ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Thursday September 26, 2013 14:44 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56

1) มติ ครม. วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 (ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน เป็นต้นไป) ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้

(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-

              ข้าวเปลือกเจ้า 100%         ตันละ   15,000 บาท
              ข้าวเปลือกเจ้า 5%           ตันละ   14,800 บาท
              ข้าวเปลือกเจ้า 10%          ตันละ   14,600 บาท
              ข้าวเปลือกเจ้า 15%          ตันละ   14,200 บาท
              ข้าวเปลือกเจ้า 25%          ตันละ   13,800 บาท

(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรในปริมาณที่ไม่เกินที่ระบุไว้ในใบรับรองเกษตรกร ที่กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกให้ และจำกัดวงเงินรับจำนำรายละไม่เกิน 500,000 บาทต่อรอบ ตามที่ กขช. มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556

4) ระยะเวลา

(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 กุมภาพันธ์ — 15 กันยายน 2556

ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556

(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ

(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 — 31 มกราคม 2557

5) ผลการดำเนินงาน

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส.(ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม — 15 กันยายน 2556)

  • จำนวนสัญญา 2,822,158 สัญญา
  • จำนวนตัน 21,591,360 ตัน
  • จำนวนเงิน 337,598.587 ล้านบาท

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57

1) มติ ครม. วันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้

  • ครั้งที่ 1

(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท (ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

(5) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัม

โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท

  • ครั้งที่ 2

(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 13,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 12,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 12,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 12,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 11,800 บาท

(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกคุณภาพดี โดยจะไม่รับจำนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ตามที่กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ

4) วงเงินการรับจำนำ

  • ครั้งที่ 1 ไม่เกินรายละ 350,000 บาท
  • ครั้งที่ 2 ไม่เกินรายละ 300,000 บาท

5) เป้าหมายการรับจำนำ รวมจำนวน 16.5 ล้านตัน

6) ระยะเวลารับจำนำ

  • ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 — 28 กุมภาพันธ์ 2557 ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2557
  • ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม — 30 กันยายน 2557

ยกเว้น ภาคใต้ระว่างวันที่ 1 สิงหาคม — 30 พฤศจิกายน 2557

? ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ราคาค่อนข้างทรงตัว เนื่องจาก เป็นข้าวคุณภาพและผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย สำหรับข้าวเปลือกเจ้า ราคาลดลง เนื่องจากอยู่ในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และผู้ประกอบการชะลอการสั่งซื้อข้าว เนื่องจากความต้องการของตลาดลดลง

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,800 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,761 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.25

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,465 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,577 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.31

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,110 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,090 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.15

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,175 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,860 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,157 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,903 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.56 แต่ลดลง

ในรูปเงินบาทตันละ 43 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 820 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,723 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 838 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,729 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,006 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 449 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,085 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 442 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,098 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58 แต่ลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 13 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,395 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,683 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 288 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,587 บาท/ตัน)

ราคาสูงขึ้นจากตันละ 464 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,800 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 แต่ลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 213 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.3698 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 สถานการณ์ข้าวโลก

1) การผลิต

ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนผลผลิตข้าวโลกปี 2556/57 ประจำเดือนกันยายน 2556 ว่าจะมี 476.769 ล้านตันข้าวสาร (711.2 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 468.994 ล้านตันข้าวสาร

(699.2 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2555/56 ร้อยละ 1.66

2) การค้าข้าวโลก

บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2556/57 ณ เดือนกันยายน 2556 ว่าผลผลิต ปี 2556/57 จะมี 476.769 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.66 การใช้ในประเทศจะมี 474.551 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.26 การส่งออก/นำเข้าจะมี 39.007 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.77 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 107.391 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.11

โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล กัมพูชา กายานา ปากีสถาน เวียดนาม และไทย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อินเดีย ปารากวัย และสหรัฐอเมริกา

สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังคลาเทศ จีน กานา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ เยเมน และสหรัฐฯ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บราซิล ไอเวอรี่โคสต์ คิวบา ฮ่องกง และอิหร่าน

ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดียและญี่ปุ่น ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา

2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

เวียดนาม

สมาคมอาหารของเวียดนาม (The Vietnam Food Association; VFA) รายงานว่า การส่งออกข้าวของเวียดนามในปี 2556 มีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 500,000 ตัน เหลือประมาณ 7.1—7.2 ล้านตัน ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 7.5 ล้านตัน ทั้งนี้ ปัจจุบัน เวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับที่ 2 ของโลก

โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิงหาคมปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 4.7 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 6.3 หมื่นล้านบาท) ลดลงจาก 5.1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(หรือประมาณ 7.2 หมื่นล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมากระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา รายงานเพิ่มเติมว่า ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรปลดลงต่ำสุดตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาได้เพียง 8,475 ตัน ลดลงจาก 92,000 ตัน หรือลดลงประมาณร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ซึ่งมีปริมาณการส่งออกมากที่สุด และส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้ 10,043 ตัน ลดลงจาก 22,518 ตัน เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกมากที่สุด ทั้งนี้ ปริมาณการส่งออกที่ลดลงเป็นผลมาจากโครงการสำรองข้าวของรัฐบาล ที่มา Oryza.com

จีน

ศูนย์ข้อมูลสินค้าธัญพืชและน้ำมันแห่งชาติ (China National Grain and Oils Information Center) พยากรณ์ผลผลิตข้าวของจีนในปี 2556 มีปริมาณ 202 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการเกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่ปลูกข้าวของจีน

จีนเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก ในปี 2556/57 มีการคาดการณ์ว่า จีนมีความต้องการนำเข้าข้าวจำนวน 4 ล้านตัน โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จีนมีปริมาณการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากราคาข้าวในตลาดโลกต่ำ

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา รายงานว่า ในปี 2556/57 จีนจะผลิตข้าวได้ประมาณ 204.3 ล้านตัน (หรือประมาณ 143 ล้านตันข้าวสาร) ลดลงประมาณ 400,000 ตัน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีความต้องการในประเทศ 146.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ที่มา Oryza.com

เกาหลีใต้

สื่อท้องถิ่นรายงานว่า สถาบันวิจัยสมัชชาแห่งชาติเกาหลีใต้ (South Korea’s National Assembly Research Institute) นำเสนอความเป็นไปได้ในการเปิดตลาดค้าข้าว โดยนำระบบภาษีนำเข้ามาใช้แทน ภายหลังที่ระบบโควตานำเข้าข้าวภายใต้ข้อตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) จะสิ้นสุดลงในปี 2557 สื่อดังกล่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หากมีการเปิดตลาดขึ้นจริง จะช่วยให้รัฐบาลควบคุมราคาข้าวที่กำลังสูงขึ้น

ในปัจจุบัน และลดต้นทุนสินค้าคงคลังลงได้ ทั้งนี้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเกาหลีใต้ ได้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอในครั้งนี้ โดยกล่าวว่า หากรัฐบาลไม่ตั้งกำแพงภาษีร้อยละ 400 จะทำให้ข้าวเกาหลีใต้ไม่สามารถแข่งกับข้าวจากประเทศอื่นๆได้

ทั้งนี้ ปริมาณการบริโภคข้าวของเกาหลีใต้ลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากชาวเกาหลีใต้มีความหลากหลายในการบริโภคมากขึ้น โดยหันไปบริโภคข้าวสาลีและเนื้อสัตว์เป็นหลักแทน ซึ่งจากความพยายามของรัฐบาลในการลดปริมาณการผลิตข้าว ในปี 2556 เกาหลีใต้ผลิตข้าวลดลงเหลือ 4.2 ล้านตันข้าวสาร หรือลดลงร้อยละ 5

เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของปี 2551-2555 ส่วนปริมาณการนำเข้าข้าวของเกาหลีใต้ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้ข้อตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อปี 2547 ซึ่งกำหนดให้เกาหลีใต้ต้องนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี ชดเชยกับการไม่เปิดตลาดให้กับผู้ค้าต่างประเทศ โดยในปี 2555/56 เกาหลีใต้นำเข้าข้าวมากกว่า 400,000 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 225,575 ตัน ในปี 2548 ที่มา Oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 16 - 22 กันยายน 2556--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ