ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday February 7, 2012 15:51 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการ ผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท

(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะ จำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่ง เสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย

4) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555

(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)

  • ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555

5) ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

(ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 1 กุมภาพันธ์ 2555)

                                                  ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/
  รายการ          จุดรับจำนำ    จำนวน      จำนวน     ข้าวเจ้า  ข้าวปทุมธานี  ข้าวหอมมะลิ  ข้าวหอมจังหวัด  ข้าวเหนียว  รวมทุกชนิดข้าว
                            ใบประทวน     ยุ้งฉาง
ภาคเหนือ                210   297,718       806  1,310,751      2,790    299,706      261,536   195,154   2,069,938
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ      358   635,609    20,157    124,360         84  2,349,743            -   124,789   2,598,976
ภาคกลาง                282   147,945         -  1,212,272     12,301          -       63,459         -   1,288,031
ภาคใต้                   12       114         -        600          -          -            -         -         600
รวมทั้งประเทศ            862 1,081,386    20,963  2,647,984     15,175  2,649,449      324,995   319,943   5,957,545
          ที่มา: กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
                                          จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส.
                                (ข้อมลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 31 มกราคม 2555) 2/
  รายการ                ราย               สัญญา                 จำนวนตัน               จำนวนเงิน (ล้านบาท)
จำนำยุ้งฉาง            22,246             22,281              107,112.21                   2,103.249
จำนำประทวน          915,689            933,384            5,649,663.67                  93,833.882
   รวม              937,935            955,665            5,756,775.89                  95,937.131

          ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
               2/ ธ.ก.ส.

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกตลาด ยกเว้นราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ ทั้งนี้เนื่องจากผลผลิต ข้าวนาปี ปี 2554/55 ออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากใกล้สิ้นสุดการเก็บเกี่ยว ประกอบกับการค้าเริ่มกลับมาดำเนินการปกติหลังจากหยุดเทศกาลปีใหม่และ ตรุษจีน

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 — 27 มกราคม 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 0.353 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 0.793 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 55.49 (ที่มา : กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,171 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,150 บาท ของ สัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.14

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,508 บาท ราคาทรงตัวใกล้เคียงกับราคาตันละ 9,509 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,342 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,335 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.05

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,290 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,450 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,087 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,547 บาท/ตัน) ราคาสูง ขึ้นจากตันละ 1,060 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,107 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.55 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 440 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 918 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,331 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 912 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,484 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.66 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 153 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 544 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,789 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน ละ 529 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,522 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.84 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 267 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 539 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,634 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน ละ 525 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,397 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.67 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 31 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 557 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,190 บาท/ตัน)

ราคาสูงขึ้นจากตันละ 526 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,428 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.89 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตัน ละ 762 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.8617

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

1) เวียดนาม

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนาม (The Ministry of Agriculture and Rural Development) รายงาน ว่า การส่งออกข้าวของเวียดนามในเดือนมกราคม 2555 จะมีปริมาณทั้งสิ้น 400,000 ตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปี 2554 ร้อยละ 25 พร้อมทั้ง ระบุว่าเวียดนามยังไม่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายข้าวอีกหลายสัญญา เนื่องจากผู้ส่งออกข้าวของเวียดนามไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งอย่างเช่น อินเดียและปากีสถานได้ เพราะราคาข้าวของเวียดนามมีราคาสูงกว่า แม้จะมีการปรับลดราคาลงในเดือนธันวาคม 2554 ที่ผ่านมาแล้วก็ตาม และในปี 2555 คาดว่า ช่วง 3 เดือนแรกของปี เวียดนามจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 1.1 ล้านตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2554 ที่ส่งออกได้ปริมาณ 1.8 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 39 สำหรับการส่งออกข้าวรวมทั้งปี คาดว่า จะมีประมาณ 6.5 - 7 ล้านตัน และสต็อกคงเหลือปลายปีจะมีประมาณ 1-1.5 ล้านตัน

อนึ่ง เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2555 สมาคมอาหารของเวียดนาม (VFA) ได้ประกาศลดราคาส่งออกข้าวขั้นต่ำ (Minimum Rice Export Price) ลงอีก 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน จากที่เคยประกาศไปเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2555 สำหรับข้าวบรรจุถุง 50 ก.ก. โดยราคาส่ง ออก เอฟ.โอ.บี.ข้าวขาว 5% ตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,888 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐ (15,431 บาท/ตัน) หรือลด ลงร้อยละ 10.00 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.ข้าวขาว 10% ตันละ 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,733 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (15,277 บาท/ตัน) หรือลดลงร้อยละ 10.10 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.ข้าวขาว 15% ตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,425 บาท/ตัน)

ลดลงจากตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,968 บาท/ตัน) หรือลดลงร้อยละ 10.31 และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.ข้าวขาว 25% ตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,116 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 470 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,505 บาท/ตัน) หรือลดลงร้อยละ 9.57 ซึ่งมีผล ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2555 เป็นต้นไป

ที่มา : Oryza.com, Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

2) เมียนมาร์

สมาคมอุตสาหกรรมข้าวเมียนมาร์ (MRIA) รายงานว่า เมียนมาร์ตกลงขายข้าวขาว 5% ให้กับอินโดนีเซียประมาณ 100,000- 200,000 ตัน/ปี ในราคาตันละ 450-500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,888-15,431 บาท/ตัน) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 90-100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ/ปี (ประมาณ 2,811-3,123 ล้านบาท/ปี) ภายใต้ข้อตกลงที่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (memorandum of understanding) กับสำนัก งานพลาธิการของอินโดนีเซีย (Bulog) เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 โดยจะมีการส่งมอบข้าว ล็อตแรกจำนวน 10,000 ตัน

ปีงบประมาณ 2553/54 (เม.ย.-มี.ค.) พม่าส่งออกข้าวขาว 25% จำนวน 537,000 ตัน ลดลงจากปี 2552/53 ที่ส่งออกถึง 897,000 ตัน หรือลดลงร้อยละ 40.13 สำหรับปีงบประมาณ 2554/55 (เม.ย.-มี.ค.) ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวของเมียนมาร์ คาดว่า การ ส่งออกข้าวทั้งสิ้นมีประมาณ 1.5 ล้านตัน โดยการส่งออกนับจนถึง 15 ม.ค. 2555 มีการส่งออกแล้ว 533,000 ตัน และคาดว่าเมื่อสิ้นปีงบประมาณ (มี.ค.) จะส่งออกได้ประมาณ 700,000 ตัน ปีนี้การผลิตข้าวได้ผลผลิตดี เนื่องจากพม่าได้ดำเนินการปรับปรุงการผลิตด้วยการจัดหาปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์ คุณภาพ ซึ่งการเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกฤดูร้อนจะมีขึ้นในเร็วๆ นี้

โดยปกติเมียนมาร์ส่งออกข้าวประมาณ 750,000 ตันต่อปี ติด 1 ใน 10 อันดับผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญของโลกรองจาก ไทย เวียดนาม ปากีสถาน อินเดีย สหรัฐอเมริกา และบราซิล ซึ่งในอดีต (ปี 2503) เมียนมาร์เคยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยส่ง ออกข้าวได้ประมาณ 2 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้เมียนมาร์กำลังจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ 3 เขต เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่บริษัทต่างๆ จากประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศอื่นๆ เข้าไปลงทุน

ที่มา : Oryza.com, Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

3) อินเดีย

สภาธัญพืชนานาชาติ (International Grains Council; IGC) คาดว่า ปี 2555 อินเดียจะสามารถส่งออกได้ถึง 5 ล้าน ตัน เพิ่มขึ้นจาก 3.7 ล้านตัน ในปี 2554 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 เนื่องจากรัฐบาลได้อนุญาตให้เอกชนส่งออกข้าวได้มากขึ้น ประกอบกับคาดว่าปริมาณ ผลผลิตจะเพิ่มขึ้น

สำหรับสถานการณ์ราคาข้าวของอินเดียปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากมีความต้องการข้าวจากต่างประเทศเข้ามา ประกอบกับรัฐบาล อนุญาตให้เอกชนส่งออกข้าวได้มากกว่า 2 ล้านตัน ในขณะที่ค่าเงินรูปีแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.ข้าว ขาว ตันละ 460 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,196 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,733 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.37

ที่มา : Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 30 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ 2555--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ