ร่างแผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาคนและสังคม (พ.ศ. 2541-2551) จัดทำโดยคณะอนุกรรมการวางแผนพิจารณาสื่อสารมวลชนและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคนและสังคมภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยเป้าหมายของแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ ดังกล่าวจะใช้เป็นกรอบในการดำเนินการให้สื่อสารมวลชนฯ เป็นแหล่งความรู้และเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาคนและสังคมได้อย่างแท้จริงต่อไป
ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องร่างแผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาคนและสังคม เพื่อร่วมระดมความคิดเห็นจากบุคคลหลากหลายอาชีพทั้งจากภาคราชการ ภาคเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ทั้งนี้เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงและแก้ไขร่างแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ ดังกล่าวให้สอดคล้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ ให้กับบุคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำหรับยุทธศาสตร์ในร่างแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ ดังกล่าว ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์สำคัญ 4 ด้าน คือ
1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสื่อ ซึ่งจะเน้นที่การกระจายตัวของสื่อประเภทต่าง ๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกันทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และสาระที่เสนอผ่านสื่อ
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ผลิตสื่อ จะให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและอิสระในการนำเสนอข่าวสารต่อสาธารณะภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยมีองค์กรวิชาชีพที่สามารถตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานการนำเสนอและจรรยาบรรณของผู้ผลิตสื่อ
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้รับและผู้ใช้สื่อ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ในลักษณะอื่น รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเลือกรับและกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลจากการละเมิดของสื่อ
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการ มุ่งส่งเสริมการบริหารและจัดการสื่อประเภทต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนให้เอื้อต่อการพัฒนาคนและสังคม
เพื่อให้การจัดทำแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ นี้สอดคล้องกับกระแสสังคมและมีความสมบูรณ์ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในแผนนี้ สศช. จึงได้จัดการวิพากษ์แผนพัฒนาฯ นี้ขึ้น โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการวิพากษ์ ได้แก่ คุณหญิงอัมพร มีสุข ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร นายมนู อรดีดลเชษฐ์ และคุณหญิงสุพัตรา มาสดิตถ์ เป็นประธานการวิพากษ์ ซึ่งคณะผู้วิพากษ์ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์แก่แผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ อย่างมากมาย ดังนี้
คุณหญิงอัมพร มีสุข ผู้บุกเบิกเรื่องการศึกษาและสื่อเพื่อการศึกษาในยุคแรก ๆ และก็ยังคงมีบทบาทในปัจจุบัน กล่าวว่า "ดิฉันได้ทำงานด้านการใช้สื่อเพื่อการศึกษามานาน ซึ่งในการปฏิบัติงานก็พบทั้งปัญหาและอุปสรรคมากมายจึงต้องการให้มีแผนฯ ลักษณะเช่นนี้มานานแล้ว และนอกจากนี้ยังได้บรรจุเข้าไว้ในส่วนหนึ่งของแผนฯ 8 จึงรู้สึกยินดีอย่างยิ่ง แต่ขอตั้งข้อสังเกตบางประการดังนี้ โดยในประเด็นแรก ต้องขอชมที่มีการแสวงหาข้อมูลมาจัดทำเป็นสภาพปัญหา อย่างไรก็ตาม ถ้าสามารถทำได้ควรปรับข้อมูลบางประการ และน่าจะมีการสำรวจวิจัยในลักษณะที่ว่า การใช้สื่อ เพื่อพัฒนาคนและสังคมนี้ได้ทำมาแล้วสำเร็จหรือล้มเหลวเพราะเหตุใด ที่ผ่านมาดิฉันคิดว่าค่อนข้างล้มเหลวมากกว่าสำเร็จ
ส่วนในเรื่องยุทธศาสตร์ที่ได้เสนอมาค่อนข้างดีมาก แต่จะปฏิบัติได้หรือไม่ต้องดูกันต่อไป และในการเสนอแผนฯ นี้ทำได้ดีมาก เป็นระบบ และค่อนข้างกล้าหาญในการนำเสนอ การจัดการโครงสร้างพื้นฐานของสื่อในเรื่องคลื่นความถี่ ซึ่งปัจจุบันเรามีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการดำเนินการอยู่แล้ว ดังนั้นจึงควรทำให้ได้ และยังได้นำเสนอให้เลิกการผูกขาด ในเรื่องคลื่นความถี่นี้มีคนถามมาว่าจะทำอย่างไร ซึ่งในแผนปฏิบัติคงจะต้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาระดมความคิด หาวิธีการและให้ทุกฝ่ายละอัตตาให้เสียสละ ถ้าเราช่วยกันทุกฝ่ายจะทำได้
ในกรณีสื่อเพื่อการศึกษา คิดว่าตัวผู้ผลิตสื่อเองก็จะประสบปัญหามากมายจากการผลิตสื่อ และสื่อเพื่อการศึกษาดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเป็นการสอน แต่เป็นการที่จะสื่อให้ผู้รับฟังฟังแล้วนำกลับไปคิด ซึ่งในด้านนี้จะต้องปรับปรุงแก้ไขอีกมาก อย่างไรก็ตาม ตอนนี้นับว่าเป็นโชคดีของประชาชนชาวไทยที่ได้มีการปฎิรูปด้านการศึกษาอย่างจริงจัง ซึ่งถ้าเรานำสื่อมาใช้ในด้านการศึกษาโดยเน้นให้ผู้สอนและผู้เรียนมาเรียนรู้ด้วยกันจะช่วยได้มาก
เรื่องสื่อสิ่งพิมพ์ยังมีข้อควรปรับปรุงบางประการ เนื่องจากประเทศต้องการการพัฒนาด้านสื่อสิ่งพิมพ์อีกมากและจะมีประโยชน์ต่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเราให้ความสำคัญกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากจนไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องสื่อสิ่งพิมพ์ บางทีเราอาจเสียประโยชน์ไปไม่น้อยทีเดียว และในร่างแผนฯ นี้ไม่ได้กล่าวถึงตำราเรียน และแบบเรียน ซึ่งคิดว่าเป็นส่วนสำคัญสำหรับการศึกษาด้วยเช่นกัน"
ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่มีชื่อเสียงด้านทำสารคดี ปรับปรุงข่าวทางทีวี และเป็นผู้ริเริ่ม จ.ส.100 ได้รับรางวัลทางด้านสื่อสารมวลชนอย่างมาก และยังเป็นอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ สสร. อีกด้วย ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นไว้ว่า
"ผมขอตั้งข้อสังเกตประการหนึ่งว่าในรัฐธรรมูญมาตรา 40 บัญญัติไว้ว่า ให้มีองค์กรอิสระ คณะกรรมการที่จะมาจัดสรรคลื่นความถี่ให้มีกฎหมายลูกออกมา โดยมีคุณหญิงสุพัตรา มาสดิตถ์ เป็นประธาน ขณะนี้เรื่องอยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งในร่างกฎหมายฉบับนั้นบอกไว้ว่า จะมีคณะมนตรีกิจการวิทยุโทรทัศน์ และคณะมนตรีกิจการโทรคมนาคมรวมเป็น 2 คณะมาดูแลและจัดทำแผนแม่บท
ถ้าแผนฯ ที่กำลังวิพากษ์กันอยู่ ไม่ข้ดแย้งกับแผนฯ ในอนาคตก็จะไม่มีปัญหา สศช. ทำล่วงหน้าไปก่อนก็จะเป็นการดักทางคณะมนตรีต่อไป ผมเชื่อว่าแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ ในวันนี้ ถ้าจัดทำจัดแก้ให้ดีแล้วจะเป็นยุทธศาสตร์ภาพรวมของชาติ ดังนั้นผมคิดว่าการจัดทำแผนนี้เป็นการดี ทุกครั้งที่มีการจัดทำแผน สศช. จะมีการทำประชาพิจารณ์ทุกครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี มีวิสัยทัศน์ ของ สศช. จะได้เป็นการปูพื้นฐานไว้ก่อน
ประเด็นต่อไปนี้คือ แผนที่ร่างนี้ดีแล้วที่ไม่ลงในรายละเอียดลึกจนเกินไป วิสัยทัศน์โดยรวมแล้วดี ส่วนวัตถุประสงค์และเป้าหมาย จะต่างกับผมอยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าสำคัญ คือการจัดแบ่งสื่อกำหนดสัดส่วนตามผู้ประกอบการ ผมคิดว่าผมอยากแบ่งสัดส่วนของสื่อตามเนื้อหาไม่ห่วงว่าใครจะทำ ถ้าราชการทำได้กำไรก็ทำไป จึงไม่ควรระบุว่าหน่วยงานใดจะทำสื่อ ซึ่งถ้าเอกชนทำวิทยุเพื่อการศึกษาเก่งก็ให้เขาทำไป เป็นการทำงานลงทุนเพิ่มรายได้ ซึ่งตรงตามมาตรา 40 คือประโยชน์สาธารณะ
ในส่วนยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยุชุมชน รัฐธรรมนูญมีการปฏิบัติการใช้สื่อเพื่อการกระจายเสียงแล้วโดยควรให้มีวิทยุระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ควรเป็นจังหวัดละสถานี เป็นวิทยุประจำจังหวัด ทำการกระจายให้ทั่วถึงทั้งจังหวัด จะประหยัดกว่า และมีเครือข่ายท้องถิ่นที่ทำรายการท้องถิ่นได้จะดีมาก"
คุณมนู อรดีดลเชษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทดาต้าแมท จำกัด ผู้มีความรู้พิเศษในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และยังเป็นประธานและเลขาธิการมูลนิธิเพื่อการศึกษาคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม ได้กล่าวว่า
"เทคโนโลยีสารสนเทศในแผนนี้คือ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตและมัลติมีเดีย ในแผนนี้บทบาทของอินเตอร์เน็ต ผมว่ามีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนมาก ในแผนนี้บรรจุอยู่ในเทคโนโลยีสารสนเทศจึงได้รับความสำคัญน้อยเกินไป อินเตอร์เน็ตมองได้ 2 ด้าน 1) ด้านเทคโนโลยีของสื่อสารโทรคมนาคม และ 2) ในแผนนี้สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางที่จะนำข่าวสารข้อมูลสู่ประชาชนได้อย่างกว้างขวาง นับเป็นสื่อที่มีความสำคัญ เป็นทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งอินเตอร์เน็ตจะเป็นสื่อที่รวมเอาสื่อหลาย ๆ ชนิดเข้าไว้ด้วยกันทั้งภาพและเสียง และการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้
สำหรับยุทธสาสตร์ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของสื่อยังไม่เพียงพอต่อการกระจายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือทำอย่างไรจะกระจายเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ หรือ Network Access ให้ผู้เรียนมีบทบาทสามารถเข้าไปใช้ได้ในอัตราค่าบริการที่ถูก นอกจากนี้ ภาษาในอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ยังเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้น จะทำอย่างไรให้คนไทยสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้สะดวก
ในการศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองจะเป็นการทำให้เกิดการกระจายการศึกษาไปสู่ชนบทได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ แต่ประเด็นปัญหาที่พบคือทักษะการเรียนรู้ของคนไทยมีน้อยมาก ควรมีการย้ำให้ระบบการศึกษาของไทยเป็นไปในลักษณะการศึกษาด้วยตัวเองให้ได้"
คุณพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ได้รับรางวัลนักหนังสือพิมพ์ดีเด่นและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิบรรยายในหลายสถาบันรวมทั้งยังเป็นรองประธานคนที่ 1 สมาพันธ์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งกำลังมีบทบาทอย่างสูงในการดูแลผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับสื่อหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ ได้กล่าวแสดงความคิดเห็น โดยกล่าวว่า
"ผมว่าแผนนี้ควรมีมานานแล้ว ถ้าจะวิพากษ์กัน ผมว่าช้าเกินไป ถ้าจะกล้าหาญก็ไม่ใช่กล้าหาญอะไร เพราะว่าแผนนี้ไม่ได้พิจารณาลงไป ไม่ได้ตอบคำถามของประชาชนที่เขามีความรู้สึกว่าประเทศไทยถูกครอบงำโดยสื่อสารมวลชน ชีวิตของเขาอยู่ภายใต้อิทธิพลบทบาทสื่อสารมวลชนและการพัฒนาประเทศก็มาจากเนื้อหาข่าวสารจากสื่อสารมวลชนทั้งสิ้นที่ได้ผลักดันกระตุ้นแต่ไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันในส่วนของการพัฒนาคนและสังคมเลยแต่อย่างใด สื่อมวลชนส่วนใหญ่ที่มีบทบาทมากคือสื่อประเภทวิทยุโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อในลักษณะชี้นำ ผู้รับสื่อคิดตามไม่ทัน ต้องเชื่อ
รัฐไม่ได้สร้างสื่อเพื่อการพัฒนา แต่ใช้สื่อในการมอมเมา ยั่วยุ ละครน้ำเน่า สื่อสะท้อนเกิดความเป็นจริงของสังคม แสดงความเลวร้ายมากกว่าความเป็นจริง ผมไม่เคยเห็นว่าแม่ค้าในตลาดไหนในประเทศไทยหยาบคาย ด่าทอกันเหมือนในละครโทรทัศน์ ทุกอย่างเป็นสภาพที่ผิดความจริงทั้งสิ้น
และก็จริงอย่างที่คุณหญิงอัมพรว่า การปฏิรูปสื่อสารมวลชนต้องควบคู่ไปกับการปฏิรูปการศึกษา เพราะการสื่อสารคือการศึกษาที่สำคัญ จะใช้สื่อในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียน ในระบบหรือนอกระบบ ในขณะนี้มันเป็นทางลบทั้งนั้น ถ้ามีความกล้าหาญจริงต้องบอกว่าเป็นร่างแผนปฏิรูปสื่อสารมวลชนเพื่อการพัฒนาคนและสังคม ไม่ใช่แผนพัฒนาสื่อสารมวลชนเพราะว่าสื่อสารมวลชนของเราไม่ต้องการพัฒนาอีกแล้ว ทางด้านฮาร์ดแวร์เราไม่ต้องการ เราต้องการด้านซอฟแวร์ ทางด้านเนื้อหา คนผลิตสื่อควรที่จะมีจริยธรรม มโนธรรม มีจิตสำนึกของการเป็นนักสื่อสารมวลชน เข้าใจระบบพัฒนาคนและสังคม
แผน ฯ 8 ออกมา 2 ปีแล้ว มีครบถ้วนว่าจะปฏิรูปสื่อสารมวลชนอย่างไร แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยกับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐทุกแห่ง บางรายการยังคงเหมือนเดิม ซึ่งแผนนี้ควรชี้แนะว่าสถานีวิทยุในสังกัดภาคราชการจะต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้จะลงลึกขนาดไหนก็ต้องให้คำตอบได้ว่าจะทำอย่างไรกับโทรทัศน์ที่ให้สัมปทานไป
ผมถึงย้ำประเด็นของสื่อสารมวลชนประเภทอิเล็คทรอนิกส์ ด้วยเหตุเพราะว่าผมมีความเชื่ออยู่ว่าคนจะพัฒนาไม่ได้ถ้าไม่เรียนรู้ ไม่ใฝ่ศึกษา ไม่รักการอ่าน ความรู้จะมาจากความคิด ความคิดจะได้มาจากการอ่าน แต่สื่อสิ่งพิมพ์ของเราได้รับการทอดทิ้งอย่างมาก เพราะรัฐไม่สามารถจะมาหาประโยชน์จากการขายสัมปทาน สำหรับสื่อวิทยุโทรทัศน์ ควรเป็นสื่อสารมวลชนที่ให้ความรู้ สอนทักษะ ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ไม่มีการมอมเมา
นอกจากนี้ สื่อวิทยุโทรทัศน์ควรเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการอ่าน มีความสนใจอยากรู้ ใฝ่เรียนเพิ่มเติมลึกลงจากการอ่าน รู้ข่าวสารที่ลึกกว่าข่าวสั้น ๆ ในโทรทัศน์ วิทยุ รู้ว่าเขาจะปรับปรุงอาชีพอย่างไร ดำรงชีวิตอย่างไร รู้วัฒนธรรมไทยที่ลึกซึ้ง แต่ในขณะนี้รัฐเองทำลายประเทศด้วยการใช้สื่อสารมวลชนที่รัฐเป็นเจ้าของ แล้วถ้าไม่เริ่มการแก้ไขว่าจะทำอย่างไรกับวิทยุ โทรทัศน์ รอเพียงผลจากรัฐธรรมนูญ ผมว่าสายไปแล้ว และจะไม่ใช่สายไปอย่างเดียว จะสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนความชั่วร้ายทุกอย่างไปบดบังจนพัฒนาอะไรไม่ได้"
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 12/ธันวาคม 2541--
ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องร่างแผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาคนและสังคม เพื่อร่วมระดมความคิดเห็นจากบุคคลหลากหลายอาชีพทั้งจากภาคราชการ ภาคเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ทั้งนี้เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงและแก้ไขร่างแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ ดังกล่าวให้สอดคล้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ ให้กับบุคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำหรับยุทธศาสตร์ในร่างแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ ดังกล่าว ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์สำคัญ 4 ด้าน คือ
1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสื่อ ซึ่งจะเน้นที่การกระจายตัวของสื่อประเภทต่าง ๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกันทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และสาระที่เสนอผ่านสื่อ
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ผลิตสื่อ จะให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและอิสระในการนำเสนอข่าวสารต่อสาธารณะภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยมีองค์กรวิชาชีพที่สามารถตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานการนำเสนอและจรรยาบรรณของผู้ผลิตสื่อ
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้รับและผู้ใช้สื่อ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ในลักษณะอื่น รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเลือกรับและกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลจากการละเมิดของสื่อ
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการ มุ่งส่งเสริมการบริหารและจัดการสื่อประเภทต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนให้เอื้อต่อการพัฒนาคนและสังคม
เพื่อให้การจัดทำแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ นี้สอดคล้องกับกระแสสังคมและมีความสมบูรณ์ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในแผนนี้ สศช. จึงได้จัดการวิพากษ์แผนพัฒนาฯ นี้ขึ้น โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการวิพากษ์ ได้แก่ คุณหญิงอัมพร มีสุข ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร นายมนู อรดีดลเชษฐ์ และคุณหญิงสุพัตรา มาสดิตถ์ เป็นประธานการวิพากษ์ ซึ่งคณะผู้วิพากษ์ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์แก่แผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ อย่างมากมาย ดังนี้
คุณหญิงอัมพร มีสุข ผู้บุกเบิกเรื่องการศึกษาและสื่อเพื่อการศึกษาในยุคแรก ๆ และก็ยังคงมีบทบาทในปัจจุบัน กล่าวว่า "ดิฉันได้ทำงานด้านการใช้สื่อเพื่อการศึกษามานาน ซึ่งในการปฏิบัติงานก็พบทั้งปัญหาและอุปสรรคมากมายจึงต้องการให้มีแผนฯ ลักษณะเช่นนี้มานานแล้ว และนอกจากนี้ยังได้บรรจุเข้าไว้ในส่วนหนึ่งของแผนฯ 8 จึงรู้สึกยินดีอย่างยิ่ง แต่ขอตั้งข้อสังเกตบางประการดังนี้ โดยในประเด็นแรก ต้องขอชมที่มีการแสวงหาข้อมูลมาจัดทำเป็นสภาพปัญหา อย่างไรก็ตาม ถ้าสามารถทำได้ควรปรับข้อมูลบางประการ และน่าจะมีการสำรวจวิจัยในลักษณะที่ว่า การใช้สื่อ เพื่อพัฒนาคนและสังคมนี้ได้ทำมาแล้วสำเร็จหรือล้มเหลวเพราะเหตุใด ที่ผ่านมาดิฉันคิดว่าค่อนข้างล้มเหลวมากกว่าสำเร็จ
ส่วนในเรื่องยุทธศาสตร์ที่ได้เสนอมาค่อนข้างดีมาก แต่จะปฏิบัติได้หรือไม่ต้องดูกันต่อไป และในการเสนอแผนฯ นี้ทำได้ดีมาก เป็นระบบ และค่อนข้างกล้าหาญในการนำเสนอ การจัดการโครงสร้างพื้นฐานของสื่อในเรื่องคลื่นความถี่ ซึ่งปัจจุบันเรามีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการดำเนินการอยู่แล้ว ดังนั้นจึงควรทำให้ได้ และยังได้นำเสนอให้เลิกการผูกขาด ในเรื่องคลื่นความถี่นี้มีคนถามมาว่าจะทำอย่างไร ซึ่งในแผนปฏิบัติคงจะต้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาระดมความคิด หาวิธีการและให้ทุกฝ่ายละอัตตาให้เสียสละ ถ้าเราช่วยกันทุกฝ่ายจะทำได้
ในกรณีสื่อเพื่อการศึกษา คิดว่าตัวผู้ผลิตสื่อเองก็จะประสบปัญหามากมายจากการผลิตสื่อ และสื่อเพื่อการศึกษาดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเป็นการสอน แต่เป็นการที่จะสื่อให้ผู้รับฟังฟังแล้วนำกลับไปคิด ซึ่งในด้านนี้จะต้องปรับปรุงแก้ไขอีกมาก อย่างไรก็ตาม ตอนนี้นับว่าเป็นโชคดีของประชาชนชาวไทยที่ได้มีการปฎิรูปด้านการศึกษาอย่างจริงจัง ซึ่งถ้าเรานำสื่อมาใช้ในด้านการศึกษาโดยเน้นให้ผู้สอนและผู้เรียนมาเรียนรู้ด้วยกันจะช่วยได้มาก
เรื่องสื่อสิ่งพิมพ์ยังมีข้อควรปรับปรุงบางประการ เนื่องจากประเทศต้องการการพัฒนาด้านสื่อสิ่งพิมพ์อีกมากและจะมีประโยชน์ต่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเราให้ความสำคัญกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากจนไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องสื่อสิ่งพิมพ์ บางทีเราอาจเสียประโยชน์ไปไม่น้อยทีเดียว และในร่างแผนฯ นี้ไม่ได้กล่าวถึงตำราเรียน และแบบเรียน ซึ่งคิดว่าเป็นส่วนสำคัญสำหรับการศึกษาด้วยเช่นกัน"
ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่มีชื่อเสียงด้านทำสารคดี ปรับปรุงข่าวทางทีวี และเป็นผู้ริเริ่ม จ.ส.100 ได้รับรางวัลทางด้านสื่อสารมวลชนอย่างมาก และยังเป็นอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ สสร. อีกด้วย ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นไว้ว่า
"ผมขอตั้งข้อสังเกตประการหนึ่งว่าในรัฐธรรมูญมาตรา 40 บัญญัติไว้ว่า ให้มีองค์กรอิสระ คณะกรรมการที่จะมาจัดสรรคลื่นความถี่ให้มีกฎหมายลูกออกมา โดยมีคุณหญิงสุพัตรา มาสดิตถ์ เป็นประธาน ขณะนี้เรื่องอยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งในร่างกฎหมายฉบับนั้นบอกไว้ว่า จะมีคณะมนตรีกิจการวิทยุโทรทัศน์ และคณะมนตรีกิจการโทรคมนาคมรวมเป็น 2 คณะมาดูแลและจัดทำแผนแม่บท
ถ้าแผนฯ ที่กำลังวิพากษ์กันอยู่ ไม่ข้ดแย้งกับแผนฯ ในอนาคตก็จะไม่มีปัญหา สศช. ทำล่วงหน้าไปก่อนก็จะเป็นการดักทางคณะมนตรีต่อไป ผมเชื่อว่าแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนฯ ในวันนี้ ถ้าจัดทำจัดแก้ให้ดีแล้วจะเป็นยุทธศาสตร์ภาพรวมของชาติ ดังนั้นผมคิดว่าการจัดทำแผนนี้เป็นการดี ทุกครั้งที่มีการจัดทำแผน สศช. จะมีการทำประชาพิจารณ์ทุกครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี มีวิสัยทัศน์ ของ สศช. จะได้เป็นการปูพื้นฐานไว้ก่อน
ประเด็นต่อไปนี้คือ แผนที่ร่างนี้ดีแล้วที่ไม่ลงในรายละเอียดลึกจนเกินไป วิสัยทัศน์โดยรวมแล้วดี ส่วนวัตถุประสงค์และเป้าหมาย จะต่างกับผมอยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าสำคัญ คือการจัดแบ่งสื่อกำหนดสัดส่วนตามผู้ประกอบการ ผมคิดว่าผมอยากแบ่งสัดส่วนของสื่อตามเนื้อหาไม่ห่วงว่าใครจะทำ ถ้าราชการทำได้กำไรก็ทำไป จึงไม่ควรระบุว่าหน่วยงานใดจะทำสื่อ ซึ่งถ้าเอกชนทำวิทยุเพื่อการศึกษาเก่งก็ให้เขาทำไป เป็นการทำงานลงทุนเพิ่มรายได้ ซึ่งตรงตามมาตรา 40 คือประโยชน์สาธารณะ
ในส่วนยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยุชุมชน รัฐธรรมนูญมีการปฏิบัติการใช้สื่อเพื่อการกระจายเสียงแล้วโดยควรให้มีวิทยุระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ควรเป็นจังหวัดละสถานี เป็นวิทยุประจำจังหวัด ทำการกระจายให้ทั่วถึงทั้งจังหวัด จะประหยัดกว่า และมีเครือข่ายท้องถิ่นที่ทำรายการท้องถิ่นได้จะดีมาก"
คุณมนู อรดีดลเชษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทดาต้าแมท จำกัด ผู้มีความรู้พิเศษในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และยังเป็นประธานและเลขาธิการมูลนิธิเพื่อการศึกษาคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม ได้กล่าวว่า
"เทคโนโลยีสารสนเทศในแผนนี้คือ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตและมัลติมีเดีย ในแผนนี้บทบาทของอินเตอร์เน็ต ผมว่ามีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนมาก ในแผนนี้บรรจุอยู่ในเทคโนโลยีสารสนเทศจึงได้รับความสำคัญน้อยเกินไป อินเตอร์เน็ตมองได้ 2 ด้าน 1) ด้านเทคโนโลยีของสื่อสารโทรคมนาคม และ 2) ในแผนนี้สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางที่จะนำข่าวสารข้อมูลสู่ประชาชนได้อย่างกว้างขวาง นับเป็นสื่อที่มีความสำคัญ เป็นทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งอินเตอร์เน็ตจะเป็นสื่อที่รวมเอาสื่อหลาย ๆ ชนิดเข้าไว้ด้วยกันทั้งภาพและเสียง และการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้
สำหรับยุทธสาสตร์ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของสื่อยังไม่เพียงพอต่อการกระจายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือทำอย่างไรจะกระจายเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ หรือ Network Access ให้ผู้เรียนมีบทบาทสามารถเข้าไปใช้ได้ในอัตราค่าบริการที่ถูก นอกจากนี้ ภาษาในอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ยังเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้น จะทำอย่างไรให้คนไทยสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้สะดวก
ในการศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองจะเป็นการทำให้เกิดการกระจายการศึกษาไปสู่ชนบทได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ แต่ประเด็นปัญหาที่พบคือทักษะการเรียนรู้ของคนไทยมีน้อยมาก ควรมีการย้ำให้ระบบการศึกษาของไทยเป็นไปในลักษณะการศึกษาด้วยตัวเองให้ได้"
คุณพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ได้รับรางวัลนักหนังสือพิมพ์ดีเด่นและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิบรรยายในหลายสถาบันรวมทั้งยังเป็นรองประธานคนที่ 1 สมาพันธ์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งกำลังมีบทบาทอย่างสูงในการดูแลผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับสื่อหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ ได้กล่าวแสดงความคิดเห็น โดยกล่าวว่า
"ผมว่าแผนนี้ควรมีมานานแล้ว ถ้าจะวิพากษ์กัน ผมว่าช้าเกินไป ถ้าจะกล้าหาญก็ไม่ใช่กล้าหาญอะไร เพราะว่าแผนนี้ไม่ได้พิจารณาลงไป ไม่ได้ตอบคำถามของประชาชนที่เขามีความรู้สึกว่าประเทศไทยถูกครอบงำโดยสื่อสารมวลชน ชีวิตของเขาอยู่ภายใต้อิทธิพลบทบาทสื่อสารมวลชนและการพัฒนาประเทศก็มาจากเนื้อหาข่าวสารจากสื่อสารมวลชนทั้งสิ้นที่ได้ผลักดันกระตุ้นแต่ไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันในส่วนของการพัฒนาคนและสังคมเลยแต่อย่างใด สื่อมวลชนส่วนใหญ่ที่มีบทบาทมากคือสื่อประเภทวิทยุโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อในลักษณะชี้นำ ผู้รับสื่อคิดตามไม่ทัน ต้องเชื่อ
รัฐไม่ได้สร้างสื่อเพื่อการพัฒนา แต่ใช้สื่อในการมอมเมา ยั่วยุ ละครน้ำเน่า สื่อสะท้อนเกิดความเป็นจริงของสังคม แสดงความเลวร้ายมากกว่าความเป็นจริง ผมไม่เคยเห็นว่าแม่ค้าในตลาดไหนในประเทศไทยหยาบคาย ด่าทอกันเหมือนในละครโทรทัศน์ ทุกอย่างเป็นสภาพที่ผิดความจริงทั้งสิ้น
และก็จริงอย่างที่คุณหญิงอัมพรว่า การปฏิรูปสื่อสารมวลชนต้องควบคู่ไปกับการปฏิรูปการศึกษา เพราะการสื่อสารคือการศึกษาที่สำคัญ จะใช้สื่อในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียน ในระบบหรือนอกระบบ ในขณะนี้มันเป็นทางลบทั้งนั้น ถ้ามีความกล้าหาญจริงต้องบอกว่าเป็นร่างแผนปฏิรูปสื่อสารมวลชนเพื่อการพัฒนาคนและสังคม ไม่ใช่แผนพัฒนาสื่อสารมวลชนเพราะว่าสื่อสารมวลชนของเราไม่ต้องการพัฒนาอีกแล้ว ทางด้านฮาร์ดแวร์เราไม่ต้องการ เราต้องการด้านซอฟแวร์ ทางด้านเนื้อหา คนผลิตสื่อควรที่จะมีจริยธรรม มโนธรรม มีจิตสำนึกของการเป็นนักสื่อสารมวลชน เข้าใจระบบพัฒนาคนและสังคม
แผน ฯ 8 ออกมา 2 ปีแล้ว มีครบถ้วนว่าจะปฏิรูปสื่อสารมวลชนอย่างไร แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยกับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐทุกแห่ง บางรายการยังคงเหมือนเดิม ซึ่งแผนนี้ควรชี้แนะว่าสถานีวิทยุในสังกัดภาคราชการจะต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้จะลงลึกขนาดไหนก็ต้องให้คำตอบได้ว่าจะทำอย่างไรกับโทรทัศน์ที่ให้สัมปทานไป
ผมถึงย้ำประเด็นของสื่อสารมวลชนประเภทอิเล็คทรอนิกส์ ด้วยเหตุเพราะว่าผมมีความเชื่ออยู่ว่าคนจะพัฒนาไม่ได้ถ้าไม่เรียนรู้ ไม่ใฝ่ศึกษา ไม่รักการอ่าน ความรู้จะมาจากความคิด ความคิดจะได้มาจากการอ่าน แต่สื่อสิ่งพิมพ์ของเราได้รับการทอดทิ้งอย่างมาก เพราะรัฐไม่สามารถจะมาหาประโยชน์จากการขายสัมปทาน สำหรับสื่อวิทยุโทรทัศน์ ควรเป็นสื่อสารมวลชนที่ให้ความรู้ สอนทักษะ ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ไม่มีการมอมเมา
นอกจากนี้ สื่อวิทยุโทรทัศน์ควรเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการอ่าน มีความสนใจอยากรู้ ใฝ่เรียนเพิ่มเติมลึกลงจากการอ่าน รู้ข่าวสารที่ลึกกว่าข่าวสั้น ๆ ในโทรทัศน์ วิทยุ รู้ว่าเขาจะปรับปรุงอาชีพอย่างไร ดำรงชีวิตอย่างไร รู้วัฒนธรรมไทยที่ลึกซึ้ง แต่ในขณะนี้รัฐเองทำลายประเทศด้วยการใช้สื่อสารมวลชนที่รัฐเป็นเจ้าของ แล้วถ้าไม่เริ่มการแก้ไขว่าจะทำอย่างไรกับวิทยุ โทรทัศน์ รอเพียงผลจากรัฐธรรมนูญ ผมว่าสายไปแล้ว และจะไม่ใช่สายไปอย่างเดียว จะสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนความชั่วร้ายทุกอย่างไปบดบังจนพัฒนาอะไรไม่ได้"
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 12/ธันวาคม 2541--