ภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร เมษายน 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 20, 2009 12:32 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ ( เมษายน 2552 )

GDP ไตรมาสแรกปี 2009 หดตัวแรงถึงร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และหดตัวถึงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว

ประมาณการเบื้องต้น (Preliminary estimate) ของผลผลิตมวลรรวมภายในประเทศ (GDP) ของประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2009 พบว่าเศรษฐกิจขยายตัวติดลบร้อยละ 1.9 จากไตรมาสก่อนนหน้า (ไตรมาสก่อนหน้าขยายตัวติดลบร้อยละ 1.6) และขยายตัวติดลบร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (เทียบกับที่หดตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสที่แล้ว) โดยเศรษฐกิจในไตรมาสนี้หดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าในทุกภาคการผลิต ยกเว้นภาคการเกษตรที่ในไตรมาสนี้ขยายตัวเป็นบวกเล็กน้อย

  • ภาคบริการขยายตัวติดลบร้อยละ 1.2 จากไตรมาสสก่อนหน้า (ติดลบร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว) โดยภาคที่มีอัตราการหดตัวมากที่สุดมาจากธุรกิจบริการในภาคการคมนาคมขนส่ง สื่อสาร และการเก็บรักษาสินค้าที่หดตัวลงร้อยละ 2.9 (ส่วนใหญ่เป็นผลจากการหดตัวของการขนส่งทางบกและธุรกิจทที่สนับสนุนการขนส่ง) รอองลงมาได้แก่หมวดบริการธุรกิจและการเงินที่หดตัวลงร้อยละ 1.8 ธุรกิจหมวดการค้าสส่ง โรงแรม และภัตตาคาร หดตัวร้อยละ 1.2 ขณะที่บริการภาครัฐและบริการอื่นขยายตัวร้อยละ 0.5 (ภาคบริการมีสัดส่วนต่อ GDP ร้อยละ 75)
  • ภาคอุตสาหกรรมและการผลิตหดตัวถึงร้อยละ 5.5 จากไตรมาสก่อนหน้า (หดตัวถึงร้อยละ 12.3 เมื่ออเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว) โดยการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวลงถึงร้อยละ 6.2 ขณะที่ภาคเหมืองแร่และพลังงงานธรรมชาตติหดตัวร้อยลละ 3.4 และหมวดบริการสาธธารณูปโภคไฟฟ้า ก๊าส แลละน้ำประปา หดตัวลงร้อยยละ 1.9 (ภาคอุตสาหกรรมและการผลิตมีสัดส่วนต่อ GDP ร้อยละ 18)
  • ภาคการก่อสร้างหดตัวร้ออยละ 2.4 (หดตัวลงร้อยลละ 8.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียววกันของปีที่แล้ว) (ภาคการก่อสร้างมีสัดส่วนต่อ GDP ประมาณร้อยละ 6)
  • ภาคการเกษตรในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากไตรมาสทที่แล้ว (ขยายตัวร้อยละ 00.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว) (ภาคการเกษตรรมีสัดส่วนต่ออ GDP ประมมาณร้อยละ 11)

นับเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกันที่เศรษฐกิจขยายตัวติดลบเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยในการแถลงงบประมาณปี 2009 เมื่อวันนที่ 22 เมษายน 2009 กระทรวงการคลังประมาณการว่าเศรษฐกิจจะหดตัวร้อยละ 3.5 ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับประมาณการล่าสุดว่าจะติดลบร้อยละ 4.1

ดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์หดตัวร้อยยละ 0.9

ดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ในเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลดลง 0.9 จุดจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 88.3 จุด โดยหากพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของดัชนีช่วง 3 เดือนน (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) พพบว่าลดลงจากค่าเฉลี่ยของช่วง 3 เดือนก่อนหน้า (กันยายน-พฤศจิกายน) ถึงร้อยละ 5.8 เทียบกับทที่ลดลงร้อยละ 5.6 เมื่อเดือนที่แล้ว นับบเป็นเดือนที่สองติดต่อกันที่ดัชนีอยยู่ต่ำกว่าระดับ 90 จุด นับจากปี 1993 ซึ่งช่วยยืนยันว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้น่าจะหดตัวลงแรงกว่าไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว โดยในเดือนนี้ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในสาขาสินค้าอุตสาหกรรม (Manufacturing) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 79 ยังคงลดลงแรงถึงร้อยละ 6.5 จากช่วง 3 เดือนก่อนหน้านับเป็นนเดือนที่ 11 ติดต่อกันที่ดัชนีขยายตัวติดลบ ดัชนีผลผลิตด้านพลังงานไฟฟ้า น้ำ และ ก๊าซ ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 9 ลดลงร้อยยละ 1.0 เท่ากกับเดือนก่อนนหน้า ขณะที่ดัชนีผลผลิตภาคเหมืองแร่ ทรัพยากร ธรรมชาติ และน้ำมันน ซึ่งมีน้ำหนักักร้อยละ 12 หดตัวลงแรงถึงร้อยละ 4.3

ทั้งนี้ หากพิจารณาดัชนีการผลิตตามระดับขั้นของผลลผลิตพบว่าค่าเฉลี่ย 3 เดือนของทุกหมวดลดลงแรงจากค่าเฉลี่ยของ 3 เดือนก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตสินค้าขั้นกลางและพลังงาน (Intermediate goods and energy) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 48 ลดลงจากรอบ 3 เดือนก่อนหน้าร้อยละ 6.8 ดัชนีผลผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคที่ไม่คงทน (Consumer non-durable) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 27 ลดลงร้อยละ 1.4 และสินค้าทุน (Capital goods) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 21 ในเดือนนี้ยังคงลดลงค่อนแรงตต่อเนื่องถึงร้อยละ 8.7 จากรอบ 3 เดือนก่อนหน้า และดัชนีสินค้าเพื่อการบริโภคที่คงทน (Consumer durable) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 3.6 ลดลงแรงถึงร้อยละ 9.6

อัตราเงินเฟ้อ : CPI เดือนมีนาคมลดลงเหลือร้อยละ 2.9 แต่ RPI ติดลบครั้งแรก

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนมีนาคมลดลงเหลือร้อยละ 2.9 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.2 อย่างเหนือความคาดหมายในแดือนก่อนหน้า โดยการที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ปรับลดลงก็สอดคล้องกับทิศทางของอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะชะลอลงในปีนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจหดตัว อย่างไรก็ดี การที่อัตราเงินเฟ้อยังลดลงไม่มากนักน่าจะเป็นผลมาจากการที่ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงมากในช่วงที่ผ่านมาทำให้ราคาสินค้านำเข้าเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในหมวดสินคค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม โดยหมวดรายจ่ายที่ทำให้ออัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ววมาจากหมวดอาหหารและเครื่องงดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มมขึ้นร้อยละ 10.5 เทียบกับร้อยละ 11.5 ในเดือนที่แล้ว หมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบที่เร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 5.9 จากร้อยละ 5.7 ในเดือนที่แล้ว หมวดเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งบ้านนที่เร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 3.3 จากร้อยละ 3.2 เมื่อเดือนที่แล้ว สำหรับหมวดสินค้าที่มีระดับราคาลดดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วยังคงได้แก่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าที่มีระดับราคาลดลงร้อยละ 8.7 หมวดขนส่งคมนาคมมีราคาลดลงร้อยละ 2.0 และหมวดสื่อสารราคาลดลงร้อยละ 0.8

ทางด้านดัชนี (Retail Price Index: RPI) ในเดือนนี้ติดลบร้อยละ 0.4 เทียบกับเดือนที่แล้วที่อยู่ที่ร้อยละ 0.0 โดยปัจจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในเดือนนี้มาจากหมวดอาหารและภัตตาคารที่มีระดับราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 และหมวดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาสูบเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่เหลือมีราคาลดลงจากปีที่แล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหมวดที่อยู่อาศัยและรายจ่ายในครัวเรือนลดลงเหลือร้อยละ 3.5 เนื่องจากรายจ่ายการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยลดลงตามนโยบายลดอัตราดอกเบี้ย หมวดรายจ่ายส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 1.4 และหมวดท่องเที่ยวและการหย่อนใจลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 2.2

อัตราการว่างงาน : เดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ระดับ 2.1 ล้านคน หรือเท่าร้อยละ 6.7

ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) ทั้งจำนวนผู้มีงานทำและอัตราการจ้างงานต่างก็ลดลง กล่าวคือ จำนวนผู้มีงานทำ (employment level) มีจำนวน 29.267 ล้านคน ลดลง 126,000 คนจากรอบ 3 เดือนก่อนหน้า (กันยายน-พฤศจิกายน) และลดลง 227,000 คน จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ทำให้อัตราการจ้างงานในเดือนนี้ลดลงเหลือร้อยละ 73.8 ของผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด (working age employment rate) หรือลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.4

ทางด้านจำนวนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงานในรอบสามเดือนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมียอดผู้ว่างงานเฉลี่ย 2.10 ล้านคน เพิ่มขึ้น 177,000 คนจากรอบไตรมาสก่อนหน้า หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.2 และเพิ่มขึ้นถึง 486,000 คนจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.1 ส่งผลให้อัตราการว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสนี้ขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.7 เทียบกับร้อยละ 6.1 ในรอบไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นเดือนที่สองแล้วที่จำนวนผู้ว่างงานอยู่เหนือระดับ 2 ล้านคน โดยครั้งสุดท้ายที่จำนวนผู้ว่างงานอยู่เหนือระดับดังกล่าวคือเดือนกรกฎาคม 1997

สำหรับดัชนีชี้วัดรายได้เฉลี่ยของทั้งประเทศยังมีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่องหลังจากที่ขึ้นไปสูงสุดในไตรมาสแรกปี 2008 โดยดัชนีที่ไม่รวมเงินโบนัส (GB average earnings index: AEI) ในรอบไตรมาสสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากปีที่แล้ว (เทียบกับร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า) ขณะที่ดัชนีที่รวมรายได้จากโบนัสเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 จากปีที่แล้ว (เทียบกับร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า)

ปริมาณเงินและสินเชื่อ : M4 ยังคงเพิ่มต่อเนื่อง แต่สินเชื่อสู่ภาคเศรษฐกิจยังชะลอตัวลง

ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (M4) ในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นเพียง 0.9 พันล้านปอนด์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 ในเดือนนก่อนหน้า ขขณะที่ปริมาณสินเชื่อตามความหมายกกว้าง (M4 lending) ในเดือนนี้เพิ่มขึ้น 28.6 พันล้านปอนด์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เทียบกับร้อยละ 12.0 ในเดือนที่แล้ว

อย่างไรก็ดี หากวิเคราะห์ลงในรายละเอียดของการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินไปสู่ภาคเศรษฐกิจ (sectoral analysis) พบว่ายังคงมีกการชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ (M4 lending to private non-financial corporations) มียอดคงค้าง 500,062 ล้านปอนด์ ขยายตัวจากปีที่แล้วร้อยละ 2.8 ลดลงจากร้อยละ 3.2 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่สินเชชื่อที่ให้แก่ภาคครัวเรือน (M4 lending to household sector) มียอดคงค้าง 950,795 ล้านปอนด์ ขยายตัวติดลบร้อยลละ 5.4 จากปีที่แล้ว เทียบกับที่ติดลบร้อยละ 5.1 ในเดือนที่แล้ว สะท้อนให้เห็นคววามต้องการสินเชื่อที่ชะลอลงอย่างมากกซึ่งส่วนหนึ่งอาจมาจากความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยกู้ด้วย

อัตราดออกเบี้ยและอัตรราแลกเปลี่ยน

Bank of England คงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิมร้อยละ 0.5 ขณะทื่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ลดลงตามสัดส่วน

เมื่อวันที่ 9 เมษายน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของงธนาคารกลางอังกฤษ มีมติเอกกฉันท์ 9:0 ใหห้คงอัตราดอกเบี้ย Bank rate ไว้ตามเดิมที่ระดับร้อยละ 0.50 ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการก่อตั้ง Bank of England ในปี 1694 หรือ 315 ปีมาแล้ว โดยคณะกรรมการได้ให้เหตุผลของการคงอัตราดอกเบี้ยว่าแนวโน้มการหหดตัวของเศรษฐกิจในไไตรมาสแรกขของปีนี้จะอยยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว แม้จะมีดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจบางตัวจะบ่งชี้ว่าการหดตัวของเศรษฐกิจอาจจะเริ่มนิ่งแล้วแต่ก็ยังเร็วเกินไไปที่จะยืนยันและถือว่าเศรษฐกิจยังคงมีความเสี่ยงอยู่โดยเฉพาะการว่างงานที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อน่าจะลดลงต่กว่าเป้าหมายในครึ่งหลังของปีจากราคาการลดลงของราคาพลังงานและอาหาร รวมถึงกำลังผลิตส่วนเกินที่เริ่มมีเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันน ก็ต้องรอผลของมาตรการรับซื้อสินทรัพย์ภาคเอกชน (Asset Purchased Facility) ว่าจะส่งผลต่อการขยายตตัวของสินเชื่อต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจมากน้อยแค่ไหนต่อไป โดยการประชุมคครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 7 พฤษภาคม 2009

ในเดือนมีนาคมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังปรับบตัวลดลงตามการลดลงขออง Bank rate ของธนาคารกลางอังกฤษ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดลอยตัว (flexible rate) อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.06 ลดลง 32 basis points จากเดือนกุมมภาพันธ์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดที่อิงอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน (base rate tracker mortgage) อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.01 ลดลง 29 basis points จากเดือนที่แล้ว อย่างไรก็ดี แม้สถาบันการเงินจะลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงแต่เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยทั้งประเภท flexible rate และ tracker rate เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Bank rate) กลับถ่างกว้างขึ้นกว่าเดือนที่แล้วโดยในเดือนนี้ส่วนต่างอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.49 และ 3.44 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 3.3 และ 3.2 ในเดือนที่แล้ว สสะท้อนถึงการรที่สถาบันการเงินไม่ได้ส่งงผ่านผลของงการลดอัตรราดอกเบี้ย Bank rate ทั้งหมดให้กับลูกค้าเงินกู้ เหหตุผลน่าจะมาจากความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อยังคงมีอยยู่สูง ประกอบกับต้นทุนทางการเงินของธนาคารจะอิงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร (interbank rate) เป็นหลักมากกว่า bank rate

สำหรับโครงสร้างอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย (average yield curve) ประจำเดือนเมษายนโดยรวมแล้วอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนมีนาคม โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นอายุต่ำกว่า 3 เดือนปรับบลดลงระหว่าง 5-22 basis points ต่อเนนื่องจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปปรับตัวขึ้นระหว่าง 4-23 basis points ซึ่งการที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นปรับบตัวลดลงส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการที่เรียกว่า Quantitative Easing (QE) ที่ Bank of England ประกาศดำเนินการเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

อัตราแลกเปลี่ยน : เงินปอนด์ แข็งค่ากับทุกสกุลในเดือนนี้

เงินปอนด์เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นเป็นนครั้งแรกหลังจากที่อ่อนค่าลง 8 เดือนติดต่อกัน โดยเงินปอนด์มีระดับปิดตตลาดวันแรกของเดือนที่ 1.4380 $/ปอนด์ จากนั้นก็แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจนสามารถขึ้นไปเหนือระดับ 1.50 $/ปอนด์ ได้ช่วงสั้นนๆ แต่ไม่สามารถยืนเหนือระดับดังกล่าวได้และลงมาปิดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 1.4983 $/ปอนด์ เนื่องจากผลการปรระชุม G20 ที่เห็นชอบให้มีการเพิ่มเงินทุนใให้กับ IMF จำนวนมหาศาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจโลกโดยเฉพพาะประเทศกำลังพัฒนา ประกอบกับนักลงทุนเริ่มมองว่าเศรษฐกิจอาจจะผ่านพ้นจุดดต่ำสุดไปแล้วส่งผลให้ราคาหุ้นสถาบันการเงินปรรับตัวสูงขึ้น จึงทำให้ตลาดมองว่าความสำคัญของเงินดอลลาร์ สรอ. และเงินเยนในฐานะที่เป็นสกุลเงินที่มีความปลอดภัยเริ่มลดลงและส่งผลดีต่อเงินสกุลอื่นรวมถึงปอนด์สเตอร์ลิงด้วย อย่างไรก็ดี การที่เงินปอนด์ไม่สามารถผ่านระดับ 1.50 $/ปอนด์ ไปได้ทำให้นักลงทุนเริ่มขายเงินปอนด์ออกมาอีกครั้งเมื่อมีการแถลงงบประมาณ

เมื่อวันที่ 22 เมษายน ว่าจะมีการขาดดุลงบประมาณในปีหน้าจำนวนมหาศาลต่อเนื่องจากปีนี้และจะทำให้ระดับหนี้ต่อ GDP เพิ่มสูงขึ้นถึงระดับร้อยละ 79 ในอีก 4 ปีข้างหน้า กดดันให้เงินปอนด์อ่อนค่าลงตลอดช่วงสัปปดาห์ที่สามโดยลงมาเคลื่อนไหวระดับบต่ำกว่า 1.46 $/ปอนด์ เล็กน้อย กระนั้นก็ดีเงินปอนด์เริ่มกลับแข็งงค่าขึ้นอีกครั้งในสัปดาห์สุดท้ายแม้อัตราการขยายตัวของ GDP เบื้องต้นของไตรมาสที่ 1 จะติดลบถึงร้อยละ 1.9 แต่การขยายตัวของ GDP ของสหรัฐฯ ก็ติดลบค่อนข้างลึกเช่นกัน จึงทำให้เงินปอนด์สามารถยืนระดับได้และปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.482 $/ปอนด์ ทำให้ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้แข็งค่าจากเดือนที่แล้วร้อยละ 3.8 แต่ก็ยังอ่อนค่าอยู่ร้อยละ 26.5 เมื่อในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

เงินปอนด์เมื่อแทียบกับยูโรแข็งค่าขึ้นอีกกครั้งหลังจากกอ่อนค่าลงในนเดือนที่แล้ว โดยเงินปอนนด์มีระดับปิดดตลาดวันแรกกที่ระดับ 1.087 ยูโร/ปอนด์ จากนั้นก็แข็งค่าขึ้นโดยตลอดในช่วงครึ่งแรกของเดือนจนขึ้นไปมีระดับปิดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 1.137 ยูโร/ปอนด์ จากผลของการที่ราคาหุ้นภาคการเงินของอังกฤษษเพิ่มสูงขึ้นเมมื่อมีการประกกาศผลประกอบการเบื้องต้นน รวมถึงการรที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยหดแคบลงเมื่อ ECB ลดอัตรราดอกเบี้ยลงงร้อยละ 0.25 ขณะที่ Bank of England คคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยลละ 0.50 ประกอบกับแนวโน้มที่ ECB อาจต้องลดดอกเบี้ยลงอีกกหลังจากอัตรราเงินเฟ้อออกมาต่ำมากเหลือเพียงร้อยละ 0.6 หลังจากนั้นนเงินปอนด์ก็ออ่อนค่าลงบ้างงจากปัจจัยในนเรื่องฐานะกการคลังของรัฐัฐบาลอังกฤษและอัตราการขยายตัวของ GDP ทที่ติดลบลึกกว่าไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว และสามารถปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.1184 ยูโร/ปอนด์ ส่งผลใหห้ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในนเดือนนี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.7 แต่ก็ยังอ่อนค่าอยู่ร้อยละ 13.5 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมมา

เมื่อเทียบกับเงินบาทแล้ว เงินปอนด์ในแดือนนี้เคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เหนือระดับ 52 Baht/ปอนด์ ซึ่งเป็นระดับที่สูงต่อเนื่องมาจากเดือนก่อน โดยเงินปอนด์มีปิดตลาดดวันแรกของแดือนที่ระดับ 51.0562 Baht/ปอนด์ ก่อนที่จะขึ้นไปเคลื่อนไหวเหนือระดับ 52 Baht/ปอนด์ โดยในช่วงกลางเดือนขึ้นไปปิดสูงสุดที่ระดับ 53.0848 Baht/ปอนด์ ก่อนที่จะอ่อนค่าลงมาเคลื่อนไหวในระดับ 52 Baht/ปอนด์ อีกครั้ง และปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 52.2479 Baht/ปอนด์ ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับเดือนมกราคม โดยค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้แข็งค่ากับเงินบาทร้อยละ 2.9 แต่ยังอ่อนค่าอยู่ร้อยละ 17.0 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

ดุลงบประมาณ: เดือนมีนาคมรัฐบาลขาดดุลถึง 19.1 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้ปี 2008/09 รัฐบาลขาดดุลรวม 90 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.6 เท่า

ณ สิ้นเดือนมีนนาคมซึ่งเป็นแดือนสุดท้ายของปีงบประมาณปัจจุบันน (2008/09) รัฐบาลมีดุลงบรายจ่ายประจำ (currennt budget) ขาดดุลจำนวน 11.6 พันล้านปอนด์ (เทียบกับับที่ขาดดุล 3.9 พันล้านปอนด์ในเดือนมีนนาคมปีที่แล้วว) และเมื่อรววมกับในเดือนนี้รัฐฐบาลมียอดลงงทุนสุทธิจำนวน 7.4 พันล้านปอนด์ จึงทำใหห้ฐานะดุลงบบประมาณโดยยรวมในเดือนนี้มียอดขาดดุลสุทธิมากถึง 19.1 พันล้านปอนด์ (เทียบกับที่ขาดดุลลเพียง 11.5 พันล้านปอนด์เมื่อปีที่แล้ว) หรือเท่ากับขาดดุลเพิ่มขึ้นถึง 1.6 เท่า โดยในส่วนของรัฐบาลกลาง (central government account) สามารถถจัดเก็บรายไได้ในเดือนนี้จจำนวน 38.0 พันล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 12.0 จากปีที่แล้ว) ขณะที่งบรายจ่ายประจำและงบลงทุนของรัฐบาลกลางมียอดรวม 54.7 พันล้านปอนด์(เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากกปีที่แล้ว) ทำให้รัฐบาลกลางมีฐานะขาดดุลงบประมาณ 16.7 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 58.9)

ในปีงบประมาณ 2008/09 รัฐบาลกลางสามารถจัดเก็บรายได้ทั้งสิ้น 492.1 พันล้านปอนด์ ลดลงร้อยละ 3.5 ขณะที่รายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนกลับสูงถึง 591.0 พันล้านปอนด์ เพิ่มมขึ้นร้อยละ 7.7 ทำให้รัฐบาลกลางขาดดุลงบประมาณทั้งสิ้น 98.9 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนหน้าถึง 1.6 เท่า และเมื่อปรับรวมกับงบประมาณส่วนท้องถิ่นนและกิจการของรัฐแล้วฐานะการคลังของรัฐบาลโดยรวมมียออดขาดดุลทั้งสิ้น 90.0 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนหน้า 1.6 เท่า ถือเป็นยอดขาดดุลที่สูงกว่าที่กระทรวงการคลังเคยประมาณการไว้ในคราวแถลงงบประมาณเมื่อเดือนมีนาคมมปีที่คาดว่าขาดดุลเพียง 43 พันล้านปอนด์ โดยสาเหตุหลักมาจากการที่รัฐบาลจัดเก็บรายได้ลดลงขณะที่รายจ่ายกลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากภาระในการฟื้นฟูภาคการเงินและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

Debt/GDP : สิ้นปีปีงบประมาณ 2008/09 อยู่ที่ระดับร้อยละ 50.9

ณ สิ้นเดือนมีนนาคมซึ่งเป็นแดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ ยอดคงค้างหนี้สาธารณะอยู่ที่ระดับ 743.6 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 50.9 ของ GDP (เทียบกับร้อยยละ 43.1 ในเดือนมีนาคมปีที่แล้ว) โดยการที่ยอดหนี้สาธารณณะของประเทศปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจหดตัวส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 3.5 แต่รัฐบาลกลับมีภาระรายจ่ายในการกรระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาความเดืออนร้อนของประชาชน รวมถึงภารระในการรักษาเสถียรภาพของภาคการเงิน เช่น การโอนสถาบันการเงินที่มีปัญหาเข้าเป็นของรัฐ การช่วยเหลือเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงิน การออกกพันธบัตรเพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องใหห้กับสถาบันการเงิน รวมถึงการค้ำประกันเงินกู้ เป็นต้น จึงส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณสูงถึง 90.0 พันล้านปอนด์ หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 1.6 เท่า

ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน

ดุลการค้าและบริการ: กุมภาพพันธ์อังกฤษขาดดุล 3.2 พันล้านปอนด์ ลดลงร้อยละ 15.9 จากปีที่แล้ว

เดือนกุมภาพันธ์ อังกฤษมียอดส่งออกสินค้าและบริการรวม 32.7 พันล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 3.5) แต่มีการนำเข้ารวม 35.9 พันล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 4.8) ทำให้มียอดขาดดุลการค้าและบรริการรวม 3.2 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลลดลงจากปีที่แล้วร้อยยละ 15.9) แยกเป็นการขาดดุลการค้าจำนวน 7.3 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลลดลงจากปีที่แล้วร้อย 5.7) แต่มีการเกินนดุลบริการจำนวน 4.1 พันล้านปอนด์ (เกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3) โดยการขาดดุลในนเดือนนี้แยกเป็นการขาดดุลการค้าสินค้ากับประเทศในกลุ่ม EU (27 ประเทศ) จำนวน 3.4 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลลดดลงร้อยละ 8.9 จากเดือนนเดียวกันของปีที่แล้ว) ขณะที่มีการขาดดุลกับประเทศนอกกลุ่ม EU จำนวน 4.0 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลลดลงร้อยละ 2.8 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว)

สำหรับการค้ากับประเทศไทยในเดือนกุมภาพันธ์ อังกฤษส่งออกสินค้าไปประเทศไทยจำนวน 53 ล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 18.5 จากปีที่แล้ว) ขณะที่มีการนำเข้าจำนวน 184 ล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 2.6) ทำให้ขาดดุลการค้ากับประเทศไทยจำนวน 131 ล้านปอนด์ (ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 5.6) ส่งผลให้ยอดสะสมการค้าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้อังกฤษมีการส่งออกสินค้าไปประเทศไทยรวม 92 ล้านปอนด์ (ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 19.3) แต่มีการนำเข้าจากประเทศไทยรวม 383 ล้านปอนด์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6) ทำให้มียอดขาดดุลการค้ากับประเทศไทยทั้งสิ้น 291 ล้านปอนด์ (ขาดดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5)

ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
  • ผลสำรวจราคาที่อยู่อาศัยของ Halifax ประจำเดือนมีนาคมพบว่าราคาเฉลี่ยของที่อยู่อาศัยทั่วประเทศลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 1.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.3 ในเดือนที่แล้ว และลดลงร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยลดลงเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน (3 เมษายน 2009)
  • นาย Alistair Darling รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนองบประมาณปี 2009/10 ต่อสภา โดยเป็นงบประมาณขาดดุลที่สูงถึง 175 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 9.8 ของ GDP โดยคาดว่าจะจัดเก็บรายได้ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 6.5 ขณะที่รายจ่ายและลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 8.1 ซึ่งจะทำให้ยอดหนี้สาธารณะสุทธิอยู่ที่ระดับ 792 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 55.4 ของ GDP เพิ่มจากระดับร้อยละ 43.0 ในปีงบประมาณก่อนหน้า ทั้งนี้ ยอดหนี้สาธารณะต่อ GDP จะขึ้นไปสูงสุดที่ร้อยละ 76.2 ในปี 2013/14 (22 เมษายน 2009)
  • Office for National Statistics (ONS) ได้ประกาศประมาณการเบื้องต้นอัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 1 ของปี 2009 ติดลบร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และติดลบร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ติดลบร้อยละ 1.7 ซึ่งเป็นอัตราการหดตัวที่ลึกกว่าที่มีการประเมินไว้ว่าน่าจะหดตัวในอัตราเดียวกับไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว (22 เมษายน 2009)

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ