Global Economic Monitor (5-9 เมษายน) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 5, 2010 11:27 —กระทรวงการคลัง

Highlights
  • เศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณฟนตัวดีขึ้นในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะตัวเลขการใช้จ่ายภาคเอกชนของสหรัฐฯ และดัชนีความเชื่อมั่นภาคเอกชนของสหภาพยุโรป ส่งผลให้ นักลงทุนมี Risk Appetite ในการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเช่น การลงทุนในหลักทรัพย์ของ Emerging Market และ Commodities
  • เงินทุนยังไหลเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าเงินเอเชียแข็ง และดัชนีหุ้นปรับสูงขึ้นตามลำดับ
Next week indicators
             Date           Economic Indicator                Forecast*      Previous
          5-Apr-10     US Mar ISM Non-Mfg PMI                                  53.0
          5-Apr-10     SG Mar PMI)                                             51.9
          6-Apr-10     CH Mar CPI (%yoy)                                        0.9
          7-Apr-10     CH Feb Retail Sales (%yoy)                               4.4
          7-Apr-10     EZ Mar Service PMI                                      51.8
          7-Apr-10     EZ Q4 Revised GDP (%yoy)                                -2.1
          8-Apr-10     AU Mar Unemployment                                     10.6
          9-Apr-10     EZ Mar Retail sales (%yoy)                              -1.3
          9-Apr-10     EZ Apr ECB rate (%)                                      1.0
          Note: *forecast by Reuters

Economic Monitor:

United States: improving economic trend
  • การใช้จ่ายภาคเอกชนที่แท้จริง (Real PCE) ในเดือน ก.พ. 53 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้าบ่งชี้การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนสำหรับความเชิ่อมั่นผู้บริโภคในเดือน มี.ค. 53 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.5 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 46.0 จากความเชื่อมั่นด้านสถานการณ์การจ้างงานที่ดีขึ้นทำให้คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ของ GDP จะขยายตัวต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี 53 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_saar
Japan: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุนในเดือน ก.พ. 53 หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนที่ร้อยละ -0.9 จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากจำนวนวันทำงานที่น้อยในช่วงวันหยุดตรุษจีนประกอบกับการเร่งการผลิตในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ ยอดค้าปลีกในเดือนก.พ.53 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 12 ปี ที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี ทั้งนี้จากแนวโน้มการฟนตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางสนับสนุนการส่งออกของญี่ปุน ทำให้คาดว่าการลดลงของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวจะเป็นเพียงผลในระยะสั้น นอกจากนี้ การฟนตัวของภาคการจ้างงานที่ล่าสุดอัตราการว่างงานในเดือน ก.พ. 53 อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 10 เดือนที่ร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม ยังเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสนับสนุนการฟนตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศจากรายได้ภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น
Eurozone: mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ (Economic Sentiment Index) เดือน มี.ค. 53 สูงที่สุดในรอบเกือบ 2 ปีที่ระดับ 97.7 สะท้อนความเชื่อมั่นต่อการฟนตัวของเศรษฐกิจยุโรป นอกจากนี้ แนวทางการแก้ปญหาหนี้สาธารณะในกรีซ เริ่มเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ภายหลังจากที่กรีซขายพันธบัตรอายุ 7 ปี มูลค่ากว่า 5 พันล้านยูโรหรือประมาณ 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมือวันจันทร์ที่ผ่านมา (29 มี.ค. 53)
China: improving economic trend
  • ดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการ (NBS PMI) ของจีนในเดือน มี.ค. 53 ปรับตัว

เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.1 จาก 52.0 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงแนวโน้มการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศจีน และการนำเข้าสินค้าที่คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ มีการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์หลายฝายว่า ดุลการค้าจีนในเดือนเดียวกันอาจจะขาดดุลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 47

Vietnam: improving economic trend
  • GDP ประเทศเวียดนามในไตรมาสแรกปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี โดยภาคการบริการขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปี ทางด้านภาคเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่อปี และภาคการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อปี โดยการขยายตัวดังกล่าวสอดคล้องกับดัชนีชี้นำต่างๆของเวียดนาม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 12.2 ต่อปี ส่งผลให้ทั้งไตรมาสขยายตัวร้อยละ 9.0 ต่อปี ทางด้านยอดค้าปลีก (Retail sales)ในเดือนเดียวกันขยายตัวร้อยละ 33.5 ต่อปี ส่งผลให้ทั้งไตรมาสขยายตัวถึงร้อยละ 34.9 ต่อปี ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยว (Tourist Arrivals) เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2 ต่อปี ส่งผลให้ทั้งไตรมาสขยายตัวร้อยละ 7.9 ต่อปี ในส่วนของการส่งออก (Export) ในเดือน มี.ค. 53 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -3.0 ต่อปี ในขณะที่การนำเข้า (Import) สินค้าขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 28.9 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้า (Trade Balance) ขาดดุลเพิ่มขึ้นที่ -1.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -1.30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต สศค.คาดว่าจะยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยได้อนิสงค์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศจีนซึ่งมีความสัมพันธ์ในเชิงเศรษฐกิจกับประเทศเวียดนามในระดับสูง
Australia: improving economic trend
  • การส่งออกสินค้า (Export) เดือนก.พ. 53 หดตัวในอัตราที่เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -21.5 ต่อปี จากการหดตัวในอัตราที่เร่งขึ้นของเชื้อเพลิงและถ่านหินเป็นสำคัญ ในขณะที่การนำเข้า (Import) เดือนก.พ. 53 หดตัวในอัตราที่น้อยที่สุดในรอบ 10 เดือนที่ร้อยละ -7.5 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งและรถยนต์เป็นสำคัญ ทั้งนี้ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกรถยนต์ที่สำคัญของประเทศไทย โดยคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกรถยนต์ร้อยละประมาณ 30 ของการส่งออกรถยนต์
Hongkong: improving economic trend
  • ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนก.พ. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันที่ร้อยละ 35.8 ต่อปี จากการขยายตัวของสินค้าคงทนเป็นสำคัญ บ่งชี้ว่าภาคการบริโภคเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของ GDP จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฮ่องกงต่อไป
South Korea: worsening economic trend
  • การส่งออก (Export) เดือนมี.ค. 53 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 35.1 ต่อปี ในขณะที่การนำเข้า (Import) ขยายตัวสูงในรอบ 10 ปีที่ร้อยละ 48.4 ต่อป อย่างไรก็ตามดุลการค้า (Trade Balance)เกินดุลเพิ่มขึ้น 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เงินเฟ้อทั่วไป (Consumer Confidence Index)ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่2 ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี
Foreign Exchange Development
  • ในสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.22 เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาคและค่าเงินยูโร หลังจากที่ผลสรุปการประชุม EU Summit ได้ข้อตกลงว่าจะให้ความช่วยเหลือประเทศกรีซและประเทศอื่นๆในยุโรป ประกอบกับตัวเลขยอดการใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นและนำเงินลงทุนออกจากสหรัฐซึ่งถือว่าเป็นสินทรัพย์สกุลที่ปลอดภัย (Safe Haven) และเข้ามาลงทุนในยุโรปและภูมิภาคมากขึ้นทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงเล็กน้อย (บาทอ่อนค่าขึ้น) เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในระดับที่น้อยกว่าค่าเงินภูมิภาคสกุล
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 26 มี.ค. 53 เท่ากับ 142.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ลดลง -0.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ฐานะ Forward ปรับตัวลดลงที่ -0.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Stock Market Development
  • ตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงปรับตัวดีอย่างต่อเนื่องโดยดัชนี SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 30 จุดจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยต่างชาติยังคงเข้าซื้อสุทธิกว่า 272.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 5 วันที่ผ่านมา สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกที่ล้วนปรับตัวดีขึ้นจากความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจยุโรปหลังจากการประชุมมีแนวโน้มที่ดี โดยมีแรงซื้อในหุ้นกลุ่มพลังงาน สาธารณูปโภคและสินค้าโภคภัณฑ์หลังจากที่ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์อาทิทองและโลหะปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของการฟนตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป
Bond Market Development
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยฅโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวมากกว่า 4 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากการที่ตลาดคาดการณ์ว่าอาจมีการลดปริมาณการออกพันธบัตรระยะ 5 ปีลงและอาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง. ครั้งถัดไป

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ