ยอดรายได้ การใช้จ่าย และการออมส่วนบุคคลของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 27, 2009 17:27 —กระทรวงการคลัง

สานักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ประจากรุงวอชิงตัน ขอรายงานยอดรายได้ การใช้จ่าย และการออมของสหรัฐฯ ประจาเดือนพฤษภาคม 2552 ซึ่งจัดทาโดยสานักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ (Bureau of Economic Analysis - BEA) ภายใต้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ดังนี้

1. รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income) ของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2552ปรับตัวสูงขึ้น 167,100 ล้านเหรียญสรอ. หรือร้อยละ 1.4 หลังจากที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7 หรือ 78,300 ล้านเหรียญสรอ. ในเดือนเมษายน อย่างไรก็ตาม รายได้และเงินเดือนภาคเอกชนในเดือนพฤษภาคมปรับตัวลดลงถึง 12,400 ล้านเหรียญสรอ. ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ลดลง 700 ล้านเหรียญสรอ.

2. รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (Disposable Personal Income - DPI) หรือรายได้ที่ครัวเรือนได้รับหลังหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่สามารถนาไปใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือการออมนั้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา โดยปรับเพิ่มขึ้น 178,100 ล้านเหรียญสรอ. หรือร้อยละ 1.6 ในเดือนพฤษภาคม เปรียบเทียบกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นรวม 140,000 ล้านเหรียญสรอ. หรือร้อยละ 1.3 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 ทางการสหรัฐฯ ได้ดาเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทางเครดิตภาษี (Tax Credit) และการปรับเพิ่มระดับเงินประกันสังคม ภายใต้กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลงทุนแห่งสหรัฐอเมริกา ประจาปี 2009 (The American Recovery and Reinvestment Act of 2009 - ARRA) ซึ่งหากไม่รวมผลของมาตรการดังกล่าว รายได้ส่วนบุคคลสุทธิจะปรับเพิ่มขึ้นรวม20,600 ล้านเหรียญสรอ. หรือร้อยละ 0.2 และ101,300 ล้านเหรียญสรอ. หรือร้อยละ 0.9 ในเดือนพฤษภาคมและเดือนเมษายน 2552 ตามลาดับ

3. รายได้ส่วนบุคคลที่สามารถนาไปใช้จ่ายได้จริง (Real Disposable Personal Income — Real DPI) หรือรายได้สุทธิหลังหักภาษีและเงินเฟ้อที่สามารถนาไปใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือการออมได้จริงในเดือนพฤษภาคม 2552 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ หากไม่รวมผลของมาตรการภายใต้กฎหมาย ARRA ที่กล่าว รายได้ส่วนบุคคลที่สามารถนาไปใช้จ่ายได้จริงในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาจะเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.1

4. ยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคลที่แท้จริง (Real Personal Consumption Expenditures — Real PCE) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากชะลอตัวที่ร้อยละ 0.1 ในเดือนก่อนหน้า สืบเนื่องจากปริมาณการใช้จ่ายด้านรถยนต์ ยานพาหนะและน้ามันเชื้อเพลิงที่กระเตื้องขึ้นเป็นหลัก ทั้งนี้ มูลค่าการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าคงทน (Durable Goods) และสินค้าไม่คงทน (Non-Durable Goods) ในเดือนพฤษภาคมขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 และร้อยละ 0.4 ตามลาดับ เปรียบเทียบกับการชะลอตัวในเดือนเมษายนที่ร้อยละ 1.3 และร้อยละ0.4 ตามลาดับ ส่วนปริมาณการใช้จ่ายด้านบริการในเดือนพฤษภาคมชะลอตัวลงร้อยละ 0.1 หลังจากขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 ในเดือนก่อนหน้า

5. ระดับราคา (PCE Price Index) ซึ่งวัดโดยดัชนีราคาของการใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ที่ระดับเดียวกันกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ดัชนีราคาของการใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เปรียบเทียบกับระดับราคาซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนเมษายน

6. การออมส่วนบุคคล (Personal Saving) ที่คิดเป็นสัดส่วนจากรายได้ส่วนบุคคลที่สามารถนาไปใช้จ่ายได้จริงยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประชากรสหรัฐฯ มีระดับการออมถึงร้อยละ 6.9 ในเดือนพฤษภาคม 2552 เปรียบเทียบกับระดับการออมที่ร้อยละ 5.6 ในเดือนเมษายน

รายละเอียดข้างต้น สามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้

                              Average Growth           April       May
                              last 12 months           2009       2009
Personal Income                     0.0%               0.7%       1.4%
   Exclude ARRA items                                  0.7%       0.1%
Real DPI                            0.0%               1.2%       1.6%
   Exclude ARRA items                                  0.9%       0.1%
Real PCE                           -0.2%              -0.1%       0.2%
PCE Price                           0.0%               0.1%       0.1%
Personal Saving Rate                3.5%               5.6%       6.9%
ที่มา: สานักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ (www.bea.gov)

จะเห็นได้ว่า มาตรการกระตุ้นเศษฐกิจของทางการสหรัฐฯ ผ่านการอัดฉีดเม็ดเงินให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงนั้น อาจไม่บรรลุเป้าหมายในการกระตุ้นปริมาณการใช้จ่ายภายในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคนาเงินส่วนที่ได้รับเพิ่มเติมมาเก็บออมมากขึ้น เห็นได้จากระดับการออมส่วนบุคคลยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 15 ปีในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ในขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลกลับกระเตื้องขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนถึงประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการสหรัฐฯ นอกจากนี้ อัตราการเลิกจ้างงานและราคาน้ามันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องน่าจะส่งผลให้ผู้บริโภคปรับลดการใช้จ่ายที่ไม่จาเป็น และเก็บออมเพิ่มขึ้นไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งอาจทาให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าช้ากว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัวอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2552

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ