ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Friday July 29, 2011 15:42 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

การตลาด

1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ 2)

มติ ครม. เมื่อวันที่ 15 ก.พ.54 และ 8 มี.ค. 54 เห็นชอบการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี2553/54 รอบที่ 2 ดังนี้

          การขึ้นทะเบียนเกษตรกร         4 ม.ค. — 31 พ.ค. 54     ภาคใต้  1 เม.ย. -15 ก.ค. 54
          การประชาคม                20 ม.ค. — 15 มิ.ย. 54     ภาคใต้  2 พ.ค.  — 31 ก.ค.  54
          ออกใบรับรอง                20 ม.ค. — 30 มิ.ย. 54     ภาคใต้  2  พ.ค.  — 15  ส.ค. 54
          ทำสัญญาประกันรายได้          20 ม.ค. 53 — 31 ก.ค. 54  ภาคใต้  2 พ.ค. 53— 15 ก.ย. 54
          ระยะเวลาใช้สิทธิ              1 ก.พ.  - 15 ก.ย. 54    ภาคใต้  1 มิ.ย. 31 ต.ค. 54

ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

  • ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 30 ตัน / ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี1 ตันละ 11,500 บาท ไม่เกิน 30 ตัน / ครัวเรือน
                    - ข้าวเปลือกเหนียว         ตันละ 10,000 บาท   ไม่เกิน  30 ตัน / ครัวเรือน

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวส่วนใหญ่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ยกเว้นราคาข้าวเปลือก 5% และข้าวเปลือกนาปรังความชื้น14-15% ซึ่งข้าวนาปรังเก็บเกี่ยวในช่วงนี้ความชื้นสูงเพราะกระทบฝนตกหนัก ประกอบกับผู้ส่งออกมีข้าวที่ประมูลซื้อจากสต็อกของรัฐบาลในช่วงปลายเดือน มิถุนายน เพียงพอต่อการส่งมอบให้ลูกค้า อีกทั้งข่าวอินเดียที่อนุมัติให้บริษัทขายข้าวประมาณ 1 ล้านตันข้าวสาร ในราคาต่ำ ทำให้ลูกค้าข้าวนึ่งบางส่วนชะลอการซื้อจากไทย อย่างไรก็ตามขณะนี้เป็นช่วงปลายฤดูและจากนโยบายแทรกแซงราคาข้าวของรัฐบาลใหม่ในราคาสูง ทำให้เกษตรกรและโรงสีชะลอการขายข้าว การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 19 กรกฎาคม 2554 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 6.940 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 4.420 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 57.01 (ที่มา: กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,547 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,456 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.73

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,970 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,433 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.91

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,901 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,779 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.77

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,970 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,433 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.91

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,683 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,230 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.59

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,092 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,456 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,075 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,283 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.58 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 173 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 796 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,658 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 783 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,514 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.66 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 144 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 547 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,258 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 539 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,187 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 71 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 502 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,920 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,865 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 55 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 547 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,258 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 555 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,667 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 409 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.7215 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

อินเดีย

รัฐมนตรีกระทรวงอาหาร (Food Minister) รายงานว่า รับบาลได้อนุญาตให้ส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ จำนวน 10,000 ตัน และข้าวสาลี 40,000 ตัน ให้กับประเทศโอมานในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล (Diplomatic commitments or government-to-government deals) ขณะเดียวกันสมาคมผู้ส่งออกข้าวอินเดีย (The All-India Rice Exporters Association) แจ้งว่า ขณะนี้ประเทศอิรักได้หันมาให้ความสนใจนำเข้าข้าวบาสมาติจากอินเดีย อาจทำให้การส่งออกข้าวบาสมาติในปีการผลิตนี้เพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านตัน จากที่ปีก่อนส่งออกได้ 2.2 ล้านตัน ซึ่งเป็นจำนวนกว่า 80% ส่งไปยังตลาดในตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดิอาระเบีย คูเวต อิหร่าน และเยเมน

อนึ่ง อินเดียเป็นทั้งผู้ส่งออกและผู้บริโภคข้าวสาลีรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก เมื่อปี 2550 ได้สั่งระงับการส่งออกข้าวสาลี เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนทำให้ประสบปัญหาผลผลิตข้าวสาลีขาดแคลน แต่อย่างไรก็ตามการเกษตรของอินเดียกำลับเติบโตในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี แต่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย 1% และภายในปี 2563 อินเดียมีนโยบายเพิ่มงบวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรเป็น 2-3 เท่าของปีปัจจุบัน เนื่องจากคาดว่าในปี 2563-2564 ความต้องการธัญญาหารจะเพิ่มขึ้นเป็น 280 ล้านตัน นอกจากนี้อินเดียประมาณว่าผลผลิตธัญญาหารซึ่งสิ้นสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 มีปริมาณ 241 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2.3 ล้านตัน ซึ่งมากเป็นประวัติการณ์

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 18 — 24 กรกฎาคม 2554--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ