รายงานการประชุมสหประชาชาติระดับสูงสุดว่าด้วยวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจโลก และผลกระทบต่อการพัฒนา

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 27, 2009 15:48 —กระทรวงการคลัง

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ประจำกรุงวอชิงตัน ขอรายงานบทสรุป ปาฐกถา ของนายประดิษฐ์ฯ ในฐานะผู้แทนประเทศไทยและปาฐกถา ของ นาง Susan Rice เอกอัครราชฑูตผู้แทนถาวรของสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ ดังนี้

ประเทศไทย

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2552 นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ได้แสดงปาฐกถาในที่ประชุมถึงท่าทีของประเทศไทยที่ไม่เห็นด้วยกับกระแสการกีดกันทางการค้า หรือProtectionism ซึ่งนับเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจโลก โดย นายประดิษฐ์ ฯ กล่าวว่า การคุ้มครองระบบการค้าโลก และการผลักดันให้การเจรจาการค้าพหุภาคัรอบโดฮา(WTO Doha Round) ประสบผลสำเร็จนั้น นับเป็นแนวทางหลักที่จะช่วยจำกัดผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจไม่ให้ขยายวงกว้างต่อไปอีก และจะช่วยให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลกเกิดขึ้นได้รวดเร็วขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่จะอิงกับการค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก ทั้งนี้ ประเทศ ไทยได้แสดงจุดยืนในการสนับสนุนตลาดการค้าเสรี (Open Trade and Free Market) มาโดยตลอด

นายประดิษฐ์ฯ ได้ยกตัวอย่างถึงความร่วมมือในระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมตลาดการค้าเสรีในช่วงที่ผ่านมา อาทิเช่น การประชุมกลุ่ม ASEAN+3 ที่จัดขึ้นในประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 นับเป็นการยืนยันจุดยืนของกลุ่ม ASEAN+3 ในการสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ตลอดจนต่อต้านมาตรการกีดกันทางการค้าซึ่งจะซ้า เติมให้ภาวะตกต่าทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้นไปอีก นอกจากนี้ นายประดิษฐ์ฯ ได้กล่ วถึงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่(Chiang Mai Initiative) ที่นับเป็นการร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค เพื่อแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องระยะสั้นในกลุ่มประเทศสมาชิก ซึ่งจะเป็นทางเลือกให้กับประเทศสมาชิกในการรับมือกับความเสี่ยงจากวิกฤติเศรษฐกิจ นอกเหนือจาก การเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นอกจากนั้น นายประดิษฐ์ฯ ยังกล่าวถึงกรอบการร่วมมือทางด้านการลงทุนในภูมิภาคภายใต้ม ตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative) อีกด้วย

อนึ่ง นายประดิษฐ์ฯ ได้แจ้งให้ ที่ประชุมทราบถึง ความคืบหน้าในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย เพื่อฟื้นฟูการขยายตัวทางเศรษฐกิจและส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นที่การสร้างงานและบรรเทาความยากจนเป็นหลัก

ประเทศสหรัฐฯอเมริกา

นาง Susan Rice เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรของ สหรัฐฯ ประจา สหประชาชาติได้กล่าวปาฐกถาแก่ที่ประชุมสหประชาชาติในวันที่ 24 มิถุนายน 2552 โดยเน้นย้า ถึงความสำคัญของการร่วมมือระหว่างประเทศในการรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจ ตามที่ประธานาธิบดีโอบามาได้กล่าวไว้ในการประชุม ณ กรุงไคโร โดยสหรัฐฯ แสดงท่าทีสนับสนุนให้มีมาตรการร่วมมือระหว่างประเทศ จากทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านทางการดำเนินงานขององค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ

นาง Susan Rice กล่าวถึงการประชุมสหประชาชาติระดับสูงสุด ซึ่งมีผู้นาภาครัฐจากประเทศต่างๆ เข้าร่วม ในครั้งนี้ว่าจะช่วยสะท้อนให้ที่ประชุมได้เห็นถึง ภาพของวิกฤตเศรษฐกิจในหลาย ๆ มิติ ที่ประชุมจึงควรมุ่งเน้นที่การจัดหาแนวทางเพื่อบรรเทา ผลกระทบของวิกฤต เศรษฐกิจต่อการพัฒนา และนับเป็นโอกาสที่จะได้เห็น องค์การสหประชาชาติ ดา เนินบทบาทด้านการพัฒนาที่มีความเร่งด่วนอีกด้วย

ทั้งนี้ สหรัฐฯ เห็นว่ามีความจา เป็นที่จะต้องนา มาตรการและเครื่องมือต่างๆ มาใช้รับมือวิกฤตเศรษฐกิจในแต่ละมิติอย่างเหมาะสม โดยนาง Susan Rice ได้ยกตัวอย่างการร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และกลุ่ม G-20 ในการจัดทา กลยุทธ์เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ด้วยการสนับสนุนของทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศเปลี่ยนผ่านจากทุกภูมิภาค ดังนั้น เป้าหมายหลักในการประชุมสหประชาชาติระดับสูงสุดครั้งนี้ จึงเป็นการส่งเสริมความเข้าใจร่วม และการสื่อสารระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก องค์การสหประชาชาติ กลุ่ม G-20 และองค์กรอื่น ๆ ที่ต่างดา เนินมาตรการเพื่อรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจต่อไป

นาง Susan Rice กล่าวต่อไปอีกว่า ในช่วงที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนเงินทุนเพื่อขยายวงเงินกู้ยืมฉุกเฉิน แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และสนับสนุน ให้ธนาคารพัฒนาระดับภูมิภาค (Regional Development Bank) ขยายปริมาณการปล่อยกู้ของตนโดยสหรัฐฯ ได้แสดงจุดยืนที่จะสนับสนุนการช่วยเหลือด้านการพัฒนา ตลอดจนการลงทุนในด้านความมั่นคงด้านอาหารหรือ Food Security ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่สามารถช่วยเหลือประเทศยากจนได้อย่างแท้จริง อนึ่ง นาง Susan Rice กล่าวทิ้งท้ายว่า ทุกประเทศควรให้ความร่วมมือ เพื่อฟื้นฟูการเติบโตที่ยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมตลาดเสรีที่มีเสถียรภาพ (Open and Stable Markets) ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้น ค้า จุนผู้ประกอบการ และสร้างโอกาสให้กับทุก ๆ ฝ่าย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ทั้งนี้ได้แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องมาด้วยแล้ว

(นางพิลาสลักษณ์ ยุคเกษมวงศ์)

อัครราชทูต (ฝ่ายเศรษฐกิจและการคลัง)

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ