มี.ค. 66 มีการขยายตัวจากช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ และจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มี.ค. 66 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 264,610 ล้านบาท หดตัว

ร้อยละ -10.0 ต่อปี ทาให้ใน 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 66 เบิกจ่ายได้ 1,795,462 ล้านบาท

ขยายตัวร้อยละ 4.2 คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 53.2

โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้

2 4 8 , 3 1 7 ล้า น บ ท ห ด ตัว ร้อ ย ล

-8.8 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่

ร้อยละ 53.1 ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1)

ร ย จ่า ย ป ร จ 2 0 0 , 8 3 1 ล้า น บ ท

หดตัวร้อยละ -13.2 ต่อปี คิดเป็นอัตรา

เบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 57.9 และ (1.2)

ร ย จ่า ย ล ง ทุน 4 7 , 4 8 6 ล้า น บ ท

ขยายตัวร้อยละ 15.9 ต่อปี คิดเป็น

อัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 35.1 (2)

รายจ่ายปีก่อนเบิกจ่ายได้ 16,293 ล้าน

บ ท ห ด ตัว ที่ร้อ ย ล - 2 4 . 4 ต่อ ปี

คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ

54.4 ต่อปี

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน มี.ค. 66 ได้ 174,423 ล้านบาท

ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี ทาให้ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 66 จัดเก็บได้สุทธิ 1,163,598

ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.9 ต่อปี

โดยรายได้ในเดือน มี.ค. 66ขยายตัวจาก ภาษิเงินได้นิติบุคคล ขยายตัวร้อยละ 19.1 ต่อปี และภาษีเงินได้

บุคคลธรรมดา ที่ขยายตัว ร้อยละ 7.8 ต่อปี

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มี.ค. 66พบว่าดุลเงินงบประมาณขาดดุลจานวน -87,081 ล้านบาท

ทั้งนี้เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่เกินดุล 11,013 ล้านบาท พบว่าดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล 76,068 ล้านบาท โดยในเดือนนี้รัฐบาลมีการกู้เงิน 33,000 ล้านบาท ทาให้ดุลเงินสดหลังกู้ขาดดุล -43,068 ล้านบาท ส่งผลให้จานวนเงินคงคลังปลายงวดอยู่ที่ 193,585ล้านบาท

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มี.ค. 66 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53 8 จากระดับ 552 6 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10และสูงสุดในรอบ 337 เดือน

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงได้รับปัจจัยบวกมาจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ทั้งการท่องเที่ยวของคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะผลกระทบจากการเปิดประเทศของจีนเป็นผลให้นักท่องเที่ยวจีนเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นตามลาดับ สามารถสร้างเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจได้มากขึ้น ประกอบกับการปรับตัวลดลงของราคาน้ามันมีผลให้ความกังวลเรื่องค่าครองชีพของประชาชนผ่อนคลายลง อย่างไรก็ตามสถานการปัญหาธนาคารต่างประเทศ ปัญหาสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางทั่วโลก และตัวเลขการติดลบของภาคการส่งออก สร้างแรงกดดันด้านลบต่อกาลังซื้อของผู้บริโภค ส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.พ. 666คิดเป็น 1.9393เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดารงตามกฎหมาย

โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน ก.พ. 666อยู่ที่ 5.585.58ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR)

ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน มี.ค. 666หดตัวที่ร้อยละ -0.8 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) หลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 7.3 เป็นผลจากยอดสร้างคอนโดมิเนียมที่ลดลง รวมถึงยอดสร้างบ้านใหม่ที่ลดลงในเขตมิดเวสต์ และตะวันตก เป็นสาคัญ

ยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน มี.ค. 666หดตัวที่ร้อยละ -8.8 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) หลังจากเดือนก่อนหน้าขยายตัวที่ร้อยละ 15.8ซึ่งบ่งชี้ว่า ความต้องการที่อยู่อาศัยยังคงลดลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและราคาผู้บริโภคที่สูงขึ้น เป็นผลจากยอดสร้างคอนโดมิเนียมที่ลดลง เป็นสาคัญ

จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (9-15 เม.ย. 66) อยู่ที่ 2.45 แสนราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.40 แสนราย เป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3 สัปดาห์ และสูงว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 2.44 แสนราย ขณะที่จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.28แสนราย

จีน

GDPจีน ไตรมาส 1 ปี 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.9 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 65 หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ท่ามกลางความพยายามของจีนที่จะกระตุ้นการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดหลังจีนกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน ม.ค. -ก.พ. 66 ที่ร้อยละ 2.4และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 5เดือน โดยทั้งผลผลิตในภาคการผลิตและสาธารณูปโภคปรับตัวเร่งตัวขึ้นตามการเลิกใช้นโยบายปลอดโควิด

ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน ม.ค. -ก.พ. 66ที่ขยายตัวร้อยละ 3.5และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 64

อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.6 ของกาลังแรงงานรวม ซึ่งเป็นระดับที่ต่าที่สุดในรอบ 7เดือน และต่ากว่าที่เป้าหมายอัตราการว่างงานที่รัฐบาลจีนตั้งไว้ ที่ประมาณร้อยละ 5.5

ยูโรโซน

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือน ก.พ. 66 ที่อยู่ที่ร้อยละ 8.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ และสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) ตั้งเอาไว้ที่ร้อยละ 2.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน

มาเลเซีย

มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 66 หดตัวร้อยละ -1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.8จากช่วงเดียวกันปีก่อน

มูลค่าการนาเข้า เดือน มี.ค. 66 ขยายตัวร้อยละ -1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.4จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ดุลการค้า เดือน มี.ค. 66 เกินดุลที่ 2.67 หมื่นล้านริงกิตมาเลเซีย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 1.96 หมื่นล้านริงกิตมาเลเซีย

อินโดนีเซีย มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 66 หดตัวร้อยละ -11.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.4จากช่วงเดียวกันปีก่อน

มูลค่าการนาเข้า เดือน มี.ค. 66 หดตัวร้อยละ -6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.3จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ดุลการค้า เดือน มี.ค. 66 เกินดุล 20.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 15.9พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ญี่ปุ่น ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 66 หดตัวร้อยละ -0.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จะขยายตัวร้อยละ 4.6

ดุลการค้า เดือน มี.ค 66 ขาดดุล -754.7 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการขาดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20โดยการนาเข้าขยายตัวร้อยละ 7.3ต่อปี ขณะที่การส่งออกขยายตัวเพียงร้อยละ 4.3ต่อปี

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่าสุดนับจาก ก.ย. 655จากต้นทุนน้ามัน ไฟฟ้า และน้าประปาที่ลดลง เป็นสาคัญ

สหราชอาณาจักร

อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค.66 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรก จากที่คงที่ที่ร้อยละ 3.7มาตลอดในช่วง 4เดือนก่อนหน้า

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 10.1 ชะลอลงจากร้อยละ 10.4ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังยืนอยู่เหนือระดับร้อยละ 10จากต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ที่ยังอยู่ในระดับสูง เป็นสาคัญ

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SETSETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นKLCIKLCI(มาเลเซีย) และ TWSETWSE(ไต้หวัน) เป็นต้น เมื่อวันที่ 2020เม.ย. 666ดัชนีปิดที่ระดับ 1, 565.1565.1จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 17 2 00เม.ย. 6666อยู่ที่ 49,771.5149,771.51ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 1717-2020เม.ย. 66 นักลงทุนต่างชาติ ขายหลักทรัพย์สุทธิ

4,991.39 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11เดือน ถึง 2020ปี ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 11ถึง 5 bpsbpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1111ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.91.9เท่าของวงเงินประมูล ตามลาดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่17 2020เม.ย. 6666กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ

21,069.1721,069.17ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่2020เม.ย.6666กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ

63,504.3863,504.38ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่2020เม.ย. 666เงินบาทปิดที่ 34.4134.41บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.480.48จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ริงกิตเปโซ ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐขณะที่เงินสกุลยูโร และวอน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) อยู่ที่ร้อยละ 0.48

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ