(ต่อ5)ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 3/2549

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 23, 2007 14:02 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                                    อัตราการขยายตัวของการลงทุน                   (ร้อยละ) 
2548 2548 2549
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
ก่อสร้าง 6.2 11.7 7.5 3.7 2.6 4.8 5.7 4.8
ภาคเอกชน 6.1 9.0 5.6 5.3 4.5 3.0 2.6 2.4
ภาครัฐ 6.3 14.9 9.7 2.3 0.1 6.9 9.1 6.7
เครื่องจักร 13.7 16.7 17.6 11.2 9.7 7.4 3.3 2.1
ภาคเอกชน 12.5 13.2 15.3 12.6 9.2 8.1 3.5 3.0
ภาครัฐ 22.0 54.1 35.7 3.9 12.8 2.1 1.8 -2.8
มูลค่าการลงทุนรวม 11.1 15.0 14.1 8.1 7.5 6.6 4.0 3.2
ภาคเอกชน 10.9 12.2 13.0 10.6 8.1 7.0 3.3 2.9
ภาครัฐ 11.3 25.4 18.0 2.8 5.2 5.3 6.4 3.8
การก่อสร้างภาคเอกชน โดยรวมขยายตัวร้อยละ 2.4 ชะลอเล็กน้อยจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 โดยเป็นการก่อสร้างที่ต่อ
เนื่องจากไตรมาสที่แล้วในขณะที่โครงการใหม่ๆ ส่วนหนึ่งหยุดชะงักเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ทำให้ในไตรมาสนี้การก่อสร้าง
อาคารเพื่อที่อยู่อาศัยและอาคารเพื่อการพาณิชย์ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.8 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ ส่วนอาคารโรงงานขยายตัวร้อยละ 1.3 ส่วน
ใหญ่เป็นการก่อสร้างอาคารโรงงานในเขตการนิคมอุตสาหกรรม
การก่อสร้างภาครัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.7 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 เป็นผลมาจากการขยายตัวของการก่อสร้าง
ของรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขยายตัวร้อยละ 10.4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างในงานโยธา ส่วนภาครัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ
1.2 เป็นผลมาจากการโครงการใหญ่ ๆ สิ้นสุดลง
อัตราการขยายตัวของการก่อสร้างภาคเอกชน (ร้อยละ)
2548 2548 2549
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
ที่อยู่อาศัย 11.2 14.6 11.7 10.2 8.5 4.5 3.9 2.8
โรงงาน 9.3 6.2 5.9 15.7 9.5 7.8 5.6 1.3
อาคารพาณิชย์ 15.8 21.4 16.3 12.6 13.9 12.8 8.9 4.6
อื่นๆ -12.8 -8.3 -14.5 -16.8 -11.4 -9.7 -7.0 0.5
รวม 6.1 9.0 5.6 5.3 4.5 3.0 2.6 2.4
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอตัวจากร้อยละ 3.5 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการลงทุน
ในการนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 ประกอบกับหมวดยานพาหนะลดลงร้อยละ 3.0 โดยเฉพาะรถยนต์เพื่อ
การพาณิชย์ ส่วนการลงทุนในหมวดเครื่องใช้สำนักงานมีการปรับตัวดีขึ้น
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาครัฐ ลดลงร้อยละ 2.8 เป็นผลมาจากการลงทุนของรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ลด
ลงร้อยละ 1.7 ประกอบกับภาครัฐวิสาหกิจ ในไตรมาสนี้โครงการต่าง ๆ สิ้นสุดลงแล้วเมื่อเทียบกับการเร่งลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ในปีที่แล้ว ส่ง
ผลทำให้ในไตรมาสนี้การลงทุนของภาครัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 3.5
การนำเข้าเครื่องบินพาณิชย์
2545 2546 2547 2548 2549
จำนวน (ลำ) - 2 6 8 -
มูลค่า (ล้านบาท) - 12,222 12,877 40,816 -
ที่มา : บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
ส่วนเปลี่ยนแปลงสินค้าคงเหลือ
สินค้าคงเหลือ ราคาประจำปีปรับตัวลดลง 41, 462 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม เนื่องจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอ
ตัวลง แต่สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ยานยนต์และชิ้นส่วนส่วนประกอบ เป็นผลทำให้
สต็อกสินค้าสำเร็จรูปส่งออกและวัตถุดิบนำเข้าเพื่อนำมาผลิตสินค้าส่งออกลดลงด้วยเช่นกัน ในทางตรงข้ามสินค้าที่สะสมสต็อกเพิ่มขึ้น ได้แก่อุตสาหกรรม
เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่นเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เนื่องจากการบริโภคในประเทศและการส่งออกลดลง
ด้านต่างประเทศการส่งออกสินค้าและบริการ
การส่งออกสินค้า มีมูลค่าในราคาประจำปี 1,300,536 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.1 ชะลอจากไตรมาสที่แล้วซึ่งขยายตัวร้อยละ
10.2 เป็นผลจากการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าหลัก โดยเฉพาะ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน รวมทั้งแผงวงจรไฟฟ้าที่มีแนวโน้มชะลอตัวตามวัฏจักรอิ
เลกทรอนิกส์ เช่นเดียวกับการส่งออกยานยนต์ซึ่งชะลอตัวจากภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในระยะที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกสินค้าที่เน้นการ
ใช้แรงงานมาก เช่น สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ และอัญมณี ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง การส่งออกที่ชะลอลงยังเป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวใน
กลุ่มประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งภูมิภาคอาเซียน สหรัฐอเมริกา รวมถึงเอเชียตะวันออก แม้ว่าการส่งออกไปยังตลาดส่งออกใหม่ โดยเฉพาะภูมิภาคยุโรปตะวัน
ออก ละตินอเมริกา และอินเดีย ยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้าเกษตรเร่งตัวขึ้นเล็กน้อย จากการส่งออกผลิตภัณฑ์
มันสำปะหลังและข้าวที่เพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ในตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกสินค้าในราคาปีฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9
การนำเข้าสินค้าและบริการ
รายรับทางด้านบริการ มีมูลค่าในราคาประจำปี 221,648 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.8 ชะลอตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่ขยายตัว
ร้อยละ 12.3 ตามรายรับจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวร้อยละ 14.6 ชะลอลงจากร้อยละ 24.1 ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นช่วงที่อยู่นอกฤดูท่อง
เที่ยว (low season)
การนำเข้าสินค้า มีมูลค่าในราคาประจำปี 1,246,388 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากเดิมที่หดตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาสที่ผ่าน
มา เนื่องจากการนำเข้าสินค้าประเภทวัตถุดิบที่ขยายตัวรองรับการขยายการผลิตเพื่อการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง รวมทั้งการนำเข้าน้ำมันดิบที่เร่งตัว
ขึ้น มูลค่าการนำเข้าสินค้าในราคาปีฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9
รายจ่ายทางด้านบริการ มีมูลค่าในราคาประจำปี 174,169 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.7 สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ
14.6 โดยเฉพาะรายจ่ายค่ารอยัลตี้เครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 จากที่ขยายตัวร้อยละ 8.4 ในไตรมาสก่อน
ดุลบัญชีเดินสะพัดและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
การส่งออกชะลอตัว ขณะที่การนำเข้าเร่งตัวขึ้น
ดุลการค้าในราคาประจำปีเกินดุล 54,148 ล้านบาท นับเป็นการเกินดุลการค้าอีกครั้ง หลังจากที่ขาดดุลการค้าติดต่อกันมาตั้งแต่ไตรมาส
ที่ 4 ปี 2548 โดยดุลบริการเกินดุล 47,479 ล้านบาท และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 86,172 ล้านบาท สะท้อนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้านต่าง
ประเทศ ส่วนค่าเงินบาทในไตรมาสนี้ยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 8.8 ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ 37.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ดุลบัญชีเดินสะพัด
2548 2549 2548
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
มูลค่า (พันล้านดอลลาร์) -3.7 -1.3 -4.4 1.1 0.9 1.7 -1.1 2.3
มูลค่า (พันล้านบาท) -142.7 -52.0 -174.7 47.3 36.8 65.1 -43.8 86.2
สัดส่วนต่อ GDP (ร้อยละ) -2.0 -3.0 -10.3 2.6 1.9 3.4 -2.3 4.4
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
มูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้า
2548 2549 2548
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
มูลค่า ณ ราคาประจำปี
1. การส่งออก (พันล้านบาท) 4,400 954 1,057 1,226 1,164 1,142 1,165 1,301
อัตราเพิ่ม 15.1 11.0 13.6 22.3 12.9 19.8 10.2 6.1
2. การนำเข้า (พันล้านบาท) 4,738 1,072 1,253 1,218 1,195 1,151 1,230 1,246
อัตราเพิ่ม 25.9 25.9 33.3 22.9 21.7 7.4 -1.8 2.3
3. ดุลการค้า (พันล้านบาท) -338 -119 -196 8 -31 -9 -65 54
มูลค่า ณ ราคาปีฐาน (2531)
4. การส่งออก (พันล้านบาท) 2,077 473 495 569 541 538 540 597
อัตราเพิ่ม 4.3 -0.2 1.8 11.2 4.1 13.9 9.2 4.9
5. การนำเข้า (พันล้านบาท) 1,819 452 482 446 440 439 464 464
อัตราเพิ่ม 8.8 11.2 13.3 4.3 6.5 -2.9 -3.7 3.9
6. อัตราแลกเปลี่ยน(บาท/ดอลลาร์สรอ.) 40.3 38.6 40.1 41.3 41.0 39.3 38.1 37.7
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 3/2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 น้อยกว่าร้อยละ 6.6 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมา
จากราคาสินค้าเกษตรชะลอตัวลงอย่างเด่นชัด ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.6 จากร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่แล้ว ตามการขยาย
ตัวของราคาสินค้าในหมวดอาหารสดและหมวดไฟฟ้าประปา โดยราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในไตรมาสนี้ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกันกับไตรมาสที่แล้ว
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2
(ยังมีต่อ).../ตารางที่ 1 ผลิต..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ