ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Wednesday September 19, 2012 14:46 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

                    (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม)                         ตันละ 20,000  บาท
                    (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม)                       ตันละ 18,000  บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

                    (3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม)                         ตันละ 16,000  บาท

(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-

                        ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                       ตันละ 16,000  บาท
                        ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                        ตันละ 15,000  บาท

(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-

                        ข้าวเปลือกเจ้า 100%                                ตันละ 15,000  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                  ตันละ 14,800  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 10%                                 ตันละ 14,600  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 15%                                 ตันละ 14,200  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 25%                                 ตันละ 13,800  บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย

4) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555

(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)

  • ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555

5) ผลการรับจำนำ

                              ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
                                (ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 5 สิงหาคม 2555)
รายการ          จุดรับจำนำ   จำนวน      จำนวน             ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/
                         ใบประทวน     ยุ้งฉาง       ข้าว      ข้าว       ข้าว       ข้าว      ข้าว      รวม
                                                  เจ้า    ปทุมธานี     หอมมะลิ  หอมจังหวัด   เหนียว   ทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ           210     328,261     2,154   1,465,654   2,790    312,870   269,552  230,436  2,281,301
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 359     753,377    34,520     164,062      84  2,774,830         -  211,621  3,150,597
ภาคกลาง           283     154,816         -   1,266,425  12,368          -    65,872        -  1,344,665
ภาคใต้              73      21,082         -     173,593       -          -         -        -    173,593
รวมทั้งประเทศ       925   1,257,536    36,674   3,069,734  15,242  3,087,700   335,424  442,057  6,950,156
                                    จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/
                             (ข้อมูลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 7 กันยายน 2555)
    รายการ              ราย                 สัญญา              จำนวนตัน               จำนวนเงิน (ล้านบาท)
จำนำยุ้งฉาง            36,672               36,782           176,940.28                   3,470.56
จำนำประทวน        1,105,912            1,152,316         6,772,167.04                 115,105.27
      รวม         1,142,584            1,189,098         6,949,107.32                 118,575.83
          ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
               2/ ธ.ก.ส.

-โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้

1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ

2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว

3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี

ปี 2554/55 ดังนี้

          - ข้าวเปลือกเจ้า 100%                              ตันละ 15,000  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                ตันละ 14,800  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 10%                               ตันละ 14,600  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 15%                               ตันละ 14,200  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 25%                               ตันละ 13,800  บาท
          - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม)                     ตันละ 16,000 บาท
          - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                     ตันละ 16,000 บาท
          - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                      ตันละ 15,000  บาท

ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท

4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด

5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ

6) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
           กิจกรรม                 ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก                  ภาคใต้
                                   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ
          การปลูก                1 พฤศจิกายน 2554— 30 เมษายน 2555      1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555
          การเก็บเกี่ยว            1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555      1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555
          การขึ้นทะเบียน           4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555      1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555
          การประชาคม            20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555      1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555
          การออกใบรับรอง         20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555      2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555
  • ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
  • ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556

7)วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวสาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี

ปีการผลิต 2554/55

8) ผลการรับจำนำ

                               ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
                                   (ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 6 กันยายน 2555)
     รายการ            จุดรับจำนำ           จำนวน     ----ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/------
                  อคส.  อ.ต.ก.   รวม    ใบประทวน      ข้าว        ข้าว       ข้าว         รวม
                                                      เจ้า       ปทุมธานี    เหนียว      ทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ           149     69     218     532,573   5,165,806     5,933   205,647    5,377,386
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 157     39     196     201,227     782,819         1    97,434      880,254
ภาคกลาง           320     91     411     483,074   6,033,539   129,080         -     6,162.62
ภาคใต้              32      6      38       3,903      29,245         -         -       29,245
รวมทั้งประเทศ       658    205     863   1,220,777  12,011,409   135,014   303,081   12,449,504
                                   จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/
                              (ข้อมูลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 7 กันยายน 2555)
                 รายการ             ราย         สัญญา          จำนวนตัน       จำนวนเงิน (ล้านบาท)
          จำนำประทวน อคส.         795,702      838,580     8,843,863.38         131,085.82
          จำนำประทวน อ.ต.ก.       224,703      238,456     2,626,826.89          38,915.38
                   รวม          1,020,405    1,077,036    11,470,690.27         170,001.20

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวโดยรวมสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย เนื่องจากพ่อค้าที่ต้องการข้าวเพื่อส่งมอบจะออกมารับซื้อข้าวในราคาที่สูงขึ้น

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 7 กันยายน 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4.534 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 8.383 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 54.09

(ที่มา : กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,620 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,529 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.58

ราคาข้าวเปลือกความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,713 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,654 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,930 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,943 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.10

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,050 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,270 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.27

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,136 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,240 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,123 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,837 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.16 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 403 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 987 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,618 บาท/ตัน)

ราคาสูงขึ้นจากตันละ 970 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,091 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.75 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 527 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 590 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,303 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,613 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.67 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 310 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 568 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,620 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 569 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,651 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.18 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 31 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5%ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 603 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,706 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 619 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,202 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.58 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 496 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.8428 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

1) เวียดนาม

สมาคมอาหารของเวียดนาม ( The VietNam Food Association; VFA) รายงานการสงออกขาวระหว่างวันที่ 1 ม.ค. - 6 ก.ย. 2555 มีจำนวนรวม 5.161 ลานตัน มูลคา 2.291 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (มูลค่า 70,661 ล้านบาท) โดยมีปริมาณและมูลค่าลดลง ร้อยละ 5 และ ร้อยละ 11.5 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของป?2554 ที่สงออกได?5.445 ลานตันมูลค่า 2.588 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (มูลค่า79,821 ล้านบาท)

สถานการณราคาข้าวสงออกปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากอุปทานข้าวในประเทศเริ่มตึงตัว ขณะที่สต็อกขาวในประเทศเริ่มลดลง ซึ่งชวงนี้มีการส่งออกขาวไปตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศกัมพูชา โดยข้าวขาว 5 % ตันละ 460 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 14,188 บาท) เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10 ข้าวขาว 25 % ตันละ 425 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 13,108 บาท) เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.41 โดยในปีนี้ประเทศจีนสั่งซื้อข้าวจากเวียดนามในปริมาณมาก เพราะจีนประสบปัญหาภัยธรรมชาติในหลายมณฑล

ในชวง 7 เดือนแรกของป? จีนได?นำเข้าข้าวจากเวียดนามแล้ว 1.34 ล้านตัน มูลค่า 570 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (มูลค่า 17,580 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก 257,000 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 4.21 เท่า สาเหตุที่จีนซื้อข้าวเวียดนามมากขึ้น เนื่องจากราคาข้าวในประเทศจีนสูงขึ้นร้อยละ 7 — 19 หรือสูงขึ้นเป็นตันละ 400 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 12,337 บาท) ในขณะที่ข้าวคุณภาพต่ำของเวียดนามราคาเพียงตันละ 260 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 8,019 บาท)

ประธานสมาคมอาหารเวียดนาม กล่าวว่า ผูซื้อในจีนบางรายขอใหผูส่งออกข้าวเวียดนาม ผสมข้าว 5% กับข้าวหอมเข้าด้วยกัน แล้วจำหน่ายในราคาขาวหอม จะทำให้มีกำไรมากขึ้น แต?ทางสมาคมฯ สั่งใหผูค้าเลิกปฏิบัติวิธีการดังกลาว เพราะจะสร้างความเสื่อมเสียให?กับข้าวเวียดนาม และอาจจะทำให?สูญเสียตลาดสำคัญ เช่น ฮ่องกง จีน เป็นต้น

ที่มา : Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

2) ฟิลิปปินส์

นายดันเต เดลิมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส และดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการข้าวแห่งชาติ กล่าวว่า ปีหน้าฟิลิปปินส?จะเริ่มส่งออกข้าวพันธุดีสู?ตลาดต่างประเทศ โดยจะส่งออกข้าวพันธุพื้นเมือง ได้แก่ ข้าวสีต่างๆ (ดำ แดง ชมพู น้ำตาล และม่วง) ข้าวขาวหอมมะลิ และข้าวขาวเมล็ดยาว เพราะฟิลิปปินส?ไม่สามารถส่งออกข้าวพันธุ์ทั่วไปแข่งขันในตลาดได้ จึงเน้นไปที่ข้าวคุณภาพดีที่สามารถแข่งขันได?

ทั้งนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส?กำลังพิจารณาที่จะส่งออกข้าวเมล็ดยาวและข้าวหอมไปยังประเทศในแถบตะวันออกกลางและอินเดีย ข้าวสี และข้าวแฮร?ลูม (Heirloom rice) ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร? และฮ่องกง รวมถึงประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ อังกฤษ เนเธอรแลนด? และเบลเยียม ซึ่งสองประเทศหลังนี้ มีความสนใจพันธุ?ข้าวทางเลือก เป็นอย่างมาก โดยรัฐบาลได้หาทางช่วยเหลือภาคเอกชนที่ทำธุรกิจส่งออกข้าว

ที่ผ่านมา นายโปรเชโซ อัลคาลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส? ได้ให?ความมั่นใจแก?ประชาชนว่า ในปีหน้าจะบรรลุเป้าหมายสามารถผลิตข้าวไว้บริโภคเองภายในประเทศได้ แม้จะได้รับความเสียหายจากพายุไตฝุ่นติดกันหลายลูกและอุทกภัยครั้งใหญ?ในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม โดยผลผลิตข้าวในปัจจุบันมีเพียงพอสำหรับจำนวนประชากรของประเทศ 90 ล้านคน

ในป?2556 รัฐบาลฟิลิปปินส?จะจำกัดการนำเข้าข้าวที่ 100,000 ตัน หากบรรลุเป้าหมายการผลิตข้าวในปีนี้

กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส?ได้ปรับเป้าหมายการผลิตข้าวในป?2555 เป็น 17.8 ล้านตัน ลดลงจากที่ตั้งไว้ที่ 18.4 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 3.26 ซึ่งปริมาณผลผลิตข้าวที่ปรับใหม?นี้ จะมีเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศคิดเป็นร้อยละ 95 โดยเทียบกับป?2554 ที่ฟิลิปปินส์ผลิตข้าวได?เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศที่ร้อยละ 94 โดยคาดว่าภายในป? 2556 จะมีปริมาณผลผลิต 20.04 ล้านตัน และคาดว่าในปี 2557 จะมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 21 ล้านตัน ก่อนเพิ่มขึ้นเป็น 22 ล้านตันในป?2558 และปี 2559

ที่มา : Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

3) อินเดีย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของอินเดีย กล่าวว่า ในปี 2555 การผลิตข้าวในประเทศอาจจะลดลง แต่การส่งออกข้าวจะดำเนินการต่อไป ถึงแม้ว่าปริมาณน้ำฝนในเดือนสิงหาคมและกันยายนจะเพิ่มขึ้น แต่ปีนี้ฝนมาล่าช้า จึงส่งผลกระทบต่อการปลูกข้าวที่ต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอและทันช่วงฤดูการเพาะปลูก

ในปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน อินเดียสามารถผลิตข้าวได้รวม 104.30 ล้านตัน หลังจากที่มีฝนตกในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน ส่งผลให้การผลิตข้าวในปีนี้มีแนวโน้มที่จะมีปริมาณผลผลิตเท่ากับปีก่อน ซึ่งในช่วงนี้ อินเดียสามารถขยายพื้นที่ปลูกข้าวได้เพิ่มขึ้นเป็น 35.6 ล้านเฮกตาร์ หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3 จากพื้นที่ปกติ

อย่างไรก็ตาม แม้จะสามารถหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ เพราะมีฝนตกทำให้สามารถปรับปรุงพื้นที่เพาะปลูกได้ แต่อาจจะมีปริมาณผลผลิตไม่ถึงระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีมรสุมเข้ามาลดลงร้อยละ 8 และสถานการณ์ได้ดีขึ้นแล้วก็ตาม แต่ยังไม่เห็นผลได้จากการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวลงไป จึงระบุไม่ได้ว่าการผลิตจะอยู่ในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมา

ที่มา : Oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 10 - 16 กันยายน 2555--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ