Global Economic Monitor (14 — 18 Dec) 2009

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 21, 2009 11:36 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary Economic Calendar
  • สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปส่งสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในขณะที่ญี่ปุ่นอนุมัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมมูลค่า 7.2 ล้านล้านเยนเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวต่อเนื่อง
  • เงินเฟ้อของจีนขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 10 เดือน
  • GDP ออสเตรเลีย Q3/2009 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีหรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq)
  • สัปดาห์หน้า จับตาตัวเลขขายบ้านใหม่และบ้านมือสอง และคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ
Countries Monitor:

United States: ภาคเอกชนส่งสัญญาณฟื้นตัว

This Week

  • Housing starts เดือน พ.ย. 52 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 เดือนที่ร้อยละ 8.9 (%mom) และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจาก Building permits เดือน พ.ย. 52 ที่ 0.584 ล้านหลัง สูงที่สุดในรอบ 12 เดือน
  • ยอดค้าปลีกเดือน พ.ย. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 (%mom) และไม่รวมยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 1.2 (%mom) ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2

Next Week

  • จับตาดูการใช้จ่ายของภาคเอกชน จากตัวเลขการขายบ้านมือสองและการขายบ้านใหม่ประจำเดือน พ.ย. 52 ที่คาดว่าจะดีขึ้นตามการก่อสร้างและอนุญาตสร้างบ้านใหม่ และตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือน พ.ย. 2552 ว่าจะขยายตัวหรือไม่
Eurozone: ภาคอุตสาหกรรมมีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง

This Week

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. 52 ดีขึ้นโดยหดตัวในอัตราที่ชะลอลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ -11.1 ต่อปี
  • ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศยูโรโซนเบื้องต้น (Markit Mfg Flash PMI) เดือน ธ.ค. 52 อยู่ที่ระดับ 51.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.2 ขณะที่คำสั่งซื้อภาคบริการเบื้องต้น (Markit Service Flash PMI) อยู่ที่ระดับ 53.7 โดยดัชนีทั้งสองอยู่เหนือระดับ 50.0 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 สะท้อนการฟื้นตัวทั้งในภาคการผลิตและบริการ

Next Week

  • จับตาการส่งออกนำเข้า และคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (Industrial new orders) ในเดือน ต.ค. 52 ว่าจะสอดคล้องกับทิศทางของตัวเลข PMI หรือไม่
Japan: สัญญาณการฟื้นตัวจากอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง

This Week

  • รัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 7.2 ล้านล้านเยน(81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือคิดเป็นร้อยละ 1.5 ของ GDP โดยส่วนหนึ่งจะใช้เพื่อกระตุ้นอุปสงค์ยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • GDP Q3/2009 ขยายตัวร้อยละ 0.3 (%qoq) หรือหดตัวร้อยละ -5.1 ต่อปี จากการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวต่อเนื่อง
  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ย. 52 อยู่ที่ 39.5 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน
  • Tankan large manufacturers survey Q4/2009 อยู่ที่ระดับ -24.0 สูงสุดในรอบ 4 ไตรมาส

Next Week

  • จับตาตัวเลขการใช้จ่ายภาคครัวเรือน การจ้างงาน และจำนวนบ้านสร้างใหม่เดือน พ.ย. 52 ว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องหรือไม่
China: การผลิตและการลงทุนขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่เงินเฟ้อมีสัญญาณปรับตัวสูงขึ้น

This Week

  • ผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 52 ขยายตัวร้อยละ 19.2 ต่อปี สูงสุดในรอบ 27 เดือน
  • การส่งออกเดือน พ.ย. 52 หดตัวที่ร้อยละ -1.2 ต่อปี ชะลอลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -13.8 ต่อปี และหดตัวในระดับต่ำที่สุดในรอบ 13 เดือน
  • การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในเขตเมืองเดือน ม.ค. - พ.ย. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 32.1 ต่อปี ชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 33.1 ต่อปี
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ย. 52 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน

Next Week

  • จับตาทิศทางการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีน
Around the World:

Australia

  • GDP Q3/2009 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีหรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%qoq) ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อปี จากการใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ที่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.7 ร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.4 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกยังคงหดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ -2.3 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่หดตัวที่ร้อยละ -14.7 (%qoq)

Hongkong

  • ธนาคารกลางฮ่องกงประกาศเตือนความเสี่ยงจากการลดลงของราคาสินทรัพย์อย่างฉับพลัน หากเงินทุนมีการไหลออกจากประเทศ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาราคาบ้านของฮ่องกงได้เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 เดือน ขณะที่ดัชนี Hung Seng ปรับขึ้นกว่าร้อยละ 50 นับจากต้นปี โดยส่วนหนึ่งเป็นผลของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อ้างอิงกับ Fed Fund rate

Philippine

  • การส่งออกสินค้าเดือนต.ค. 52 ปรับตัวดีขึ้นโดยหดตัวร้อยละ -8.3 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -18.2 ต่อปี โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักหดตัวร้อยละ -7.4 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -13.2 ต่อปี ทั้งนี้ การส่งออกไปยังสหรัฐฯ และญี่ปุ่นหดตัวที่ร้อยละ -5.3 และ -4.8 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -19.7และ -5.4 ต่อปีตามลำดับ

Singapore

  • การส่งออกเดือน พ.ย. 52 ดีขึ้นอย่างมากจากเดือนก่อนหน้าโดยขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -6.2 ต่อปี หรือคิดเป็นการขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 19.8 (%mom)

Taiwan

  • การส่งออกของไต้หวันในเดือน พ.ย.52 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบปีที่ร้อยละ 19.4 ต่อปีจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.7 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าสินค้ากลับมาขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 17.9 ต่อปีจากที่หดตัวร้อยละ -6.7 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลบัญชีการค้าเกินดุลที่ 2.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคของประเทศไต้หวันในเดือนพ.ย.หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -1.59 ต่อปีจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.87 ต่อปี

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ