สรุปข้อมูลผลกระทบจากอุทกภัยต่อสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต (จากโครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555)

ข่าวทั่วไป Wednesday March 27, 2013 12:02 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

จากสถานการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศไทย ในระหว่างเดือน ก.ค. — ธ.ค. 2554 ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้าและบริการเป็นอย่างมาก โดยครอบคลุมในหลายพื้นที่มีทั้งสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบทางตรงจากการประสบภัยน้ำท่วม ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย และที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมต่อธุรกิจ ทำให้ยอดขายหรือยอดสั่งซื้อลดลง ขาดแคลนวัตถุดิบ/สินค้าที่ซื้อมาจำหน่ายหรือบริการ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้ทราบผลกระทบและความเสียหาย/ความสูญเสียจากอุทกภัยของสถานประกอบการ ในโอกาสครบรอบการทำ สำ มะโนธุรกิจและ อุตสาหกรรม พ.ศ. 2555 สำนักงาน สถิติแห่งชาติจึงได้ดำ เนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบอุทกภัยต่อสถานประกอบการในปี 2554 ไว้ด้วย เช่น การได้รับผลกระทบจากอุทกภัยระดับผลกระทบ ระยะเวลาที่ได้รับผลกระทบ แนวทางการแก้ไขปัญหา และมูลค่าความเสียหาย/สูญเสีย เป็นต้น โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน พ.ค. — ส.ค. 2555

การจัดทำสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555 ครั้งนี้กำหนดระเบียบวิธีทางสถิติ โดยคุ้มรวมสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1-10 คน ทำ การสำ รวจด้วยตัวอย่าง ส่วนสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 11 คนขึ้นไปจะทำการเก็บรวมรวมข้อมูลทุกแห่ง สำหรับสรุปผลข้อมูล ฉบับนี้ เป็นการนำ เสนอข้อมูลผลกระทบจากอุทกภัยในปี 2554 ของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตที่มีคนทำงาน 11 คนขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 36,444 แห่ง ดังนี้

1. การได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

จากผลการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตทั่วประเทศ ที่มีคนทำงานตั้งแต่ 11คน ขึ้นไป ซึ่งได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 22,056 แห่ง รายงานว่าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม 10,031 แห่ง หรือร้อยละ 45.5 ในจำนวนนี้ ได้รับผลกระทบทางตรง ร้อยละ 33.1 และร้อยละ 66.9 ได้รับผลกระทบทางอ้อม

  • ผลกระทบที่ได้รับ จำแนกตามภาค

เมื่อพิจารณาสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในแต่ละภาค พบว่า สถานประกอบการที่ตั้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้รับผลกระทบมากทีที่สุด ร้อยละ 62.5 โดยได้รัรับผลกระทบทางตรงร้อยละ 20.0 และร้อยละ 42.5 ได้รับผลกระทบทางอ้อม สำหรับสถานประกอบการเขตปริมณฑลได้รับผลกระทบในลำดับรองลงมาร้อยละ 57.7 โดยได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อม ร้อยละ 27.5 และ 30.2 ตามลำดับ

  • ผลกระทบที่ได้รับฯ จำแนกตามขนาดของสถานประกอบกร (จำนวนคนทำงาน)

หากพิจารณาขนาดของสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน ที่ได้ผลกระทบจากอุทกภัยทั้งทางตรงและทางอ้อมมากที่สุด คือ ประมาณร้อยละ 51.3 สถานประกอบการที่มีมีคนทำงาน 51-200 คน ได้รับผลกระทบประมาณร้อยละ 49.7 ในขณะที่สถานประกอบการที่มีขนาดคนทำงาน 11-50 ได้ด้รับผลกระทบน้อยที่สุดประมาณร้อยละ 43.5

  • ผลกระทบที่ได้รับ จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม

เมื่อพิจารณาในแต่ละหมวดย่อยอุตสาหกรรม พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.1 เป็นสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยได้รับผลกระทบทางตรง ร้อยละ 16.8 และทางอ้อม ร้อยละ 42.3 รองลงมา ได้ด้แก่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ การผลิตซ้ำสื่อบันทึกข้อมูล และการจัดพิมพ์จำหน่ายหรือเผยแพร่ได้รับผลกระทบอุทกภัย ร้อยละ 57.6 โดยได้รับผลกระทบทางตรง ร้อยละ 15.3 และทางอ้อม ร้อยละ 42.3 ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตครื่องจักร เครื่องมือ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น และการผลิตอุปกรณ์ขนส่งอื่นๆ การซ่อมการติดตั้ง เครื่องจักรและอุปกรณ์ ได้รับผลกระทบอุทกภัยร้อยละ 53.4 โดยได้รับผลกระทบทางตรง ร้อยละ 22.3 และทางอ้อมร้อยละ 31.1 การผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์และการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าได้รับผลกระทบอุทกภัยร้อยละ 50.8 โดยได้รับผลกระทบทางตรง ร้อยละ 16.7 และทางอ้อม ร้อยละ 34.1

2. ระดับของผลกระทบที่ได้รับจากอุทกภัย

เมื่อพิจารณาระดับของผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ สถานประกอบการรายงานว่าได้รับผลกระทบในระดับมาก ถึงมากที่สุด (มากกว่าร้อยละ 50) ได้แก่ การขนส่งสินค้า (โลจิสติกส์) ยอดสั่งซื้อสินค้า มูลค่าผลผลิต/รายรับ รองลงมาเรื่อง ราคาวัตถุดิบ และการขาดแคลนวัตถุดิบ สำหรับผลกระทบในภาพรวมต่อธุรกิจ ระดับของผลกระทบที่รายงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง มากถึงมากที่สุด

3. แนวทางแก้ไขปัญหาของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบฯ

แนวทางแก้ไขปัญหาของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย พบว่าส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 46.7 หยุดดำเนินการชั่วคราว รองลงมา ได้แก่ ลดกำลังการผลิต/ลดชั่วโมงในการทำงาน และรอผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier) ส่งสินค้าให้ได้ ร้อยละ 37.6 และ 26.7 ตามลำดับ ส่วนร้อยละ 20.1 หาผู้จัดหาวัตถุดิดิบ (Supplier) รายอื่นทดแทน และร้อยละ 10.8 ลดการจ้างงาน ในขณะที่เปลี่ยนไปทำธุรกิจอย่างอื่นชั่วคราว มีเพียงร้อยละ 1.7 เท่านั้น

  • แนวทางแก้ไขปัญหาฯ จำแนกตามภาค

สถานประกอบการในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภาคใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม ส่วนใหญ่ใช้ช้แนวทางหยุดดำเนินการชั่วคราว ส่วนภาคกลาง และภาคเหนือ ลดกำลังการผลิต/ลดชั่วโมงในการทำงาน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รอผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier) ส่งสินค้าให้ได้

  • แนวทางแก้ไขปัญหาฯ จำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ (จำนวนคนทำงาน)

เมื่อพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 11 -50 คน ส่วนใหญ่ ใช้แนวทางแก้ไขปัญหาโดยหยุดดำเนินการชั่วคราว ประมาณร้อยละ 49.2 สำหรับสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน และ 51-200 คน ส่วนใหญ่ลดกำลังการผลิต/ลดชั่วโมงในการทำงาน ประมาณร้อยละ 45.8 และ 42.1 ตามลำดับ

  • แนวทางแก้ไขปัญหาฯ จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม

สถานประกอบการเกือบทุกหมวดย่อยอุตสาหกรรม (มากกว่าร้อยละ 40.0) เลือกใช้แนวทางแก้ไขปัญหาฯ โดยหยุดดำเนินการชั่วคราวยกเว้น อุตสาหกรรมการพิมพ์ การผลิตซ้ำสื่อบันทึกข้อมูลและการจัดพิมพ์จำหน่ายหรือเผยแพร่ และการผลิตเฟอร์นิเจอร์และการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ใช้แนวทางลดกำลังการผลิต/ลดชั่วโมงในการทำงาน ร้อยละ 39.8 และร้อยละ 49.0 ตามลำดับ

4. ระยะเวลาที่สถานประกอบการได้รับผลกระทบ/ความเสียหายจากอุทกภัย

สถานประกอบการ ร้อยละ 26.7 ได้รับผลกระทบ/ความเสียหายจากอุทกภัยประมาณ 2 เดือน ส่วนที่ได้รับผลกระทบฯ ประมาณ 1 เดือน ประมาณ 3 เดือน และมากกว่า 3 เดือน มีประมาณร้อยละ 25.8 21.0 และ 11.4 ตามลำดับ สำหรับสถานประกอบการได้รับผลกระทบฯ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ และน้อยกว่า 1 สัปดาห์ มีประมาณร้อยละ 9.7 และ 5 .4 ตามลำดับ

  • ระยะเวลาที่สถานประกอบการได้รับผลกระทบ/ความเสียหายจากอุทกภัยจำแนกตามภาค

หากพิจารณาระยะเวลาที่สถานประกอบการได้รับผลกระทบ/ความเสียหายจากน้ำท่วมในแต่ละภาค พบว่า สถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในภาคใต้และภาคเหนือ รายงานว่าได้รับผลกระทบฯ น้อยกว่า 2 สัปดาห์ ประมาณร้อยละ 60.3 และ 28.5 ตามลำดับ กรุงเทพมหานคร รายงานว่าได้รับผลกระทบฯ มีประมาณ 1 เดือน ร้อยละ 37.5 และปริมณฑล ได้รับผลกระทบฯ ประมาณ 2 เดือน ร้อยละ 34.0 ตามลำดับ ส่วนภาคกลางรายงานว่าได้รับผลกระทบฯ ประมาณ 3 เดือน มีร้อยละ 31.2

  • ระยะเวลาที่สถานประกอบการได้รับผลกระทบ/ความเสียหายจากอุทกภัย จำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ

เมื่อพิจารณาตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการขนาดใหญ่ที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน และที่มีคนทำงาน 11-50 คน ส่วนใหญ่รายงานว่าได้รับผลกระทบฯ ประมาณ 2 เดือน ร้อยละ 27.6 และ 27.3 ตามลำดับ ในขณะที่สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 5 1-200 คน ส่วนใหญ่ร้อยละ 28.0 รายงานว่าได้รับผลกระทบฯ ประมาณ 1 เดือน

  • ระยะเวลาที่สถานประกอบการได้รับผลกระทบ/ความเสียหายจากอุทกภัย จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม

เมื่อพิจารณาในแต่ละหมวดย่อยอุตสาหกรรม พบว่า สถานประกอบการ (มากกว่าร้อยละ 24.0)เกือบทุกหมวดอุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบ/ความเสียหายจากอุทกภัย ประมาณ 2 ดือน ยกเว้น สถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ทำจากแร่อโลหะและการจัดการน้ำเสีย การบำบัดและการกำจัดของเสียรวมถึงการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ได้รับผลกระทบนาน 3 เดือน เป็นส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 32.3 และ 22.8 ตามลำดับ

5. มูลค่าความเสียหายและสูญเสียของสถานประกอบการจากอุทกภัย

  • มูลค่าความเสียหาย

สถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตที่มีคนทำงาน 11 คนขึ้นไป ที่ได้รับผลกระทบทางตรงจากอุทกภัยประมาณร้อยละ 15.0 ได้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าความเสียหายของสถานประกอบการ พบว่า ในภาพรวมมีมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สิน/ผลผลิต โดยเฉลี่ยประมาณ 204.5 ล้านบาท ต่อสถานประกอบการ

  • มูลค่าความสูญเสีย

สำหรับด้านมูลค่าความสูญของสถานประกอบการ ซึ่งมีสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทั้งทางตรงและทางอ้อม ประมาณร้อยละ 30.4 ที่ตอบข้อมูลในเรื่องนี้ โดยสถานประกอบการได้ประมาณการมูลค่าความสูญเสียจากยอดสั่งซื้อสิ้นค้า/มูลค่าขายผลผลิตหรือกำไรในช่วงเหตุการณ์อุทกภัยโดยเฉลี่ยประมาณ 61.7 ล้านบาทต่อสถานประกอบการ

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ