มาตรฐานสากลของสถาบันการเงินเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคมในการปล่อยเงินกู้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 22, 2009 10:47 —กระทรวงการคลัง

มาตรฐานสากลของสถาบันการเงินเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคม ในการปล่อยเงินกู้

(A Benchmark for the Financial Industry to Manage Social and Environmental Issues in Project Financing)

1. ความเป็นมา

ปัจจุบันได้มีมาตรฐานสากลเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคม ในการปล่อยเงินกู้แก่โครงการต่างๆ ซึ่งกาหนดโดยสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศทั้งหลาย เช่น ธนาคารโลก JBIC ได้กาหนดให้ผู้กู้เงินลงทุนโครงการต่างๆ ต้องปฏิบัติตามเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อนการพิจารณาให้เงินกู้

2. สาระสาคัญ

นับตั้งแต่มิ.ย.46 เป็นต้นมา International Finance Corporation (IFC) ภายใต้ธนาคารโลกได้ใช้ Equator Principles เพื่อเป็นมาตรฐานการดาเนินการ (Performance Standards on Social and Environmental Sustainability) เพื่อให้เจ้าของโครงการลงทุนที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต้องแสดงหลักฐานยืนยันแก่สถาบันการเงิน ก่อนการปล่อยเงินกู้แก่โครงการต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงของโครงการ และแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและความมีบรรษัทภิบาล

ทั้งนี้ ณ มิ.ย.52 มีธนาคารพาณิชย์ทั่วโลกเป็นสมาชิก Equator Principles จานวน 66 แห่ง โดยความสมัครใจ Equator Principles ประกอบด้วย 8 มาตรฐาน ที่ให้ลูกค้าของธนาคารปฏิบัติตาม ได้แก่

1) โครงการต้องมีระบบบริหารจัดการ และการประเมินผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social and Environmental Assessment and Management Systems) ตลอดอายุของโครงการ โดยลูกค้าของธนาคารต้องประเมิน/ติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อท้องถิ่น และความเสี่ยงในการดาเนินการเพื่อลดความเสี่ยงของโครงการที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยในอนาคต ตลอดจนสร้างความมั่นใจแก่ชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม

2) โครงการต้องมีสภาพการจ้างงานและสภาวะการทางานที่ดี (Labor and Working Conditions) มีระบบความดูแลปลอดภัยและสุขภาพที่ดี ปราศจากสารพิษ เคมีภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพคนงาน

3) โครงการต้องมีระบบการป้องกันการบาบัดมลพิษ (Pollution Prevention and Abatement) โดยใช้มาตรฐานสากลทั้งด้านเทคโนโลยี่และวิธีปฏิบัติในการจัดการกับมลพิษ ขยะมลพิษ สารเคมีอันตราย เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดคนในพื้นที่ รวมทั้งแนวทางการจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ดาเนินโครงการ Clean Development Mechanism: CDM โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมหนักต่างๆ ซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจานวนมาก เช่นโรงไฟฟ้า อุตสาหกรรมผลิตเหล็ก ซีเมนต์ และชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์ เป็นต้น

4) โครงการต้องมีระบบมาตรฐานดูแลความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน (Community Health, Safety and Security) ไม่ว่าจะเป็นด้านเชื้อโรค อาหาร ระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น ภายใต้กฎหมายที่บังคับทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น มีการปรึกษาหารือกับกลุ่มต่างๆในท้องถิ่นรับฟังปัญหาผลกระทบการก่อสร้างโครงการ เพื่อสามารถแก้ไขปรับปรุงตลอดอายุของโครงการ ตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง จนดาเนินโครงการแล้ว

5) โครงการต้องมีระบบจัดการกับการครอบครองที่ดินที่ตั้งโครงการ (Land Acquisition and Involuntary Resettlement) เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยเฉพาะความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น มีการชดเชยการย้ายออกจากพื้นที่โครงการในราคาที่เป็นธรรม ตามราคาตลาด เป็นต้น

6) โครงการต้องมีระบบอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน (Biodiversity Conservation and Sustainable Natural Resource Management) ซึ่งรวมถึงรักษาระบบนิเวศน์ในชุมชน เป็นต้น

7) เจ้าของโครงการต้องมีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนดั้งเดิมของท้องถิ่น (Indigenous People) ให้คนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของโครงการในเรื่องที่มีผลกระทบสังคมและสิ่งแวดต่อคนในท้องถิ่น

8) โครงการต้องไม่มีผลกระทบในทางลบในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒธรรม (Cultural Heritage)

3. สรุปและข้อเสนอแนะ

ปัจจุบันนานาชาติกาลังประชุมหามาตรการจัดการกับการลดภาวะโลกร้อนในรูปแบบต่างๆ ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศกาลังประชุมหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาการขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างชุมชนและอุตสาหกรรมที่มาบตาพุด การกาหนดกฎเกณฑ์ที่ให้ลูกค้าของธนาคารดาเนินการก่อนการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ลงทุน ที่มีลักษณะเดียวกันกับ Equator Principles ของ IFC ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่น่าจะเป็นแนวทางการดาเนินการที่ดี เพราะสามารถเป็นเงื่อนไขให้เจ้าของโครงการต้องปฏิบัติตามเพื่อป้องกันความเสี่ยงของโครงการในอนาคตต่อคนในพื้นที่ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและความมีบรรษัทภิบาลของโครงการ

ทั้งนี้ Equator Principles มีข้อเสียคือ ใช้กับโครงการที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขึ้นไปเท่านั้น และการประเมินผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษาที่มีความชานาญเฉพาะดาเนินการ

อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลัง โดยสานักงานเศรษฐกิจการคลัง ควรจะร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย สานักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณากาหนดกฎเกณฑ์เบื้องต้นเพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้ธนาคารพาณิชย์นาไปให้เจ้าของโครงการรับไปปฏิบัติ ก่อนการอนุมัติเงินกู้ อาจจะไม่ต้องเข้มงวดเท่า Equator Principles เพราะปัจจุบันถึงแม้มีระเบียบปฏิบัติให้ปรึกษาหารือกับคนในท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมก่อนการก่อสร้างโครงการ แต่เนื่องจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นยังเข้มแข็ง มีกรณีคอรัปชั่นเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ทาให้ไม่สามารถดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิดปัญหากรณี เช่น มาบตาพุด เป็นต้น การใช้มาตรการด้านการเงินดังกล่าวเป็นการบังคับให้เจ้าของโครงการต้องปฏิบัติข้อกาหนดด้านสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง มิฉะนั้นจะไม่ได้รับเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์

สานักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจการคลัง ประจากรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


แท็ก ธนาคารโลก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ