วิกฤตเศรษฐกิจในช่วงต้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ มีสาเหตุมาจากการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมที่ขาดประสิทธิภาพ กล่าวคือการขยายตัวทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นจากการเพิ่มปริมาณการใช้ปัจจัยการผลิตเป็นหลัก ขณะที่ผลิตภาพการผลิตโดยรวมลดลงอย่างต่อเนื่อง การเปิดเสรีทางการเงินภายใต้สถานการณ์ที่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนไม่ยืดหยุ่นทำให้ขาดการคำนึงถึงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน จึงเกิดการพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศในระดับสูง การกำกับดูแลระบบสถาบันการเงินที่ขาดประสิทธิภาพทำให้มีการจัดสรรเงินลงทุนไปในภาคการผลิตที่ไม่ช่วยส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจของประเทศเริ่มชะลอตัวลงจากปัญหาอุปสรรคทางด้านการส่งออก จึงก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพสินเชื่อของสถาบันการเงินที่ให้กู้ในการลงทุนที่เกินตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์ และนำไปสู่การขาดความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศ ส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาทและการไหลออกของเงินทุนระยะสั้นอย่างรวดเร็ว ระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศจึงขาดเสถียรภาพและเข้าสู่วิกฤตในที่สุด
วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินดังกล่าว ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรงในปี ๒๕๔๑ โครงสร้างระบบสถาบันการเงินอ่อนแอและไม่สามารถดำเนินการตามกลไกได้อย่างปกติ ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สร้างความอ่อนแอต่อระบบสถาบันการเงินและส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตอย่างรุนแรง ทำให้เกิดปัญหาสังคมทั้งการว่างงานและคนยากจนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งแม้ว่าการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาได้ส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ระดับหนึ่ง แต่ผลจากการฟื้นตัวยังไม่กระจายอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วนของสังคม นอกจากนี้หนี้สาธารณะที่เพิ่มมากขึ้นได้กลายเป็นข้อจำกัดของงบประมาณแผ่นดิน ขณะเดียวกัน ภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ในปี ๒๕๔๔ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญยังมีแนวโน้มที่ชะลอตัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง จะเป็นแรงกดดันต่อการขยายตัวและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงต้องมุ่งเน้นการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมที่ดี ได้แก่ การบริหารด้านการเงิน ด้านการคลัง และการปรับปรุงด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานการมีเสถียรภาพ และสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน
แนวทางการบริหารด้านการเงินให้ความสำคัญกับการปรับกลไกการเงินให้ทำงานเป็นปกติและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ระบบการเงินเพื่อป้องกันวิกฤต ได้แก่ การดูแลสภาพคล่องและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ และรักษาทุนสำรองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบเศรษฐกิจ การสร้างระบบเตือนภัยและการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนตลาดทุนเป็นแหล่งระดมทุนของระบบเศรษฐกิจเพื่อไม่ให้มีการพึ่งพาการกู้ยืมจากระบบธนาคารมากเกินไป และสร้างระบบประกันเงินฝากเพื่อไม่ให้ประชาชนต้องรับภาระที่เกิดขึ้นจากการช่วยเหลือสถาบันการเงินใน
สถานการณ์วิกฤต นอกจากนั้นระบบการเงินต้องช่วยเหลือสังคมในการช่วยกระจายความเจริญ ช่วยเหลือคนยากจน และสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจชุมชนซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากของสังคมไทยด้านการคลัง ในระยะสั้นให้ความสำคัญกับมาตรการกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั้งด้านการใช้จ่ายภาครัฐและมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจฐานราก ตลอดจนการจ้างงานของประเทศ ในระยะยาวเน้นการบริหารหนี้สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างฐานรายได้ การจัดการรายได้รายจ่ายและบริหารทรัพย์สินของรัฐเพื่อให้ฐานะการคลังมีความยั่งยืนในระยะยาว ในขณะเดียวกันนโยบายภาษีและรายจ่ายจำเป็นต้องสนับสนุนเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่เสียวินัยทางการคลัง นอกจากนั้นการกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่นจะต้องสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจจากหน่วยงานส่วนกลางสู่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม และสร้างศักยภาพของท้องถิ่นในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนเข้มแข็ง และการใช้งบประมาณสามารถสนองตอบต่อความต้องการของท้องถิ่นรวมถึงคนยากจนได้ดีขึ้น
ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในขณะที่การแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวได้เพียงระดับหนึ่ง และยังไม่กระจายอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วนของสังคม เศรษฐกิจของประเทศยังได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งยังคงมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของภาวะการเงินในตลาดโลกและข้อกีดกันทางการค้า ตลอดจนแรงกดดันจากคู่แข่งขัน การพัฒนาจึงต้องมุ่งเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เป็นโอกาสโดยการเตรียมเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็ง สร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบทั้งจากภายในและภายนอก สร้างความพร้อมในการต่อรองเจรจาทางการค้า รวมทั้งปรับปรุงความสอดคล้องของนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อให้สามารถแสวงหาประโยชน์และป้องกันผลกระทบทางลบจากกระบวนการโลกาภิวัตน์ การเปิดเสรีการค้า การลงทุน และความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนในประเทศ
๑ วัตถุประสงค์
เพื่อให้การจัดการระบบบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจให้ปรับตัวเข้าสู่ความมีสมดุล มีภูมิคุ้มกัน มีเสถียรภาพและความมั่นคง เอื้อประโยชน์ต่อคนยากจน และการสร้างงาน สนับสนุนการกระจายรายได้ไปสู่ทุกภาคส่วนของสังคมอย่างเป็นธรรม อันเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการดำเนินงานนโยบายและแนวทางการพัฒนาด้านการเงิน การคลัง และความร่วมมือระหว่างประเทศไว้ดังนี้
๑.๑ เพื่อให้ภาคการเงินมีความเข้มแข็ง มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีสามารถป้องกันวิกฤตการณ์และความผันผวนจากเศรษฐกิจการเงินโลกได้ มีศักยภาพในการสนับสนุนการระดมทุนของระบบเศรษฐกิจเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ และมีส่วนสนับสนุนการกระจายเงินทุนไปสู่ภูมิภาค
๑.๒ เพื่อสร้างความมั่นคงทางการคลังในระยะยาว โดยคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการรักษาวินัยการคลังและความจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
๑.๓ เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างประเทศโดยยึดหลักทางสายกลาง ที่เอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ และมีการเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบที่เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์
๒ เป้าหมาย
เพื่อที่จะสนับสนุนวัตถุประสงค์ดังกล่าว เป้าหมายด้านเศรษฐกิจในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ คือ การพัฒนาให้เศรษฐกิจกลับสู่อัตราการขยายตัวในระดับปานกลาง เพื่อลดปัญหาความยากจนและการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงวิกฤต สร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในภาคเอกชน และลดหนี้สาธารณะในระยะยาว ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ แต่ต้องใช้ความพยายามในการดำเนินการสูงและเป็นเป้าหมายที่จำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ จำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับเป้าหมายการพัฒนาด้านอื่นๆ ด้วย โดยเป้าหมายการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมที่สำคัญ ได้แก่
๒.๑ เศรษฐกิจขยายตัวโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๔-๕ ต่อปี
๒.๒ เพิ่มการจ้างงานใหม่ในประเทศไม่ต่ำกว่า ๒๓๐,๐๐๐ คนต่อปี
๒.๓ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินประมาณร้อยละ ๓ ต่อปี
๒.๔ รักษาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ เฉลี่ยร้อยละ ๑-๒ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
๒.๕ ลดการขาดดุลเงินสดของรัฐบาลให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ ๑-๑.๕ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ภายในปี ๒๕๔๙
๒.๖ บริหารหนี้สาธารณะของประเทศให้อยู่ในระดับประมาณร้อยละ ๖๐-๖๒ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และดูแลภาระการชำระหนี้ในงบประมาณให้อยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ ๑๖-๑๘ ของงบประมาณ
๓ แนวทางการพัฒนา
ยุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมในระยะ ๕ ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จะเน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤตอย่างเต็มที่ และสนับสนุนการขยายตัวของฐานเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและเสถียรภาพที่มั่นคง เพื่อนำไปสู่การปรับฐานเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง สามารถขยายตัวต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพได้ในระยะยาว ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการเงิน โดยเฉพาะการกำกับดูแลเงินทุนและสร้างความต่อเนื่องของการแก้ไขปัญหาภาคการเงิน รวมทั้งเพิ่มบทบาทของตลาดทุนให้เป็นทางเลือกของแหล่งระดมทุนของประเทศ ในขณะที่ภาคการคลังต้องเน้นการสร้างความมั่นคงของฐานะการคลัง และการบริหารหนี้สาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จะต้องเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้สามารถรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยเน้นการบริหารจัดการและประสานกลไกการเจรจาการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศให้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแนวทางการพัฒนาตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
๓.๑ แนวทางการพัฒนาด้านการเงินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตเศรษฐกิจและช่วยกระจายความเจริญและความเป็นธรรม โดยการดูแลสภาพคล่องในระบบให้พอเพียงและรักษาเสถียรภาพด้านราคาและอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม มีการดูแลไม่ให้เกิดวิกฤตทั้งทางด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศและการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ตลอดจนมีระบบเตือนภัยทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ มีการพึ่งพาแหล่งเงินทุนที่สมดุลมากขึ้นระหว่างระบบธนาคารและตลาดทุน และระหว่างเงินทุนในประเทศและการระดมทุนจากต่างประเทศ มีความสามารถในการเผชิญวิกฤตได้ดีขึ้นจากการสร้างความร่วมมือทางการเงินกับประเทศในภูมิภาคเพื่อรองรับวิกฤตและจัดตั้งระบบประกันเงินฝาก และระบบการเงินมีส่วนเอื้ออำนวยต่อการกระจายความเจริญและความเป็นธรรมเพื่อสร้างความสมดุลของระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
(๑) สร้างความเข้มแข็งและระบบระวังภัยของภาคการเงิน โดย
(๑.๑) กำหนดเป้าหมายเสถียรภาพราคาที่เหมาะสมต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยให้ฝ่ายกำหนดนโยบายการเงินสามารถกำหนดระดับอัตราดอกเบี้ยที่เอื้อต่อการพัฒนาและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
(๑.๒) แก้ไขปัญหาอุปรรคของสถาบันการเงินให้สามารถดำเนินการได้อย่างปกติ และบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบเศรษฐกิจให้ลดลง
(๑.๓) ดูแลสภาพคล่องให้พอเพียงและเอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน
(๑.๔) รักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนและความมั่นคงของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ
(๑.๕) ติดตามและดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงการไหลออกของเงินทุนอย่างฉับพลัน โดยการพัฒนาระบบข้อมูล และพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์ เพื่อสร้างระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพและเพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันล่วงหน้า
(๑.๖) ควบคุมดูแลเงินบาทในตลาดนอกประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเอื้อประโยชน์ต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของไทย และเพื่อไม่ให้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรและโจมตีค่าเงินบาทได้
(๑.๗) จัดทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านการเงินเพื่อป้องกันวิกฤตโดยเน้นด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล และระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันในยามฉุกเฉิน
(๒) ปรับปรุงการกำกับดูแลสถาบันการเงิน โดย
(๒.๑) พัฒนาประสิทธิภาพในการกำกับดูแล และการตรวจสอบสถาบันการเงิน โดยการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบให้ทันสมัยสอดคล้องกับภาวะการณ์ และให้มีมาตรฐานการกำกับดูแลในทิศทางที่สอดคล้องกันทั้งระบบ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติและตั้งอยู่บนหลักการบริหารจัดการที่ดี สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โปร่งใส ยืดหยุ่น และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งการพัฒนาระบบข้อมูลด้านการตรวจสอบ
(๒.๒) ปฏิรูปกฎหมายทางการเงิน เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากลและเอื้อต่อการพัฒนาระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ
(๒.๓) เสริมสร้างระบบสถาบันการเงินให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและภายนอกประเทศในเรื่องมาตรฐานการบัญชี ความโปร่งใส ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์
(๒.๔) จัดให้มีระบบประกันเงินฝากอย่างเป็นขั้นตอนและรอบคอบ เพื่อลดต้นทุนของรัฐบาลในการค้ำประกันเงินฝากและเป็นการสร้างวินัยแก่ทั้งลูกค้าและธนาคารในการบริหารเงินทุน รวมทั้งมีระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสินเชื่อของสถาบันการเงินที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น
(๓) เพิ่มบทบาทของตลาดทุนในการเป็นแหล่งระดมทุนของประเทศ โดย
(๓.๑) ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนมีการทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี พัฒนาระบบการตรวจสอบและการรายงานผล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลของภาคเอกชนเอง และเพื่อเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับตลาด ช่วยให้ตลาดทุนพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
(๓.๒) พัฒนาตลาดหลักทรัพย์ให้มีทั้งความกว้างและความลึก เพื่อให้เป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ และมีสภาพคล่อง เพื่อให้เป็นกลไกที่ช่วยเสริมการระดมทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่
(๓.๓) ส่งเสริมให้มีการแปลงทุนในรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพเป็นทุนเรือนหุ้น และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเพิ่มประเภทและความหลากหลายของหลักทรัพย์ในตลาดทุน
(๓.๔) พัฒนาตลาดอนุพันธ์ เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนและเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงของนักลงทุน
(๓.๕) พัฒนาตลาดตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นทางเลือกในการระดมทุนของภาคเอกชนและรัฐบาล
(๔) ปรับปรุงบทบาทของภาคการเงินในการกระจายความเจริญและความเป็นธรรม โดย
(๔.๑) ปรับปรุงการดำเนินงานของสถาบันการเงินในกำกับของรัฐให้มีประสิทธิภาพในการประกอบธุรกรรมสูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการทรัพยากรทางการเงิน และความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้นและทั่วถึง โดยเฉพาะการสนับสนุนการให้สินเชื่อรายย่อย การให้สินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(๔.๒) กระจายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินไปสู่ภูมิภาคและจัดให้มีระบบการให้สินเชื่อระดับจุลภาค เพื่อส่งเสริมการกระจายสินเชื่อไปสู่ผู้กู้รายย่อยและชุมชนมากขึ้น
๓.๒ แนวทางการพัฒนาด้านการคลัง เพื่อสร้างความมั่นคงของฐานะการคลังและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค โดยเน้นการรักษาวินัยการคลังและบริหารหนี้สาธารณะเพื่อให้สามารถลดหนี้สาธารณะและลดภาระหนี้ในงบประมาณให้กระจายออกไปในระยะเวลาที่ยาวขึ้น ด้วยการควบคุมการก่อหนี้ใหม่ การเข้มงวดการใช้เงินกู้โดยพิจารณาจัดสรรแก่โครงการลงทุนที่มีความสำคัญและความจำเป็นสูง การพิจารณาทบทวนการจัดลำดับความสำคัญและหลักเกณฑ์การจัดทำแผนงานและโครงการลงทุนภาครัฐและเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของรัฐ การบริหารหนี้ให้มีสกุลเงินที่เหมาะสมและมีสัดส่วนของหนี้ภายในประเทศมากขึ้น การควบคุมรายจ่ายรัฐบาลไม่ให้เพิ่มสูงเกินไปและมีประสิทธิผลในการใช้จ่ายโดยใช้ระบบงบประมาณที่เน้นผลงาน ในขณะเดียวกันมีการสร้างฐานรายได้ ขยายฐานภาษี และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ บริหารทรัพย์สินของรัฐบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน โดยการกระจายอำนาจและถ่ายโอนภารกิจสู่ท้องถิ่นเพื่อให้การใช้งบประมาณตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น รวมถึงพิจารณาปฏิรูปโครงสร้างภาษีอากรให้เอื้ออำนวยต่อภาคการผลิต การลงทุน และส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และปฏิรูปกองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนประกันสังคมเพื่อสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตของประชาชน
(๑) รักษาวินัยการบริหารหนี้สาธารณะ โดย
(๑.๑) ควบคุมการก่อหนี้สาธารณะและดำเนินการให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง ลดข้อจำกัดทางงบประมาณ ซึ่งต้องรับภาระการชำระหนี้จากการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
(๑.๒) ควบคุมการก่อหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ระดับของภาระหนี้สินที่มีอยู่ ฐานะการคลังและฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ
(๑.๓) ปรับปรุงระบบการพิจารณา และการบริหารโครงการเงินกู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการตัดทอนเงินกู้สำหรับโครงการที่มีเงินเหลือจ่ายหรือไม่จำเป็นต้องจ่าย และปรับลดหรือระงับโครงการที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือหมดความจำเป็นในการดำเนินการ
(๑.๔) พิจารณาทบทวนการจัดลำดับความสำคัญและหลักเกณฑ์การจัดทำแผนงานและโครงการลงทุนภาครัฐเพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้านการก่อหนี้และภาระงบประมาณ
(๑.๕) ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจและเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของภาครัฐโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการดำเนินงาน มาตรฐานและคุณภาพของการผลิตสินค้าและการให้บริการที่ให้ผลประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม
(๑.๖) ปรับแนวทางการก่อหนี้ต่างประเทศ ให้เป็นหนี้ภายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการที่ไม่จำเป็นต้องมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและเพิ่มอุปทานตราสารหนี้ภายในประเทศ โดยพิจารณาความเหมาะสมในด้านการกระจายตัวทั้งประเภทและอายุตราสารเพื่อลดต้นทุนการก่อหนี้ภาครัฐโดยรวม
(๑.๗) ปรับโครงสร้างเงินกู้ต่างประเทศให้อยู่ในรูปสกุลเงินต่างๆอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนการกู้ยืม เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
(๑.๘) พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการก่อหนี้และการบริหารหนี้รวมทั้งกฎหมายเงินคงคลัง และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๐๒ โดยรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นระบบ และเพิ่มความเข้มแข็งของวินัยการคลัง ในขณะเดียวกันเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารหนี้ให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการกู้เพื่อปรับโครงสร้างเงินกู้
(๒) ปฏิรูประบบงบประมาณและการบริหารรายจ่าย โดย
(๒.๑) ปฏิรูประบบงบประมาณไปสู่ระบบที่มุ่งเน้นผลงาน ให้มีแผนการจัดสรรงบประมาณระยะปานกลาง และมีการประเมินผลผลิตและผลลัพธ์
(๒.๒) ให้มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายรวมของภาครัฐที่ครอบคลุมงบประมาณส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ และส่วนท้องถิ่น
(๒.๓) มีกลไกประสานแผนงาน แผนเงิน แผนคน เพื่อให้เกิดการบูรณาการทั้งระบบโดยยึดหลักการของพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วม และให้จัดสรรงบประมาณลงสู่ชุมชนหรือองค์กรนอกภาครัฐได้โดยตรง
(๒.๔) ปรับปรุงการบริหารรายจ่ายงบประมาณแผ่นดินให้มีเพียงพอสำหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนาและการผ่อนชำระหนี้ รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงระบบเงินประจำงวดและประสิทธิภาพการเบิกจ่าย
(๒.๕) จัดระบบกองทุนและเงินทุนหมุนเวียนที่รัฐบาลสนับสนุนให้มีประสิทธิภาพ และความโปร่งใสในการบริหารการคลังและลดภาระงบประมาณ
(๓) ปรับปรุงการจัดการด้านรายได้และนโยบายภาษี โดย
(๓.๑) ปฏิรูปโครงสร้างภาษีอากรให้เอื้ออำนวยต่อภาคการผลิต การค้าและบริการให้สามารถแข่งขันได้ ทั้งในเวทีอนุภาคอาเซียนและเวทีโลก
(๓.๒) ทบทวนและปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทั้งระบบ
(๓.๓) ส่งเสริมให้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการที่เกี่ยวกับการยื่นชำระภาษี โดยเฉพาะเร่งรัดการนำมาใช้สำหรับการยื่นชำระภาษีการนำเข้าและส่งออกสินค้า
(๓.๔) บริหารรายได้ภาครัฐให้มีเพียงพอกับภาระงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้น ทั้งงบประจำและการชำระหนี้ เช่น การสร้างฐานรายได้ของประเทศ การเพิ่มฐานภาษี การบริหารการจัดเก็บรายได้ที่มีประสิทธิภาพ และรักษาอัตราภาษีที่เหมาะสม รวมทั้งบริหารทรัพย์สินของภาครัฐที่มีอยู่ให้มีผลตอบแทนสูงสุด
(๓.๕) ปรับปรุงภาษีที่เก็บจากทรัพย์สินเพื่อลดการถือครองทรัพย์สินเพื่อการเก็งกำไร และพิจารณานำภาษีมรดกมาบังคับใช้ เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้
(๓.๖) พิจารณาจัดเก็บภาษีเพื่อคุ้มครอง อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๓.๗) ปรับปรุงขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อกระตุ้นให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการศึกษา พัฒนาฝีมือแรงงานและการวิจัยและพัฒนา
(๔) ส่งเสริมระบบการออมของประเทศ โดยปฏิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนประกันสังคม ให้ครอบคลุมประชากรและผู้ใช้แรงงานอย่างทั่วถึง โดยให้ความสำคัญกับการออมเพื่อการชราภาพ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางการเงินในระยะยาว
(๕) กระจายอำนาจการคลังและถ่ายโอนภารกิจสู่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม โดย
(๕.๑) เพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการวางแผน การจัดทำและบริหารงบประมาณ เพื่อสามารถสนองต่อความต้องการของชุมชน
(๕.๒) ปรับบทบาทและการจัดสรรบุคลากรของส่วนกลางให้สอดคล้องกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มบทบาทในการจัดการบริการสาธารณะตามศักยภาพของตนเองได้มากขึ้น
(๕.๓) พัฒนาขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดเก็บรายได้ โดยเฉพาะประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินตามศักยภาพของท้องถิ่น เพื่อแบ่งเบาภาระจากส่วนกลาง
๓.๓ แนวทางการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างประเทศให้อยู่บนทางสายกลาง มีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างรู้เท่าทัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศที่ใช้ความรู้ความสามารถในประเทศมากขึ้น โดยต้องสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธุรกิจชุมชนในระดับรากหญ้า ภายใต้กรอบของเศรษฐกิจมหภาคที่มีเสถียรภาพมั่นคง ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นการเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
(๑) ปรับปรุงระบบการเจรจาทางการค้าทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาคและพหุภาคีและปรับกลไกความร่วมมือเศรษฐกิจต่างประเทศในทุกด้าน ให้มีความชัดเจนและเชื่อมโยงกันทั้งด้านการค้า การตลาด การบริการ และการลงทุน เพื่อให้สามารถใช้ความร่วมมือระหว่างประเทศมาสนับสนุนกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) เพิ่มศักยภาพและสมรรถนะของประเทศ ให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยรวม และมุ่งให้ทุนที่มีคุณภาพสร้างฐานรากในประเทศ และต่อยอดการพัฒนาบนพื้นฐานของทุนภายในประเทศด้านต่างๆ อาทิ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความรู้และภูมิปัญญา ทักษะและฝีมือ ความสามารถในการบริหารจัดการ เทคโนโลยี เป็นต้น
(๓) ใช้ประโยชน์จากเวทีความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยสร้างพันธมิตรระหว่างกลุ่มหรือภูมิภาคที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในทวีปเอเซีย ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ อาทิ การพิทักษ์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเชื่อมโยงเครือข่ายทางโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินดังกล่าว ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรงในปี ๒๕๔๑ โครงสร้างระบบสถาบันการเงินอ่อนแอและไม่สามารถดำเนินการตามกลไกได้อย่างปกติ ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สร้างความอ่อนแอต่อระบบสถาบันการเงินและส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตอย่างรุนแรง ทำให้เกิดปัญหาสังคมทั้งการว่างงานและคนยากจนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งแม้ว่าการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาได้ส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ระดับหนึ่ง แต่ผลจากการฟื้นตัวยังไม่กระจายอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วนของสังคม นอกจากนี้หนี้สาธารณะที่เพิ่มมากขึ้นได้กลายเป็นข้อจำกัดของงบประมาณแผ่นดิน ขณะเดียวกัน ภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ในปี ๒๕๔๔ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญยังมีแนวโน้มที่ชะลอตัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง จะเป็นแรงกดดันต่อการขยายตัวและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงต้องมุ่งเน้นการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมที่ดี ได้แก่ การบริหารด้านการเงิน ด้านการคลัง และการปรับปรุงด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานการมีเสถียรภาพ และสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน
แนวทางการบริหารด้านการเงินให้ความสำคัญกับการปรับกลไกการเงินให้ทำงานเป็นปกติและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ระบบการเงินเพื่อป้องกันวิกฤต ได้แก่ การดูแลสภาพคล่องและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ และรักษาทุนสำรองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบเศรษฐกิจ การสร้างระบบเตือนภัยและการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนตลาดทุนเป็นแหล่งระดมทุนของระบบเศรษฐกิจเพื่อไม่ให้มีการพึ่งพาการกู้ยืมจากระบบธนาคารมากเกินไป และสร้างระบบประกันเงินฝากเพื่อไม่ให้ประชาชนต้องรับภาระที่เกิดขึ้นจากการช่วยเหลือสถาบันการเงินใน
สถานการณ์วิกฤต นอกจากนั้นระบบการเงินต้องช่วยเหลือสังคมในการช่วยกระจายความเจริญ ช่วยเหลือคนยากจน และสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจชุมชนซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากของสังคมไทยด้านการคลัง ในระยะสั้นให้ความสำคัญกับมาตรการกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั้งด้านการใช้จ่ายภาครัฐและมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจฐานราก ตลอดจนการจ้างงานของประเทศ ในระยะยาวเน้นการบริหารหนี้สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างฐานรายได้ การจัดการรายได้รายจ่ายและบริหารทรัพย์สินของรัฐเพื่อให้ฐานะการคลังมีความยั่งยืนในระยะยาว ในขณะเดียวกันนโยบายภาษีและรายจ่ายจำเป็นต้องสนับสนุนเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่เสียวินัยทางการคลัง นอกจากนั้นการกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่นจะต้องสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจจากหน่วยงานส่วนกลางสู่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม และสร้างศักยภาพของท้องถิ่นในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนเข้มแข็ง และการใช้งบประมาณสามารถสนองตอบต่อความต้องการของท้องถิ่นรวมถึงคนยากจนได้ดีขึ้น
ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในขณะที่การแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวได้เพียงระดับหนึ่ง และยังไม่กระจายอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วนของสังคม เศรษฐกิจของประเทศยังได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งยังคงมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของภาวะการเงินในตลาดโลกและข้อกีดกันทางการค้า ตลอดจนแรงกดดันจากคู่แข่งขัน การพัฒนาจึงต้องมุ่งเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เป็นโอกาสโดยการเตรียมเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็ง สร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบทั้งจากภายในและภายนอก สร้างความพร้อมในการต่อรองเจรจาทางการค้า รวมทั้งปรับปรุงความสอดคล้องของนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อให้สามารถแสวงหาประโยชน์และป้องกันผลกระทบทางลบจากกระบวนการโลกาภิวัตน์ การเปิดเสรีการค้า การลงทุน และความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนในประเทศ
๑ วัตถุประสงค์
เพื่อให้การจัดการระบบบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจให้ปรับตัวเข้าสู่ความมีสมดุล มีภูมิคุ้มกัน มีเสถียรภาพและความมั่นคง เอื้อประโยชน์ต่อคนยากจน และการสร้างงาน สนับสนุนการกระจายรายได้ไปสู่ทุกภาคส่วนของสังคมอย่างเป็นธรรม อันเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการดำเนินงานนโยบายและแนวทางการพัฒนาด้านการเงิน การคลัง และความร่วมมือระหว่างประเทศไว้ดังนี้
๑.๑ เพื่อให้ภาคการเงินมีความเข้มแข็ง มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีสามารถป้องกันวิกฤตการณ์และความผันผวนจากเศรษฐกิจการเงินโลกได้ มีศักยภาพในการสนับสนุนการระดมทุนของระบบเศรษฐกิจเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ และมีส่วนสนับสนุนการกระจายเงินทุนไปสู่ภูมิภาค
๑.๒ เพื่อสร้างความมั่นคงทางการคลังในระยะยาว โดยคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการรักษาวินัยการคลังและความจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
๑.๓ เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างประเทศโดยยึดหลักทางสายกลาง ที่เอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ และมีการเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบที่เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์
๒ เป้าหมาย
เพื่อที่จะสนับสนุนวัตถุประสงค์ดังกล่าว เป้าหมายด้านเศรษฐกิจในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ คือ การพัฒนาให้เศรษฐกิจกลับสู่อัตราการขยายตัวในระดับปานกลาง เพื่อลดปัญหาความยากจนและการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงวิกฤต สร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในภาคเอกชน และลดหนี้สาธารณะในระยะยาว ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ แต่ต้องใช้ความพยายามในการดำเนินการสูงและเป็นเป้าหมายที่จำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ จำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับเป้าหมายการพัฒนาด้านอื่นๆ ด้วย โดยเป้าหมายการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมที่สำคัญ ได้แก่
๒.๑ เศรษฐกิจขยายตัวโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๔-๕ ต่อปี
๒.๒ เพิ่มการจ้างงานใหม่ในประเทศไม่ต่ำกว่า ๒๓๐,๐๐๐ คนต่อปี
๒.๓ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินประมาณร้อยละ ๓ ต่อปี
๒.๔ รักษาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ เฉลี่ยร้อยละ ๑-๒ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
๒.๕ ลดการขาดดุลเงินสดของรัฐบาลให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ ๑-๑.๕ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ภายในปี ๒๕๔๙
๒.๖ บริหารหนี้สาธารณะของประเทศให้อยู่ในระดับประมาณร้อยละ ๖๐-๖๒ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และดูแลภาระการชำระหนี้ในงบประมาณให้อยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ ๑๖-๑๘ ของงบประมาณ
๓ แนวทางการพัฒนา
ยุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมในระยะ ๕ ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จะเน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤตอย่างเต็มที่ และสนับสนุนการขยายตัวของฐานเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและเสถียรภาพที่มั่นคง เพื่อนำไปสู่การปรับฐานเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง สามารถขยายตัวต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพได้ในระยะยาว ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการเงิน โดยเฉพาะการกำกับดูแลเงินทุนและสร้างความต่อเนื่องของการแก้ไขปัญหาภาคการเงิน รวมทั้งเพิ่มบทบาทของตลาดทุนให้เป็นทางเลือกของแหล่งระดมทุนของประเทศ ในขณะที่ภาคการคลังต้องเน้นการสร้างความมั่นคงของฐานะการคลัง และการบริหารหนี้สาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จะต้องเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้สามารถรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยเน้นการบริหารจัดการและประสานกลไกการเจรจาการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศให้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแนวทางการพัฒนาตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
๓.๑ แนวทางการพัฒนาด้านการเงินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตเศรษฐกิจและช่วยกระจายความเจริญและความเป็นธรรม โดยการดูแลสภาพคล่องในระบบให้พอเพียงและรักษาเสถียรภาพด้านราคาและอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม มีการดูแลไม่ให้เกิดวิกฤตทั้งทางด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศและการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ตลอดจนมีระบบเตือนภัยทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ มีการพึ่งพาแหล่งเงินทุนที่สมดุลมากขึ้นระหว่างระบบธนาคารและตลาดทุน และระหว่างเงินทุนในประเทศและการระดมทุนจากต่างประเทศ มีความสามารถในการเผชิญวิกฤตได้ดีขึ้นจากการสร้างความร่วมมือทางการเงินกับประเทศในภูมิภาคเพื่อรองรับวิกฤตและจัดตั้งระบบประกันเงินฝาก และระบบการเงินมีส่วนเอื้ออำนวยต่อการกระจายความเจริญและความเป็นธรรมเพื่อสร้างความสมดุลของระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
(๑) สร้างความเข้มแข็งและระบบระวังภัยของภาคการเงิน โดย
(๑.๑) กำหนดเป้าหมายเสถียรภาพราคาที่เหมาะสมต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยให้ฝ่ายกำหนดนโยบายการเงินสามารถกำหนดระดับอัตราดอกเบี้ยที่เอื้อต่อการพัฒนาและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
(๑.๒) แก้ไขปัญหาอุปรรคของสถาบันการเงินให้สามารถดำเนินการได้อย่างปกติ และบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบเศรษฐกิจให้ลดลง
(๑.๓) ดูแลสภาพคล่องให้พอเพียงและเอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน
(๑.๔) รักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนและความมั่นคงของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ
(๑.๕) ติดตามและดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงการไหลออกของเงินทุนอย่างฉับพลัน โดยการพัฒนาระบบข้อมูล และพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์ เพื่อสร้างระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพและเพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันล่วงหน้า
(๑.๖) ควบคุมดูแลเงินบาทในตลาดนอกประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเอื้อประโยชน์ต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของไทย และเพื่อไม่ให้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรและโจมตีค่าเงินบาทได้
(๑.๗) จัดทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านการเงินเพื่อป้องกันวิกฤตโดยเน้นด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล และระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันในยามฉุกเฉิน
(๒) ปรับปรุงการกำกับดูแลสถาบันการเงิน โดย
(๒.๑) พัฒนาประสิทธิภาพในการกำกับดูแล และการตรวจสอบสถาบันการเงิน โดยการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบให้ทันสมัยสอดคล้องกับภาวะการณ์ และให้มีมาตรฐานการกำกับดูแลในทิศทางที่สอดคล้องกันทั้งระบบ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติและตั้งอยู่บนหลักการบริหารจัดการที่ดี สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โปร่งใส ยืดหยุ่น และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งการพัฒนาระบบข้อมูลด้านการตรวจสอบ
(๒.๒) ปฏิรูปกฎหมายทางการเงิน เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากลและเอื้อต่อการพัฒนาระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ
(๒.๓) เสริมสร้างระบบสถาบันการเงินให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและภายนอกประเทศในเรื่องมาตรฐานการบัญชี ความโปร่งใส ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์
(๒.๔) จัดให้มีระบบประกันเงินฝากอย่างเป็นขั้นตอนและรอบคอบ เพื่อลดต้นทุนของรัฐบาลในการค้ำประกันเงินฝากและเป็นการสร้างวินัยแก่ทั้งลูกค้าและธนาคารในการบริหารเงินทุน รวมทั้งมีระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสินเชื่อของสถาบันการเงินที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น
(๓) เพิ่มบทบาทของตลาดทุนในการเป็นแหล่งระดมทุนของประเทศ โดย
(๓.๑) ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนมีการทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี พัฒนาระบบการตรวจสอบและการรายงานผล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลของภาคเอกชนเอง และเพื่อเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับตลาด ช่วยให้ตลาดทุนพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
(๓.๒) พัฒนาตลาดหลักทรัพย์ให้มีทั้งความกว้างและความลึก เพื่อให้เป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ และมีสภาพคล่อง เพื่อให้เป็นกลไกที่ช่วยเสริมการระดมทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่
(๓.๓) ส่งเสริมให้มีการแปลงทุนในรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพเป็นทุนเรือนหุ้น และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเพิ่มประเภทและความหลากหลายของหลักทรัพย์ในตลาดทุน
(๓.๔) พัฒนาตลาดอนุพันธ์ เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนและเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงของนักลงทุน
(๓.๕) พัฒนาตลาดตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นทางเลือกในการระดมทุนของภาคเอกชนและรัฐบาล
(๔) ปรับปรุงบทบาทของภาคการเงินในการกระจายความเจริญและความเป็นธรรม โดย
(๔.๑) ปรับปรุงการดำเนินงานของสถาบันการเงินในกำกับของรัฐให้มีประสิทธิภาพในการประกอบธุรกรรมสูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการทรัพยากรทางการเงิน และความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้นและทั่วถึง โดยเฉพาะการสนับสนุนการให้สินเชื่อรายย่อย การให้สินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(๔.๒) กระจายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินไปสู่ภูมิภาคและจัดให้มีระบบการให้สินเชื่อระดับจุลภาค เพื่อส่งเสริมการกระจายสินเชื่อไปสู่ผู้กู้รายย่อยและชุมชนมากขึ้น
๓.๒ แนวทางการพัฒนาด้านการคลัง เพื่อสร้างความมั่นคงของฐานะการคลังและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค โดยเน้นการรักษาวินัยการคลังและบริหารหนี้สาธารณะเพื่อให้สามารถลดหนี้สาธารณะและลดภาระหนี้ในงบประมาณให้กระจายออกไปในระยะเวลาที่ยาวขึ้น ด้วยการควบคุมการก่อหนี้ใหม่ การเข้มงวดการใช้เงินกู้โดยพิจารณาจัดสรรแก่โครงการลงทุนที่มีความสำคัญและความจำเป็นสูง การพิจารณาทบทวนการจัดลำดับความสำคัญและหลักเกณฑ์การจัดทำแผนงานและโครงการลงทุนภาครัฐและเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของรัฐ การบริหารหนี้ให้มีสกุลเงินที่เหมาะสมและมีสัดส่วนของหนี้ภายในประเทศมากขึ้น การควบคุมรายจ่ายรัฐบาลไม่ให้เพิ่มสูงเกินไปและมีประสิทธิผลในการใช้จ่ายโดยใช้ระบบงบประมาณที่เน้นผลงาน ในขณะเดียวกันมีการสร้างฐานรายได้ ขยายฐานภาษี และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ บริหารทรัพย์สินของรัฐบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน โดยการกระจายอำนาจและถ่ายโอนภารกิจสู่ท้องถิ่นเพื่อให้การใช้งบประมาณตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น รวมถึงพิจารณาปฏิรูปโครงสร้างภาษีอากรให้เอื้ออำนวยต่อภาคการผลิต การลงทุน และส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และปฏิรูปกองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนประกันสังคมเพื่อสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตของประชาชน
(๑) รักษาวินัยการบริหารหนี้สาธารณะ โดย
(๑.๑) ควบคุมการก่อหนี้สาธารณะและดำเนินการให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง ลดข้อจำกัดทางงบประมาณ ซึ่งต้องรับภาระการชำระหนี้จากการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
(๑.๒) ควบคุมการก่อหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ระดับของภาระหนี้สินที่มีอยู่ ฐานะการคลังและฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ
(๑.๓) ปรับปรุงระบบการพิจารณา และการบริหารโครงการเงินกู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการตัดทอนเงินกู้สำหรับโครงการที่มีเงินเหลือจ่ายหรือไม่จำเป็นต้องจ่าย และปรับลดหรือระงับโครงการที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือหมดความจำเป็นในการดำเนินการ
(๑.๔) พิจารณาทบทวนการจัดลำดับความสำคัญและหลักเกณฑ์การจัดทำแผนงานและโครงการลงทุนภาครัฐเพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้านการก่อหนี้และภาระงบประมาณ
(๑.๕) ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจและเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของภาครัฐโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการดำเนินงาน มาตรฐานและคุณภาพของการผลิตสินค้าและการให้บริการที่ให้ผลประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม
(๑.๖) ปรับแนวทางการก่อหนี้ต่างประเทศ ให้เป็นหนี้ภายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการที่ไม่จำเป็นต้องมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและเพิ่มอุปทานตราสารหนี้ภายในประเทศ โดยพิจารณาความเหมาะสมในด้านการกระจายตัวทั้งประเภทและอายุตราสารเพื่อลดต้นทุนการก่อหนี้ภาครัฐโดยรวม
(๑.๗) ปรับโครงสร้างเงินกู้ต่างประเทศให้อยู่ในรูปสกุลเงินต่างๆอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนการกู้ยืม เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
(๑.๘) พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการก่อหนี้และการบริหารหนี้รวมทั้งกฎหมายเงินคงคลัง และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๐๒ โดยรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นระบบ และเพิ่มความเข้มแข็งของวินัยการคลัง ในขณะเดียวกันเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารหนี้ให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการกู้เพื่อปรับโครงสร้างเงินกู้
(๒) ปฏิรูประบบงบประมาณและการบริหารรายจ่าย โดย
(๒.๑) ปฏิรูประบบงบประมาณไปสู่ระบบที่มุ่งเน้นผลงาน ให้มีแผนการจัดสรรงบประมาณระยะปานกลาง และมีการประเมินผลผลิตและผลลัพธ์
(๒.๒) ให้มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายรวมของภาครัฐที่ครอบคลุมงบประมาณส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ และส่วนท้องถิ่น
(๒.๓) มีกลไกประสานแผนงาน แผนเงิน แผนคน เพื่อให้เกิดการบูรณาการทั้งระบบโดยยึดหลักการของพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วม และให้จัดสรรงบประมาณลงสู่ชุมชนหรือองค์กรนอกภาครัฐได้โดยตรง
(๒.๔) ปรับปรุงการบริหารรายจ่ายงบประมาณแผ่นดินให้มีเพียงพอสำหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนาและการผ่อนชำระหนี้ รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงระบบเงินประจำงวดและประสิทธิภาพการเบิกจ่าย
(๒.๕) จัดระบบกองทุนและเงินทุนหมุนเวียนที่รัฐบาลสนับสนุนให้มีประสิทธิภาพ และความโปร่งใสในการบริหารการคลังและลดภาระงบประมาณ
(๓) ปรับปรุงการจัดการด้านรายได้และนโยบายภาษี โดย
(๓.๑) ปฏิรูปโครงสร้างภาษีอากรให้เอื้ออำนวยต่อภาคการผลิต การค้าและบริการให้สามารถแข่งขันได้ ทั้งในเวทีอนุภาคอาเซียนและเวทีโลก
(๓.๒) ทบทวนและปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทั้งระบบ
(๓.๓) ส่งเสริมให้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการที่เกี่ยวกับการยื่นชำระภาษี โดยเฉพาะเร่งรัดการนำมาใช้สำหรับการยื่นชำระภาษีการนำเข้าและส่งออกสินค้า
(๓.๔) บริหารรายได้ภาครัฐให้มีเพียงพอกับภาระงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้น ทั้งงบประจำและการชำระหนี้ เช่น การสร้างฐานรายได้ของประเทศ การเพิ่มฐานภาษี การบริหารการจัดเก็บรายได้ที่มีประสิทธิภาพ และรักษาอัตราภาษีที่เหมาะสม รวมทั้งบริหารทรัพย์สินของภาครัฐที่มีอยู่ให้มีผลตอบแทนสูงสุด
(๓.๕) ปรับปรุงภาษีที่เก็บจากทรัพย์สินเพื่อลดการถือครองทรัพย์สินเพื่อการเก็งกำไร และพิจารณานำภาษีมรดกมาบังคับใช้ เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้
(๓.๖) พิจารณาจัดเก็บภาษีเพื่อคุ้มครอง อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๓.๗) ปรับปรุงขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อกระตุ้นให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการศึกษา พัฒนาฝีมือแรงงานและการวิจัยและพัฒนา
(๔) ส่งเสริมระบบการออมของประเทศ โดยปฏิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนประกันสังคม ให้ครอบคลุมประชากรและผู้ใช้แรงงานอย่างทั่วถึง โดยให้ความสำคัญกับการออมเพื่อการชราภาพ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางการเงินในระยะยาว
(๕) กระจายอำนาจการคลังและถ่ายโอนภารกิจสู่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม โดย
(๕.๑) เพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการวางแผน การจัดทำและบริหารงบประมาณ เพื่อสามารถสนองต่อความต้องการของชุมชน
(๕.๒) ปรับบทบาทและการจัดสรรบุคลากรของส่วนกลางให้สอดคล้องกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มบทบาทในการจัดการบริการสาธารณะตามศักยภาพของตนเองได้มากขึ้น
(๕.๓) พัฒนาขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดเก็บรายได้ โดยเฉพาะประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินตามศักยภาพของท้องถิ่น เพื่อแบ่งเบาภาระจากส่วนกลาง
๓.๓ แนวทางการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างประเทศให้อยู่บนทางสายกลาง มีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างรู้เท่าทัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศที่ใช้ความรู้ความสามารถในประเทศมากขึ้น โดยต้องสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธุรกิจชุมชนในระดับรากหญ้า ภายใต้กรอบของเศรษฐกิจมหภาคที่มีเสถียรภาพมั่นคง ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นการเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
(๑) ปรับปรุงระบบการเจรจาทางการค้าทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาคและพหุภาคีและปรับกลไกความร่วมมือเศรษฐกิจต่างประเทศในทุกด้าน ให้มีความชัดเจนและเชื่อมโยงกันทั้งด้านการค้า การตลาด การบริการ และการลงทุน เพื่อให้สามารถใช้ความร่วมมือระหว่างประเทศมาสนับสนุนกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) เพิ่มศักยภาพและสมรรถนะของประเทศ ให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยรวม และมุ่งให้ทุนที่มีคุณภาพสร้างฐานรากในประเทศ และต่อยอดการพัฒนาบนพื้นฐานของทุนภายในประเทศด้านต่างๆ อาทิ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความรู้และภูมิปัญญา ทักษะและฝีมือ ความสามารถในการบริหารจัดการ เทคโนโลยี เป็นต้น
(๓) ใช้ประโยชน์จากเวทีความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยสร้างพันธมิตรระหว่างกลุ่มหรือภูมิภาคที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในทวีปเอเซีย ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ อาทิ การพิทักษ์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเชื่อมโยงเครือข่ายทางโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-