ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Thursday May 19, 2011 14:58 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

การตลาด

1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ 2)

มติ ครม. เมื่อวันที่ 15 ก.พ.54 และ 8 มี.ค. 54 เห็นชอบการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 รอบที่ 2 ดังนี้

          -  การขึ้นทะเบียนเกษตรกร    4 ม.ค.   - 31 พ.ค.54    ภาคใต้ 1 เม.ย.  - 15 ก.ค.54
          -  การประชาคม           20 ม.ค.   - 15 มิ.ย.54    ภาคใต้ 2 พ.ค.   - 31 ก.ค.54
          -  ออกใบรับรอง           20 ม.ค.   - 30 มิ.ย.54    ภาคใต้ 2 พ.ค.   - 15  ส.ค.54
          -  ทำสัญญาประกันรายได้     20 ม.ค.53 - 31 ก.ค.54    ภาคใต้ 2 พ.ค.53 - 15 ก.ย.54
          -  ระยะเวลาใช้สิทธิ         1 ก.พ.   - 15 ก.ย.54    ภาคใต้ 1 มิ.ย.31 - ต.ค.54
  • ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
  • ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 30 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกปทุมธานี1        ตันละ 11,500 บาท   ไม่เกิน  30 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเหนียว          ตันละ 10,000 บาท   ไม่เกิน  30 ตัน / ครัวเรือน

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวขาวที่เกษตรกรขายได้ส่วนใหญ่สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากพ่อค้ามีความต้องการข้าวขาวเพื่อส่งออก โดยเฉพาะเพื่อทำข้าวนึ่ง จึงออกมารับซื้อข้าวในราคาที่สูงขึ้น ประกอบกับผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง สำหรับราคาข้าวเหนียวที่เกษตรกรขายได้ลดลง เนื่องจากปริมาณการซื้อขายมีไม่มากนัก

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 9 พฤษภาคม 2554 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4.277 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 2.891 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 47.94 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,192 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,169 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.19

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,972 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,967 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.06

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,904 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,923 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,972 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,967 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.06

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาส่งออก เอฟ.โอ. บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,004 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,041 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 988 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,369 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.62 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 672 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 692 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,706 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 693 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,600 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.14 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 106 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 489 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,632 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 96 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,913 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 90 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5%ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 512 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,320 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 513 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,249 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.19 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาท ตันละ 71 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.9214 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 ผลการประมูลข้าวนำเข้าของญี่ปุ่น ปีงบประมาณ 2553

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว รายงานว่าในปีงบประมาณ 2553 (1 เมษายน 2553 — 31 มีนาคม 2554) กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น ได้จัดการประมูลข้าวนำเข้าตามข้อตกลง Minimum Access (MA) ขององค์การการค้าโลก (WTO) แบบ Ordinary Minimum Access (OMA) และแบบ Simultaneous Buying and Selling Tender System (SBS) โดยมีผลการประมูล ดังนี้

1) การประมูลข้าวแบบ Ordinary Minimum Access (OMA) มีการประมูล 11 ครั้ง ปริมาณนำเข้ารวม 640,482 ตัน แบ่งเป็น นำเข้าจากไทย 296,482 ตัน (46.3%) สหรัฐอเมริกา 295,000 ตัน (46.1%) ออสเตรเลีย 36,000 ตัน (5.6%) และจากจีน 13,000 ตัน (2%)

2) การประมูลข้าวแบบ Simultaneous Buying and Selling Tender System (SBS) มีการประมูล 9 ครั้ง ปริมาณนำเข้ารวม 37,226 ตัน แบ่งเป็น นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา 22,210 ตัน (59.7%) ไทย 11,010 ตัน (29.6%) จีน 3,468 ตัน (9.3%) ปากีสถาน 398 ตัน (1.1%) อินเดีย 72 ตัน (0.2%) และอิตาลี 68 ตัน (0.1%)

เมื่อรวมการประมูลข้าวทั้งแบบ OMA และ SBS ญี่ปุ่นนำเข้าข้าวจากสหรัฐอเมริกามากที่สุด ปริมาณ 317,210 ตัน (46.8%) รองลงมาได้แก่ ไทย 307,492 ตัน (45.3%) ออสเตรเลีย 36,000 ตัน (5.3%) จีน 16,468 ตัน (2.4%) ส่วนที่เหลือนำเข้าจากปากีสถาน อินเดีย และอิตาลี ตามลำดับ

ทั้งนี้ ผลการประมูลข้าวของญี่ปุ่นตามข้อตกลง MA ในปีงบประมาณ 2553 น้อยกว่าปริมาณตามข้อตกลง MA ที่กำหนดไว้ประมาณ 100,000 ตัน (ปริมาณข้าวนำเข้าตามข้อตกลง MA ปริมาณ 770,000 ตันต่อปี) โดยรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่าเนื่องจากราคาข้าวนำเข้าสูงขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่จีนต้องการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น และราคาข้าวในญี่ปุ่นลดลงอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคของญี่ปุ่นลดลง

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียว

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9 - 15 พฤษภาคม 2554--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ