ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา โดยรวมและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาล นายบารัค โอบามา

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 23, 2009 15:17 —กระทรวงการคลัง

ตัวเลขการค้าปลีกสหรัฐฯ เดือนธันวาคม 2551

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้รายงานตัวเลขการค้าปลีก (Retail Sales)

ประจ่าเดือน ธันวาคม 2551 ที่หดตัวลงร้อยละ 2.7 จากเดือนก่อนหน้า สูงกว่าการคาดการณ์เบื้องต้นถึง 2 เท่า โดยการปรับตัวลดลงของดัชนีการค้าปลีกสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 นั้น นับเป็นการหดตัวต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2535

ซึ่งสะท้อนถึงยอดการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลดตัวลงอย่างชัดเจน จากผลกระทบของอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น มูลค่าการถูกยึดทรัพย์จากการผิดนัดช่าระหนี้ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์ที่ยังคงตกต่าต่อเนื่อง นั่นเอง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ได้ให้ความเห็นว่า การหดตัวของตัวเลขการค้าปลีกนั้น ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการลดราคาสินค้าในช่วงปีใหม่ ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงได้ส่งผลให้ยอดขายน้ำมันโดยรวมลดลง

นอกจากนี้ได้มีการคาดการณ์การทรุดตัวของยอดการค้าปลีกต่อเนื่องในเดือนมกราคม 2552 เนื่องจากในเดือนมกราคมจะเป็นช่วงที่มีการนำบัตรกำนัลที่ได้รับของขวัญปีใหม่มาใช้จ่ายซึ่งจะกระทบยอดตัวเลขการค้าปลีกให้ปรับตัวลดลงไปอีก

การคาดการณ์ปัญหาผลประกอบการขาดทุนของธนาคารและสถาบันการเงินในไตรมาสที่ 4 ประจำปี 2551

สำนักงานที่ปรึกษาฯ มีความเห็นว่าวิกฤติทางการเงินของธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงินในสหรัฐฯ จะเพิ่มความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2552 แม้จะมีมาตรการช่วยเหลือทางการเงินจากทางการสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาแล้วก็ตามเนื่องจากงบประมาณครึ่งแรกภายใต้พระราชบัญญัติสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจฉบับฉุกเฉิน 2551 รวมมูลค่า 350,000 ล้านเหรียญ สรอ. ที่สภาคองเกรสอนุมัติให้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ นำมาช่วยเหลือธนาคารและสถาบันการเงินขนาดใหญ่นั้น ได้รองรับความเสียหายจากผลประกอบการขาดทุนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นปี 2552 จะเป็นช่วงที่ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ต้องประกาศผลประกอบการในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 โดยธนาคารหลายแห่งที่ได้ประกาศผลประกอบการแล้วนั้น ต่างประสบปัญหาผลประกอบการขาดทุนในจำนวนที่สูงกว่าการคาดการร์ของนักวิเคราะห์ อาทิเช่น ดอยช์แบงก์ (Deutsche Bank) ที่ประกาศผลประกอบการขาดทุนกว่า 6,400 ล้านเหรียญสรอ. ในขณะที่ ธนาคาร HSBC ที่ต้องระดมเงินทุนเพิ่มเติมอีกราว 30,000 ล้านเหรียญสรอ. ก็ยังไม่สามารถระดมเงินทุนจำนวนดังกล่าวได้สำเร็จ การประสบปัญหาผลประกอบการขาดทุนของธุรกิจธนาคารที่กล่าวข้างต้น จะเพิ่มแรงกดันให้กับทางการสหรัฐฯ ในการวางโครงสร้างแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อไป

แนวทางนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 นางแนนซี่ เพอโลซี่ (Nancy Pelosi) ประธานสภาผู้แทนราษฎร (Speaker of the House) ได้ออกมาเปิดเผยรายละเอียดของแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่อาจต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นแตะระดับ 850,000 ล้านเหรียญสรอ. จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 750,000 ล้านเหรียญสรอ. โดยจะหันไปมุ่งเน้นที่มาตรการด้านการใช้จ่ายของภาครัฐมากกว่ามาตรการลดภาษีตามที่นายโอบาม่าได้เสนอในสัปดาห์ก่อนหน้าและจะมีการจัดสรรงบประมาณเป็นสองส่วนหลักๆ คือ 550,000 ล้านเหรียญสรอ. เพื่อการใช้จ่ายของภาครัฐ และอีก 275,000 ล้านเหรียญสรอ. สำหรับมาตรการลดภาษี โดยในส่วนของการใช้จ่ายภาครัฐนั้น ได้จัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการหลักๆ ดังนี้ (1) 80,000 ล้านเหรียญสรอ. สำหรับโครงการเพื่อการศึกษาในมลรัฐตางๆ (2) 90,000 ล้านเหรียญสรอ. เพื่อการช่วยเหลือด้านการประกันสุขภาพ และ (3) 85,000 ล้านเหรียญสรอ. เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructrues) โดยเฉพาะการสร้างทางหลวงและสะพาน โดยกว่าครึ่งของงบประมาณในส่วนนี้ จะเป็นการใช้จ่ายของรัฐบาลมลรัฐ (State Government)

ทางด้านมาตรการทางภาษีนั้น จะมีการให้เครดิตภาษีมูลค่า 500 เหรียญสรอ. แก่ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 75,000 เหรียญสรอ. ต่อปี ตามข้อเสนอของนายโอบามาและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้เพิ่มเติมมาตรการภาษีด้านอื่นๆ อาทิ (1) เครดิตภาษีส่วนของเด็กและการศึกษา (2) การเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้แก่ผู้ซื้อบ้านรายใหม่ (3) มาตรการพักภาษี (Tax Break) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธบัตรรัฐบาล และ (4) การเพิ่มสิทธฺประโยชน์ทางภาษีด้านการผลิตพลังงานทดแทน อย่างไรก็ตาม สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ มีมติไม่เห็นชอบกัน (1) มาตรการปรับลดภาษีให้กับบริษัทเป็นจำนวน 3,000 เหรียญสรอ. ต่อการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1 ตำแหน่ง และ (2)มาตรการขยายช่วงระยะเวลาการนำผลประกอบการขาดทุนไปปีปัจจุบันไปหักออกจากกำไรที่ต้องเสียภาษีในปีก่อนหน้า ที่เรียกว่า Loss Carryback ตามที่นายโอบามาเสนอก่อนหน้านี้

ส่วนมาตรการด้านอื่นๆ ได้มีการขยายขอบเขตการช่วยเหลือให้กับผู้ประกอารอาชีพบริหารที่ต้องประสบภาวะว่างงาน จากการย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ จากเดิมที่ครอบคลุมเฉพาะส่วนของอุตสาหกรรมการผลิต และมีมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อการประกันสุขภาพเป็นเวลา 18 เดือนให้แก่ผู้ว่างงานวิกฤติเศรษฐกิจอนึ่ง ยังคงมีการถกเถียงถึงการเพิ่มมาตรการตรึงอัตราภาษีภายใต้ระบบภาษีขั้นต่ำทางเลือก หรือ Alternative Minimum Tax (AMT) เพื่อช่วยหลือผู้เสียภาษีที่เป็นชนชั้นกลางอีกด้วย โดยอาจต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติมอีกกว่า 70 ล้านเหรียญสรอ. ซึ่งจะส่งผลให้งบประมาณรวมทั้งหมดสูงถึง 900,000 ล้านเหรียญสรอ.อนึ่งสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าจะมีการลงมติเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าวในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคม เพื่อให้วุฒิสภาเริ่มกระบวนการไตร่ตรองในสัปดาห์แรกของเดือนภุมภาพันธ์ และคาดว่าจะมีการนำเสนอให้ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ลงนามในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 ต่อไป

วุฒิสภาสหรัฐฯ อนุมัติให้นำงบประมาณส่วนที่เหลือตามพระราชบัญญัติสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐิจฉับบฉุกเฉิน 2551 มาดำเนินการช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหา

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 วุฒิสภาสหรัฐฯ มีมติอนุมัติให้กระทรวงการคลังนำงบประมาณส่วนที่เหลือ 350,000 ล้านเหรียญสรอ. ภายใต้กฎหมายสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจฉบับฉุกเฉิน 2551 (Emergency Economic Stabilization Act 2008) หรือ EESA มาใช้ในโครงการ Trouble Asset Relief Program (TARP) ด้วยเสียงสนับสนุน 52 ต่อ 42 เสียง ทั้งๆ ที่มีแรงกดดันจากการวิพากย์วิจารณ์ของสาธารณชนต่อการบริหารรงานภายใต้งบประมาณครึ่งแรกของโครงการดังกลาว ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่งได้ดำหนิมาตรการของนายเฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือผู้ซื้อบ้านมากนัก

การที่วุฒิสภาสหรัฐฯ มีมติอนุมัติให้นำงบประมาณส่วนดังกล่าวมาใช้ในครั้งนี้ เป็นผลจากการปรับเปลี่ยนแนวทางมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยทีมเศรษฐกิจของประธานาธิบดีบารัค โอบามา นำโดยนายลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส ซึ่งจะมุ่งเน้นทีการช่วยเหลือผู้ซื้อบ้านและฟื้นฟูตลาดสินเชื่อมากขึ้น โดยจะจัดสรรงบประมาณรวม 50,000 ถึง 100,000 ล้านเหรียญสรอ. สำหรับมาตรการเพื่อลดอัตราการยึดสินทรัพย์จากการผลิตนัดชำระหนี้ นอกจากนี้ นายลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส ได้กล่าวย้ำว่านายโอบาม่าไม่มีนโยบายที่จะใช้งบประมาณส่วนดังกล่าว ในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม (Industrial Policy) เพื่อช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมที่กำลังประสบปัญาปัญหาตามที่สมาชิกวุฒิสภาจากพรรครีพับลิกัน ได้แสงความกังวลและจะมีการเพิ่มเติมมาตรการตรวจสอบการใช้เงินของสถาบันการเงินที่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ ว่าได้นำเงินด้งกล่าวไปใช้อย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มปริมาณเงินกู้ยืมและอัดฉีดสภาพคล่องในตลาดสินเชื่อ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังสหรัฐฯ สามารถนำเงินงบประมาณส่วนดังกล่าวไปใช้ได้ทันทีหลังจากการเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ในวันที่ 20 มกราคม 2552

มาตรการช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมแก่แบงก์ ออฟ อเมริกา

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ร่วมกับธนาคารกลางสหรัฐและบรรษัทประกันเงินฝาก (Federal Deposit Insurance Corporation - FDIC) ได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมแก่แบงก์ ออฟ อเมริกา โดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ จะใช้งบประมาณภายใต้โครงการ TARP ซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stock) เพิ่มเติมอีก 20,000 ล้านเหรียญสรอ. ด้วยอัตราเงินปันผลร้อยละ 8 ต่อปี หลังจากที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่แบงก์ ออฟ อเมริกา ผ่านโครงการ Capital Purchase Program ด้วยงบประมาณ 25,000 ล้านเหรียญสรอ. ซึ่งกว่า 10,000 ล้านเหรียญสรอ. ของเงินช่วยเหลือที่ได้รับทั้งหมด ได้นำไปใช้การกอบกู้สถานการณ์ของบริษัทของบริษัทเมอร์ริล ลินช์ ที่แบงก์ ออฟ อเมริกา เข้าซื้อกิจการเมื่อปลายปี 2551 ที่ผ่านมา

การช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อค้ำประกันสินทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ที่ประสบปัญหา มูลค่ารวมกว่า 118,000 ล้านเหรียญสรอ. เนื่องจากจะมีการดำเนินการประเมินมูลค่าตลาดของสินทรัพย์ดังกล่าว (Mark to Market) ที่จะส่งผลให้แบงก์ออก อเมริกาต้องประสบปัญหาจากมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลง โดยเฉพาะผลกระทบจากสินทรัพย์ส่วนแห่งที่ได้มาจากการเข้าซื้อกิจการบริษัท เมอร์ริล ลินชื เมื่อปลายปี 2551 ทั้งนี้ บรรษัทประกันเงินฝากแห่งสหรัฐฯ จะขยายระยะเวลาการค้ำประกันภายใต้ระเบียบที่เรียกว่า Temporary Liquidity Guarantee Program จาก 3 ปี เป็น 10 ปี อนึ่ง โครงการ Temporary Liquidity Guarantee Program เป็นมาตรการที่จัดทำขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจและอัดฉีดสภาพคล่องให้กับระบบการเงิน โดยการค้ำประกันหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ์ที่ไม่มีหลักประกัน (Senior Unsecured Debt) ที่ธนาคาร และสถาบันการเงินจัดทำขึ้นใหม่

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ