ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2563 และแนวโน้มปี 2563 - 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 16, 2020 13:54 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค

แถลงข่าว วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.30 น.

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2563 ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.4 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 12.1 ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2563 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่สองของปี 2563 (%QoQ_SA) ร้อยละ 6.5 รวม 9 เดือนแรกของปี 2563 เศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงร้อยละ 6.7

ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้น การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกสินค้าปรับตัวลดลงในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาส ก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกบริการลดลงต่อเนื่อง ด้านการผลิต สาขาก่อสร้างขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาอุตสาหกรรม สาขาเกษตรกรรม สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาการขายส่งการขายปลีกและการซ่อมฯ และสาขาไฟฟ้าและก๊าซฯ ปรับตัวลดลงในอัตราที่น้อยกว่าการลดลงในไตรมาสก่อนหน้า

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2563 คาดว่าจะลดลงร้อยละ 6.0 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าปรับตัวลดลงร้อยละ 7.5 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมปรับตัวลดลง ร้อยละ 0.9 และร้อยละ 3.2 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -0.9 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.8 ของ GDP

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 - 4.5 โดยมีแรงสนับสนุนจาก (1) การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ (2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (3) แรงขับเคลื่อนจากภาครัฐจากการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณและมาตรการทางเศรษฐกิจ และ (4) ฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.4 และร้อยละ 6.6 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 - 1.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.6 ของ GDP

ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2563 และปี 2564 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การป้องกันการกลับมาระบาดระลอกที่สองในประเทศ (2) การดูแล ภาคเศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว (i) การเร่งรัดติดตามมาตรการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนให้ตอบสนองสาขาและพื้นที่เศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว (ii) การช่วยเหลือและดูแลแรงงาน (iii) การรณรงค์ให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น (iv) การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคอย่างรัดกุม และ (v) การดำเนินการด้านวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (3) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายภาครัฐ (i) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 94.4 (ii) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 (iii) งบเหลื่อมปีให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 และ (iv) การเบิกจ่ายโครงการตามพระราชกำหนดฯ เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทให้ได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 (4) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการลงทุนภาคเอกชน (i) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของโรคโควิด-19 (ii) การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า (iii) การให้ความสำคัญกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า (iv) การลดต้นทุนการผลิตสินค้าที่สำคัญ ๆ (v) การป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนและการแข็งค่าของเงินบาท และ (vi) การส่งเสริมการตลาดเชิงรุกผ่านช่องทางออนไลน์ (5) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน (i) เร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2561 - 2563 ให้เกิดการลงทุนจริง (ii) การขับเคลื่อนการส่งออกเพื่อเพิ่มการใช้ กำลังการผลิต (iii) การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ (iv) การประชาสัมพันธ์จุดแข็งของประเทศไทย และ (v) การขับเคลื่อนมาตรการสร้างศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง (6) การดูแลราคาสินค้าเกษตรในบางพื้นที่ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาด และการเตรียมการรองรับปัญหาภัยแล้ง (7) การรักษาบรรยากาศทางการเมือง และ (8) การเตรียมการรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกและการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2563 และแนวโน้มปี 2563 - 2564

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2563 ลดลงร้อยละ 6.4 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 12.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้น การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกสินค้าลดลงในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกบริการลดลงต่อเนื่อง ด้านการผลิต การผลิตสาขาก่อสร้างขยายตัวเร่งขึ้น สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาอุตสาหกรรม สาขาเกษตรกรรม สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาการขายส่งการขายปลีกและการซ่อมฯ และสาขาไฟฟ้าและก๊าซฯ ปรับตัวลดลงในอัตราที่น้อยกว่าการลดลงในไตรมาสก่อนหน้า เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2563 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่สองของ ปี 2563 (QoQ_SA) ร้อยละ 6.5 รวม 9 เดือนแรกของปี 2563 เศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงร้อยละ 6.7

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2563

1) การบริโภคภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 0.6 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการปิดสถานที่และยกเลิกการจำกัดการเดินทางในประเทศ และการดำเนินมาตรการช่วยเหลือ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายภายในประเทศกลับมาฟื้นตัวตามลำดับ การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อเนื่องจาก การขยายตัวร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายเพื่อซื้ออาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ขยายตัวร้อยละ 2.9 การใช้จ่ายในหมวดบริการขยายตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายกลุ่มการเช่าที่อยู่อาศัย กลุ่มการใช้น้ำประปา ไฟฟ้าและพลังงาน การบริการสุขภาพ และกลุ่มการบริการด้านการศึกษาขยายตัวร้อยละ 3.7 ร้อยละ 4.3 และร้อยละ 0.7 ตามลำดับ การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนลดลงร้อยละ 14.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 15.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์ตกแต่งที่อยู่อาศัยและการใช้จ่ายเกี่ยวกับเสื้อผ้าและรองเท้าลดลงร้อยละ 5.2 และร้อยละ 20.4 ตามลำดับ และการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 19.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 30.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการซื้อยานพาหนะลดลงร้อยละ 17.6 ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 3.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของหมวดการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดซึ่งขยายตัวร้อยละ 8.0 อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายรวมในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 21.6 (สูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 21.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)

รวม 9 เดือนแรกของปี 2563 การบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 1.7 และการใช้จ่ายของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 0.7

2) การลงทุนรวม ลดลงร้อยละ 2.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 8.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 10.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 15.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่ลดลงร้อยละ 14.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 18.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนในสิ่งก่อสร้างกลับมาขยายตัวร้อยละ 0.3 การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 18.5 เป็นผลจากการลงทุนรัฐบาลเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 29.5 ที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 30.8 เทียบกับอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 19.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 21.6 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

รวม 9 เดือนแรกของปี 2563 การลงทุนรวมลดลงร้อยละ 5.6 โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 10.3 ขณะที่การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 7.3

3) การส่งออกสินค้า ตามระบบดุลการชำระเงินมีมูลค่า 57,990 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 8.2 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 17.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และการขยายตัวของการส่งออกสินค้าบางรายการที่ได้ประโยชน์จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 7.6 และราคาส่งออกลดลงร้อยละ 0.7 กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าขยายตัว เช่น มันสำปะหลัง (ร้อยละ 27.9) ปลากระป๋องและปลาแปรรูป (ร้อยละ 10.1) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 34.1) เตาอบ (ร้อยละ 71.8) ตู้เย็น (ร้อยละ 21.9) เป็นต้น กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าลดลงแต่เป็นการลดลงในอัตราที่ช้าลงจากไตรมาสก่อนหน้า เช่น ยางพารา (ลดลงร้อยละ 35.5) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 1.8) รถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 22.9) รถกระบะและรถบรรทุก (ลดลงร้อยละ 29.5) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 16.0) เคมีภัณฑ์ (ลดลงร้อยละ 6.7) เป็นต้น การส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27) ไม่รวมสหราชอาณาจักร อาเซียน (9) ออสเตรเลีย และจีนยังปรับตัวลดลง เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออก มูลค่า การส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 10.5 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 6.3

รวม 9 เดือนแรกของปี 2563 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า168,644 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 8.2 โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 7.3 และราคาส่งออกลดลงร้อยละ 1.0 เมื่อคิดในรูปของเงินบาท การส่งออกมีมูลค่า 5,314 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.6

4) สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ลดลงร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของผลผลิตพืชเกษตรสำคัญ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพอากาศที่แห้งแล้งและฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ปริมาณน้ำน้อยกว่าปีที่ ผ่านมา ผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ลดลงในอัตราที่ชะลอตัวลง ได้แก่ ข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 4.2) และยางพารา (ลดลงร้อยละ 2.3) ส่วนผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ลดลงต่อเนื่อง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน (ลดลงร้อยละ 5.6) และมันสำปะหลัง (ลดลงร้อยละ 0.8) ส่วนผลผลิต พืชเกษตรสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7) ไก่เนื้อ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7) กลุ่มไม้ผล (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5) ตามลำดับ ด้านหมวดประมงลดลงร้อยละ 1.9 ในขณะที่หมวดปศุสัตว์ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 2.7 ราคาสินค้าเกษตรโดยรวมกลับมาขยายตัวร้อยละ 6.4 โดยเฉพาะราคาข้าวเปลือก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4) ราคาปาล์มน้ำมัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.2) ราคากลุ่มไม้ผล (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8) ราคาสุกร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8) ราคายางพารา (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0) และราคาโคเนื้อ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง เช่น ราคาไก่เนื้อ (ลดลงร้อยละ 6.2) และราคาไข่ไก่ (ลดลงร้อยละ 0.4) เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมกลับมาเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาสที่ร้อยละ 6.2

รวม 9 เดือนแรกของปี 2563 การผลิตสาขาเกษตรกรรมฯ ลดลงร้อยละ 5.2 โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 7.0 ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 และดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมลดลงร้อยละ 2.9

5) สาขาการผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 5.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 14.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 - 60 ลดลงร้อยละ 23.9 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ลดลงร้อยละ 6.0 และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ลดลงร้อยละ 1.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 7.7 ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 60.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 52.9 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 64.8 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 30.2) การผลิตน้ำตาล (ลดลงร้อยละ 65.2) และการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 7.5) เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน (ขยายตัวร้อยละ 25.6) การผลิตปุ๋ยเคมี (ขยายตัวร้อยละ 30.7) และการผลิตเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค (ขยายตัวร้อยละ 15.5) เป็นต้น

รวม 9 เดือนแรกของปี 2563 การผลิตสาขาการผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 7.4 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 11.4 อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 60.1

6) สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ลดลงร้อยละ 39.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 50.2 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็น การลดลง 3 ไตรมาสติดต่อกัน ตามการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นสำคัญ โดยในไตรมาสนี้มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 0 คน ลดลงร้อยละ 100.0 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงมีการระบาดในทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มีรายรับรวมจากการท่องเที่ยว (เป็นรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยทั้งหมด) 0.116 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 84.3 โดยรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยลดลงร้อยละ 55.9 อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 26.76 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.51 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 64.03 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

รวม 9 เดือนแรกของปี 2563 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลงร้อยละ 37.2 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงร้อยละ 77.3 รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ที่ 0.332 ล้านล้านบาท และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 28.55

7) สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ลดลงร้อยละ 23.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 38.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยบริการขนส่งทางอากาศลดลงร้อยละ 71.9 บริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงลดลงร้อยละ 17.2 และบริการขนส่งทางน้ำลดลงร้อยละ 0.6 บริการสนับสนุนการขนส่งลดลงร้อยละ 22.7 ในขณะที่บริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 5.0 สอดคล้องกับรายรับของผู้ประกอบการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

รวม 9 เดือนแรกของปี 2563 การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าลดลงร้อยละ 22.2 โดยบริการขนส่งลดลงร้อยละ 23.6 บริการสนับสนุนการขนส่งลดลงร้อยละ 16.9 ขณะที่บริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 10.7

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2563 - 2564

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2563 คาดว่าจะลดลงร้อยละ 6.0 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าปรับตัวลดลงร้อยละ 7.5 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมปรับตัวลดลงร้อยละ 0.9 และร้อยละ 3.2 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -0.9 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.8 ของ GDP แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 - 4.5 โดยมีแรงสนับสนุนจาก (1) การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ(2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (3) แรงขับเคลื่อนจากภาครัฐจากการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีและมาตรการทางเศรษฐกิจ และ (4) ฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.4 และร้อยละ 6.6 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ช่วงร้อยละ 0.7 - 1.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.6 ของ GDP

1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2563 ในด้านต่าง ๆ เป็นดังนี้

ด้านการใช้จ่าย

การบริโภคภาคเอกชน: ลดลงร้อยละ 0.6 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการผ่อนคลายมาตรการปิดสถานที่และยกเลิกการจำกัดการเดินทางในประเทศ การดำเนินมาตรการช่วยเหลือ เยียวยา และกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการผลิตและฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 10.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทน

ขยายตัวร้อยละ 2.7 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า การใช้จ่ายกลุ่มสินค้าสำคัญในหมวดนี้ เช่น การใช้จ่ายเพื่อซื้ออาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เป็นต้น การใช้จ่ายในหมวดบริการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เทียบกับการปรับตัวลดลงร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายกลุ่มสินค้าที่สำคัญ เช่น การเช่าที่อยู่อาศัย การใช้น้ำประปา ไฟฟ้าและพลังงาน การบริการสุขภาพ และการบริการด้านการศึกษา ซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.7 ร้อยละ 4.3 และร้อยละ 0.7 ตามลำดับ ขณะที่การใช้จ่ายกลุ่มโรงแรมและภัตตาคารลดลงร้อยละ 49.6 การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนลดลงร้อยละ 14.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 15.7 ในไตรมาสก่อนหน้า การใช้จ่ายกลุ่มสินค้าสำคัญ เช่น การใช้จ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์ตกแต่งที่อยู่อาศัยและ การใช้จ่ายเกี่ยวกับเสื้อผ้าและรองเท้าลดลงร้อยละ 5.2 และร้อยละ 20.4 ตามลำดับ และการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 19.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 30.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่ายใน กลุ่มสินค้าที่สำคัญ ๆ เช่น การซื้อยานพาหนะลดลงร้อยละ 17.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 43.0 ในไตรมาส ก่อนหน้า เป็นต้น การปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสนี้เป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการปิดสถานที่และจำกัดการเดินทางภายในประเทศ และมาตรการภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือและเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ระดับ 43.0 จากระดับ 40.3 ในไตรมาสก่อนหน้า

การลงทุนภาคเอกชน: ลดลงร้อยละ 10.7 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 15.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตาม การลดลงของการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร ในขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างกลับมาขยายตัว โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรลดลงร้อยละ 14.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 18.4 ในไตรมาส ก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในประเทศ และยอด จดทะเบียนยานยนต์ใหม่ลดลงร้อยละ 13.6 ร้อยละ 7.9 และร้อยละ 9.4 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 18.8 ร้อยละ 21.2 และร้อยละ 24.5 ตามลำดับ ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างกลับมาขยายตัวร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการกลับมาขยายตัวของพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลร้อยละ 1.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และการขยายตัวของดัชนี การจำหน่ายวัสดุก่อสร้างในประเทศร้อยละ 0.5 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 45.4 จากระดับ 35.2 ในไตรมาสก่อนหน้า

การส่งออก: มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. อยู่ที่ 57,990 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 8.2 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 17.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และ การขยายตัวของการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการกีดกันทางการค้า โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 7.6 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 16.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ 9.1 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 18.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตร และสินค้าประมงลดลงร้อยละ 10.0 และร้อยละ 16.0 ตามลำดับ เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.6 และการลดลงร้อยละ 7.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ส่วนราคาสินค้าส่งออกลดลงร้อยละ 0.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 10.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 21.4 ในไตรมาสก่อนหน้า การส่งออกในรูปของเงินบาท การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 1,816 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 16.8 ในไตรมาสก่อนหน้า

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 7.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 10.0 ตามการลดลงของปริมาณการส่งออกข้าว ยางพารา และน้ำตาล ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกข้าว และน้ำตาล โดย ข้าว มูลค่า การส่งออกลดลงร้อยละ 18.3 ตามการลดลงของมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐฯ แคเมอรูน และฮ่องกง เป็นสำคัญ ประกอบกับประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่เริ่มกลับมาส่งออกข้าวได้ตามปกติ ทั้งในส่วนของอินเดียและเวียดนาม ทำให้ไทยสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในตลาดสำคัญ รวมทั้งประเทศผู้นำเข้าบางส่วนยังคงมีสต็อกข้าวคงเหลือในระดับที่เพียงพอ และการแข็งค่าของเงินบาท โดยปริมาณการส่งออกข้าวลดลงร้อยละ 26.7 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 ยางพารา มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 35.5 ตามการลดลงของมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เป็นสำคัญ โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 25.0 เนื่องจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าหลักปรับตัวลดลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ประกอบกับฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้ปริมาณผลผลิตยางออกสู่ตลาดน้อย ส่วนราคาส่งออกลดลงร้อยละ 13.7 น้ำตาล มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 49.6 ตามการลดลงของมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา และฟิลิปปินส์ เป็นสำคัญ โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 51.9 เนื่องจากผลผลิตอ้อยลดลงจากภัยแล้ง ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ตามสต็อกน้ำตาลโลกลดลง

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 10.1 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 20.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า การขยายตัวของการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของ โรคโควิด-19 และการปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นของห่วงโซ่การผลิตและระบบขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 9.1 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 18.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และราคาส่งออกลดลงร้อยละ 1.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัว เช่น ปลากระป๋องและปลาแปรรูป (ร้อยละ 10.1) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 34.1) อาหารสัตว์ (ร้อยละ 18.0) เตาไมโครเวฟ เตาอบ (ร้อยละ 71.8) ตู้เย็น (ร้อยละ 21.9) และเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (ร้อยละ 17.0) เป็นต้น ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังปรับตัวลดลงแต่เป็นการลดลงในอัตราที่ช้าลงจากไตรมาสก่อนหน้า เช่น รถยนต์นั่ง รถกระบะและรถบรรทุก ชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซึ่งลดลงร้อยละ 22.9 ร้อยละ 29.5 ร้อยละ 16.0 ร้อยละ 1.8 ร้อยละ 7.2 ร้อยละ 9.6 ร้อยละ 6.7 ร้อยละ 11.7 และร้อยละ 32.4 ตามลำดับ เทียบกับการลดลงร้อยละ 45.2 ร้อยละ 67.7 ร้อยละ 45.0 ร้อยละ 9.1 ร้อยละ 28.8 ร้อยละ 23.4 ร้อยละ 20.4 ร้อยละ 18.9 และร้อยละ 42.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าประมงลดลงร้อยละ 19.8 โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 16.0 และราคาส่งออกลดลงร้อยละ 4.5 สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ สินค้าในกลุ่ม กุ้ง ปู กั้ง และล็อบสเตอร์ (ลดลงร้อยละ 27.1) เป็นต้น สินค้าส่งออกอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่า การส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8

ตลาดส่งออก: การส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น อาเซียน (9) สหภาพยุโรป (27) ไม่รวมสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย จีน และตะวันออกกลาง (15) ยังปรับตัวลดลง การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 17.6 ตามการขยายตัวของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน อาหารทะเลกระป๋องแปรรูป เตาอบไมโครเวฟ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอาหารสัตว์เลี้ยง เป็นต้น ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นปรับตัวลดลงร้อยละ 12.2 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 13.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการส่งออกเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ขณะที่การส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยางกลับมาขยายตัว การส่งออกไปยังตลาดอาเซียน (9) ลดลงร้อยละ 14.9 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 22.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน (5) และกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ลดลงร้อยละ 19.0 และร้อยละ 9.2 เทียบกับ การลดลงร้อยละ 19.7 และร้อยละ 25.8 ในไตรมาสก่อนหน้าตามลำดับ การส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (27) ไม่รวมสหราชอาณาจักรลดลงร้อยละ 10.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 28.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ การส่งออกไปยังตลาดจีนลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 12.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการส่งออกเม็ดพลาสติก และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นสำคัญ ส่วนตะวันออกกลาง (15) ลดลงร้อยละ 24.2 ตามการลดลงของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และข้าว เป็นสำคัญ

การนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 45,294 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 17.8 น้อยกว่า การลดลงร้อยละ 23.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า ช่วงเดียวกันของปีก่อนแต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 16.5 เทียบกับ การลดลงร้อยละ 19.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงในทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย ปริมาณการนำเข้าในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง และสินค้าทุนลดลงร้อยละ 13.1 ร้อยละ 13.4 และร้อยละ 17.6 ตามลำดับ ส่วนราคานำเข้าปรับตัวลดลงร้อยละ 1.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.1. ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ หากไม่รวมการนำเข้าทองคำ มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 16.1 ในรูปของเงินบาท การนำเข้าสินค้ามีมูลค่ารวม 1,419 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 22.5 ในไตรมาสก่อนหน้า

ในรายหมวด มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุนและสินค้านำเข้าอื่น ๆ รวมถึงวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางปรับตัวลดลง มูลค่าการนำเข้าหมวดอุปโภคบริโภค ลดลงร้อยละ 12.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 15.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 13.1 ในขณะที่ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง เช่น ผลิตภัณฑ์จากสัตว์และประมง ยาและเวชภัณฑ์ และสิ่งทอ เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าทุนลดลงร้อยละ 16.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 18.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็น การลดลงของปริมาณนำเข้าร้อยละ 17.6 ส่วนราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง เช่น เครื่องจักรกลอื่น ๆ และชิ้นส่วน หม้อแปลง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ และเครื่องเก็บประจุไฟฟ้า เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางลดลงร้อยละ 17.6 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 23.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 13.4 และราคานำเข้าลดลงร้อยละ 4.9 สำหรับสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำมันดิบ วัสดุที่ทำด้วยโลหะ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 35.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 46.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงในอัตราชะลอลงของการนำเข้าหมวดทองคำ (ไม่รวมทองรูปพรรณ) และหมวดยานยนต์ ซึ่งลดลงร้อยละ 60.8 และร้อยละ 37.4 ตามลำดับ

อัตราการค้า (Term of Trade) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากราคานำเข้าลดลงร้อยละ 1.5 เร็วกว่าการลดลงของราคาส่งออกร้อยละ 0.7 ส่งผลให้อัตราการค้าเพิ่มขึ้นจากระดับ 108.3 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็นระดับ 109.3 ในไตรมาสที่สามของปี 2563

สูงกว่าการเกินดุล 8.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (257.1 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าการเกินดุล ดุลการค้าเกินดุล ในไตรมาสที่สามของปี 2563 ดุลการค้าเกินดุล 12.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (397.5 พันล้านบาท) 8.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (247.4 พันล้านบาท) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ด้านการผลิต

สาขาเกษตรกรรม: ลดลงร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 3.3 ในไตรมาสที่สอง การลดลงของการผลิตสาขาเกษตรในไตรมาสนี้มีสาเหตุมาจากสภาพอากาศแห้งแล้ง ประกอบกับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณน้อยกว่าปีที่ผ่านมา สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลงแต่เป็นการลดลงที่น้อยกว่าไตรมาสก่อนหน้า ได้แก่ (1) ข้าวเปลือกลดลงร้อยละ 4.2 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 43.7 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากปริมาณผลผลิตข้าวนาปีเริ่มออกสู่ตลาด (2) ยางพารา ลดลงร้อยละ 2.3 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากปริมาณความต้องการ ใช้ยางพาราจากภายในและต่างประเทศ (ประเทศจีน) ปรับตัวเพิ่มขึ้น และ (3) กุ้งขาวแวนนาไม ลดลงร้อยละ 1.9 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 15.8 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากมีปริมาณฝนตกหนักในบางพื้นที่ ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเร่งจับกุ้งเพื่อจำหน่ายก่อนครบกำหนด ส่วนผลผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลงต่อเนื่อง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ลดลงร้อยละ 5.6 และมันสำปะหลัง ลดลงร้อยละ 0.8 เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง และปริมาณน้ำไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ประกอบกับการแพร่ระบาดของโรคพืช ในขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 ตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูก เนื่องจากเกษตรกรได้รับแรงจูงใจด้านราคาในปีก่อนที่อยู่ในเกณฑ์ดี ไก่เนื้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ตามความต้องการบริโภคเนื้อไก่ภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นและความต้องการบริโภคไก่สดแช่เย็นและแช่แข็งจากต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น และกลุ่มไม้ผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ให้ผลผลิตของไม้ผลบางรายการ เช่น ทุเรียน และ ลำไย เป็นต้น ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ปรับตัวดีขึ้นจาก การลดลงร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ เช่น (1) ข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ในขณะที่ความต้องการบริโภคข้าวเปลือก ภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (2) ปาล์มน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.2 เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ในขณะที่ความต้องการใช้ปาล์มน้ำมันในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น (3) กลุ่มไม้ผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เนื่องจากปริมาณผลผลิตไม้ผลบางรายการไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เช่น ทุเรียนและสับปะรด เป็นต้น (4) สุกร เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ในขณะที่ความต้องการบริโภคภายในประเทศสูงขึ้น ประกอบกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาเนื้อสุกรในตลาดโลกที่ได้รับผลกระทบจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร โดยเฉพาะประเทศจีน และเวียดนาม เป็นต้น และ (5) ยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เนื่องจากปริมาณผลผลิตยางพาราปรับตัวลดลง ในขณะที่ความต้องการใช้ยางธรรมชาติปรับตัวเพิ่มขึ้นจากทั้งภายในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง เช่น ราคาไก่เนื้อ ลดลงร้อยละ 6.2 และราคาไข่ไก่ ลดลงร้อยละ 0.4 ตามลำดับ การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมกลับมาเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาสที่ร้อยละ 6.2

สาขาอุตสาหกรรม: ลดลงร้อยละ 5.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 14.6 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนแต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า และสอดคล้องกับการลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงร้อยละ 8.3 เทียบกับการลดลง ร้อยละ 20.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 - 60 ลดลงร้อยละ 23.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 51.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตยานยนต์ลดลงร้อยละ 30.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 69.0 ในไตรมาสก่อนหน้า และการทอผ้าลดลงร้อยละ 26.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 39.8 อย่างไรก็ตาม การผลิตน้ำตาลลดลงร้อยละ 65.2 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 36.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60)

ลดลงร้อยละ 6.0 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 13.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิตสำคัญ ๆ ได้แก่ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 8.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 9.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป (เครื่องปรับอากาศ) ลดลงร้อยละ 5.2 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 38.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการผลิตสินค้าสำคัญ ๆ ที่กลับมาขยายตัว ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน (ขยายตัวร้อยละ 25.6) การแปรรูปและ การถนอมผลไม้และผัก (ขยายตัวร้อยละ 9.8) ตามลำดับ และ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ลดลงร้อยละ 1.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 7.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการผลิตสำคัญ ๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงร้อยละ 7.5 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 15.5 ในไตรมาสก่อนหน้า เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานลดลงร้อยละ 7.0 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 19.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ลดลงร้อยละ 20.1 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 61.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบกับการผลิตสินค้าสำคัญ ๆ ขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ ปุ๋ยเคมี (ขยายตัวร้อยละ 30.7) เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค (ขยายตัวร้อยละ 15.5) และอาหารสัตว์สำเร็จรูป (ขยายตัวร้อยละ 6.2) อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 60.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 52.9 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 64.8 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น ยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 30.2) น้ำตาล (ลดลงร้อยละ 65.2) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 7.5) เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ลดลงร้อยละ 23.9) คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 9.1) ยางอื่น ๆ (ลดลงร้อยละ 8.2) การทอผ้า (ลดลงร้อยละ 26.2) เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน (ลดลงร้อยละ 7.0) จักรยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 22.0) และเส้นใยสิ่งทอ (ลดลงร้อยละ 29.3) เป็นต้น

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน (ขยายตัวร้อยละ 25.6) ปุ๋ยเคมี (ขยายตัวร้อยละ 30.7) เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค (ขยายตัวร้อยละ 15.5) การแปรรูปและการถนอมผลไม้และผัก (ขยายตัวร้อยละ 9.8) อาหารสัตว์สำเร็จรูป (ขยายตัวร้อยละ 6.2) มอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ (ขยายตัวร้อยละ 9.8) เฟอร์นิเจอร์ (ขยายตัวร้อยละ 7.1) สัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง (ขยายตัวร้อยละ 10.0) ผลิตภัณฑ์นม (ขยายตัวร้อยละ 6.6) และสบู่และสารซักฟอก (ขยายตัวร้อยละ 7.2) เป็นต้น

สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร: ปรับตัวลดลงร้อยละ 39.6 ตามการลดลงของจำนวนและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวในประเทศและการใช้จ่ายภาคครัวเรือนทาให้การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 50.2 ในไตรมาสก่อนหน้าสอดคล้องกับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยร้อยละ 6.51 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นร้อยละ 26.76 โดยในไตรมาสนี้มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 0 คน ลดลงร้อยละ 100.0 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงมีการระบาดในทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลให้ประเทศไทยจำเป็นต้องประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 (ฉบับที่ 1) ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนกันยายน 2563 (ฉบับที่ 14) ประกอบกับประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาตให้อากาศยานทำการบินเข้าออกประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2563 (ฉบับที่ 2) ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนกันยายน 2563 (ฉบับที่ 3) ส่งผลให้การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรของบุคคลทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สามารถกระทำได้ โดยไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการท่องเที่ยว และต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ในกรณีสำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังไม่มี การอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศ ในขณะที่รายรับรวมจากการท่องเที่ยว 0.116 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 84.3 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 97.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วย รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ลดลงทั้งหมดหรือลดลงร้อยละ 100.0 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 และรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทย 0.116 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 55.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 92.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 26.76 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.51 ในไตรมาสก่อนหน้า ลดลงจากร้อยละ 64.03 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์: ลดลงร้อยละ 5.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 9.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศและการเริ่มฟื้นตัวจากไตรมาสก่อนหน้าของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมของภาครัฐ และสอดคล้องกับการลดลงของดัชนีรวมการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ร้อยละ 6.1 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 22.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วย (1) ดัชนีการขายปลีก (ยกเว้น ยานยนต์และจักรยานยนต์) ลดลงร้อยละ 6.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 22.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยหมวดร้านขายปลีกอุปกรณ์อื่น ๆ ชนิดใช้ในครัวเรือนลดลงร้อยละ 14.2 (เช่น ร้านขายปลีกวัสดุก่อสร้างฯ เป็นต้น) และหมวดร้านขายปลีกเชื้อเพลิงยานยนต์ลดลงร้อยละ 14.9 เป็นสำคัญ ในขณะที่หมวดร้านขายปลีกอุปกรณ์สารสนเทศและอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 (2) ดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) ลดลงร้อยละ 3.8 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 17.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยหมวดการขายส่งสินค้าเฉพาะประเภทอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 7.9 และหมวดการขายส่งสินค้าทั่วไปลดลงร้อยละ 4.6 เป็นสำคัญ ในขณะที่หมวดการขายส่งของใช้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 (โดยเฉพาะการขายส่งนาฬิกาและเครื่องประดับ) และ (3) ดัชนีการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 11.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 36.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยหมวดการขายยานยนต์ลดลงร้อยละ 12.9 และหมวดการขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมของยานยนต์ลดลงร้อยละ 10.6 เป็นสำคัญ

สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า: ลดลงร้อยละ 23.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 38.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของบริการขนส่ง โดยเฉพาะบริการขนส่งทางอากาศ ซึ่งได้รับผลผกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่เริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงในไตรมาสก่อนหน้าหลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมของภาครัฐ (Lockdown Easing) โดยในไตรมาสนี้บริการขนส่งลดลงร้อยละ 24.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 41.3 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากการลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าของทั้งบริการขนส่งผู้โดยสารและบริการขนส่งสินค้า ประกอบด้วย (1) บริการขนส่ง ทางอากาศลดลงร้อยละ 71.9 (2) บริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงลดลงร้อยละ 17.2 และ (3) บริการขนส่งทางน้ำลดลงร้อยละ 0.6 ประกอบกับบริการสนับสนุนการขนส่งลดลงร้อยละ 22.7 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับ การลดลงร้อยละ 26.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่บริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 5.0 สอดคล้องกับรายรับของผู้ประกอบการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

สาขาไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศ: ลดลงร้อยละ 9.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 13.3 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนแต่ปรับตัวดีขึ้นมากจากไตรมาสก่อนหน้า โดย (1) กิจกรรมการผลิตไฟฟ้าลดลงร้อยละ 9.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 12.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าของปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ ภายหลังจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง (Lockdown Easing) ในขณะที่ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือนขยายตัวต่อเนื่องในเกณฑ์สูงจากมาตรการ การปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย (Work from Home) และ (2) กิจกรรมโรงแยกก๊าซลดลงร้อยละ 7.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 16.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและภาคขนส่งปรับตัวดีขึ้น

สาขาก่อสร้าง: ขยายตัวร้อยละ 10.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 7.4 ในไตรมาสก่อนหน้าตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงของการก่อสร้างภาครัฐ และการกลับมาขยายตัวของการก่อสร้างภาคเอกชน โดยการก่อสร้างภาครัฐขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 18.6 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 15.6 ในไตรมาสก่อนหน้า (การก่อสร้างของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 22.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่การก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 0.2) การก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการก่อสร้างในหมวดการบริการและขนส่ง และการก่อสร้างอื่น ๆ ขยายตัวต่อเนื่อง และเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่การก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย และการก่อสร้างอาคารที่มิใช่ที่อยู่อาศัย (เช่น อาคารพาณิชย์ และอาคารโรงงาน) ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ตาม การลดลงของอุปสงค์ภายในประเทศ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 1.7 และเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็น ไตรมาสที่ 5 ตามการลดลงของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (ลดลงร้อยละ 8.1) และหมวดคอนกรีต (ลดลงร้อยละ 2.2) เป็นสำคัญ

ผู้มีงานทำ: ปรับตัวดีขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของผู้มีงานทำนอกภาคเกษตร ส่วนผู้มีงานทำภาคเกษตรลดลงต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราการว่างงานลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าแต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ในไตรมาสที่สามของปี 2563 ผู้มีงานทำรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส โดยผู้มีงานทานอกภาคเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 66.88) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เนื่องจากผู้มีงานทาในสาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นจาก ไตรมาสก่อนหน้าของการผลิตสาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ฯ และผู้มีงานทำในสาขาก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 สอดคล้องกับการขยายตัวของการผลิตสาขาก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้มีงานทำในสาขาการผลิตอุตสาหกรรม และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนผู้มีงานทำภาคเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 33.12) ลดลงร้อยละ 0.1 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไก่เนื้อ และข้าวเปลือก เป็นต้น อัตราการว่างงานในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีผู้ว่างงานจำนวน 7.4 แสนคน เทียบกับผู้ว่างงานจำนวน 3.9 แสนคนในช่วงเดียวกันในปีก่อน

ด้านการคลัง

การจัดเก็บรายได้รัฐบาล ในไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2563 (กรกฎาคม - กันยายน 2563) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 702,519.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อนหน้าร้อยละ 11.6 โดยเป็นผลจาก (1) การขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลออกไปเป็นเดือนสิงหาคม 2563 เพื่อดูแลและเยียวยาประชาชนและผู้ประกอบการจากผลกระทบของโรค โควิด-19 (2) การนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นและรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น และ (3) การขยายเวลาการชำระภาษีให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าน้ำมัน ผลิตภัณฑ์น้ำมัน และเบียร์ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการชำระภาษีสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2563 อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม อาการขาเข้า ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมลดลง

รวมทั้งปีงบประมาณ 2563 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 2,394,075.5 ล้านบาท ลดลงจากรายได้จัดเก็บในปีก่อนร้อยละ 6.7 และต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 336,924 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.3 การจัดเก็บรายได้รัฐบาลต่ำกว่าประมาณการเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจและการค้าที่ปรับตัวลดลง และการดำเนินมาตรการด้านภาษีเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระให้ประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น มาตรการคืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ ในประเทศ มาตรการลดอัตราดอกเบี้ยจ่ายของผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล มาตรการภาษีสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังคงการจ้างงานลูกจ้างไว้และจ่ายค่าจ้าง โดยให้สามารถหักรายจ่ายค่าจ้างในเดือนเมษายน - กรกฎาคม 2563 ได้ 3 เท่า เป็นต้น

การจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาลที่ต่ำกว่าประมาณการรายได้ตามเอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ (1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการลดลงของกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศ (2) ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามการลดลงของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จากอัตราร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 1.5 ในเดือนเมษายน - กันยายน 2563 (3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามการลดลงของการจัดเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จากเงินเดือน (ภ.ง.ด. 1) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (4) ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน และภาษียาสูบ เนื่องจากปริมาณสินค้าที่ชำระภาษีขยายตัวต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ เนื่องจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และ (5) อากรขาเข้าที่ลดลงตามมูลค่าการนำเข้า

อย่างไรก็ตาม การนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นสูงกว่าประมาณการ 18,434 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.8 ขณะที่การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจใกล้เคียงกับการประมาณการการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ในไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2563 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 860,634.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 โดยมีการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 593,997.5 ล้านบาท และ1รายจ่ายลงทุน 266,636.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.9 และร้อยละ 36.2 ตามลำดับ โดย (1) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 จำนวน 690,368.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 9.5 (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 21.6 สูงกว่าร้อยละ 21.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) จำแนกเป็น การเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 519,332.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 19.6 ต่ำกว่าร้อยละ 20.9 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน 171,035.9 ล้านบาท ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 43.9 (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 30.8 สูงกว่าร้อยละ 21.6 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) โดยเป็นผลมาจากการเบิกจ่ายในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ครุภัณฑ์ และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เป็นสำคัญ

(2) การเบิกจ่ายงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี 48,679.2 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมาร้อยละ 14.4 (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 18.5 สูงกว่าร้อยละ 15.3 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) (3) การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) จำนวน 61,026.0 2 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อนหน้าร้อยละ 0.8 ตามการปรับลดแผนการลงทุนของล้านบาทบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นสำคัญ และ (4) การเบิกจ่ายเงินกู้นอกงบประมาณ จำนวน 64,703.6 ล้านบาท โดยเป็น การเบิกจ่ายในส่วนของเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

รวมทั้งปีงบประมาณ 2563 มีการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐรวม 3,676,893.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณที่ผ่านมาร้อยละ 13.1 ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 2,943,853.3 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 92.0 ต่ำกว่าร้อยละ 92.8 ของปีก่อน) แบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 2,575,937.1 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 97.4 ต่ำกว่าร้อยละ 97.8 ของปีก่อน) และการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน 367,916.2 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 66.3 ต่ำกว่าร้อยละ 70.2 ของ ปีก่อน) (2) การเบิกจ่ายงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี 224,870.2 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 85.4) (3) การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) 3219,875.6 ล้านบาท และ (4) การเบิกจ่ายเงินกู้นอกงบประมาณ 300,736.2 ล้านบาท

หมายเหตุ:

1 การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ประกอบด้วย (1) งบประมาณรายจ่ายประจำปี (2) งบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี (3) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจของ สคร. ซึ่งไม่รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และรายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี และ (4) เงินกู้นอกงบประมาณ

2 รวมรายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 4,142.6 ล้านบาท

3 รวมรายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 12,441.8 ล้านบาท

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 มีมูลค่าทั้งสิ้น 7,848,155.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.4 ของ GDP ประกอบด้วย เงินกู้ภายในประเทศ 7,708,765.8 ล้านบาท (ร้อยละ 98.2 ของหนี้สาธารณะคงค้าง) และเงินกู้จากต่างประเทศ 139,390.1 ล้านบาท (ร้อยละ 1.8 ของหนี้สาธารณะคงค้าง) โดยแบ่งเป็นหนี้ของรัฐบาล 6,734,881.8 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 795,980.3 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ ที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 309,472.4 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 7,821.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85.5 ร้อยละ 10.1 ร้อยละ 3.9 และร้อยละ 0.1 ของหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ

ฐานะการคลัง: ในไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2563 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 113,025 ล้านบาท เมื่อรวมกับการเกินดุลเงินนอกงบประมาณ 58,259 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 311,473 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลเกินดุลเงินสดสุทธิ 256,707 ล้านบาท และเมื่อรวมกับเงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2563 จำนวน 315,397 ล้านบาท ส่งผลให้ฐานะเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน มีจำนวนทั้งสิ้น 572,104 ล้านบาท

รวมทั้งปีงบประมาณ 2563 รัฐบาลมีการขาดดุลงบประมาณ 817,671 ล้านบาท เกินดุลเงินนอกงบประมาณ 92,705 ล้านบาท และมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 784,115 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลเกินดุลเงินสดหลังกู้สุทธิ 59,149 ล้านบาท

ภาวะการเงิน

อัตราดอกเบี้ยนโยบายคงที่ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563 และครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 ที่ประชุมมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น และมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยในปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ได้ประมาณการไว้เดิม เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้เป็นสำคัญ ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายการเงินของไทยสอดคล้องกับประเทศเศรษฐกิจหลักและประเทศในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดียวกับในไตรมาสก่อนหน้า โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.00-0.25 พร้อมทั้งส่งสัญญาณจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวไปจนกว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะบรรลุเป้าหมายการจ้างงานอย่างเต็มศักยภาพ โดยการปรับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ จากอัตราเงินเฟ้อคงที่เป็นอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารนโยบายการเงินในระยะยาว ขณะเดียวกันธนาคารกลางของประเทศอื่น ๆ อาทิ ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา อินเดีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่ำต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางรัสเซีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ในเดือนกรกฎาคม

คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมเช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทย ล่าสุดเดือนตุลาคม 2563 ธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจหลักและประเทศในภูมิภาคต่างประกาศ

ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สามของปี 2563 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ยปรับตัวลดลงจากร้อยละ 0.64 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.49 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ปรับลดลงจากเฉลี่ยร้อยละ 5.53 เป็นเฉลี่ยร้อยละ 5.36 ต่อปี ด้านธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ย MLR จากเฉลี่ยร้อยละ 0.91 และร้อยละ 6.25 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นเฉลี่ยร้อยละ 0.61 และร้อยละ 6.13 ตามลำดับ โดยอัตราดอกเบี้ย MLR เฉลี่ย ลดลงมาอยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 15 ปี สำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ย MLR เป็นเฉลี่ยร้อยละ 1.03 และร้อยละ 6.13 ตามลำดับ ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงเฉลี่ยและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ที่แท้จริงเฉลี่ยปรับลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าตามการเพิ่มของอัตราเงินเฟ้อ ในเดือนตุลาคม 2563 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ คงอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับตัวลดลงตามการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ยอดคงค้างสินเชื่อของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวต่อเนื่อง ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปี 2563 ยอดคงค้างสินเชื่อโดยสินเชื่อครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ 2.7 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดย สินเชื่อในระบบของสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวร้อยละ 5.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อภาคธุรกิจที่ขยายตัวร้อยละ 10.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 9.7 ในไตรมาส ก่อนหน้า ซึ่งเป็นการขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่อง 3 ไตรมาสติดต่อกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการทางการเงินของภาครัฐที่ดำเนินการผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก การระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อคงค้างในระบบของธนาคารพาณิชย์

ขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงของสินเชื่อธุรกิจจากการขยายตัวร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ตาม สินเชื่อครัวเรือนขยายตัวเร่งขี้นที่ร้อยละ 4.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นสำหรับสินเชื่อให้กู้ยืมในสาขาสำคัญ ๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย (ขยายตัวร้อยละ 7.7) สาขาการผลิต (ขยายตัวร้อยละ 0.1) กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ (ขยายตัวร้อยละ 2.6) สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร (ขยายตัวร้อยละ 22.5) และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า (ขยายตัวร้อยละ 13.7) และสินเชื่อให้กู้ยืมในสาขาสำคัญ ๆ ที่ลดลง ได้แก่ การขายส่งและการขายปลีก (ลดลงร้อยละ 1.2) และสาขาไฟฟ้า (ลดลงร้อยละ 7.6) ขณะที่สินเชื่อที่ให้กู้ยืมเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 4.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามขยายตัวดีต่อเนื่องของสินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ไม่รวมกิจกรรมทางการเงินและประกันภัย) พบว่า สินเชื่อคงค้างปรับตัวลดลงร้อยละ 21.4 เป็นการลดลงต่อเนื่อง 5 ไตรมาสติดต่อกัน และลดลงไตรมาสก่อนหน้าในเกือบ ทุกสาขา ยกเว้นสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 ขยายตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ 7.4 ในไตรมาสก่อนหน้า

อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สามของปี 2563 ค่าเงินบาทอยู่ที่เฉลี่ย 31.33 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.93 จากค่าเฉลี่ยในไตรมาสก่อนหน้า ตามสถานะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย และการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ สรอ. โดยดัชนีเงินดอลลาร์ สรอ. (Dollar Index) เฉลี่ย ในไตรมาสสามอยู่ที่ 94.05 จุด ลดลงจากระดับ 98.84 จุด ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก (1) ความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศและการเลือกตั้งประธานาธิบดี (2) การดำเนินนโยบายทางการเงิน โดยเฉพาะการปรับเป้าหมายเงินเฟ้อจากเป้าหมายเงินเฟ้อแบบคงที่มาเป็นเป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยและ (3) ความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่น ๆ เคลื่อนไหวอ่อนค่าลง สะท้อนจากดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เฉลี่ยในไตรมาสที่สามอยู่ที่ 121.96 ลดลงจากค่าเฉลี่ยในไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.48 สำหรับค่าเงินของประเทศอื่นในภูมิภาคเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินบาท โดยค่าเงินของประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม แข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.0 ร้อยละ 2.8 ร้อยละ 2.6 ร้อยละ 2.6 ร้อยละ 2.3 ร้อยละ 1.9 ร้อยละ 1.9 ร้อยละ 1.3 และร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ

ในเดือนตุลาคม 2563 ค่าเงินบาทอยู่ที่เฉลี่ย 31.27 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.26 ตามค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนค่าต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้า/คู่แข่ง ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย

ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2563 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์เคลื่อนไหวในทิศทางลดลงต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นในหลายประเทศและบางประเทศมีแนวโน้มที่จะเกิดการระบาดในรอบที่สอง (Second Wave) ความวิตกกังวลต่อแนวโน้มความล่าช้าของการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมทั้งแรงกดดันจากความกังวลต่อหนี้เสีย (NPLs) ในช่วงที่มาตรการพักชำระหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทยใกล้สิ้นสุดลง และความตึงเครียดต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศ ส่งผลให้ ณ สิ้นไตรมาสที่สาม ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปิดที่ 1,237 จุด ลดลงร้อยละ 7.62 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยนักลงทุนต่างชาติมีสถานะขายสุทธิ 61.0 พันล้านบาท ขณะที่นักลงทุนรายย่อยเป็นผู้ซื้อสุทธิ

ในเดือนตุลาคม 2563 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับลดลงจากเดือนกันยายน 2563 ร้อยละ 3.40 มาอยู่ที่ 1,195 จุด จากปัจจัยสำคัญ ได้แก่ (1) ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ (2) ความไม่แน่นอนของผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน (3) ความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของ โรคโควิด-19 ในหลายประเทศที่ยังมีความรุนแรง และ (4) ความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ภายหลังจากมาตรการกระตุ้นทางการคลังรอบใหม่ยังไม่ได้ข้อยุติ ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงมีสถานะขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่างต่อเนื่อง

ตราสารหนี้ภาคเอกชนออกใหม่เพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีราคาปรับลดลง และเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curve) ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สามของปี 2563 ภาคเอกชนมี การระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ 322.6 พันล้านบาท เทียบกับ 253.6 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า แบ่งเป็น ตราสารหนี้ระยะยาว 210.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 166.0 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนในกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค และกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และตราสารหนี้ระยะสั้น 112.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 87.6 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า

การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2563 มีมูลค่าซื้อขายธุรกรรมซื้อขาด (Outright Transaction) เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 77.2 พันล้านบาทปรับลดลงจาก 78.9 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า โดยนักลงทุนต่างชาติกลับมามีสถานะซื้อสุทธิครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส โดยมีสถานะซื้อสุทธิ 38.5 พันล้านบาท เทียบกับสถานะขายสุทธิ 6.8 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า สำหรับดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลลดลงจาก117.2 จุด ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ 116.2 จุด สอดคล้องกับการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการคาดการณ์ปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจาก ตราสารหนี้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยี่ยวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธรัฐบาลของสหรัฐฯ (US Treasury Yield) ภายหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศปรับเปลี่ยนเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ย อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับลดลงในเดือนกันยายน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปริมาณอุปทานพันธบัตรรัฐบาลที่เสนอขายน้อยกว่า ที่ตลาดคาดการณ์

ในเดือนตุลาคม 2563 ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติมีสถานะขายสุทธิ 4.8 พันล้านบาท โดยเป็นการขายในพันธบัตรระยะสั้นแต่ซื้อในพันธบัตรระยะยาว

ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ในไตรมาสที่สามของปี 2563 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 6.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (197.3 พันล้านบาท) ต่ำกว่าการเกินดุล 10.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (330.8 พันล้านบาท) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่สูงกว่าการเกินดุล 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (34.5 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลการค้า 12.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (สูงกว่าการเกินดุล 8.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) และการขาดดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ 6.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ต่ำกว่าการเกินดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสที่สามของปี 2563 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ -0.7 เทียบกับเฉลี่ย ร้อยละ -2.7 ในไตรมาสที่สองของปี 2562 โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาเครื่องประกอบอาหาร เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง และเครื่องดื่มไม่มีแอลกฮอล์ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ร้อยละ 2.7 ร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.8 ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนีราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของดัชนีราคาหมวดพลังงานร้อยละ 10.5 ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 4

ดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่สามของปี 2563 ลดลงร้อยละ 1.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.1 ในไตรมาสที่สองของปี 2563 ตามการลดลงในอัตราที่ชะลอลงของราคาในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นสำคัญ โดยราคาผลิตภัณฑ์จากเหมืองปรับตัวลดลงร้อยละ 17.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 19.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 20.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 23.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลดลง ร้อยละ 1.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ ราคาผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของราคาผลผลิตการเกษตร สัตว์มีชีวิต และผลิตภัณฑ์ เป็นสำคัญ5

หมายเหตุ:

4 ในเดือนตุลาคม 2563 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.5 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.2 เฉลี่ย 10 เดือนของปี 2563 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.9 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.3

5 ในเดือนตุลาคม 2563 ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 0.9 เฉลี่ย 10 เดือนของปี 2563 ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 1.9

2. ความเคลื่อนไหวราคาน้ำมันไตรมาสที่สามของปี 2563

ราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาส ที่สามของปี 2563 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 42.58 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 29.3 จากค่าเฉลี่ย 60.22 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ย 30.57 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในไตรมาสที่สองของ ปี 2563

การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในไตรมาสนี้มีสาเหตุมาจาก (1) การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความวิตกกังวลจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่ โดยตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กลับมาปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง ทำให้ความต้องการน้ำมันดิบยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ (2) กำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกพลัสยังคงเกินกว่าข้อตกลง รวมถึงการเพิ่มกำลังผลิตของลิเบียและอิหร่านที่อยู่ในกลุ่มโอเปก ซึ่งทั้งสองประเทศได้รับยกเว้นจากข้อตกลงลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ (3) ความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวลงหลังแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มล่าช้า

3. เศรษฐกิจโลกไตรมาสที่สามของปี 2563

ในไตรมาสที่สามของปี 2563 เศรษฐกิจโลกมีทิศทางฟื้นตัวดีขึ้นภายหลังจากการลดลงรุนแรงเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นผลมาจากประเทศต่าง ๆ ได้ทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและการจำกัดการเดินทาง ประกอบกับการดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและการคลังเพื่อช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลักในไตรมาสที่สามได้แก่ สหรัฐฯ และยูโรโซน ลดลงในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาและเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียหลายประเทศที่ลดลงในอัตราที่ชะลอลงเช่นกัน อาทิ เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย และบางประเทศเริ่มกลับมาขยายตัว อาทิ ไต้หวัน อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังเป็นไปช้า ๆ เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ยังเผชิญกับข้อจำกัดการขยายตัวโดยเฉพาะตลาดแรงงานที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ หลายประเทศยังเผชิญกับการระบาดระลอกที่สองส่งผลให้ต้องกลับมาดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค อาทิ ญี่ปุ่น สเปน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และเยอรมนี ซึ่งจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป

ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่สาม รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด-19 ดังจะเห็นได้จากธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจหลักที่ได้ดำเนินมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลาย อาทิ การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ และการเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ประกาศปรับกรอบนโยบายการเงินแบบยืดหยุ่นโดยใช้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเป็นเป้าหมายนโยบายทางการเงินเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของเศรษฐกิจมากขึ้น รวมทั้งธนาคารกลางของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม อาทิ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ขณะเดียวกัน หลายประเทศยังได้มีการดำเนินมาตรการทางการคลังเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะผู้ว่างงานและธุรกิจขนาดย่อม อาทิ การขยายมาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานและแผนช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ผู้ว่างงานภายใต้ CARES Act ของสหรัฐฯ มาตรการสนับสนุนชั่วคราวเพื่อบรรเทาความเสี่ยงด้านการว่างงานในกรณีฉุกเฉินของสหภาพยุโรป และกองทุนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพิ่มเติมของญี่ปุ่น เป็นต้น

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.8 เทียบกับการลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 9.0 ในไตรมาสก่อน และเมื่อปรับผลของฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 9.0 ในไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ sa.) การฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการปิดสถานที่และจำกัดการเดินทางในหลายมลรัฐนับตั้งแต่พฤษภาคม 2563 ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการใช้จ่ายภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในไตรมาสที่สามเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับ 50 มาอยู่ที่ระดับ 52.4 และระดับ 53.2 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากระดับ 41.9 และระดับ 37.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 3.8 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 16.9 ในไตรมาสก่อนตามการขยายตัวของการลงทุนในที่อยู่อาศัย เช่นเดียวกับการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวขึ้นสอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของตลาดแรงงาน โดยอัตราว่างงานลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.8 จาก ร้อยละ 13.0 ในไตรมาสที่ 2 แม้ว่าจะยังสูงกว่าระดับร้อยละ 3.8 ในไตรมาสแรก ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ ในไตรมาสที่สาม รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การขยายมาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานซึ่งสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคม 2563 ไปอีก 6 สัปดาห์เป็นการชั่วคราวของสำนักจัดการภาวะฉุกเฉิน (Federal Emergency Management Agency) แผนช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ผู้ว่างงานอีก 13 สัปดาห์ภายใต้ CARES Act ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และการดำเนินมาตรการ Paycheck Protection Program สำหรับธุรกิจขนาดเล็กอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ระดับร้อยละ 0.00 - 0.25 และคงมาตรการการเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อกระตุ้นสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ พร้อมทั้งส่งสัญญาณการดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินอย่างต่อเนื่องและได้ประกาศปรับกรอบนโยบายการเงินแบบยืดหยุ่นโดยใช้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเป็นเป้าหมายนโยบายทางการเงิน (Flexible average inflation target) สะท้อนว่าจะรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำในระยะเวลาที่นานขึ้น6

เศรษฐกิจยูโรโซน ลดลงร้อยละ 4.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 14.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวร้อยละ 12.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 11.8 ในไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ swda.) การปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจยูโรโซนสอดคล้องกับการฟื้นตัวของทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ที่ระดับ 52.4 สูงสุดในรอบ 8 ไตรมาส ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 51.1 สูงสุดในรอบ 3 ไตรมาส โดยในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 54.7 สูงสุดในรอบ 22 เดือน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาสที่สามอยู่ที่ระดับ -14.5 ปรับตัวดีขึ้นจาก -18.5 ในไตรมาสที่สองซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 28 ไตรมาส อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 8.2 เป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ -0.03 ต่ำสุดในรอบ 17 ไตรมาส สำหรับการดำเนินมาตรการทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 คณะมนตรียุโรป (European Council) ได้อนุมัติการช่วยเหลือทางการเงินให้กับประเทศสมาชิก 16 ประเทศ ในรูปของเงินกู้จากสหภาพยุโรปภายใต้มาตรการสนับสนุนชั่วคราวเพื่อบรรเทาความเสี่ยงด้านการว่างงานในกรณีฉุกเฉินมูลค่ารวม 8.74 หมื่นล้านยูโร ขณะเดียวกันในการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ยังคงมีมติดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป โดยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.0 และการดำเนินมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ภายใต้ Pandemic Emergency Purchase Programme วงเงิน 1.35 ล้านล้านยูโร นอกจากนี้ ระหว่างเดือนสิงหาคมและกรกฎาคม 2563 ECB ยังได้จัดตั้งวงเงินธุรกรรมซื้อคืน (Repo line) ในสกุลยูโรกับธนาคารกลางสำคัญนอกกลุ่มประเทศสมาชิกยูโรโซน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับ เงินสกุลยูโร

เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ จากไตรมาสก่อนหน้า ภายหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดนับตั้งแต่ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ที่ระดับ 46.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 40.1 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 50.0 ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 7 ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 12.0 ฟื้นตัวจากการลดลงร้อยละ 23.7 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังคงเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 7 ส่วนดัชนีการค้าปลีกลดลงร้อยละ 4.6 ปรับตัวดีขึ้นจากในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3.0 สูงสุดในรอบ 15 ไตรมาส สำหรับการดำเนินมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ในวันที่ 7 สิงหาคม 2563 รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติเงินจากกองทุนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มเติม มูลค่า 1.13 ล้านล้านเยน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมไปแล้วจำนวน 11.5 ล้านล้านเยน สำหรับนโยบายการเงิน เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) 7ประกาศคงมาตรการการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป โดยยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ -0.1 และดำเนินมาตรการเพื่อรักษาระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปี ไว้ที่ร้อยละ 0.0

หมายเหตุ:

6 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ประกาศใช้แนวนโยบายกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยแบบยืดหยุ่น (Flexible average inflation targeting) ซึ่งเป็นการกำหนดให้อัตราเงินเฟ้อสามารถอยู่สูงกว่าระดับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ร้อยละ 2 ได้ในบางช่วงเวลา การปรับเป้าหมายนโยบายการเงินดังกล่าวเป็นการ ส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางมีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับต่ำไปอีกระยะหนึ่งจนกว่าจะเห็นว่าระบบเศรษฐกิจและการจ้างงานสามารถฟื้นตัวได้ อย่างเต็มที่

7 งบประมาณดังกล่าวประกอบด้วยมาตรการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการเงินช่วยเหลือจำนวน 2 ล้านเยนให้กับธุรกิจขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจาก มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสวงเงินทั้งสิ้น 9.15 แสนล้านเยน โครงการสินเชื่อปลอดดอกเบี้ยสำหรับภาคครัวเรือนที่รายได้ได้รับผลกระทบจาก การแพร่ระบาดครอบครัวละ 2 แสนเยน วงเงินรวมทั้งสิ้น 1.777 แสนล้านเยน และงบประมาณอีก 3.3 หมื่นล้านเยนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อเตรียมความพร้อม ในการตรวจเชื้อไวรัสในผู้เดินทางมาจากต่างประเทศด้วยวิธี PCR

เศรษฐกิจจีน ขยายตัวร้อยละ 4.9 ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 3.2 ในไตรมาสที่สอง ตามการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุกสาขาการผลิตค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่ขยายร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่ 3 สอดคล้องกับดัชนีผู้จัด การฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับ 53.0 เทียบกับระดับ 50.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 8.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนยอดค้าปลีกภายในประเทศยังคงลดลงร้อยละ 0.4 แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สำหรับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีน (PBOC) ยังคงดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่า8 และเพิ่มสภาพคล่องด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยข้อตกลงซื้อคืนพันธบัตร (Reverse repo) อายุ 7 วัน ไว้ที่ร้อยละ 2.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยในวันที่ 30 กันยายน 2563 ธนาคารกลางจีนได้เสริมสภาพคล่องประมาณ 5 หมื่นล้านหยวน นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังคงดำเนินมาตรการทางการคลังเพื่อลดผลกระทบของการแพร่ระบาดและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิ การเพิ่มงบประมาณในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดและงบประมาณในการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ การเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินประกันการว่างงานโดยเพิ่มความครอบคลุมไปถึงแรงงาน ข้ามชาติ การลดหย่อนภาษีและการยกเว้นการจัดเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นต้น

เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลัก โดยในไตรมาสที่สาม เศรษฐกิจไต้หวันกลับมาขยายตัวร้อยละ 3.3 เทียบกับ การลดลงร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงสุดในรอบ 9 ไตรมาส ตามการฟื้นตัวขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน และการกลับมาขยายตัวของการอุปโภคภาครัฐบาลและการส่งออก ส่วนเศรษฐกิจฮ่องกง เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ แม้จะยังคงลดลงแต่เป็นการปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเศรษฐกิจเกาหลีใต้ลดลงร้อยละ 1.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องมาจากการเร่งตัวขึ้นของการลงทุนรวมและการส่งออกสินค้า เศรษฐกิจฮ่องกงลดลงร้อยละ 3.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 9.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชนและการส่งออก รวมทั้งการขยายตัวต่อเนื่องของการอุปโภคภาครัฐ อย่างไรก็ดี การบริโภคภาคเอกชนลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ เศรษฐกิจสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 7.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 13.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการกลับมาขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และการปรับตัวดีขึ้นของภาค การก่อสร้างและภาคบริการ รวมถึงภาคการส่งออก สำหรับอัตราเงินเฟ้อส่วนใหญ่สูงขึ้นตามการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ ยกเว้นฮ่องกงที่อัตราเงินเฟ้อลดลงต่ำกว่าศูนย์ครั้งแรกในรอบ 11 ปี

เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ตามการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก รวมถึงการปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคภายในประเทศที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการผ่อนคลายการควบคุมการแพร่ระบาดและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ โดยเศรษฐกิจเวียดนาม ขยายตัวร้อยละ 2.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากการกลับมาขยายตัวของภาคบริการ รวมถึงการส่งออกสินค้าและบริการที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 10.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.9 ในไตรมาสก่อนหน้า เศรษฐกิจอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 3.5 เทียบกับ การลดลงร้อยละ 5.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงในอัตราที่น้อยลงของการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนรวม และการส่งออกสินค้าและบริการ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ที่ลดลงร้อยละ 11.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 16.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากปัจจัยเดียวกันกับเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ในส่วนของเศรษฐกิจมาเลเซีย ลดลงร้อยละ 2.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 17.1 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยเป็นผลมาจากการกลับมาขยายตัวอีกครั้งของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออกสินค้า ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ธนาคารกลางของอินโดนีเซียและมาเลเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ในขณะที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์และเวียดนามยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่ำควบคู่กับ 9 การดำเนินนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดเพิ่มเติม อาทิ รัฐบาลเวียดนามได้ดำเนินมาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทขนาดเล็ก รัฐบาลมาเลเซียได้ดำเนินมาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ สำหรับรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้มีการออกกฎหมายบายานีฮัน 2 (Bayanihan 2) เพื่อรับมือกับโรคระบาดโดยเฉพาะ ประกอบด้วย มาตรการการจ้างงานระยะสั้น มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ และการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับภาคเกษตร เป็นต้น

หมายเหตุ:

8 ในช่วงไตรมาสที่สาม ธนาคารกลางจีน (PBOC) คงอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินสำรองส่วนเกินที่ฝากไว้กับธนาคารกลาง (Interest on Excess Reserve) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระยะกลางอายุ 1 ปีสำหรับสถาบันการเงินไว้ (Medium-Term Lending Facility: MLF) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Loan Prime Rate: LPR) ระยะ 1 ปี ไว้ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.35 ร้อยละ 2.95 และร้อยละ 3.85 ตามลำดับ ส่วนสัดส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ (Reserve Requirement Ratio: RRR) คงไว้ที่ร้อยละ 9.4

9 ธนาคารกลางอินโดนีเซียและมาเลเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 4 และร้อยละ 1.75 เทียบกับร้อยละ 4.25 และร้อยละ 2 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์และเวียดนามคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.25 และร้อยละ 3 ตามลำดับ

4. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2564

เศรษฐกิจโลกในปี 2564 มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องและกลับมาขยายตัวได้ภายหลังจากผ่านพ้นจุดต่ำสุดจากการลดลงอย่างรุนแรงในปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ภายในประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับผลจากการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจทั้งมาตรการทางการเงินและการคลังเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในกรณีฐานคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในหลายประเทศ จะผ่านพ้นจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2563 และจะสามารถรักษาอัตราการระบาดให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินศักยภาพทางสาธารณสุขของประเทศและสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้มากขึ้นตามลำดับผ่านการรักษาสุขอนามัยและการรักษาระยะห่าง (Social Distancing) ขณะเดียวกัน ในส่วนของภาคการท่องเที่ยวหลายประเทศมีแนวโน้มที่จะเริ่มทำข้อตกลงเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างประเทศทางอากาศแบบไม่ต้องกักตัว (Travel Bubble) โดยเฉพาะประเทศที่มีความเสี่ยงของการระบาดของโรคในระดับต่ำ ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันที่เริ่มมีการดำเนินการแล้ว ได้แก่ ระหว่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และระหว่างสิงคโปร์และเวียดนาม ซึ่งจะส่งผลให้มีการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2564

ทั้งนี้ การประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในกรณีฐานตั้งอยู่บนสมมติฐานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การพัฒนาวัคซีนป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 ได้ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2564 โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตวัคซีนได้จำนวนจำกัดในช่วงไตรมาส ที่สามและเพียงพอสำหรับใช้ในบางประเทศเศรษฐกิจหลัก อาทิ สหรัฐฯ ยูโรโซน สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และจีน แต่คาดว่าขีดความสามารถในการผลิตวัคซีนจะเพิ่มขึ้นและมีราคาจำหน่ายที่ต่ำลง จนสามารถใช้ได้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศมากขึ้นในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ จะเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมและจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศได้มากขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 (2) ไม่มีการแพร่ระบาดระลอกที่สองและระลอกที่สามอย่างรุนแรงเป็นวงกว้างและยืดเยื้อมากขึ้น จนทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวดอีกครั้ง (3) ไม่มีการลุกลามของวิกฤตการณ์จากภาคการผลิตสู่วิกฤตการณ์ ทางการเงินและการคลังในประเทศสำคัญ ๆ และ (4) ไม่มีมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนรวมถึงประเทศอื่น ๆ เพิ่มเติมในปี 2564 จนส่งผลกระทบรุนแรงต่อการค้าโลก ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวคาดว่า เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกในช่วงปี 2564 จะสามารถ ฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยในกรณีฐานคาดว่าเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 4.9 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.5 และร้อยละ 11.0 ในปี 2563 ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศสำคัญ ดังนี้

เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.6 ในปี 2563 และจะถือเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงสุดในรอบ 15 ปี ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังทุกสาขาเศรษฐกิจทั้งภาค การผลิตอุตสาหกรรม การส่งออก และการลงทุน ประกอบกับผลของการดำเนินมาตรการทางการเงินการคลังของภาครัฐ ทั้งนี้ ข้อมูลเครื่องชี้ล่าสุดในเดือนตุลาคมชี้ให้เห็นทิศทางการฟื้นตัวที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนทั้งภาคการผลิตและการบริโภค โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคอุตสาหกรรม ในเดือนตุลาคมอยู่ที่ 53.4 สูงสุดในรอบ 21 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ 100.9 เทียบกับระดับ 85.7 ในเดือนเมษายน ในขณะเดียวกัน ตลาดแรงงานมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น สะท้อนจากจำนวนผู้ขอรับสิทธิการว่างงาน ณ สิ้นเดือนตุลาคมลดลงมาอยู่ที่ 7.4 แสนคน เทียบกับจำนวน 6.2 ล้านคน ณ ต้นเดือนเมษายน 2563 ทั้งนี้ คาดว่าทิศทางการบริหารงานภายใต้ประธานาธิบดีคนใหม่จะทำให้สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะดำเนินมาตรการทางการคลังขนาดใหญ่เพิ่มเติมภายในปี 2564 อาทิ มาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนทิศทางนโยบายมาตรการด้านภาษีและการค้าระหว่างประเทศที่จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคธุรกิจภายในประเทศและการส่งออก ส่วนการดำเนินนโยบายทางการเงินมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณการผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2566 พร้อมทั้ง การประกาศเปลี่ยนเป้าหมายนโยบายการเงินเป็นเป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยเพื่อรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจจนกว่าความเสี่ยงของ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจะลดลง

เศรษฐกิจยูโรโซน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.8 ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.7 ในปี 2563 ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุม การแพร่ระบาดที่จะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นนับตั้งแต่ไตรมาสที่สามของปี 2563 โดยเครื่องชี้ในเดือนตุลาคมชี้ให้เห็นสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อโดยรวมอยู่ที่ระดับ 52.4 เพิ่มขึ้นจาก 31.3 เป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 ไตรมาส นอกจากนี้ เศรษฐกิจในปี 2564 จะได้รับแรงสนับสนุนจากการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่มูลค่า 1.82 ล้านล้านยูโร ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะมนตรียุโรป (European Council) ไปเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 โดยมาตรการดังกล่าวประกอบด้วย งบประมาณรายจ่ายระยะยาวของสหภาพยุโรปในช่วงปี 2564 - 2570 วงเงิน 1.07 ล้านล้านยูโร และแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ Next Generation EU วงเงิน 0.75 ล้านล้านยูโร รวมไปถึงการช่วยเหลือทางการเงินให้กับประเทศสมาชิก 16 ประเทศ ในรูปแบบของเงินกู้จากสหภาพยุโรปภายใต้มาตรการสนับสนุนชั่วคราวเพื่อบรรเทาความเสี่ยงด้านการว่างงานในกรณีฉุกเฉิน (SURE) มูลค่ารวม 8.74 หมื่นล้านยูโร นอกจากนี้ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีแนวโน้มที่จะดำเนินมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป โดยล่าสุดในการประชุมธนาคารกลางยุโรป เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 ได้มีมติในการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ในการประชุมที่จะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2563 คาดว่ามี ความเป็นไปได้ที่ ECB จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพิ่มเติม โดยลดอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ (Main refinancing operations) ลงจาก ร้อยละ 0.00 สู่ระดับต่ำกว่าศูนย์ ประกอบกับการลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB (Deposit facility) ลงเพิ่มเติม แม้ว่า ECB ได้ลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวลงต่ำกว่าศูนย์แล้วตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 และลดลงมาอย่างต่อเนื่องจนอยู่ที่ร้อยละ -0.50 ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ECB ยังมีมติคงวงเงินการซื้อพันธบัตรตามโปรแกรมกระตุ้นเศรษฐกิจฉุกเฉินเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 หรือ Pandemic Emergency Purchase Programme ที่ 1.35 ล้านล้านยูโรตามเดิมไปจนถึง 2564

เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 2.4 ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 5.4 ในปี 2563 และนับเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงสุดในรอบ 10 ปี ตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม อยู่ที่ระดับ 48.7 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากระดับ 47.7 ในเดือนก่อนหน้า และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 33.5 เทียบกับระดับ 33.1 ในเดือนก่อนหน้า ในขณะเดียวกันการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มที่จะกลับมาขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ นอกจากนี้ การลงทุนภาครัฐจะได้รับแรงสนับสนุนจาก การเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกที่เลื่อนมาจากปี 2563 ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติงบประมาณสำหรับกองทุนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับปีงบประมาณ 2563 เพิ่มเติมอีก 5.49 แสนล้านเยน ควบคู่ไปกับธนาคาร10 กลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ดำเนินมาตรการทางการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดในการประชุมเมื่อวันที่ 28 - 29 ตุลาคม 2563 BOJ ได้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ร้อยละ -0.1 และมาตรการการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGBs) เพื่อรักษาระดับอัตราผลตอบแทนสำหรับ JGBs อายุ 10 ปี ไว้ที่ระดับร้อยละ 0.0 สำหรับอัตราเงินเฟ้อ BOJ จะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ระดับร้อยละ 2.0 อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงมีข้อจำกัดจากการระบาดระลอกที่สองมีความรุนแรงกว่าการระบาดในครั้งแรก ซึ่งอาจส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นการบริโภคของรัฐบาลที่ผ่านมายังไม่มีประสิทธิผลตามที่คาด สะท้อนจากอัตราการออมของครัวเรือนญี่ปุ่นในช่วงเดือนเมษายนถึงสิงหาคม 2563 ที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 44 ของรายได้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี ประกอบกับข้อจำกัดทางงบประมาณเนื่องจากการใช้งบประมาณจำนวนมากสำหรับการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้า ส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 249.2 ในไตรมาสที่สาม 2563 เทียบกับร้อยละ 237.0 ในไตรมาสก่อนหน้า

เศรษฐกิจจีน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในปี 2563 เนื่องจากความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2563 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศสามารถฟื้นตัวกลับมาได้เร็วเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่เผชิญกับการแพร่ระบาด สะท้อนได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและบริการในเดือนตุลาคมซึ่งอยู่ที่ระดับ 53.6 และ 56.8 ตามลำดับ สูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิตอย่างชัดเจน และสอดคล้องกับการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 11.4 นอกจากนี้ เศรษฐกิจจีนยังได้รับแรงสนับสนุนจากการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการคลังอย่างต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 รัฐบาลจีนได้ใช้งบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจรวม 4.8 ล้านล้านหยวน หรือคิดเป็นร้อยละ 4.7 ของ GDP และ การดำเนินนโยบายทางการเงินผ่อนคลายของธนาคารกลางจีน (PBOC) โดยการเพิ่มสภาพคล่องผ่านการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก การปรับลดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรซื้อคืนและอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง (Required Reserve Ratio) อยู่ในระดับต่ำต่อไป รวมถึงการดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อให้ความสำคัญกับการบริโภคภายในประเทศและลดการพึ่งพิงอุปสงค์ต่างประเทศตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับใหม่ที่ 14

หมายเหตุ:

10 ประกอบด้วย (1) การต่ออายุมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการอุดหนุนผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเพื่อให้รักษาการจ้างงานต่อไป โดยจะอุดหนุนเงินเป็นจำนวน 8,330 เยนต่อวันสำหรับลูกจ้างหนึ่งคน โดยมีวงเงินงบประมาณรวม 4.39 แสนล้านเยน (2) นโยบายดึงดูดให้บริษัทญี่ปุ่นกลับมาใช้ ประเทศญี่ปุ่นเป็นฐานการผลิต โดยใช้งบประมาณรวม 8.6 หมื่นล้านเยน และ (3) มาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและชาวประมง มูลค่า 2.41 หมื่นล้านเยน

ซึ่งจะมีการประกาศใช้ในช่วงปี 2564 - 2568 11 อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าของจีนยังมีข้อจำกัดจากการย้ายฐานการผลิตอันเนื่องมาจากมาตรการกีดกันทางการค้าในช่วงก่อนหน้า และยังมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของทิศทางมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ นอกจากนี้ อุปสงค์ภายในประเทศยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ยังคงมีการบังคับใช้อยู่เป็นบางพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของการแพร่ระบาด ส่งผลให้รัฐบาลยังคงมีแนวโน้มที่จะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการคลังและการเงินตลอดทั้งปี 2564

เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ จะขยายตัว ร้อยละ 2.9 ร้อยละ 3.5 และร้อยละ 4.0 ตามลำดับ เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.0 ร้อยละ 5.9 และร้อยละ 6.0 ในปี 2563 ส่วนเศรษฐกิจไต้หวันคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.0 ในปี 2563 โดยเศรษฐกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออก สอดคล้องกับแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก รวมถึงการฟื้นตัวของ อุปสงค์ภายในประเทศเนื่องจากการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด และการดำเนินมาตรการทางการคลังและการเงินเพื่อลดผลกระทบของการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2563 อย่างไรก็ดี เกาหลีใต้ที่เผชิญกับการระบาดระลอกที่สองจนทำให้มี12 การบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเพิ่มเติมจนอาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปได้ช้ากว่าการคาดการณ์ นอกจากนี้ สถานการณ์ทางการเมืองในฮ่องกงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งหากกลับมารุนแรงและยืดเยื้อมากขึ้นจะส่งผลให้เศรษฐกิจของฮ่องกงในปี 2564 ขยายตัวต่ำกว่ากรณีฐาน

เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวต่อเนื่องจากครึ่งหลังของปี 2563 ตามการส่งออกสินค้าที่เริ่มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก และการอุปโภคบริโภคภายในประเทศที่ได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการทางการคลังของรัฐบาล ควบคู่กับนโยบายการเงินที่มีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในทุกประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าในครึ่งหลังของปี 2564 การควบคุมการแพร่ระบาดจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงแนวโน้มของการคิดค้นวัคซีนได้ภายในปี 2564 ส่งผลให้การฟื้นตัวของภาคการผลิต ภาคการท่องเที่ยว และภาคการค้าระหว่างของประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2564 เศรษฐกิจอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ จะขยายตัวร้อยละ 6.0 ร้อยละ 6.5 และร้อยละ 7.0 ตามลำดับ ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.7 ร้อยละ 5.3 และ ร้อยละ 9.0 ตามลำดับ ขณะที่เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 6.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2563

แม้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2564 จะมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้ แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2564 ยังคงมีความไม่แน่นอนสูงและอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สำคัญประกอบด้วย (1) ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ซึ่งอาจมีความยืดเยื้อและรุนแรงมากกว่าที่คาด รวมถึงความเสี่ยงของการกลับมาระบาดระลอกที่สองและระลอกที่สาม ซึ่งอาจจะครอบคลุมหลายประเทศมากขึ้น จนทำให้ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งไทยต้องกลับมาดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวดอีกครั้งและ ยังต้องจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกแตกต่างไปจากกรณีฐาน โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขความคืบหน้าของการผลิตวัคซีนและความสามารถในการนำวัคซีนมาใช้อย่างแพร่หลายที่ยังคงมีความไม่แน่นอนทั้งในแง่ประสิทธิภาพและระยะเวลา และ (2) ความผันผวนของเศรษฐกิจและระบบการเงินโลกที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ (i) ทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ ที่เปลี่ยนแปลงภายใต้การนำของประธานาธิบดีคนใหม่ และคาดว่าจะส่งผลต่อการค้าและการลงทุนโลก (ii) การออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรที่มีแนวโน้มจะเป็นการออกแบบไม่มีข้อตกลง (No Deal Brexit) ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนของสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร (iii) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เปราะบาง โดยเฉพาะในประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอ่อนแอ จากปัญหาหนี้ภาครัฐบาลและครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นมากจนส่งผลต่อขีดความสามารถในการใช้จ่ายในช่วง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และ (iv) ความผันผวนของเงินลงทุนระหว่างประเทศภายใต้ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งจะส่งผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

หมายเหตุ:

11 มีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้ (1) การพัฒนาเศรษฐกิจโดยให้ความสำคัญกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจแบบมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศต่อประชากรเพิ่มขึ้นเป็นระดับประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2578 (2) การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการพึ่งพาจากต่างชาติ โดยเฉพาะเทคโนโลยี ด้านเซมิคอนดักเตอร์ และ (3) การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจในด้านอื่น ๆ อาทิ ทรัพย์สินทางปัญญา การลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างเมืองใหญ่ กับเมืองขนาดเล็ก และการปฏิรูปที่ดิน

12 รัฐบาลเกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ได้ดำเนินมาตรการทางการคลังเพื่อรองรับผลของการแพร่ระบาดของโควิด-19 มูลค่าประมาณร้อยละ 3.5 ร้อยละ 10.8 และร้อยละ 16.4 ของ GDP ตามลำดับ และดำเนินมาตรการสนับสนุนสภาพคล่องแก่ภาคธุรกิจมูลค่าประมาณร้อยละ 10.3 ร้อยละ 0.8 และร้อยละ 4.7 ของ GDP ตามลำดับ รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง

5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2563

เศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มที่จะลดลงจากร้อยละ 6.0 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.4 ในปี 2562 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ -0.9 และบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลร้อยละ 2.8 ของ GDP เทียบกับการเกินดุลร้อยละ 7.0 ต่อ GDP ในปี 2562

ในการแถลงข่าววันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2563 จะลดลงร้อยละ 6.0 ปรับตัวดีขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ (-7.8) - (-7.3) ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563 โดยมีการปรับองค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับข้อมูลจริงในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2563 และการปรับเปลี่ยนสมมติฐานประมาณการที่สำคัญ ๆ ดังนี้

1) เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2563 ฟื้นตัวดีขึ้นกว่าที่ประมาณการไว้ โดยมีปัจจัยสำคัญมาจาก (1) การบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นเร็วกว่าที่คาด โดยเป็นผลจากการกลับมาดำเนินกิจกรรมและการเปิดดำเนินธุรกิจอย่างเป็นปกติมากขึ้นภายหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด และผลของการดำเนินมาตรการช่วยเหลือเยียวยาและการกระตุ้นการบริโภคที่ดำเนินออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้การใช้จ่ายภายในประเทศกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับในทุกหมวดการใช้จ่าย (2) การลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวเร่งขึ้นมาก สอดคล้องกับการเร่งใช้จ่ายงบประมาณภายใต้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ที่มีความล่าช้ามาในช่วงก่อนหน้า โดยรายจ่ายลงทุนมีการเบิกจ่ายในช่วงไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2563 ทั้งสิ้น 171,036 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 30.8 ของงบลงทุนทั้งหมด สูงกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 26.9 และ (3) การผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรเริ่ม ฟื้นตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออก นอกจากนี้ การผลิตภาคเกษตร ปรับตัวดีจากตาม การลดลงในอัตราที่ชะลอลงของหมวดพืชผลหลัก ในขณะที่หมวดปศุสัตว์ยังขยายตัวต่อเนื่อง

2) การปรับเปลี่ยนสมมติฐานการประมาณการที่สำคัญ ๆและการปรับองค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับข้อมูลจริงในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2563 ประกอบด้วย (1) การปรับสมมติฐานเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2563 โดยคาดว่าจะลดลงร้อยละ 3.5 และร้อยละ 11.0 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการปรับขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.5 และร้อยละ 12.0 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการฟื้นตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจของประเทศสำคัญ ๆ ในไตรมาสที่สาม โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซน รวมทั้งเศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวสูงสุดในรอบสามไตรมาส ส่งผลให้มีการปรับประมาณการการส่งออกสินค้า โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในปี 2563 ในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. จะลดลงร้อยละ 7.5 เทียบกับที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 10.0 ในการประมาณการครั้งก่อน (2) การปรับประมาณการการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ใน ไตรมาสที่สาม ทั้งนี้ คาดว่าการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในปี 2563 จะลดลงร้อยละ 0.9 และร้อยละ 8.9 ตามลำดับ เทียบกับ การลดลงร้อยละ 3.1 และร้อยละ 10.2 ในการประมาณการครั้งก่อน และ (3) การปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐเป็นร้อยละ 13.7 จากร้อยละ 8.6 ในการประมาณการครั้งก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับผลการเบิกจ่ายที่เกิดขึ้นจริงในไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2563 ที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้

6. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564

เศรษฐกิจไทยในปี 2564 มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวต่อเนื่องจากช่วงครึ่งหลังของปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจาก (1) ความสำเร็จใน การควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศและแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากมาตรการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลซึ่งจะส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศให้ขยายตัวต่อเนื่อง (2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดในหลายประเทศที่ผ่านพ้นจุดสูงสุดไปแล้วและคาดว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนภาคการส่งออกของไทย (3) การเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 และมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐ และ (4) ผลของการปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดและความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2564 ได้แก่ ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในหลายประเทศซึ่งอาจมีความยืดเยื้อและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ปริมาณการค้าโลก ภาคการการท่องเที่ยว เงื่อนไขด้านการจ้างงาน และฐานะการเงินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ รวมทั้งความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้งและความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก

ปัจจัยสนับสนุน

1) แนวโน้มการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จในการควบคุมและป้องกันการระบาดภายในประเทศ ทำให้มีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดต่าง ๆ ของภาครัฐ จนเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นนับตั้งแต่ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องและความเชื่อมั่นภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน ยังมีแรงสนับสนุนจากการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลังของภาครัฐที่คาดว่าจะช่วยให้การใช้จ่ายภายในประเทศฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแนวโน้มการเริ่มผ่อนปรนการเดินทางเข้าประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม อาทิ กองถ่ายภาพยนตร์ ผู้มาเข้าร่วมงานแสดงสินค้า กลุ่มผู้มีกำลังซื้อสูง และกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบพิเศษ (Special Tourist Visa (STV)) ทำให้ชาวต่างชาติบางส่วนสามารถเดินเข้ามาในประเทศได้ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ภายใต้มาตรการควบคุมและกักตัวอย่างรัดกุม และคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเริ่มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 หากมีการเริ่มเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศอย่างเป็นวงกว้างมากขึ้นภายใต้เงื่อนไขของความสำเร็จในการค้นพบวัคซีนและนำมาใช้ได้อย่างแพร่หลาย ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนต่อเนื่องไปยังการใช้จ่ายภายในประเทศ

2) การปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2564 สอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจโลกในครึ่งหลังของปี 2563 ที่ฟื้นตัวได้เร็วมากกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของหลายประเทศสำคัญ โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลัก อาทิ สหรัฐฯ ยูโรโซน และจีน สะท้อนจากดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในประเทศเศรษฐกิจหลักที่ปรับขึ้นมาสู่ระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนการแพร่ระบาด เช่นเดียวกับดัชนีการค้าปลีกที่เริ่มกลับมาขยายตัวในเดือนสิงหาคมและกันยายน 2563 ทั้งนี้ ในกรณีฐานคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในหลายประเทศผ่านพ้นจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2563 และจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินศักยภาพทางสาธารณสุขของประเทศและสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้มากขึ้นผ่านการรักษาสุขอนามัยและการรักษาระยะห่าง (Social Distancing) ซึ่งจะส่งผลให้มาตรการการควบคุมการระบาดของภาครัฐจะไม่เข้มงวดเท่าเดิม ประกอบกับรูปแบบการประกอบธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ปรับตัวได้มากขึ้น ทำให้คาดว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะไม่มากเท่าการระบาดระลอกแรกในปี 2563

3) แรงขับเคลื่อนจากภาครัฐจากการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณและมาตรการทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ซึ่งในกรณีฐานคาดว่าจะมีอัตราการเบิกจ่ายสะสมทั้งปีงบประมาณ 2564 ทั้งสิ้นร้อยละ 94.4 ของงบประมาณทั้งหมด แบ่งเป็น อัตราการเบิกจ่ายงบรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนร้อยละ 98.0 และร้อยละ 80.0 ตามลำดับ ส่งผลให้ทั้งปีงบประมาณ 2564 คาดว่าจะมีการใช้จ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 3,103,374 ล้านบาท เทียบกับ 2,943,853 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2563 หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 (2) งบประมาณรายจ่ายเหลื่อมปี 2564 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายทั้งสิ้นร้อยละ 85.0 ของงบประมาณทั้งหมด คิดเป็นวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 519,418 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 367,916 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2563 (3) การเบิกจ่ายภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2564 รวม 403,249 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อรวมวงเงินงบประมาณจากรายจ่ายงบประมาณประจำปี งบรายจ่ายเหลื่อมปี และงบประมาณภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท คิดเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3,757,017 ล้านบาท เทียบกับ 3,467,967 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2563 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 8.3 (4) การเบิกจ่ายภายใต้งบลงทุนรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2564 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ

ทั้งนี้ คาดว่าจะมีอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 70 จากวงเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติ เทียบกับร้อยละ 64.9 ในปีงบประมาณ 2563 และ (5) การดำเนินการตามมาตรการด้านเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่สำคัญ อาทิ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการภายใต้พระราชกำหนด การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของธนาคารแห่งประเทศไทย โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะพิเศษ ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม ขนาดย่อม (บสย.) รวมทั้งมาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศและลดค่าครองชีพของประชาชน

4) ฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ในเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองลดลง ร้อยละ 12.1 เป็นการลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเริ่มฟื้นตัวขึ้นโดยลดลงร้อยละ 6.4 ในไตรมาสที่สามเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่การถดถอยทางเศรษฐกิจและลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2563 จะลดลงร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เงื่อนไขดังกล่าวจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจในปี 2564 จะสามารถกลับมาขยายตัวได้ภายใต้แนวโน้มการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ภาคการส่งออกและภาคการผลิต

ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยง

1) ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันในปัจจุบัน ที่ยังคงมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐฯ อินเดีย และบราซิล ในขณะเดียวกันหลายประเทศเผชิญกับการระบาดระลอกใหม่ อาทิ ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส เช่นเดียวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เมียนมาร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่ยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ ขณะเดียวกันยังมีความไม่แน่นอนของการค้นพบวัคซีนและยารักษาทั้งความไม่แน่นอนทางด้านประสิทธิภาพและระยะเวลาที่จะใช้ในการค้นพบ จนอาจทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องกลับมาดำเนินมาตรการควบคุม การระบาดในบางพื้นที่อีกครั้งและยังคงต้องจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศต่อไป ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2564 แตกต่างไปจากกรณีฐาน และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวของไทย

2) เงื่อนไขด้านการจ้างงานและฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและการลงทุนของภาคธุรกิจ โดยสถานการณ์การว่างงานในไตรมาสที่สาม มีจำนวนคนว่างงานทั้งสิ้น 7.37 แสนคน เทียบกับ 3.94 แสนคนในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.95 และ สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.04 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการว่างงานในสาขาที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ ภาคการผลิตอุตสาหกรรม และภาคโรงแรมและภัตตาคาร สอดคล้องกับจำนวนผู้ประกันตนที่ใช้สิทธิขอรับเงินชดเชยกรณีถูกเลิกจ้าง ณ สิ้นสุดไตรมาสที่สามอยู่ที่ 242,114 คน เพิ่มขึ้นจาก 32,789 คน และ 145,747 คน ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน แม้ว่าการดำเนินมาตรการของภาครัฐเพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาสภาพคล่องผ่านมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษ ควบคู่ไปกับมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ที่ดำเนินในช่วงปี 2563 แต่สัดส่วนสินเชื่อชั้นกล่าวถึงพิเศษ (Special Mention Loan) ต่อสินเชื่อรวมทั้งหมดในไตรมาสที่สามอยู่ที่ร้อยละ 7.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่สามของปีก่อน ในขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือน ณ สิ้นไตรมาสที่สองอยู่ที่ร้อยละ 83.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นข้อจำกัดต่อการฟื้นตัวของ การใช้จ่ายภาคครัวเรือนและการลงทุนของภาคธุรกิจ

3) ความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้ง ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2563 ปริมาณน้ำใช้ได้จริงในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศอยู่ที่ 13,888 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.2 ของความจุรวมในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ หรืออยู่ที่เพียงร้อยละ 48.3 ของค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาเดียวกันย้อนหลัง 10 ปี โดยเขื่อนสำคัญที่มีปริมาณน้ำน้อยเป็นประวัติการณ์ ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ที่มีปริมาณน้ำใช้ได้จริง อยู่ที่ร้อยละ 7.6 ร้อยละ 28.1 และร้อยละ 32.1 ของค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ทั้งนี้ หากในช่วงที่เหลือของปี 2563 ยังไม่มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอกับการทำการเกษตรในปีเพาะปลูก 2563/2564 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลผลิตข้าวนาปรังที่อาจจะไม่สามารถเพาะปลูกได้ในบางพื้นที่

4) ความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก โดยมีเงื่อนไขในเศรษฐกิจโลกที่จะต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย (1) ทิศทางและแนวนโยบายของประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ทั้งนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ นโยบายการค้าระหว่างประเทศ และนโยบายด้านความมั่นคงที่จะส่งผลในหลายมิติ อาทิ การฟื้นตัวของการค้าของโลก ภูมิศาสตร์ในการตั้งฐานการผลิตของผู้ประกอบการ ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกกลาง และความสัมพันธ์กับประเทศจีน และประเทศสำคัญอื่น ๆ (2) การออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรที่มีแนวโน้มจะเป็นการออกแบบไม่มีข้อตกลง (No Deal Brexit) ซึ่งจะส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนของสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร และประเทศคู่ค้าสำคัญ ๆ (3) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เปราะบางโดยเฉพาะในประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอ่อนแอ จากปัญหาหนี้ภาครัฐบาลและครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นมากจนส่งผลต่อขีดความสามารถในการใช้จ่ายในช่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และ (4) ความผันผวนของเงินลงทุนระหว่างประเทศภายใต้ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งจะส่งผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ภายใต้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกคาดว่าเงินลงทุนจะย้ายออกจากสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ อาทิ พันธบัตรรัฐบาลระยะยาว และทองคำ ไปยังสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นและจะทำให้เงินทุนไหลเข้ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและเศรษฐกิจเกิดใหม่มากขึ้นจนสร้างแรงกดดันต่ออัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความเปราะบางของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่อาจจะได้รับผลกระทบหากการแพร่ระบาดมีความรุนแรงและยืดเยื้อมากขึ้น จนส่งผลให้เงินลงทุนไหลออกจากประเทศกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วได้

ข้อสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2563 และปี 2564

1) เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกในปี 2563 คาดว่าจะลดลงร้อยละ 3.5 และร้อยละ 11.0 ตามลำดับ ปรับขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.5 และร้อยละ 12.0 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน ณ เดือนสิงหาคม 2563 และเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.0 และร้อยละ 1.0 ในปี 2562 การปรับสมมติฐานครั้งนี้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศสำคัญ ๆ ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งมีสัญญาณของการฟื้นตัวที่ดีกว่าคาดการณ์ไว้โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ และยูโรโซน สำหรับในปี 2564 ในกรณีฐาน คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับมาขยายตัวร้อยละ 4.9 ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.5 ในปี 2563 ตามการปรับตัวดีขึ้นของทั้งเศรษฐกิจประเทศหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ ยูโรโซน ญี่ปุ่น และจีน รวมทั้งกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ กลุ่มประเทศอาเซียน อินเดีย และประเทศกำลังพัฒนาสำคัญอื่น ๆ ที่คาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องจากช่วงครึ่งหลังของปี 2563 และคาดว่ารัฐบาลประเทศต่าง ๆ จะยังคงดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจทั้งด้านการเงินและการคลังอย่างต่อเนื่องซึ่งจะช่วยการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ภายใต้สมมติฐานในกรณีฐานที่คาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในหลายประเทศจะผ่านพ้นจุดสูงสุดไปแล้ว และประเทศต่าง ๆ มีขีดความสามารถในการควบคุมการระบาดได้มากขึ้น ส่วนปริมาณการค้าโลกในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 11.0 ในปี 2563

2) ค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปี 2563 คาดว่าจะอยู่ที่ 31.3 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากเฉลี่ย 31.0 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2562 และเท่ากับสมมติฐานในการประมาณการครั้งก่อน สำหรับปี 2564 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปีมีแนวโน้มที่จะอยู่ในช่วง 30.3 - 31.3 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปี 2563 ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลให้เงินทุนระหว่างประเทศมีแนวโน้มไหลออกจากสินทรัพย์ปลอดภัยเข้าสู่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มากขึ้นท่ามกลางแนวโน้มการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.

3) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2563 คาดว่าจะอยู่ที่ 41.8 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ปรับลดลงเล็กน้อยจาก 43.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ตามค่ากลางในสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา สำหรับในปี 2564 คาดว่าราคาน้ำมับดิบดูไบจะอยู่ในช่วง 41.0 - 51.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันที่สำคัญ ได้แก่ (1) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2564 ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (2) ความเป็นไปได้ที่องค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก (OPEC) และกลุ่มประเทศพันธมิตรจะปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมในปี 2564 ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดซึ่งส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ (3) ความเสี่ยงจากความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศในกลุ่ม OPEC ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการปรับลดกำลังการผลิตช้ากว่าที่ตกลงกันไว้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันจะไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากนักเนื่องจาก (1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังมีความไม่แน่นอนสูง และการกลับมาระบาดระลอกใหม่ในบางประเทศ อาทิ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร อิตาลี และฝรั่งเศส และ (2) จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น โดยล่าสุด ณ สิ้นเดือนตุลาคมอยู่ที่ 221 แท่น หลังจากที่ลดลงสู่ระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 ปีเมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2563 ที่ 172 แท่น ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังเพื่อการพาณิชย์ของสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศ OECD ยังคงอยู่ในระดับสูง

4) ราคาสินค้าส่งออกและราคาสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ในปี 2563 คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.9 และร้อยละ 2.5 ตามลำดับ ปรับเพิ่มจากการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับราคาสินค้าส่งออกและนำเข้าในช่วงสามไตรมาสแรกที่ลดลงร้อยละ 1.0 และร้อยละ 2.5 ตามลำดับ สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม และสอดคล้องกับการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สำหรับในปี 2564 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกและราคาสินค้านำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 - 1.5 และร้อยละ 1.0 - 2.0 สอดคล้องกับราคาวัตถุดิบและราคาสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่มีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ

5) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศปี 2563 คาดว่าจะอยู่ที่ 0.46 ล้านล้านบาทเท่ากับการประมาณครั้งก่อน ลดลงจาก 1.85 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นการลดลงร้อยละ 75.3 จากปี 2562 โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.7 ล้านคน สำหรับในปี 2564 คาดว่ารายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 0.49 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 จากปี 2563 ทั้งนี้ คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี 2564 จะอยู่ที่ 5.0 ล้านคน คิดเป็นการลดลงร้อยละ 25.9 จากปี 2563 ภายใต้สมมติฐานที่คาดว่าวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 จะสามารถผลิตออกมาเริ่มใช้ได้ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2564 และจะสามารถใช้ได้อย่างแพร่หลายนับตั้งแต่ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ส่งผลให้คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะสามารถเดินทางเข้ามามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงครึ่งหลังของปี 2564

6) การเบิกจ่ายงบประมาณ ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ในกรณีฐาน คาดว่าอัตรา การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายรวมอยู่ที่ร้อยละ 94.4 ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด (เทียบกับร้อยละ 92.0 ในปีงบประมาณ 2563) โดยแบ่งเป็นอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำร้อยละ 98.0 (เทียบกับร้อยละ 97.4) และรายจ่ายลงทุนร้อยละ 80.0 (เทียบกับ ร้อยละ 66.3) (2) อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณเหลื่อมปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 85.0 เทียบกับร้อยละ 66.3 ในปีงบประมาณ 2563 (3) อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจอยู่ที่ร้อยละ 70 ของเงินงบประมาณ เทียบกับร้อยละ 64.9 ในปีงบประมาณ 2563 และ (4) การใช้เงินภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท13 ซึ่งมีการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2563 รวม 299,244 ล้านบาท และคาดว่าจะมี การเบิกจ่ายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในปี 2564 รวม 403,249 ล้านบาท รวมมีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 702,494 ล้านบาท คิดเป็นอัตรา การเบิกจ่ายร้อยละ 70 ของวงเงินกู้รวม

หมายเหตุ:

13 พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

ประมาณการเศรษฐกิจปี 2564

ในการแถลงข่าววันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 3.5 - 4.5 โดยมีค่ากลางการประมาณการอยู่ที่ร้อยละ 4.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.0 ในปี 2563 สำหรับอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 - 1.7 เทียบกับร้อยละ -0.9 ในปี 2563 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่ร้อยละ 2.6 ต่อ GDP เทียบกับร้อยละ 2.8 ในปี 2563

องค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

1) การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.4 เร่งขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.9 ในปี 2563 ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของโควิด-19 การดำเนินมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นผู้บริโภคตามความสามารถในการควบคุมการระบาดภายในประเทศ รวมทั้งแนวโน้มการฟื้นตัวของฐานรายได้จากภาคการส่งออกและ (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.6 ในปี 2563 สอดคล้องกับสมมติฐานอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 อยู่ที่ร้อยละ 98.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 97.4 จากปีงบประมาณ 2563 รวมถึงการเบิกจ่ายภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินเบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในปี 2564 รวม 403,249 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.8 จากปี 2563

2) การลงทุนรวม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.2 ในปี 2563 โดยการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.4 ต่อเนื่องจากร้อยละ 13.7 ในปี 2563 สอดคล้องกับวงเงินงบลงทุนภายใต้กรอบงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2564 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 เทียบกับกรอบปีงบประมาณ 2563 รวมทั้งการเบิกจ่ายภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ส่วนการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 ฟื้นตัวจากการลดลงร้อยละ 8.9 ในปี 2563 สอดคล้องกับแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของภาคการผลิตและการส่งออกตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนมากขึ้น

3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 7.5 ในปี 2563 โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.6 ในปี 2563 ตามสมมติฐานแนวโน้มการขยายตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2564 ส่วนราคาสินค้าส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.9 ในปี 2563 สอดคล้องกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่การส่งออกบริการยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุม การเดินทางระหว่างประเทศที่แม้จะผ่อนคลายมากขึ้น แต่ยังไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวได้อย่างเต็มที่ และส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทย ทั้งนี้ ในกรณีฐานคาดว่ารายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 4.7 แสนล้านบาทเทียบกับ 4.6 แสนล้านบาทในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ดังนั้น โดยรวมคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ ในปี 2564 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 19.5 ในปี 2563

4) มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 13.8 ในปี 2563 โดยคาดว่าปริมาณการนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 11.3 สอดคล้องกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาค การส่งออก ส่วนราคาสินค้านำเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.5 ในปี 2563 สอดคล้องกับแนวโน้มราคาน้ำมันในปี 2564 ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เมื่อรวมกับการนำเข้าบริการที่มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศที่คาดว่าจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการในปี 2564 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 15.3 ในปี 2563

5) ดุลการค้า คาดว่าจะเกินดุล 3.79 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากการเกินดุล 3.83 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2563 เนื่องจาก การประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้า และเมื่อรวมกับการขาดดุลบริการคาดว่าจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 1.39 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 2.6 ของ GDP เทียบกับการเกินดุล 1.40 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 2.8 ของ GDP ในปี 2563

6) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2564 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 - 1.7 โดยเป็นการกลับมาเพิ่มขึ้นของระดับราคาเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อร้อยละ -0.9 ในปี 2563 ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสด และราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

7. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค

เศรษฐกิจไทยในปี 2564 มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวต่อเนื่องจากช่วงครึ่งหลังของปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศ ควบคู่ไปกับแรงสนับสนุนจากมาตรการบริหารเศรษฐกิจของภาครัฐที่ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในหลายประเทศที่ผ่านพ้นจุดสูงสุด ไปแล้ว ยังช่วยสนับสนุนภาคการส่งออกและภาคการผลิตของไทย ประกอบกับแรงสนับสนุนจากการเบิกจ่ายงบประมาณและมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไปยังมีปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ในหลายประเทศที่ยังมีความเสี่ยงที่จะยืดเยื้อและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งเงื่อนไขด้านการจ้างงาน ฐานะทางการเงินของครัวเรือนและภาคธุรกิจ ความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้งและความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2563 และปี 2564 จึงควรให้ความสำคัญกับ

1) การป้องกันการกลับมาระบาดระลอกที่สองภายในประเทศ

2) การดูแลภาคเศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง และภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยให้ความสำคัญกับ (1) การเร่งรัดติดตามมาตรการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงินการคลังที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการเพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนมาตรการเดิมให้ตอบสนองสาขาและพื้นที่เศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัวมากขึ้น (2) การดูแลและการช่วยเหลือแรงงานในสาขาและพื้นที่เศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว โดยให้ความสำคัญกับการจับคู่แรงงาน การพัฒนายกระดับและปรับทักษะฝีมือแรงงาน การสร้างงานใหม่เพื่อรองรับผู้ว่างงาน และการสร้างแรงจูงใจให้แก่ภาคธุรกิจในการรักษาการจ้างงาน (3) การรณรงค์การท่องเที่ยว เดินทาง และการจัดประชุม อบรมสัมมนาในประเทศ โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่พึ่งพิงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูง รวมทั้งการการรณรงค์ให้มีการใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศไทยมากขึ้น (4) การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคอย่างรัดกุมโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและพฤติกรรมการใช้จ่ายของครัวเรือนและนักท่องเที่ยวในประเทศ และ (5) การดำเนินการด้านวัคซีนให้สามารถนำมาใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างความเชื่อมั่นในการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

3) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายภาครัฐ ประกอบด้วย (1) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 94.4 ของกรอบวงเงินงบประมาณ (2) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของกรอบวงเงินงบประมาณ และ (3) งบเหลื่อมปีให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 และ (4) การเบิกจ่ายโครงการตามพระราชกำหนดเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของวงเงินกู้

4) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญกับ (1) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของโรคโควิด-19 (2) การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าภายใต้กรอบความร่วมมือที่สำคัญ ๆ รวมทั้งการขยายกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าเพิ่มเติม (3) การให้ความสำคัญกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ ที่อาจถูกหยิบยกเป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า (4) การลดต้นทุนการผลิตสินค้าที่สำคัญ ๆ เพื่อลดแรงกดดันจากการเพิ่มขึ้นของขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อนบ้านและแรงกดดันจากเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มที่จะอยู่ภายใต้แรงกดดันของการแข็งค่า (5) การป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการแข็งค่าของเงินบาท และ (6) การส่งเสริมการตลาดเชิงรุกผ่านช่องทางออนไลน์

5) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญกับ (1) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2561-2563 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของประเทศ (2) การขับเคลื่อนการส่งออกเพื่อเพิ่มการใช้กำลังการผลิตในระบบเศรษฐกิจ (3) การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อ การลงทุนและประกอบธุรกิจในประเทศไทย (4) การประชาสัมพันธ์จุดแข็งของประเทศไทย และ (5) การขับเคลื่อนมาตรการสร้างศักยภาพ การขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งให้เป็นไปตามแผนงาน และการปรับโครงสร้างภาคการผลิตและภาคบริการที่สำคัญ ๆ

6) การดูแลราคาสินค้าเกษตรในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาด และการเตรียมมาตรการรองรับความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้งในปีการเพาะปลูก 2563/2564 โดยให้ความสำคัญกับ (1) การติดตามสถานการณ์น้ำทั้งในและนอกเขตชลประทานอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งการดูแล ป้องกัน และบรรเทาผลกระทบจากปัญหาจากภัยแล้ง (2) การบริหารจัดการน้ำและการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร (3) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร (4) การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการผลิตในภาคเกษตรไปสู่พืชที่ใช้น้ำน้อย (5) การดูแลปัญหาราคาสินค้าบางรายการที่ยังมีข้อจำกัด ในการฟื้นตัว และให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ ๆ (6) การส่งเสริมการค้าออนไลน์เพื่อสนับสนุนการขายสินค้าจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภคโดยตรง และเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตให้กับเกษตรกรมากขึ้น (7) การส่งเสริมและขยายผล การรวมกลุ่มและการรวมพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรรายย่อย เพื่อให้มีการประหยัดต่อขนาด ลดการทำงานต่ำระดับ รวมทั้งการจัดการให้สามารถใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร โดยภาครัฐสนับสนุน แรงจูงใจในลักษณะที่เหมาะสม และ (8) การดำเนินมาตรการสินเชื่อเพื่อชะลอการเข้าสู่ตลาดของผลผลิต

7) การรักษาบรรยากาศทางการเมืองภายในประเทศ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจและเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

8) การเตรียมการรองรับความเสี่ยงสำคัญ ๆ ควบคู่ไปกับการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ (1) ความยืดเยื้อของการระบาดในประเทศสำคัญ ๆ และการกลับมาระบาดในระลอกใหม่ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ และ (2) ความผันผวนในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก

แนวโน้มนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ภายใต้ประธานาธิบดีไบเดน และนัยต่อเศรษฐกิจไทย

ภายหลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา และผลปรากฏออกมาล่าสุดว่านายโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครตสามารถได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภาของสหรัฐฯ และจะขึ้นเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้งคนใหม่ (President-elect) อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาผลการเลือกตั้งในแต่ละสภาจะพบว่าพรรคเดโมแครตสามารถครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) จำนวน 219 ที่นั่ง ขณะที่การเลือกตั้งวุฒิสภา (Senate) พรรครีพลับลิกันได้รับเลือกตั้งมาทั้งสิ้น 50 ที่นั่ง ส่วนพรรคเดโมแครตและพันธมิตรได้ทั้งสิ้น 48 ที่นั่ง14 ทั้งนี้ ภายใต้การบริหารประเทศในระยะต่อไปของนายไบเดน หากเป็นไปตามที่ได้เคยหาเสียงไว้ พบว่า มีแนวนโยบายทางเศรษฐกิจและนโยบายอื่น ๆ ที่สำคัญที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย สามารถสรุปได้ดังนี้

นโยบายที่สำคัญ

นโยบายเศรษฐกิจในภาพรวม
  • นโยบาย Buy American เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน การลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะด้านพลังงานสะอาดและปัญญาประดิษฐ์ และการสร้างงานให้แก่ชาวอเมริกัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ระดับกลาง
  • การผลักดันการเจรจาผ่านองค์กรการค้าระหว่างประเทศและการเจรจาพหุภาคี และมีแนวโน้มที่จะกลับเข้าสู่การเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)
  • ปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 15 ดอลลาร์ สรอ. ต่อชั่วโมง และขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างรัฐบาลกลางจาก 7.25 ดอลลาร์ สรอ. เป็น 15 ดอลลาร์ สรอ.
นโยบายด้านภาษี
  • ปรับขึ้นอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกลุ่มผู้มีรายได้มากกว่า 400,000 ดอลลาร์ สรอ. ต่อปี จากร้อยละ 37 เป็นร้อยละ 39.6 ซึ่งเป็นระดับเดิมก่อนที่อดีตประธานาธิบดีทรัมป์ จะดำเนินนโยบายลดภาษีในปี 2560
  • การขึ้นภาษีกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gains Tax) และเงินปันผลกรณีที่รายได้ก่อนหักภาษีที่มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ สรอ.
  • การขึ้นอัตราภาษีนิติบุคคลจากร้อยละ 21 เป็นร้อยละ 28
  • การออกบทลงโทษทางภาษีแก่บริษัทที่ลงทุนในต่างประเทศเพื่อนำสินค้ากลับมาจำหน่ายที่สหรัฐฯ
  • การกำหนดอัตราภาษีขั้นต่ำร้อยละ 15 สำหรับบริษัทที่มีรายได้ทางบัญชีมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ สรอ.
  • ให้เครดิตภาษีแก่ธุรกิจที่ประสบปัญหาเลิกจ้างพนักงาน
นโยบายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • กลับเข้าสู่ข้อตกลงปารีสเกี่ยวกับการลดโลกร้อน (Paris Climate Accord) ที่มี การตั้งเป้าหมายเป็นประเทศที่ยุติการปล่อยคาร์บอนภายในปี 2593 และนโยบายพลังงานสะอาดภายใต้งบประมาณ 2 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงระยะเวลา 10 ปี
นโยบายสุขภาพ
  • สนับสนุนนโยบายประกันสุขภาพภายใต้ Affordable Care Act และพัฒนาระบบสาธารณะสุขที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ
นโยบายระหว่างประเทศ
  • ดำเนินนโยบายที่สหรัฐฯ มีบทบาทในฐานะผู้นำในการรักษาสันติภาพและประชาธิปไตยของโลก อาทิ การทุจริต ระบบเผด็จการ และสิทธิมนุษยชน
นโยบายอื่น ๆ
  • การยกเลิกหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้แก่นักเรียนผู้มีรายได้น้อย หรือนโยบายเรียนฟรีแก่ผู้ที่มีรายได้ครัวเรือนต่ำว่า 125,000 ดอลลาร์ สรอ. และการเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชนต่อประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับประเทศคู่ค้ามากขึ้น
นัยต่อเศรษฐกิจไทย
  • แผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ด้านพลังงานสะอาดและปัญญาประดิษฐ์ คาดว่าจะเป็นประโยชน์แก่ภาคการส่งออกของไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
  • ไทยจำเป็นต้องพิจารณาประโยชน์ที่ได้รับและผลกระทบต่อภาคส่วนต่าง ๆ ภายในประเทศอย่างรอบคอบในการตัดสินใจเจรจาข้อตกลงทางการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ
  • สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะบังคับใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการคุ้มครองแรงงาน และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจส่งผลต่อการส่งออกสินค้าของไทยไปยังสหรัฐฯ ได้ อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีแนวโน้มสามารถยื่นทบทวนขอคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กลับมาได้ ด้วยการใช้ข้อแลกเปลี่ยนการพัฒนามาตรฐานด้านสิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม และการคุ้มครองสิทธิทางปัญญาอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
  • แนวโน้มการย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการขึ้นอยู่กับมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ทั้งนี้ คาดว่าสหรัฐฯ จะยังมีความพยายามในการลดการขาดดุลการค้ากับจีนผ่านมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น
  • นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของสหรัฐฯ จะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงานสูง ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า
  • การขึ้นภาษีในสำหรับผู้มีรายได้สูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มอัตราภาษีการลงทุนคาดว่าจะทำให้มีเงินลงทุนไหลออก จากสหรัฐฯ มากขึ้น จนส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนที่ ดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงรวมถึงราคาสินทรัพย์ในประเทศตลาดเกิดใหม่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
หมายเหตุ:

14 ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ