ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567"เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี และขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี ในปี 2567 ต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกและความผันผวนของนโยบายทางการเงินและตลาดเงินโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 24, 2024 14:24 —กระทรวงการคลัง

ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567"เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี และขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี ในปี 2567 ต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกและความผันผวนของนโยบายทางการเงินและตลาดเงินโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด"

ฉบับที่ 4/2567 วันที่ 24 มกราคม 2567
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567
?เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี และขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี ในปี 2567 ต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกและความผันผวนของนโยบายทางการเงินและตลาดเงินโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด?
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผล การประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ว่า ?เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 (ช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 1.6 ถึง 2.0) ชะลอลงจากปี 2565 ที่ขยายร้อยละ 2.6? โดยมีปัจจัยสาคัญจากการหดตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index: MPI) โดยเฉพาะสินค้าในหมวดยานยนต์ และคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งปี 2566 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -1.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.8 ถึง -1.3) ซึ่งเป็นผลจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสาคัญของไทย ขณะที่มูลค่าการนาเข้าจะหดตัวที่ร้อยละ -1.9 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -2.2 ถึง -1.7) ในส่วนของสถานการณ์ค่าเงินบาท ในปี 2566 พบว่า ค่าเงินบาทมีความผันผวนโดยอ่อนค่าในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2566 และแข็งค่าขึ้นในช่วงไตรมาส ที่ 4 ของปี 2566 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจจีน และนโยบายการเงินผ่อนคลายของญี่ปุ่น โดยค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปี 2566 เฉลี่ยที่ 34.81 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยปี 2565 ที่ร้อยละ 0.7 นอกจากนั้น ยังพบว่าตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรของไทย ในปี 2566 ที่ผ่านมา มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดทุนไทยสุทธิ -3.3 แสนล้านบาท เป็นผลจากกระแสเงินทุนสุทธิของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลออกจากทั้งตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทยที่ -1.9 และ -1.4 แสนล้านบาท ตามลาดับ โดยนักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิหลักทรัพย์ไทยต่อเนื่องตลอดทั้งปี
สาหรับในปี 2567 กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.3 ถึง 3.3) โดยปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะยังสามารถขยายตัวได้ และภาคการท่องเที่ยวคาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจานวน 33.5 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 19.5 ต่อปี เป็นการเพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนและมาเลเซียเป็นสาคัญ และมีรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติจานวน 1.48 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 ต่อปี ส่งผลดีต่อธุรกิจ การท่องเที่ยวและสาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น คาดว่าการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวชะลอตัวลงเล็กน้อยตาม อุปสงค์ในตลาดโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวชะลอตัวลง ทาให้มูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวที่ ร้อยละ 4.2 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.7 ถึง 4.7) และมูลค่าการนาเข้าสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5 ถึง 4.5) ในขณะที่รายจ่ายประจาและรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลคาดว่าจะเบิกจ่ายได้คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายที่ร้อยละ 99.5 และ 64.0 ตามลาดับ รายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายอัตราลดลงจากปีก่อนหน้าเนื่องจากความล่าช้าในการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
- 2 -
ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.5 ถึง 1.5) เนื่องจาก ราคาน้ามันดิบดูไบจะอยู่ในระดับทรงตัวที่ 82 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในปี 2566 ที่ 81.9 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เป็นผลมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์น้ามันดิบโลก ขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศ ดุลบริการมีแนวโน้มจะกลับมาเกินดุลตามการเพิ่มขึ้นของจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะกลับมาเกินดุล 10.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP อย่างไรก็ดี ต้องติดตามสถานการณ์หนี้ภาคครัวเรือน โดยล่าสุด ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2566 มียอดคงค้างอยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 90.9 ของ GDP ทั้งนี้ โฆษกกระทรวงการคลังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพในระยะยาวนั้น ควรให้ความสาคัญใน 3 ประเด็น ดังนี้ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Development) เช่น การพัฒนาการใช้พลังงานที่ยั่งยืน การลงทุนในด้านดิจิทัล และการพัฒนาด้านคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาคต่าง ๆ จะช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ และทาให้ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางในระดับภูมิภาคได้ 2) การพัฒนาทักษะ (Skills Development) การเตรียมแรงงานให้มีทักษะที่จาเป็นสาหรับเศรษฐกิจโลกมีความสาคัญและจะส่งเสริมความสาเร็จในระยะยาวได้ดี 3) การรักษาเสถียรภาพทางการคลัง (Fiscal Stability) มุ่งมั่นในการบริหารจัดการการคลังอย่างรอบคอบ โดยคานึงถึงการใช้จ่ายของรัฐและระดับหนี้สาธารณะอย่างรับผิดชอบ เพื่อรักษาความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายต่าง ๆ ในอนาคตได้
นอกจากนี้ ยังควรติดตามปัจจัยสาคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด อาทิ 1) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่าง ๆ ที่อาจรุนแรงมากขึ้น อาจเป็นข้อจากัดและส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป เช่น การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ สถานการณ์สู้รบระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานให้ปรับตัวสูงขึ้น และความยืดเยื้อของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน 2) สถานการณ์การเลือกตั้งผู้นาของประเทศคู่ค้าสาคัญของไทย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศรัสเซีย และประเทศอินเดีย เป็นต้น ที่อาจส่งผลต่อการดาเนินนโยบายระหว่างประเทศของไทย 3) ความผันผวนของตลาดการเงินโลกจากการดาเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหลักและปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป และ 4) สถานการณ์เศรษฐกิจของจีน ที่อาจส่งผลต่อการส่งออกและการฟื้นตัวของ ภาคการท่องเที่ยวของไทย
กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3296 หรือ 3273
- 3 -
ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567 (ณ เดือน มกราคม 2567)
2565 2566f 2567f เฉลี่ย ช่วง เฉลี่ย ช่วง
ผลการประมาณการ
1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)
2.6
1.8
1.6 ถึง 2.1
2.8
2.3 ถึง 3.3
2) อัตราการขยายตัวของการบริโภค
- การบริโภคภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
6.3
7.1
6.9 ถึง 7.4
3.3
2.8 ถึง 3.8
- การบริโภคภาครัฐ ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
0.2
-3.6
-3.9 ถึง -3.4
1.4
0.9 ถึง 1.9
3) อัตราการขยายตัวของการลงทุน
- การลงทุนภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
5.1
2.8
2.6 ถึง 3.1
3.2
2.7 ถึง 3.7
- การลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่ (ร้อยละ)
-4.9
-0.2
-0.5 ถึง 0.1
3.1
2.6 ถึง 3.6
4) อัตราการขยายตัวของปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละ)
6.8
2.0
1.8 ถึง 2.3
5.5
5.0 ถึง 6.0
5) อัตราการขยายตัวของปริมาณนาเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละ)
4.1
-1.2
-1.5 ถึง -1.0
5.4
4.9 ถึง 5.9
6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
13.5
14.5
13.3 ถึง 15.7
15.7
14.4 ถึง 17.0
- มูลค่าสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ)
5.4
-1.5
-1.8 ถึง -1.3
4.2
3.7 ถึง 4.7
- มูลค่าสินค้านาเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ)
14.0
-1.9
-2.2 ถึง -1.7
4.0
3.5 ถึง 4.5
7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
-15.7
5.1
3.9 ถึง 6.3
10.0
7.4 ถึง 12.6
- ร้อยละของ GDP
-3.2
1.0
0.8 ถึง 1.3
1.8
1.3 ถึง 2.3
8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละ)
6.1
1.2
1.0 ถึง 1.5
1.0
0.5 ถึง 1.5
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละ)
2.5
1.3
1.1 ถึง 1.6
1.1
0.6 ถึง 1.6
สมมติฐานหลัก
สมมติฐานภายนอก
1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 15 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละ)
3.4
3.1
2.9 ถึง 3.4
2.8
2.3 ถึง 3.3
2) ราคาน้ามันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล)
95.4
81.9
81.7 ถึง 82.2
82.0
77.0 ถึง 87.0
สมมติฐานด้านนโยบาย
3) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ)
35.1
34.8
34.6 ถึง 35.1
34.4
33.9 ถึง 34.9
4) รายจ่ายภาคสาธารณะ (ล้านล้านบาท)
4.12
4.04
4.02 ถึง 4.07
4.14
4.04 ถึง 4.24
5) จานวนนักท่องเที่ยว (ล้านคน)
11.2
28.0
27.8 ถึง 28.3
33.5
32.5 ถึง 34.5
*หมายเหตุ: ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567 ณ เดือน มกราคม 2567 ไม่รวมผลกระทบของโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet



          ที่มา: กระทรวงการคลัง

แท็ก รัฐศาสตร์  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ