Global Economic Monitor (26-30 กรกฎาคม) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 30, 2010 10:47 —กระทรวงการคลัง

Highlights
  • ตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปและผลประกอบการของบริษัทระดับใหญ่ในสหรัฐที่ดีกว่าที่คาดไว้ยังส่งผลให้มีภาวะ risk appetite ในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ และส่งผลให้ค่าเงินภูมิภาคแข็งค่าขึ้นเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
  • ภาคอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยเฉพาะระยะยาวยังคงปรับตัวลดลงจากความต้องการพันธบัตรระยะ 10 ปีที่สูง
             Date           Economic Indicator                  Forecast*     Previous
          26-July-10     JP Jun Export (%yoy)                                    32.1
          26-July-10     US Jun New Home Sales (unit saar)                        300
          27-July-10     PH May Imports (%yoy)
          27-July-10     HK June Imports (%yoy)
          28-July-10     JP Jun Retail Sales (%yoy)                               2.9
          28-July-10     US Jun Durable Goods Order
          29-July-10     JP Jun CPI (%)                                          -0.9
          29-July-10     KR Jun Industrial Output (%yoy)
          30-July-10     US adv GDP Q2 (%yoy)                                     2.4
          30-July-10     EZ Jun Unemployment (%)                                 10.0
          Note: *forecast by Reuters

Economic Monitor:

United States: mixed signal
  • ตัวเลขการสร้างบ้านใหม่ (Housing Starts) ในเดือน มิ.ย. 53 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองที่ร้อยละ -5.0 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) มาอยู่ที่ระดับ 549,000 หลังต่อปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.52 บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการขออนุญาตสร้างบ้าน (Building Permits) ในเดือน มิ.ย. 53 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่รอ้ ยละ 2.1 จากเดือนกอ่ นหน้า (%mom) มาอยูที่ระดับ 589,000 หลังต่อปี ซึ่งทำให้คาดว่าตัวเลขการสร้างบ้านจะปรับตัวดีขึ้นในเดือนถัดไป ประธานาธิบดีบารัก โอบามาได้ลงนามกฎหมายการปฏิรูปภาคการเงินและพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค โดยวัตถุประสงค์ในการออกกฎหมายมีเพื่อป้องกันการกระทำที่เสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดวิกฤตทางการเงินอีกครั้งดังเช่นในช่วงที่ผ่านมาและเพื่อป้องกันการใช้เงินภาษีของประชาชนชาวอเมริกันในการช่วยเหลือบริษัทในภาคการเงินที่ล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
Eurozone: improving economic trend
  • การส่งออกเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 23.5 ต่อปี (%yoy) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 29.8 ต่อปี (%yoy)และเมื่อขจัดผลทางฤดูการแล้วพบว่า การส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 4.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 3.4 พันล้านยูโร โดยพบว่า การส่งออกของประเทศฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า บ่งชี้สัญญาณการฟื้นตัวในภาคการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของยุโรปเบื้องต้น (Flash Purchasing Manager Index: PMI) ในเดือน ก.ค 53 มีทิศทางที่ดี โดยดัชนีดังกล่าวในภาคการผลิต (Mfg PMI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 56.5 จาก 55.6 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งแสดงถึงการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคอุตสาหกรรม ด้านภาคบริการ(Service PMI) พบว่า ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.0 จาก 55.5 ในเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดัชนีคำสั่งซื้อโดยรวม (Composite PMI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.7 จาก 56.0 ในเดือนก่อนหน้าทั้งนี้ การปรับตัวดีขึ้นของดัชนีทั้งสอง เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากของดัชนีดังกล่าวในประเทศเยอรมัน ซึ่งปรับตัวสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 50
Taiwan: improving economic trend
  • คำสั่งซื้อสินค้าส่งออกเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 22.48 ต่อปี (%yoy) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 34.03 ต่อปี จากผลของฐานต่ำที่เริ่มจะหมดไป ผนวกกับคำสั่งซื้อไปยังคู่ค้าสำคัญเช่นจีน สหรัฐอเมริกาที่เริ่มชะลอลง โดยคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกไปยังจีน และสหรัฐอเมริกาขยายตัวร้อยละ 15.54 ต่อปี และร้อยละ 17.44 ต่อปีตามลำดับ ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 34.34 ต่อปีและร้อยละ 20.32 ต่อปี ตามลำดับ บ่งชี้เศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณแผ่วลง
Malaysia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปี (%yoy)ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี จากการขยายตัวเร่งขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดพลังงาน (ไฟฟ้า น้ำ และเชื้อเพลิง) ทั้งนี้คาดว่า อัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยในเดือน มิ.ย. 53 เป็นไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปี และยังคงไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากในช่วงครึ่งหลังของปี 53 แรงกดดันจากเงินเฟ้อน่าเริ่มส่งสัญญาณแผ่วลงตามการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก
Hong Kong: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี(%yoy) เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปี(%yoy) โดยเป็นผลมาจากค่าเช่าบ้าน และราคาแพ็คเกจทัวร์ที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ในขณะที่อัตราการว่างงานเดือน มิ.ย. 53 อยู่ระดับคงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.6 ของกำลังแรงงานรวม สอดคล้องกับการจ้างงานปรับตัวเพิ่มขึ้น 8,800 ตำแหน่งในเดือนเดียวกันโดยเป็นผลมาจากการจ้างงานในภาคการก่อสร้างเป็นสำคัญ
Singapore: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี ขยายตตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี จากราคาสาธารณูปโภค และราคาเสื้อผ้าที่ปรับตัวลดลง บ่งชี้แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลง ต่มเศรษฐกิจที่อาจส่งสัญญาณแผ่วลงในช่วงครึ่งหลังของปี 53
Foreign Exchange Development
  • ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาททรงตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐแต่ค่าเงินภูมิภาค อาทิ วอน ริงกิต เปโซ แข็งค่าขึ้นจากภาวะ Risk Appetite ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ส่งผลให้มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่องและทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
  • ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ทรงตัว เนื่องจากค่าเงินภูมิภาคส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทแต่ค่าเงินเยนและยูโรอ่อนค่าลง
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 9 ก.ค. 53 เท่ากับ 149.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า0.70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินยูโรซึ่งแข็งขึ้นกว่าร้อยละ 2.0 และเยนที่แข็งขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
Stock Market Development
  • ตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผลจากการประกาศผลประกอบการในไตรมาส 2 ปี 53 ของหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินและ ICT ที่ออกมาดีกว่าคาดประกอบกับการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ร้อยละ 2 ในปลายปีดัชนีตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ Dow Jones ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการการคาดการณ์และผลประกอบการที่ดีของหุ้นกลุ่มต่าง ๆ ในขณะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ Nikkei ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา จากการแข็งค่าของเงินเยน ส่งผลให้นักลงทุนกังวลการชะลอตัวของภาคการส่งออกตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค ส่วนใหญ่ปรับตัวตามดัชนีโลก นำโดยตลาดหลักทรัพย์จีน (SSEC) โดยมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับดัชนี Dow Jones ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
Bond Market Development
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่พันธนบัตรระยะยาวปรับตัวลดลง โดยผลตอบแทนระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากที่ ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและส่งผลให้ความต้องการพันธบัตรระยะสั้นมีแนวโน้มลดลง ในขณะเดียวกันผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลงจากความต้องการในการเข้าซื้อพันธบัตรระยะ 10 ปี LB196A โดยเฉพาะจากนักลงทุนต่างชาติส่งผลให้ผลตอบแทนปรับตัวลดลงอย่างไรก็ตาม

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,

Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ