การเข้าพบหารือกับกระทรวงการคลังสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 24, 2010 11:26 —กระทรวงการคลัง

ด้วยเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2553 นางพิลาสลักษณ์ ยุคเกษมวงศ์ อัครราชทูตฝ่ายเศรษฐกิจและการคลัง และนางสาวนิภัสสร คาภา เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้พบกับนาย Michael Kaplan ผู้อานวยการกองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ และนาง Sara Senich เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เพื่อติดตามความคืบหน้าในเรื่องต่างๆ ของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ สรุปสาระสาคัญได้ ดังนี้

1. การเยือนสหรัฐฯ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

อัครราชทูตฯ ได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับกาหนดการเยือนสหรัฐฯ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อเข้าร่วมประชุมประจาปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในระหว่างวันที่ 7-10 ตุลาคม 2553

ทั้งนี้ สำนักงานที่ปรึกษาฯได้รับแจ้งว่า ได้มีการยกเลิกการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนซึ่งมีกาหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 9 ตุลาคม 2553 โดยฝ่ายกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการจัดการประชุม ASEAN-US Finance Ministers Meeting อย่างไรก็ดี หากสหรัฐฯ พิจารณาให้มีการจัดประชุมดังกล่าวขึ้น สำนักงานที่ปรึกษาฯ จะแจ้งรายละเอียดให้ทราบในโอกาสแรกต่อไป

2. การเยือนไทยของเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ

นาย Michael Kaplan และนาย Charles Collyns, Assistant Secretary for International Finance จะมีกำหนดการไปเยือนประเทศไทยในระหว่างวันที่ 24-25 กันยายน 2553 โดยจะเข้าพบกับ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รวมถึงผู้แทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย กลุ่มนักการธนาคารสหรัฐฯ นักธุรกิจสหรัฐฯ กลุ่มผู้ส่งออกไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยวัตถุประสงค์หลักของการเยือนไทยดังกล่าว คือ เพื่อขอรับทราบสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจเรียน ฯพณฯ เอกอัครราชทูตเพื่อโปรดทราบรายงานภาวะตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ ตามสำเนานี้ล่าสุดของไทย รวมทั้งเป็นโอกาสในการหารือประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและสหรัฐฯ ในภาพรวม

3. การเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเปคของกระทรวงคลังสหรัฐฯ

นาย Kaplan แสดงความเห็นเกี่ยวกับการประชุมเอเปคในส่วนของกระทรวงการคลังว่าการจัดประชุมที่ผ่านมาไม่เป็นที่พอใจนัก เนื่องจากมีการหยิบยกหลายประเด็นในการพิจารณา ในขณะที่มีเพียงไม่กี่ประเด็นที่น่าจะได้รับการพิจารณาและผลักดันในลำดับแรก ทั้งนี้ นาย Kaplan จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในการประชุมเอเปคที่สหรัฐฯ จะเป็นเจ้าภาพในปี 2554 นั้น สหรัฐฯ จะสามารถผลักดันความร่วมมือให้มีผลเป็นรูปธรรมได้ โดยจะมีการหยิบยกประเด็นเรื่องหัวข้อการประชุมนี้หารือกับเขตเศรษฐกิจเอเปคในระหว่างการประชุมระดับ Deputy ของเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการคลังในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ที่เมืองซานฟรานซิสโก

ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่อาจถูกหยิบยกมาเป็นหัวข้อของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการคลังดังกล่าว ได้แก่ การปรับโครงสร้างทางการเงิน (structural reform) การควบคุมการไหลเวียนของเงินทุน (capital flow) และประเด็นเรื่องการปรับสมดุลในการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

4. การเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กับประเทศในภูมิภาคเอเชีย

นาย Kaplan กล่าววว่า สหรัฐฯ ให้ความสาคัญและต้องการที่จะมีบทบาทในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยพร้อมจะรับฟังความเห็นต่อประเด็นต่างๆ ที่มีความอ่อนไหว (sensitive) และต้องการที่จะหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการปรับนโยบายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีความสมดุล (rebalancing growth) โดยไม่พึ่งพาการส่งออกมากเกินไป ที่ผ่านมากระทรวงการคลังสหรัฐฯ ก็ได้ส่งผู้แทนไปเยือนหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

อัครราชทูตฯ กล่าวเห็นด้วยกับเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เคยเสนอ Mr. Robert Dohner, Deputy Assistant Secretary ว่าน่าจะมีการหารือในประเด็นความร่วมมือระหว่างกันโดยตรงมากขึ้นระหว่างกระทรวงการคลังสหรัฐฯ และกระทรวงการคลังไทย โดยเฉพาะความช่วยเหลือทางวิชาการ (technical assistance) เช่น ฝ่ายสหรัฐฯ อาจจะส่งผู้เชี่ยวชาญเรื่องการปฏิรูปทางการเงินของสหรัฐฯ เยือนไทยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย เป็นต้น และหากฝ่ายสหรัฐฯ สนใจ สำนักงานที่ปรึกษาฯ พร้อมจะช่วยสนับสนุนและประสานในเรื่องนี้ ต่อไป

5. บทบาทไทยในภูมิภาค

นาย Kaplan กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีบทบาทและน่าจะมีบทบาทได้มากขึ้นในภูมิภาค เนื่องจากเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐฯ ตระหนักดีถึงเหตุในช่วงที่ผ่านมาที่อาจจะทำให้บทบาทของไทยอาจจะลดน้อยลงเนื่องจากปัจจัยการเมืองภายใน อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีการเจริญเติบโตเป็นในระดับที่น่าพอใจ และสถานการณ์การเมืองของไทยจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ