เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 คณะรัฐมนตรี ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) และจะนำแผนฯ 8 ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เพื่อประกาศใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2539 เป็นต้นไป และเพื่อให้การแปลงแผนของหน่วยงานปฏิบัติ เป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องกับหลักการและยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนฯ ฉบับที่ 8 ที่เน้นการพัฒนาประเทศในลักษณะรวมส่วน ในการนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จัดทำคู่มือการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ไปสู่การปฏิบัติขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ สศช. ได้ใช้ประกอบการชี้แจงให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีภารกิจในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ให้สามารถดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการของหน่วยงานให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ต่อไป
ทั้งนี้เมื่อวันที่1สิงหาคม 2539 สศช. ได้จัดประชุมสัมมนา เพื่อระดมความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจร่วมกันในระหว่างเจ้าหน้าที่ทั้งหมดของ สศช.เกี่ยวกับคู่มือการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ไปสู่การปฏิบัติและการปรับแนวทางการปฏิบัติงานของ สศช.รวมทั้งร่วมกันจัดทำแบบจำลองแผนปฏิบัติการของ สศช. ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของแผนฯ 8 ซึ่งการประชุมสัมมนาครั้งนี้นับเป็นอีกก้าวหนึ่งในการปรับตัวของ สศช. เพื่อสนับสนุนบทบาทในการประสานการแปลงแผนฯ 8 ไปสู่การปฏิบัติ และเป็นการสนองรับแนวทางการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานการประชุมครั้งนี้ ได้กล่าวในพิธีเปิดการประชุมตอนหนึ่งว่า แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มียุทธศาสตร์ใหม่ ๆ หลายประการที่ท้าทาย และต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย และเจ้าหน้าที่ของ สศช. ทุกคน ดังนั้น การประชุมในวันนี้จึงเป็นการระดมความคิดและรวมพลังครั้งสำคัญสู่เป้าหมายการเป็นเอกภาพของสำนักงานฯโดยเฉพาะในเรื่องแนวคิดขั้นตอน และวิธีการของกระบวนการวางแผนคือ ความเชื่อมั่น ความศรัทธาของข้าราชการในหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีต่อ สศช.
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวด้วยว่าบทบาทภารกิจของ สศช. ในระยะต่อไปนอกจากจะเป็นผู้ประสานหลักในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ซึ่งดำเนินการมากว่า 30 ปี และภารกิจในการสนับสนุนหน่วยปฏิบัติในการวางแผน การประสานแผน รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินการพัฒนา เพื่อนไปปรับปรุงการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว สศช. ยังต้องมีบทบาทสำคัญในการรายงานความสำเร็จและความล้มเหลวของแผนฯ 8 ต่อสาธารณชนรวมทั้ง สศช. จำเป็นต้องเข้าไปมีบทบาทในการริเริ่มและกระตุ้นงานสำคัญบางเรื่องที่จัดว่าเป็นยุทธศาสตร์และกระบวนการพัฒนาใหม่ ๆ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้หน่วยปฏิบัติสานต่อในระยะยาว เช่น ในเรื่องการพัฒนาประชารัฐ การพัฒนากลุ่มจังหวัด การพัฒนาประชาคมจังหวัด การปรับปรุงระบบงบประมาณและทรัพยากร การกระจายอำนาจ รวมทั้งการปรับบทบาทและภารกิจของหน่วยงาน
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวในตอนท้ายว่า "ในฐานะหัวหน้าสำนักงานฯ จะให้ความสำคัญกับข้อเสนอแผนปฏิบัติการของ สศช. ที่จะได้จากการประชุมกลุ่มย่อย พร้อมกับจะนำไปพิจารณาดำเนินการและกำกับการดำเนินงานในโอกาสต่อๆไป ขอให้ชาว สศช. ทุกคนเสนอข้อคิดเห็นได้อย่างเต็มที่เพื่อเป็นการร่วมกันปฏิบัติภารกิจของชาติให้ลุล่วงไปเพื่อประโยชน์ของคนไทยและประเทศของเราโดยส่วนรวมต่อไป"
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 8 / สิงหาคม 2539--
ทั้งนี้เมื่อวันที่1สิงหาคม 2539 สศช. ได้จัดประชุมสัมมนา เพื่อระดมความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจร่วมกันในระหว่างเจ้าหน้าที่ทั้งหมดของ สศช.เกี่ยวกับคู่มือการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ไปสู่การปฏิบัติและการปรับแนวทางการปฏิบัติงานของ สศช.รวมทั้งร่วมกันจัดทำแบบจำลองแผนปฏิบัติการของ สศช. ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของแผนฯ 8 ซึ่งการประชุมสัมมนาครั้งนี้นับเป็นอีกก้าวหนึ่งในการปรับตัวของ สศช. เพื่อสนับสนุนบทบาทในการประสานการแปลงแผนฯ 8 ไปสู่การปฏิบัติ และเป็นการสนองรับแนวทางการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานการประชุมครั้งนี้ ได้กล่าวในพิธีเปิดการประชุมตอนหนึ่งว่า แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มียุทธศาสตร์ใหม่ ๆ หลายประการที่ท้าทาย และต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย และเจ้าหน้าที่ของ สศช. ทุกคน ดังนั้น การประชุมในวันนี้จึงเป็นการระดมความคิดและรวมพลังครั้งสำคัญสู่เป้าหมายการเป็นเอกภาพของสำนักงานฯโดยเฉพาะในเรื่องแนวคิดขั้นตอน และวิธีการของกระบวนการวางแผนคือ ความเชื่อมั่น ความศรัทธาของข้าราชการในหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีต่อ สศช.
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวด้วยว่าบทบาทภารกิจของ สศช. ในระยะต่อไปนอกจากจะเป็นผู้ประสานหลักในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ซึ่งดำเนินการมากว่า 30 ปี และภารกิจในการสนับสนุนหน่วยปฏิบัติในการวางแผน การประสานแผน รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินการพัฒนา เพื่อนไปปรับปรุงการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว สศช. ยังต้องมีบทบาทสำคัญในการรายงานความสำเร็จและความล้มเหลวของแผนฯ 8 ต่อสาธารณชนรวมทั้ง สศช. จำเป็นต้องเข้าไปมีบทบาทในการริเริ่มและกระตุ้นงานสำคัญบางเรื่องที่จัดว่าเป็นยุทธศาสตร์และกระบวนการพัฒนาใหม่ ๆ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้หน่วยปฏิบัติสานต่อในระยะยาว เช่น ในเรื่องการพัฒนาประชารัฐ การพัฒนากลุ่มจังหวัด การพัฒนาประชาคมจังหวัด การปรับปรุงระบบงบประมาณและทรัพยากร การกระจายอำนาจ รวมทั้งการปรับบทบาทและภารกิจของหน่วยงาน
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวในตอนท้ายว่า "ในฐานะหัวหน้าสำนักงานฯ จะให้ความสำคัญกับข้อเสนอแผนปฏิบัติการของ สศช. ที่จะได้จากการประชุมกลุ่มย่อย พร้อมกับจะนำไปพิจารณาดำเนินการและกำกับการดำเนินงานในโอกาสต่อๆไป ขอให้ชาว สศช. ทุกคนเสนอข้อคิดเห็นได้อย่างเต็มที่เพื่อเป็นการร่วมกันปฏิบัติภารกิจของชาติให้ลุล่วงไปเพื่อประโยชน์ของคนไทยและประเทศของเราโดยส่วนรวมต่อไป"
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 8 / สิงหาคม 2539--