ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday September 3, 2013 14:10 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56

1) มติ ครม. วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 (ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน เป็นต้นไป) ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้

          (1) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม)                      ตันละ 16,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-

          ข้าวเปลือกเจ้า 100%                                 ตันละ 15,000  บาท
          ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                   ตันละ 14,800  บาท
          ข้าวเปลือกเจ้า 10%                                  ตันละ 14,600  บาท
          ข้าวเปลือกเจ้า 15%                                  ตันละ 14,200  บาท
          ข้าวเปลือกเจ้า 25%                                  ตันละ 13,800  บาท

(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-

          ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม)               ตันละ 16,000  บาท
          ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม)                ตันละ 15,000  บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรในปริมาณที่ไม่เกินที่ระบุไว้ในใบรับรองเกษตรกร ที่กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกให้ และจำกัดวงเงินรับจำนำรายละ

ไม่เกิน 500,000 บาทต่อรอบ ตามที่ กขช. มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556

4) ระยะเวลา

(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 กุมภาพันธ์ — 15 กันยายน 2556 ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556

(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ

(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 — 31 มกราคม 2555

5) ผลการดำเนินงาน

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม — 26 สิงหาคม 2556)

                             - จำนวนสัญญา              2,750,968    สัญญา
                             - จำนวนตัน               20,839,236    ตัน
                             - จำนวนเงิน             325,445.781    ล้านบาท

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และข้าวเปลือกเจ้า ราคาปรับลดลง เนื่องจาก ผู้ประกอบการบางรายชะลอการสั่งซื้อข้าว เพราะความต้องการของตลาดลดลง และเพื่อรอดูนโยบายการระบายข้าวจากรัฐบาล

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,717 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,701 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.10

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,708 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,456 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.92

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,083 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,870 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.67

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,158 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,871 บาท/ตัน) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 543 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 871 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,733 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 915 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,705 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.81 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 972 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 442 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,073 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,588 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.95 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 515 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 437 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,914 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,713 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.82 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 799 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 471 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,997 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,466 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.46 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 469 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.8404 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

เวียดนาม

สมาคมอาหารของเวียดนาม (The Vietnam Food Association; VFA) รายงานว่า การส่งออกข้าวช่วงวันที่ 1-22 สิงหาคม 2556 มีจำนวน 287,963 ตัน มูลค่า 124.602 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (FOB) และในช่วง 1 มกราคม — 22 สิงหาคม 2556 เวียดนามส่งออกรวม 4.347 ล้านตัน มูลค่า 1.866 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (FOB) โดยทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 7.8 และร้อยละ 10.9 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 ที่ส่งออกได้ 4.715 ล้านตัน มูลค่า 2.095 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (FOB)

สถานการณ์ราคาข้าวของเวียดนามสัปดาห์ที่ผ่านมาค่อนข้างทรงตัวท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่ชะลอตัว ขณะที่อุปทานข้าวออกสู่ตลาดลดลงเพราะการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูล่าสุดในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยราคาเอฟโอบีข้าวขาว 5% อยู่ที่ 385-395 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (12,418 บาทต่อตัน) เท่ากับสัปดาห์ก่อน ขณะที่ราคาข้าวขาว 25% อยู่ที่ 360-365 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (11,542 บาทต่อตัน) เท่ากับสัปดาห์ก่อนเช่นเดียวกัน

ด้านวงการค้าข้าว คาดว่านับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีการลักลอบส่งออกข้าวไปแล้วประมาณ 1 ล้านตัน โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศจีน

หนังสือพิมพ์เวียดนาม อิโคโนมิค ไทมส์ รายงานโดยอ้างสมาคมอาหารเวียดนามว่า เวียดนามอาจพลาดเป้าส่งออกข้าว 8 ล้านตันในปีนี้ ซึ่งเป็นผลจากการยกเลิกสัญญาส่งออกที่มากขึ้น โดยขณะนี้ มีการยกเลิกสัญญาส่งออกไปแล้วเกือบ 1 ล้านตัน จากการยกเลิกสัญญาส่งออกดังกล่าว เป็นผลมาจากราคาข้าวโลกที่ลดลงและการจำกัดปริมาณนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก

ปัจจุบันนี้ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามได้ทำสัญญาส่งออกไปแล้วประมาณ 6.8 ล้านตัน แต่มีการยกเลิกแล้ว 938,000 ตัน และจากที่มีการยกเลิกสัญญาเพิ่มมากขึ้นซึ่งหมายถึงสต็อกข้าวของเวียดนามจะมากขึ้นด้วย สร้างแรงกดดันต่อราคาส่งออกข้าวในอนาคต ขณะที่ประเทศคู่แข่งส่งออกข้าวอย่างกัมพูชา พม่า และปากีสถานจะได้ประโยชน์จากการที่ยอดขายข้าวของเวียดนามตกต่ำ

นายกสมาคมอาหาร เปิดเผยว่า สัญญาที่ยกเลิกส่วนใหญ่เป็นสัญญากับตลาดจีน ที่ผู้ซื้อชาวจีนยกเลิกสัญญาหลังจากราคาข้าวในตลาดโลกลดลง นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ผู้ส่งออกเวียดนามยกเลิกสัญญาด้วย โดยยอมจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ซื้อ ขณะที่ผู้ซื้อฟิลิปปินส์ต้องยกเลิกสัญญาเพราะไม่ได้รับโควตานำเข้า โดยในช่วงครึ่งแรกของปี ฟิลิปปินส์ได้เพิ่มสต็อกข้าวในประเทศประมาณ 14% จากการซื้อข้าวจำนวนมากจากชาวนาเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคา และหลีกเลี่ยงการนำเข้าข้าวเพิ่มหากข้าวได้รับความเสียหายในช่วงฤดูมรสุม

ที่มา Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

พม่า

ประธานสมาพันธ์ข้าวพม่า (Chairman of the Myanmar Rice Federation) ระบุว่า ประเทศญี่ปุ่นได้แสดงความจำนงที่จะนำเข้าข้าวจากพม่าเป็นรอบที่ 2 ของปีนี้ ซึ่งนับเป็นโอกาสดีของพม่าที่จะขยายตลาดส่งออกข้าว แต่มีความกังวลว่าพม่าอาจจะมีผลผลิตไม่เพียงพอที่จะส่งออก หากรัฐบาลไม่มีมาตรการช่วยเหลือให้ชาวนาเพาะปลูกข้าวมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันนี้ชาวนาส่วนใหญ่ขาดแหล่งเงินทุนสำหรับการเพาะปลูกข้าว โดยในช่วงที่ผ่านมา มีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยประมาณ 2.5 แสนไร่ ทำให้ชาวนาไม่สามารถเพาะปลูกข้าวต่อไปได้ ดังนั้นรัฐบาลควรเข้ามาให้ความช่วยเหลือชาวนาเพื่อสร้างแรงจูงใจให้มีการเพาะปลูกข้าวต่อไป

ที่มา Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

ฟิลิปปินส์

กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ มีแผนส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นหลังจากมีนโยบายให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก ทำให้ปริมาณผลผลิตในประเทศสูงกว่าความต้องการอย่างต่อเนื่อง

โดยในปี 2556 เริ่มส่งออกเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี สำหรับในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เริ่มส่งออกไปยังดูไบ ข้าวที่ส่งออกเป็นข้าวแดง (Organic black rice) ปริมาณ15 เมตริกตัน และข้าว Jasponica (ข้าวหอมขาวเมล็ดยาว) ปริมาณ 20 เมตริกตัน

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ ได้ตั้งเป้าที่จะทดลองส่งออกข้าวในปริมาณ 100 เมตริกตัน โดยคาดว่าในเดือนกรกฎาคมนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะจัดส่งข้าวหอมมะลิเม็ดยาวประมาณ 30 เมตริกตัน ซึ่งการส่งออกในระยะแรกนี้จะเป็นการทดลองตลาดต่างประเทศว่ายอมรับในเรื่องคุณภาพและราคาของข้าวชั้นดีจากฟิลิปปินส์

หรือไม่ ซึ่งในเบื้องต้นได้รับผลตอบรับเป็นไปในทางที่ดี

ที่มา Oryza.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 26 ส.ค.- 1 ก.ย. 2556--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ