(ต่อ5)บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 11, 2005 13:51 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          ในขณะที่ สาขาประมงปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกจังหวัด ส่งผลให้  อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องและสาขาการค้าส่งการค้าปลีกฯ เติบโตตามไปด้วยประกอบกับสาขาการศึกษาเติบโตดี ทุกจังหวัด ส่วนจังหวัดที่เหลือที่มีการผลิตขยายตัวชะลอลงได้แก่อุบลราชธานีบุรีรัมย์กาฬสินธุ์หนองคายเลย นครพนมยโสธารแลมุกดาหารเป็นผลจกกรผลิตนอกภาคเกษตรหลายสาขาในจังหวัดเหล่านี้ขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยสาขาหลักที่ขยายตัวต่ำ ได้แก่ สาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม เป็นผลมาจากธุรกิจด้านสื่อสาร ซึ่งเป็นหมวดหลักลดตัวลงในทุกจังหวัดดังกล่าว สาขาการทำเหมืองแร่ฯ โดยการทำเหมืองหิน ทราย ชะลอตัวลงตามภาวะการก่อสร้าง สาขาการบริหารราชการแผ่ นดินฯ ปี นี้การเบิกจ่ายของราชการส่วนท้องถิ่น และจากนโยบายการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจลดลง สาขาอุตสาหกรรมเป็นผลจากหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดสิ่งทอสิ่งถัก และหมวดเครื่องแต่งกาย ลดลงเกือบทุกจังหวัดยกเว้น เลย และ ยโสธรที่สาขาอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี 
อัตราขยายตัวของ GPP ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ)
จังหวัด อัตราขยายตัว สัดส่วนต่อ GRP
2545 2546 2545 2546
1. ขอนแก่น 6.4 11.8 13.2 13.9
2. อุดรธานี 6.3 10.3 7.3 7.6
3. เลย 4.2 3.6 3.1 3.0
4. หนองคาย 13.3 2.2 3.7 3.5
5. มุกดาหาร 3.3 0.3 1.5 1.4
6. นครพนม 1.9 0.8 2.6 2.4
7. สกลนคร 3.7 4.6 4.1 4.0
8. กาฬสินธุ์ 14.1 7.8 4.2 4.2
9. นครราชสีมา 6.7 10.8 16.7 17.4
10. ชัยภูมิ -2.0 4.0 5.0 4.9
11. ยโสธร 7.4 0.2 2.3 2.1
12. อุบลราชธานี 9.4 2.8 8.2 7.9
13. ร้อยเอ็ด 3.7 5.7 5.3 5.3
14. บุรีรัมย์ 11.6 0.1 6.3 5.9
15. สุรินทร์ 2.0 3.6 5.0 4.9
16. มหาสารคาม -2.0 9.9 3.7 3.8
17. ศรีสะเกษ 1.9 6.6 5.0 5.0
18. หนองบัวลำภู -1.6 10.5 1.5 1.5
19. อำนาจเจริญ 1.5 6.1 1.3 1.3
รวมทั้งภาค 5.6 6.7 100.0 100.0
ภาคเหนือ
ภาพรวม ผลิตภัณฑ์ภาค (GRP) ขยายตัวร้อยละ 7.3 เป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากปีที่แล้ว โดยมีปัจจัยหลักจากการผลิตภาคเกษตรที่ขยายตัวในอัตราเร่ง หลังจากหดตัวในปีก่อนหน้า ส่วนการผลิตนอกภาคเกษตรชลอตัวลงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับร้อยละ 10.0 ในปีก่อนหน้า
การผลิตภาคเกษตร ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.3 เทียบกับ การหดตัวร้อยละ 4.6 ในปีก่อน เป็นผลมาจากการขยายตัว ได้ดีของหมวดพืชผลที่ขยายตัวร้อยละ 12.8 จากที่หดตัว ร้อยละ 6.2 ในปีที่ผ่านมพืชสำคัญได้แก่ข้าวเปลือกข้าวโพด เติบโตได้ดี หมวดบริการทางการเกษตรขยายตัว ร้อยละ 11.0 เนื่ องจากพื้ นที่ เพ ปลูกและพื้ นที่ เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น รวมทั้งหมวดปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 23.4 โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่เนื้อ และโค ขยายตัวได้ดี เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดภายในและต่างประเทศ ในขณะที่ การผลิตในหมวดป่าไม้หดตัวร้อยละ 46.5 เป็นผลมาจากการลดลงของปริมาณไม้ทุกชนิด ส่วนสาขาประมงปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 2.2 เทียบจากปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 5.7
อัตราขยายตัวและโครงสร้างการผลิตภาคเหนือ (ร้อยละ)
อัตราขยายตัว โครงสร้าง
2545 2546 2545 2546
เกษตรกรรม -4.6 13.3 18.6 19.6
นอกเกษตรกรรม 10.0 5.9 81.4 80.4
อุตสาหกรรม 31.5 19.7 17.3 19.3
สาขาอื่นๆ 5.4 2.2 64.1 61.1
GRP 7.0 7.3 100.0 100.0
(ยังมีต่อ).../การผลิตนอก..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ