-สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปรับตัวลดลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ในระดับเดียวกับอัตราดอกเบี้ย Interbank และ R/P 14 วัน ที่ระดับร้อยละ 2.25 ต่อปี สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย
-มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยและสหรัฐส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนลงเป็นลำดับตลอดสัปดาห์และปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบครึ่งปีที่ระดับ 40.36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการขาดดุลการค้าในเดือน เม.ย. อยู่ในระดับสูง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมาก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี และการปฏิเสธการปรับขึ้นค่าเงินหยวนของทางการจีน
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากมีรายจ่ายภาครัฐในช่วงสิ้นเดือนไหลเข้าสู่ระบบ ประกอบกับเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ไหม่ของการสำรองสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ โดย
ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรทุกประเภท ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 2.28125 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ในระดับเดียวกับอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ที่ระดับร้อยละ 2.25 ต่อปี สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.25-2.28125 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 2- 2.26 ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่
ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรส่วนใหญ่
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 28,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 ปี วงเงิน 1,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 364 วัน วงเงินรวม 27,000 ล้านบาท สำหรับตั๋วเงินคลังได้ประมูลไปเมื่อสัปดาห์ก่อน เนื่องจากในสัปดาห์นี้วันจันทร์เป็นวันหยุดธนาคาร จากการลดลงของอุปทานของตราสารที่เปิดประมูล ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลลดลง 18 basis points ตามสัดส่วนเสนอประมูลที่ค่อนข้างสูง ส่วนพันธบัตร ธปท.อายุ 28 และ 63 วัน อัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 364 วันเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองในสัปดาห์นี้เท่ากับ 81,371 ล้านบาท หรือ 20,343 ล้านบาทต่อวัน คิดเป็นการลดลงร้อยละ 5.3 จากสัปดาห์ก่อน โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 68.8 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ ช่วงอายุ 2 ปีขึ้นไป อัตราผลตอบแทน
ลดลง 1-8 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 22 และ 12 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับลดลงในต้นสัปดาห์ ก่อนจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ พันธบัตรฯ อายุ 1-3 เดือน มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 7-11 basis points ส่วนพันธบัตรอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลง 3-6 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.10 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 0.8 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับตลอดสัปดาห์และปรับอ่อนค่าที่สุดตั้งแต่ช่วงปลายเดือน
พฤศจิกายน 2547 ที่ระดับ 40.36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ การอ่อนค่าของเงินบาทถูกกดดันจากปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ ตัวเลขดุลการค้าในเดือนเมษายนซึ่งมีการขาดดุลถึง 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี สำหรับปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่ ทิศทางการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนออกมาปฏิเสธการปรับขึ้นค่าเงินหยวนในระยะเวลาอันใกล้เนื่องจากจีนยังไม่มีความพร้อม ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลข GDP สหรัฐฯ ประจำไตรมาสแรกซึ่งเป็นการทบทวนครั้งที่ 2 ออกมาสูงกว่าตัวเลขในการประกาศครั้งแรกและขยายตัวสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด โดยเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 7 เดือนเมื่อเทียบกับเงินยูโร และแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 1 เดือนเมื่อเทียบกับเงินเยน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยและสหรัฐส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนลงเป็นลำดับตลอดสัปดาห์และปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบครึ่งปีที่ระดับ 40.36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการขาดดุลการค้าในเดือน เม.ย. อยู่ในระดับสูง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมาก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี และการปฏิเสธการปรับขึ้นค่าเงินหยวนของทางการจีน
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากมีรายจ่ายภาครัฐในช่วงสิ้นเดือนไหลเข้าสู่ระบบ ประกอบกับเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ไหม่ของการสำรองสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ โดย
ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรทุกประเภท ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 2.28125 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ในระดับเดียวกับอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ที่ระดับร้อยละ 2.25 ต่อปี สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.25-2.28125 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 2- 2.26 ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่
ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรส่วนใหญ่
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 28,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 ปี วงเงิน 1,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 364 วัน วงเงินรวม 27,000 ล้านบาท สำหรับตั๋วเงินคลังได้ประมูลไปเมื่อสัปดาห์ก่อน เนื่องจากในสัปดาห์นี้วันจันทร์เป็นวันหยุดธนาคาร จากการลดลงของอุปทานของตราสารที่เปิดประมูล ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลลดลง 18 basis points ตามสัดส่วนเสนอประมูลที่ค่อนข้างสูง ส่วนพันธบัตร ธปท.อายุ 28 และ 63 วัน อัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 364 วันเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองในสัปดาห์นี้เท่ากับ 81,371 ล้านบาท หรือ 20,343 ล้านบาทต่อวัน คิดเป็นการลดลงร้อยละ 5.3 จากสัปดาห์ก่อน โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 68.8 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ ช่วงอายุ 2 ปีขึ้นไป อัตราผลตอบแทน
ลดลง 1-8 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 22 และ 12 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับลดลงในต้นสัปดาห์ ก่อนจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ พันธบัตรฯ อายุ 1-3 เดือน มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 7-11 basis points ส่วนพันธบัตรอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลง 3-6 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.10 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 0.8 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับตลอดสัปดาห์และปรับอ่อนค่าที่สุดตั้งแต่ช่วงปลายเดือน
พฤศจิกายน 2547 ที่ระดับ 40.36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ การอ่อนค่าของเงินบาทถูกกดดันจากปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ ตัวเลขดุลการค้าในเดือนเมษายนซึ่งมีการขาดดุลถึง 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี สำหรับปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่ ทิศทางการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนออกมาปฏิเสธการปรับขึ้นค่าเงินหยวนในระยะเวลาอันใกล้เนื่องจากจีนยังไม่มีความพร้อม ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลข GDP สหรัฐฯ ประจำไตรมาสแรกซึ่งเป็นการทบทวนครั้งที่ 2 ออกมาสูงกว่าตัวเลขในการประกาศครั้งแรกและขยายตัวสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด โดยเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 7 เดือนเมื่อเทียบกับเงินยูโร และแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 1 เดือนเมื่อเทียบกับเงินเยน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-